external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

บรรษัทภิบาล

ธนาคารตระหนักดีว่าการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจริยธรรมทางธุรกิจมีส่วนสำคัญยิ่งต่อความยั่งยืนของธุรกิจและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับธนาคารโดยรวม ธนาคารเชื่อมั่นว่ากระบวนการกำกับดูแลกิจการและจริยธรรมทางธุรกิจของธนาคารเป็นสิ่งที่สร้างรากฐานให้แก่องค์กร อีกทั้งสอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการ หลักจรรยาบรรณของธนาคารพาณิชย์และนโยบายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเป็นไปตามมาตรฐานสากล กฎหมายและกฎระเบียบของทางการ ทั้งนี้ ธนาคารได้ให้ความสำคัญต่อการกำกับดูแลกิจการที่ดีเป็นลำดับแรกโดยกำหนดหลักเกณฑ์ในการปฎิบัติดังต่อไปนี้

 

การดำเนินการของธนาคารเพื่อให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี

 

ธนาคารได้ยึดถือปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

  1. ธนาคารจัดให้มีคณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนคณะกรรมการธนาคารในการกำกับดูแลการดำเนินกิจการของธนาคารและการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ คณะกรรมการชุดย่อย ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับเพื่อให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี
  2. ดูแลการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยในเรื่องธรรมาภิบาลตามที่กำหนดโดยสถาบันการเงินอย่างเคร่งครัด รวมทั้งมีการจัดตั้งสายงานบรรษัทภิบาลขึ้นเพื่อรับผิดชอบการกำกับดูแลกิจการที่ดีโดยตรง
  3. ยกระดับมาตรฐานการกำกับดูแลกิจการที่ดีของธนาคารให้เป็นมาตรฐานสากลโดยจัดแบ่งเป็น 5 หมวด ภายใต้แนวทางและระเบียบปฏิบัติของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งครอบคลุมประเด็นหลักดังนี้
    • สิทธิของผู้ถือหุ้น
    • การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน
    • บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย
    • การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส
    • ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ
  4. คณะกรรมการธนาคารได้มีมติแต่งตั้งเลขานุการบริษัท (Company Secretary) เพื่อปฏิบัติหน้าที่และรับผิดชอบการดำเนินงานตามที่กฎหมายกำหนด รวมถึงสนับสนุนงานของคณะกรรมการในด้านที่เกี่ยวข้องกับกฎระเบียบ กฎหมาย รวมถึงข้อแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
  5. สายงานบรรษัทภิบาลของธนาคารมีหน้าที่ในการติดตามดูแลให้ธนาคาร รวมถึงกรรมการธนาคาร ผู้บริหารระดับสูง พนักงานทุกระดับ มีการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง สอดคล้องกับแนวทางตามกฎหมาย หรือตามกฎเกณฑ์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภายใต้กรอบธรรมาภิบาลของสถาบันการเงิน พร้อมทั้งเสนอวิธีปฏิบัติของธนาคารที่ควรเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ดังกล่าว เช่น ในด้านที่เกี่ยวข้องกับกรรมการอิสระ เป็นต้น
  6. ธนาคารให้ความสำคัญในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร (Corporate Social Responsibility - CSR) โดยได้ติดตามประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและเข้าร่วมประชุมกับองค์กรอิสระต่างๆ รับทราบแนวทางปฏิบัติที่เป็นสากลและนำมาปฏิบัติต่อไป
  7. กำหนดให้มีการทบทวนและปรับปรุงจรรยาบรรณและจริยธรรมทางธุรกิจให้เหมาะสมกับผู้บริหารและพนักงานแต่ละระดับ

 

การกำกับดูแลกิจการเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Governance)

คณะกรรมการธนาคารได้กำหนดขอบเขตการกำกับดูแลและได้จัดตั้งคณะกรรมการชุดย่อยขึ้นเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบในนามของคณะกรรมการธนาคาร คณะกรรมการธนาคารเล็งเห็นความสำคัญของการบริหารจัดการความยั่งยืนในองค์กร จึงได้ขยายขอบเขตการควบคุมดูแลให้ครอบคลุมด้านการบริหารความยั่งยืนและการพัฒนาโครงการดังกล่าวโดยได้แถลงไว้ในกฎบัตรของคณะกรรมการธนาคาร (Board Charter) ดังนี้

 

แบรนด์และกลยุทธ์ ความเสี่ยง ทรัพยากรบุคคล องค์กรและการกำกับดูแล
วัฒนธรรมองค์กร ระดับความเสี่ยงที่มีอยู่ (Inherent Risks – IR) และความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ Digital Transformation ความยั่งยืน

