external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

Buy in May DCA Now! ฉวยโอกาสจับจังหวะลงทุน ลดความผันผวนด้วย DCA

12 พ.ค. 2566

เชื่อว่านักลงทุนหลาย ๆ ท่าน ไม่ว่าจะมือเก่าหรือมือใหม่ คงต้องเคยได้ยินประโยค “Sell in May and Go Away” กันมาบ้างแล้ว ในช่วงเดือนพฤษภาคมเช่นนี้ เราจึงขอพาทุกคนไปรู้จักกับปรากฏการณ์ Sell in May ให้มากขึ้น พร้อมนำกลยุทธ์การลงทุนที่จะช่วยให้เราสามารถเอาชนะแรงเทขายในเดือนพฤษภาคมได้มาฝากทุกคนกัน


Sell in May and Go Away คืออะไร?

Sell in May and Go Away คืออะไร

“Sell in May and Go Away” หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “Sell in May” เป็นเหตุการณ์ที่ในช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี มักจะเกิดแรงเทขายสินทรัพย์ในตลาดหุ้น โดยอ้างอิงจากข้อมูลสถิติย้อนหลังในอดีต ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นต่างประเทศ รวมถึงดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลง

จากข้อมูลสถิติย้อนหลังพบว่า ผลตอบแทนเฉลี่ยของตลาดหุ้นส่วนใหญ่จะปรับตัวลดลงในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม เมื่อเทียบกับผลตอบแทนเฉลี่ยตลาดหุ้นเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน โดยดัชนี S&P 500 ตั้งแต่ปี 1990 ถึง 2022 ในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยเพียง 2% ในขณะที่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายนให้ผลตอบแทนเฉลี่ยประมาณ 7%

สาเหตุของปรากฏการณ์ Sell in May นี้ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าอาจเป็นเพราะในเดือนพฤษภาคมนั้น บริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นต่างทยอยประกาศผลประกอบการไตรมาสที่ 1 รวมถึงมีการประกาศจ่ายเงินปันผล พร้อมคาดการณ์ผลการดำเนินงานและทิศทางของบริษัทในปีนั้น ๆ ซึ่งทำให้นักลงทุนพอคาดการณ์แนวโน้มของบริษัทได้ จึงเกิดเป็นเหตุการณ์ “Sell on Fact” ส่งผลให้เกิดแรงขายหุ้นของนักลงทุนในตลาดหุ้นเพื่อทำกำไร และรอจังหวะเข้าลงทุนรอบใหม่ ทำให้ราคาหุ้นปรับตัวลดลงมา


ย้อนอดีต SET Index กับปรากฏการณ์ Sell in May

ย้อนอดีต SET Index กับปรากฏการณ์ Sell in May


หากพิจารณาจากข้อมูลสถิติในอดีตย้อนหลังของดัชนีตลาดหุ้นไทยอย่าง SET Index ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 2013-2022) พบว่า SET Index ในเดือนพฤษภาคม มี 6 ปี ให้ผลตอบแทนเป็นลบคือปี 2013, 2015, 2017, 2018, 2019 และ 2022 และมี 4 ปี ให้ผลตอบแทนเป็นบวกคือปี 2014, 2016, 2020 และ 2021 โดยมีผลตอบแทนเฉลี่ย 10 ปี อยู่ที่ -0.57%


จับจังหวะลงทุนท่ามกลาง Sell in May ด้วย DCA

ท่ามกลางแรงเทขายในช่วงเดือนพฤษภาคมนี้ เราจึงต้องฉวยโอกาสจับจังหวะลงทุนจากปรากฏการณ์ Sell in May เพื่อเริ่มลงทุนในจังหวะโอกาสแบบนี้ และจะได้ซื้อของในราคาที่ไม่สูงมากนัก พร้อมวางแผนกำหนดกลยุทธ์การลงทุนต่อ ด้วยการลงทุนแบบ “DCA” เพราะเป็นการลงทุนถัวเฉลี่ยในทุกเดือน โดยไม่จับจังหวะตลาด ไม่สนใจว่าราคาของสินทรัพย์จะเป็นเท่าใด เน้นการลงทุนที่สม่ำเสมอเป็นหัวใจสำคัญ ซึ่งจะช่วยลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุนจากช่วงตลาดขาลงได้ เพื่อสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีได้ในระยะยาว นอกจากนี้การลงทุนแบบ DCA ยังช่วยตัดเรื่องอารมณ์ในการตัดสินใจลงทุนจากสภาวะตลาดผันผวนได้อีกด้วย