 

คณะกรรมการธนาคารได้จัดตั้งคณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลให้การบริหารความยั่งยืนขององค์กรมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่ระดับผู้บริหารสูงสุด โดยจะต้องติดตามให้มีการนำหลักการกำกับดูกิจการไปปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทบทวนกรอบการดำเนินงานด้านการบริหารความยั่งยืนเพื่อสนองวัตถุประสงค์ของธนาคารในระยะยาวและปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรเพื่อสนับสนุนให้เกิดบรรยากาศการทำงานที่เป็นมิตร ความรับผิดชอบต่อสังคมและจริยธรรมทางธุรกิจ ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ในระยะยาวของธนาคารคือการเป็นธนาคารที่ลูกค้าชื่นชอบและบอกต่อมากที่สุดควบคู่ไปกับการเติบโตอย่างยั่งยืน ดังนั้น ธนาคารจึงได้กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อดำเนินการตามแผนงานบริหารความยั่งยืนตลอดจนหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงการเปิดเผยผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนอย่างเพื่อความโปร่งใส

บรรษัทภิบาล

ธนาคารตระหนักดีว่าการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจริยธรรมทางธุรกิจมีส่วนสำคัญยิ่งต่อความยั่งยืนของธุรกิจและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับธนาคารโดยรวม ธนาคารเชื่อมั่นว่ากระบวนการกำกับดูแลกิจการและจริยธรรมทางธุรกิจของธนาคารเป็นสิ่งที่สร้างรากฐานให้แก่องค์กร อีกทั้งสอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการ หลักจรรยาบรรณของธนาคารพาณิชย์และนโยบายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเป็นไปตามมาตรฐานสากล กฎหมายและกฎระเบียบของทางการ ทั้งนี้ ธนาคารได้ให้ความสำคัญต่อการกำกับดูแลกิจการที่ดีเป็นลำดับแรกโดยกำหนดหลักเกณฑ์ในการปฎิบัติดังต่อไปนี้

 

การดำเนินการของธนาคารเพื่อให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี

 

ธนาคารได้ยึดถือปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

  1. ธนาคารจัดให้มีคณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนคณะกรรมการธนาคารในการกำกับดูแลการดำเนินกิจการของธนาคารและการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ คณะกรรมการชุดย่อย ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับเพื่อให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี
  2. ดูแลการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยในเรื่องธรรมาภิบาลตามที่กำหนดโดยสถาบันการเงินอย่างเคร่งครัด รวมทั้งมีการจัดตั้งสายงานบรรษัทภิบาลขึ้นเพื่อรับผิดชอบการกำกับดูแลกิจการที่ดีโดยตรง
  3. ยกระดับมาตรฐานการกำกับดูแลกิจการที่ดีของธนาคารให้เป็นมาตรฐานสากลโดยจัดแบ่งเป็น 5 หมวด ภายใต้แนวทางและระเบียบปฏิบัติของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งครอบคลุมประเด็นหลักดังนี้
    • สิทธิของผู้ถือหุ้น
    • การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน
    • บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย
    • การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส
    • ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ
  4. คณะกรรมการธนาคารได้มีมติแต่งตั้งเลขานุการบริษัท (Company Secretary) เพื่อปฏิบัติหน้าที่และรับผิดชอบการดำเนินงานตามที่กฎหมายกำหนด รวมถึงสนับสนุนงานของคณะกรรมการในด้านที่เกี่ยวข้องกับกฎระเบียบ กฎหมาย รวมถึงข้อแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
  5. สายงานบรรษัทภิบาลของธนาคารมีหน้าที่ในการติดตามดูแลให้ธนาคาร รวมถึงกรรมการธนาคาร ผู้บริหารระดับสูง พนักงานทุกระดับ มีการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง สอดคล้องกับแนวทางตามกฎหมาย หรือตามกฎเกณฑ์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภายใต้กรอบธรรมาภิบาลของสถาบันการเงิน พร้อมทั้งเสนอวิธีปฏิบัติของธนาคารที่ควรเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ดังกล่าว เช่น ในด้านที่เกี่ยวข้องกับกรรมการอิสระ เป็นต้น
  6. ธนาคารให้ความสำคัญในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร (Corporate Social Responsibility - CSR) โดยได้ติดตามประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและเข้าร่วมประชุมกับองค์กรอิสระต่างๆ รับทราบแนวทางปฏิบัติที่เป็นสากลและนำมาปฏิบัติต่อไป
  7. กำหนดให้มีการทบทวนและปรับปรุงจรรยาบรรณและจริยธรรมทางธุรกิจให้เหมาะสมกับผู้บริหารและพนักงานแต่ละระดับ