เราจะพาไปดูตัวอย่างการจับจังหวะลงทุนท่ามกลาง Sell in May ด้วยกลยุทธ์การลงทุนแบบ DCA ผ่านกองทุนรวม “ttb smart port” เครื่องมือที่จะช่วยทำให้การวางแผนการเงินของคุณเป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้น เพราะมีผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนระดับโลกอย่าง Amundi และ Eastspring คอยดูแลอย่างใกล้ชิด วิเคราะห์และปรับสัดส่วนการลงทุนให้โดยอัตโนมัติ เพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ในทุกสภาวะตลาด เลือกความสบายใจได้จากกองทุนรวม ทั้ง 5 รูปแบบ ตามเป้าหมายและระดับความเสี่ยงที่แต่ละคนยอมรับได้ ตอบโจทย์ทุกเป้าหมายการเงินของคุณ โดยแต่ละแผนมีรายละเอียด ดังนี้

จับจังหวะลงทุนท่ามกลาง Sell in May ด้วย DCA


1. ttb smart port 1 - preserver

สัดส่วนการลงทุน: ตราสารหนี้ต่างประเทศ 30% และตราสารหนี้ในประเทศ 70%
เหมาะกับใคร: คนที่สามารถรับความเสี่ยงได้ต่ำ ต้องการควบคุมความเสี่ยงและความผันผวนเป็นหลัก
ผลตอบแทน: 2.9%* ต่อปี (ผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565)


2. ttb smart port 2 - nurturer

สัดส่วนการลงทุน: ตราสารหนี้ในประเทศ 35%, ตราสารหนี้ต่างประเทศ 45% และหุ้นต่างประเทศ 20%
เหมาะกับใคร: คนที่สามารถรับความผันผวนได้ค่อนข้างน้อยและต้องการลงทุนเพื่อเอาชนะเงินเฟ้อ
ผลตอบแทน: 4.0%* ต่อปี (ผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565)


3. ttb smart port 3 - balancer

สัดส่วนการลงทุน: ตราสารหนี้ในประเทศ 15%, ตราสารหนี้ต่างประเทศ 35%, หุ้นในประเทศ 10% และหุ้นต่างประเทศ 40%
เหมาะกับใคร: คนที่ต้องการกระจายเงินลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายด้วยความเสี่ยงระดับปานกลาง ไม่เสี่ยงมากหรือน้อยไป และมีเป้าหมายให้เงินทำงานแทนในระยะยาว
ผลตอบแทน: 5.6%* ต่อปี (ผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565)


4. ttb smart port 4 - explorer

สัดส่วนการลงทุน: ตราสารหนี้ในประเทศ 10%, ตราสารหนี้ต่างประเทศ 20%, หุ้นในประเทศ 15% และหุ้นต่างประเทศ 55%
เหมาะกับใคร: คนที่สามารถรับความผันผวนได้ค่อนข้างสูง เพื่อเป้าหมายให้เงินเติบโต และสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงขึ้น
ผลตอบแทน: 6.5%* ต่อปี (ผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565)


5. ttb smart port 5 - gogetter

สัดส่วนการลงทุน: หุ้นต่างประเทศ 80% และหุ้นในประเทศ 20%
เหมาะกับใคร: คนที่สามารถรับความผันผวนได้สูงและต้องการสร้างโอกาสทำกำไรจากหุ้นทั่วโลก
ผลตอบแทน: 7.7%* ต่อปี (ผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565)

*อ้างอิงผลตอบแทนจากพอร์ตจำลองโดยใช้สัดส่วนดัชนีชี้วัด (Benchmark) ในการคำนวณข้อมูลในอดีตย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ของกองทุน ttb smart port 1, 2, 3, 4 และ 5 ทั้งนี้ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องมิได้เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

สำหรับตัวอย่างในบทความนี้ จะเป็นการเปรียบเทียบระหว่างการนำเงินเดือนละ 5,000 บาท ไปลงทุนในกองทุนรวม ttb smart port 3 - balancer และออมในบัญชีเงินฝากประจำ มาดูกันว่าถ้าเราออมหรือลงทุนทุกเดือนอย่างสม่ำเสมอ ด้วยจำนวนเงินดังกล่าวแล้ว ในระยะเวลา 10 ปี โอกาสผลตอบแทนที่เกิดขึ้นได้ของการลงทุนแต่ละรูปแบบจะเป็นอย่างไรบ้าง

ตัวอย่างการเปรียบเทียบผลตอบแทนการลงุน เดือนละ 5,000 บาท เป็นเวลา 10 ปี

จากตัวอย่างตารางในภาพด้านบนจะเห็นได้ว่า หากเรานำเงินเดือนละ 5,000 บาท มาลงทุนในกองทุนเปิด ttb smart port 3 - balancer ทุกเดือน ตั้งแต่ปี 2013 จนถึงปี 2022 (10 ปี) ณ สิ้นปี 2022 เงินรวมที่เราได้รับจะเท่ากับ 684,244.9 บาท และหากเรานำเงินเดือนละ 5,000 บาท ไปฝากประจำทุกเดือน เงินรวมที่เราได้รับ ณ สิ้นปี 2022 จะเท่ากับ 622,179.6 บาท

สรุปได้ว่าเงินรวมที่ได้รับจากการลงทุนใน ttb smart port 3 - balancer ด้วยเงินจำนวน 5,000 บาท ทุกเดือน เป็นระยะเวลา 10 ปี มากกว่าการออมเงินในบัญชีฝากประจำถึง 62,065.3 บาท นอกจากนี้การฝากเงินในธนาคาร หากดอกเบี้ยที่ได้รับเกิน 20,000 บาท จะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ในขณะที่การลงทุนในกองทุนเปิด ttb smart port มีให้เลือกลงทุนในกองทุนประหยัดภาษีผ่าน ttb smartport SSF ซึ่งสามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้ด้วย

สำหรับผู้ที่สนใจอยากลองสร้างแผน DCA เป็นของตัวเอง สามารถทำได้ง่าย ๆ ที่ https://www.ttbbank.com/tsp/lite-cal

ซึ่งวันนี้เรามีโปรโมชันสุดพิเศษมามอบให้ลูกค้าที่ลงทุนแบบ DCA กับกองทุนรวม ttb smart port ด้วย โดยลูกค้าที่ลงทุน DCA ขั้นต่ำเดือนละ 1,000 บาท ขึ้นไป ติดต่อกัน 12 เดือน จะได้รับหน่วยลงทุนพิเศษเพิ่มอีก 0.2% ของเงินลงทุนแบบตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือนในกองทุน ttb smart port โดยต้องเริ่มตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 - 29 ธันวาคม 2566 เท่านั้น ศึกษาขั้นตอนการเปิดพอร์ตการลงทุนผ่านแอป ttb touch ได้ที่ https://www.ttbbank.com/archive/howto/app/open-inv-port.php