 

การกำกับดูแลกิจการเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Governance)

คณะกรรมการธนาคารได้กำหนดขอบเขตการกำกับดูแลและได้จัดตั้งคณะกรรมการชุดย่อยขึ้นเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบในนามของคณะกรรมการธนาคาร คณะกรรมการธนาคารเล็งเห็นความสำคัญของการบริหารจัดการความยั่งยืนในองค์กร จึงได้ขยายขอบเขตการควบคุมดูแลให้ครอบคลุมด้านการบริหารความยั่งยืนและการพัฒนาโครงการดังกล่าวโดยได้แถลงไว้ในกฎบัตรของคณะกรรมการธนาคาร (Board Charter) ดังนี้

 

แบรนด์และกลยุทธ์ ความเสี่ยง ทรัพยากรบุคคล องค์กรและการกำกับดูแล
วัฒนธรรมองค์กร ระดับความเสี่ยงที่มีอยู่ (Inherent Risks – IR) และความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ Digital Transformation ความยั่งยืน

 

คณะกรรมการธนาคารได้จัดตั้งคณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลให้การบริหารความยั่งยืนขององค์กรมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่ระดับผู้บริหารสูงสุด โดยจะต้องติดตามให้มีการนำหลักการกำกับดูกิจการไปปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทบทวนกรอบการดำเนินงานด้านการบริหารความยั่งยืนเพื่อสนองวัตถุประสงค์ของธนาคารในระยะยาวและปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรเพื่อสนับสนุนให้เกิดบรรยากาศการทำงานที่เป็นมิตร ความรับผิดชอบต่อสังคมและจริยธรรมทางธุรกิจ ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ในระยะยาวของธนาคารคือการเป็นธนาคารที่ลูกค้าชื่นชอบและบอกต่อมากที่สุดควบคู่ไปกับการเติบโตอย่างยั่งยืน ดังนั้น ธนาคารจึงได้กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อดำเนินการตามแผนงานบริหารความยั่งยืนตลอดจนหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงการเปิดเผยผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนอย่างเพื่อความโปร่งใส

บรรษัทภิบาล

ธนาคารตระหนักดีว่าการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจริยธรรมทางธุรกิจมีส่วนสำคัญยิ่งต่อความยั่งยืนของธุรกิจและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับธนาคารโดยรวม ธนาคารเชื่อมั่นว่ากระบวนการกำกับดูแลกิจการและจริยธรรมทางธุรกิจของธนาคารเป็นสิ่งที่สร้างรากฐานให้แก่องค์กร อีกทั้งสอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการ หลักจรรยาบรรณของธนาคารพาณิชย์และนโยบายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเป็นไปตามมาตรฐานสากล กฎหมายและกฎระเบียบของทางการ ทั้งนี้ ธนาคารได้ให้ความสำคัญต่อการกำกับดูแลกิจการที่ดีเป็นลำดับแรกโดยกำหนดหลักเกณฑ์ในการปฎิบัติดังต่อไปนี้

 

การดำเนินการของธนาคารเพื่อให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี

 

ธนาคารได้ยึดถือปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

  1. ธนาคารจัดให้มีคณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนคณะกรรมการธนาคารในการกำกับดูแลการดำเนินกิจการของธนาคารและการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ คณะกรรมการชุดย่อย ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับเพื่อให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี
  2. ดูแลการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยในเรื่องธรรมาภิบาลตามที่กำหนดโดยสถาบันการเงินอย่างเคร่งครัด รวมทั้งมีการจัดตั้งสายงานบรรษัทภิบาลขึ้นเพื่อรับผิดชอบการกำกับดูแลกิจการที่ดีโดยตรง
  3. ยกระดับมาตรฐานการกำกับดูแลกิจการที่ดีของธนาคารให้เป็นมาตรฐานสากลโดยจัดแบ่งเป็น 5 หมวด ภายใต้แนวทางและระเบียบปฏิบัติของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งครอบคลุมประเด็นหลักดังนี้
    • สิทธิของผู้ถือหุ้น
    • การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน
    • บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย
    • การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส
    • ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ
  4. คณะกรรมการธนาคารได้มีมติแต่งตั้งเลขานุการบริษัท (Company Secretary) เพื่อปฏิบัติหน้าที่และรับผิดชอบการดำเนินงานตามที่กฎหมายกำหนด รวมถึงสนับสนุนงานของคณะกรรมการในด้านที่เกี่ยวข้องกับกฎระเบียบ กฎหมาย รวมถึงข้อแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
  5. สายงานบรรษัทภิบาลของธนาคารมีหน้าที่ในการติดตามดูแลให้ธนาคาร รวมถึงกรรมการธนาคาร ผู้บริหารระดับสูง พนักงานทุกระดับ มีการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง สอดคล้องกับแนวทางตามกฎหมาย หรือตามกฎเกณฑ์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภายใต้กรอบธรรมาภิบาลของสถาบันการเงิน พร้อมทั้งเสนอวิธีปฏิบัติของธนาคารที่ควรเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ดังกล่าว เช่น ในด้านที่เกี่ยวข้องกับกรรมการอิสระ เป็นต้น
  6. ธนาคารให้ความสำคัญในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร (Corporate Social Responsibility - CSR) โดยได้ติดตามประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและเข้าร่วมประชุมกับองค์กรอิสระต่างๆ รับทราบแนวทางปฏิบัติที่เป็นสากลและนำมาปฏิบัติต่อไป
  7. กำหนดให้มีการทบทวนและปรับปรุงจรรยาบรรณและจริยธรรมทางธุรกิจให้เหมาะสมกับผู้บริหารและพนักงานแต่ละระดับ

 

การกำกับดูแลกิจการเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Governance)

คณะกรรมการธนาคารได้กำหนดขอบเขตการกำกับดูแลและได้จัดตั้งคณะกรรมการชุดย่อยขึ้นเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบในนามของคณะกรรมการธนาคาร คณะกรรมการธนาคารเล็งเห็นความสำคัญของการบริหารจัดการความยั่งยืนในองค์กร จึงได้ขยายขอบเขตการควบคุมดูแลให้ครอบคลุมด้านการบริหารความยั่งยืนและการพัฒนาโครงการดังกล่าวโดยได้แถลงไว้ในกฎบัตรของคณะกรรมการธนาคาร (Board Charter) ดังนี้

 

แบรนด์และกลยุทธ์ ความเสี่ยง ทรัพยากรบุคคล องค์กรและการกำกับดูแล
วัฒนธรรมองค์กร ระดับความเสี่ยงที่มีอยู่ (Inherent Risks – IR) และความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ Digital Transformation ความยั่งยืน

 

คณะกรรมการธนาคารได้จัดตั้งคณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลให้การบริหารความยั่งยืนขององค์กรมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่ระดับผู้บริหารสูงสุด โดยจะต้องติดตามให้มีการนำหลักการกำกับดูกิจการไปปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทบทวนกรอบการดำเนินงานด้านการบริหารความยั่งยืนเพื่อสนองวัตถุประสงค์ของธนาคารในระยะยาวและปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรเพื่อสนับสนุนให้เกิดบรรยากาศการทำงานที่เป็นมิตร ความรับผิดชอบต่อสังคมและจริยธรรมทางธุรกิจ ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ในระยะยาวของธนาคารคือการเป็นธนาคารที่ลูกค้าชื่นชอบและบอกต่อมากที่สุดควบคู่ไปกับการเติบโตอย่างยั่งยืน ดังนั้น ธนาคารจึงได้กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อดำเนินการตามแผนงานบริหารความยั่งยืนตลอดจนหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงการเปิดเผยผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนอย่างเพื่อความโปร่งใส

บรรษัทภิบาล

ธนาคารตระหนักดีว่าการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจริยธรรมทางธุรกิจมีส่วนสำคัญยิ่งต่อความยั่งยืนของธุรกิจและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับธนาคารโดยรวม ธนาคารเชื่อมั่นว่ากระบวนการกำกับดูแลกิจการและจริยธรรมทางธุรกิจของธนาคารเป็นสิ่งที่สร้างรากฐานให้แก่องค์กร อีกทั้งสอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการ หลักจรรยาบรรณของธนาคารพาณิชย์และนโยบายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเป็นไปตามมาตรฐานสากล กฎหมายและกฎระเบียบของทางการ ทั้งนี้ ธนาคารได้ให้ความสำคัญต่อการกำกับดูแลกิจการที่ดีเป็นลำดับแรกโดยกำหนดหลักเกณฑ์ในการปฎิบัติดังต่อไปนี้

 

การดำเนินการของธนาคารเพื่อให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี

 