ขั้นตอนการตั้งรายการลงทุนรายเดือนอัตโนมัติผ่านแอป ttb touch

การตั้งรายการลงทุนรายเดือนอัตโนมัติผ่านแอป ttb touch


เงื่อนไขของรายการส่งเสริมการขาย

  1. รายการส่งเสริมการขายแบบตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน (DCA) พิจารณาจากเงินลงทุนครั้งแรก ที่เกิดจากการตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน โดยยอดเงินลงทุนครั้งแรกต้องเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 - วันที่ 29 ธันวาคม 2566 และต้องเป็นการลงทุนต่อเนื่องทุกเดือนจำนวน 12 เดือน นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก โดยต้องลงทุนในกองทุน ttb smart port ซึ่งประกอบด้วยกองทุน 1) tsp1-preserver 2) tsp2-nurturer 3) tsp3-balancer 4) tsp4-explorer 5) tsp5-gogetter
  2. รายการส่งเสริมการขายตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือนต้องมีการตั้งแผนการลงทุน (โดยไม่รวมการซื้อเป็นครั้งๆ) และลงทุนขั้นต่ำ 1,000 บาทต่อเดือนในกองทุนเดียวกันของชุดกองทุนใน ttb smart port ทั้งนี้จะคำนวณตามเลขที่ผู้ถือหน่วยลงทุน (CIS) และคำนวณเป็นรายกองทุน โดยนับเฉพาะยอดซื้อในกองทุน ttb smart port ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน
  3. บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด จะสรุปยอดเงินลงทุนที่เข้าเงื่อนไขรายการส่งเสริมการขายแบบตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน และจ่ายหน่วยลงทุนของกองทุน ttb smart port ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนถืออยู่ ให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนที่ได้รับสิทธิตามรายการส่งเสริมการขายดังกล่าว เมื่อลงทุนครบจำนวน 12 เดือน ตามเลขที่ผู้ถือหน่วยลงทุน (CIS) โดยจะเริ่มดำเนินการจ่าย 4 รอบ ได้แก่
    รอบที่ 1 ผู้ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ครั้งแรกภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 - มีนาคม 2566 จะได้รับหน่วยลงทุนในวันที่ 31 พฤษภาคม 2567
    รอบที่ 2 ผู้ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ครั้งแรกภายในเดือนเมษายน 2566 - มิถุนายน 2566 จะได้รับหน่วยลงทุนในวันที่ 31 สิงหาคม 2567
    รอบที่ 3 ผู้ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ครั้งแรกภายในเดือนกรกฎาคม 2566 - กันยายน 2566 จะได้รับหน่วยลงทุนในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567
    รอบที่ 4 ผู้ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ครั้งแรกภายในเดือนตุลาคม 2566 - ธันวาคม 2566 จะได้รับหน่วยลงทุนในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568
    (หากวันที่ทำการจ่ายหน่วยลงทุนตรงกับ เสาร์ อาทิตย์ วันหยุดราชการ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ จะดำเนินการจ่ายในวันทำการถัดไป)
  4. บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด ขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และเงื่อนไข วันทำรายการโอนหน่วยลงทุนพิเศษเพื่อซื้อกองทุนเพิ่ม และกำหนดระยะเวลาดำเนินการ โดยจะแจ้งให้ท่านทราบล่วงหน้าผ่านช่องทางของบริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด และธนาคาร คำตัดสินของบริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด ไม่ว่ากรณี ใดๆ ให้ถือเป็นที่สุด
  5. บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด ขอสงวนสิทธิ์ หากผู้ลงทุนได้รับโปรโมชันจากรายการส่งเสริมการขายนี้ ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิในการพิจารณารายการส่งเสริมการขายอื่นในช่วงเวลาเดียวกัน
  6. กรณีมีภาระภาษีเกิดขึ้นจากโปรโมชันที่ผู้ลงทุนได้รับ ผู้ลงทุนต้องเป็นผู้รับผิดชอบในภาษีที่เกิดขึ้นทั้งหมดตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด


คำเตือน:

  • ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
  • กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจผู้จัดการกองทุน จึงอาจทำให้มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
  • การลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงของการลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจได้รับเงินลงทุนมากกว่าหรือ น้อยกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
  • สนใจลงทุน ขอรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือหนังสือชี้ชวน ได้ที่ ทีทีบี ทุกสาขา หรือ ttb investment line โทร. 1428 กด #4 ทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 09:00 – 17:30 น. ยกเว้น วันหยุดธนาคาร

ระยะเวลาโปรโมชัน 1 ก.พ. 66 - 29 ธ.ค. 66