ธนาคารได้ยึดถือปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

  1. ธนาคารจัดให้มีคณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนคณะกรรมการธนาคารในการกำกับดูแลการดำเนินกิจการของธนาคารและการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ คณะกรรมการชุดย่อย ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับเพื่อให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี
  2. ดูแลการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยในเรื่องธรรมาภิบาลตามที่กำหนดโดยสถาบันการเงินอย่างเคร่งครัด รวมทั้งมีการจัดตั้งสายงานบรรษัทภิบาลขึ้นเพื่อรับผิดชอบการกำกับดูแลกิจการที่ดีโดยตรง
  3. ยกระดับมาตรฐานการกำกับดูแลกิจการที่ดีของธนาคารให้เป็นมาตรฐานสากลโดยจัดแบ่งเป็น 5 หมวด ภายใต้แนวทางและระเบียบปฏิบัติของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งครอบคลุมประเด็นหลักดังนี้
    • สิทธิของผู้ถือหุ้น
    • การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน
    • บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย
    • การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส
    • ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ
  4. คณะกรรมการธนาคารได้มีมติแต่งตั้งเลขานุการบริษัท (Company Secretary) เพื่อปฏิบัติหน้าที่และรับผิดชอบการดำเนินงานตามที่กฎหมายกำหนด รวมถึงสนับสนุนงานของคณะกรรมการในด้านที่เกี่ยวข้องกับกฎระเบียบ กฎหมาย รวมถึงข้อแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
  5. สายงานบรรษัทภิบาลของธนาคารมีหน้าที่ในการติดตามดูแลให้ธนาคาร รวมถึงกรรมการธนาคาร ผู้บริหารระดับสูง พนักงานทุกระดับ มีการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง สอดคล้องกับแนวทางตามกฎหมาย หรือตามกฎเกณฑ์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภายใต้กรอบธรรมาภิบาลของสถาบันการเงิน พร้อมทั้งเสนอวิธีปฏิบัติของธนาคารที่ควรเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ดังกล่าว เช่น ในด้านที่เกี่ยวข้องกับกรรมการอิสระ เป็นต้น
  6. ธนาคารให้ความสำคัญในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร (Corporate Social Responsibility - CSR) โดยได้ติดตามประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและเข้าร่วมประชุมกับองค์กรอิสระต่างๆ รับทราบแนวทางปฏิบัติที่เป็นสากลและนำมาปฏิบัติต่อไป
  7. กำหนดให้มีการทบทวนและปรับปรุงจรรยาบรรณและจริยธรรมทางธุรกิจให้เหมาะสมกับผู้บริหารและพนักงานแต่ละระดับ

 

การกำกับดูแลกิจการเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Governance)

คณะกรรมการธนาคารได้กำหนดขอบเขตการกำกับดูแลและได้จัดตั้งคณะกรรมการชุดย่อยขึ้นเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบในนามของคณะกรรมการธนาคาร คณะกรรมการธนาคารเล็งเห็นความสำคัญของการบริหารจัดการความยั่งยืนในองค์กร จึงได้ขยายขอบเขตการควบคุมดูแลให้ครอบคลุมด้านการบริหารความยั่งยืนและการพัฒนาโครงการดังกล่าวโดยได้แถลงไว้ในกฎบัตรของคณะกรรมการธนาคาร (Board Charter) ดังนี้

 

แบรนด์และกลยุทธ์ ความเสี่ยง ทรัพยากรบุคคล องค์กรและการกำกับดูแล
วัฒนธรรมองค์กร ระดับความเสี่ยงที่มีอยู่ (Inherent Risks – IR) และความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ Digital Transformation ความยั่งยืน

 

คณะกรรมการธนาคารได้จัดตั้งคณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทนและบรรษัทภิบาล เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลให้การบริหารความยั่งยืนขององค์กรมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่ระดับผู้บริหารสูงสุด โดยจะต้องติดตามให้มีการนำหลักการกำกับดูกิจการไปปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทบทวนกรอบการดำเนินงานด้านการบริหารความยั่งยืนเพื่อสนองวัตถุประสงค์ของธนาคารในระยะยาวและปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรเพื่อสนับสนุนให้เกิดบรรยากาศการทำงานที่เป็นมิตร ความรับผิดชอบต่อสังคมและจริยธรรมทางธุรกิจ ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ในระยะยาวของธนาคารคือการเป็นธนาคารที่ลูกค้าชื่นชอบและบอกต่อมากที่สุดควบคู่ไปกับการเติบโตอย่างยั่งยืน ดังนั้น ธนาคารจึงได้กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อดำเนินการตามแผนงานบริหารความยั่งยืนตลอดจนหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงการเปิดเผยผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนอย่างเพื่อความโปร่งใส


ให้คะแนนความพึงพอใจ
ประสบการณ์ในการใช้งานเว็บไซต์วันนี้ คุณพอใจมากน้อยแค่ไหน ?

รบกวนให้คะแนนเราหน่อยนะ

1
2
3
4
5
ไม่พอใจพอใจมากที่สุด