external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

Economic analysis

ttb analytics ชี้แนวโน้มค่าเงินบาทและราคาทองคำเคลื่อนไหวไปในทางเดียวกันมากขึ้น เหตุพฤติกรรมของคนไทยยังคงนิยมลงทุนทองคำ ท่ามกลางตลาดการเงินโลกที่ยังผันผวน ขณะที่ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่งน้อยลง

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ชี้แนวโน้มเงินบาทในช่วงต่อไปจะมีความผันผวนมากขึ้น จากความสัมพันธ์ระหว่างค่าเงินบาทและราคาทองคำที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้นเมื่อเทียบกับในอดีต หลังเห็นพฤติกรรมของคนไทยที่นิยมลงทุนและเก็งกำไรในทองคำมากขึ้น ความผันผวนของตลาดการเงินโลกในช่วงหลังซึ่งส่งผลบวกต่อการถือครองทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ตลอดจนความเปราะบางของปัจจัยพื้นฐานด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะในช่วงหลังสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งทำให้ทองคำมีบทบาทต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทมากขึ้น แนะภาคธุรกิจเตรียมพร้อมเครื่องมือทางการเงินรับมือกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะข้างหน้า

5 กันยายน 2567

ttb analytics ชี้การลงทุนไทยอยู่ในภาวะ “Under Investment” หวั่นแรงส่งจากการบริโภคอย่างเดียวไม่เพียงพอพยุงเศรษฐกิจระยะยาว แนะ 4 ข้อเร่งเสริมก่อนเศรษฐกิจจะโตช้าลง

การลงทุนรวมของไทยลดลงอย่างรวดเร็ว สวนทางกับการบริโภคภาคเอกชนที่มีบทบาทต่อเศรษฐกิจมากขึ้น โดยที่ผ่านมา การบริโภคภาคเอกชนสามารถรักษาระดับการเติบโตได้ดีเฉลี่ย 3.1% เทียบกับการลงทุนรวมที่ขยายตัวเพียง 0.7% (CAGR ปี 2540-2566) ส่วนหนึ่งจากผลของนโยบายกระตุ้นการบริโภคที่เข้ามาประคองเศรษฐกิจในแต่ละช่วง ส่งผลให้สัดส่วนการบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้นจาก 52% ต่อจีดีพีในปี 2550 เป็น 60% ของจีดีพีในปี 2566 และทำให้ขนาดของมูลค่าการบริโภคภาคเอกชนในปัจจุบันใหญ่กว่าการลงทุนรวม (ภาครัฐและภาคเอกชน) ถึง 2.4 เท่า

25 กรกฎาคม 2567

ttb analytics มองการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ระลอกใหม่ยังไม่กระทบการค้าจีนอย่างมีนัย

ttb analytics มองการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ระลอกใหม่ยังไม่กระทบการค้าจีนอย่างมีนัย ชี้จีนใช้ยุทธศาสตร์สร้างความได้เปรียบทางการค้า หวั่นไทยขาดดุลการค้ากับจีนรุนแรงขึ้นในระยะยาว

23 พฤษภาคม 2567

ttb analytics มองเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้าและเผชิญความท้าทายรอบด้าน ประเมินเศรษฐกิจปี 2567 ขยายตัว 2.6% ชี้วิกฤตโควิด-19 จุดชนวนปัญหาเชิงโครงสร้างรุนแรงขึ้น หวั่นกระทบความสามารถในการแข่งขันธุรกิจ

ttb analytics ประเมินว่า แม้ภาพรวมเศรษฐกิจในปี 2566 ที่ผ่านมา ยังพอมีแรงสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชนตามการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว แต่ภาพรวมการใช้จ่ายของภาคประชาชนกลับเห็นสัญญาณเปราะบางขึ้น สะท้อนจากการบริโภคภาคเอกชนในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับร้านอาหารและโรงแรม (เช่น การใช้จ่ายสินค้าจำเป็น ค่าสาธารณูปโภค ค่าเช่า ค่าซื้อยานพาหนะ ฯลฯ) ขยายตัวได้เพียง 0.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (YoY) สวนทางกับการใช้จ่ายในส่วนของร้านอาหารและโรงแรมเติบโตถึง 46.5%

22 กุมภาพันธ์ 2567

ttb analytics ประเมินสัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยสิ้นปี 2567 อาจเพิ่มขึ้นแตะระดับ 91.4% ต่อจีดีพี ชี้ 3 ปัจจัยหนี้ครัวเรือนในระยะต่อไปยังน่ากังวล

ttb analytics มองว่าสถานการณ์หนี้ครัวเรือนยังคงน่าเป็นห่วงทั้งในมิติของปริมาณการก่อหนี้ที่ไม่สร้างรายได้เพิ่มขึ้นเร็วและคุณภาพหนี้มีแนวโน้มด้อยลง ส่วนหนึ่งจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ค่อนข้างเชื่องช้า ส่งผลให้ระดับรายได้ของครัวเรือนฟื้นตัวได้อย่างจำกัด ขณะที่ต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้และคุณภาพของหนี้ อีกทั้งอุปสรรคจากการไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบของลูกหนี้บางส่วน ทำให้ต้องพึ่งพาแหล่งเงินกู้นอกระบบและเผชิญกับปัญหาวังวนหนี้ไม่รู้จบ

26 มกราคม 2567

ttb analytics ชี้เศรษฐกิจไทยฟื้นช้า ประเมินเศรษฐกิจปี 2567 ขยายตัวเพียง 3.1% มองไปข้างหน้ายังน่าห่วงจากความไม่แน่นอนสูงรอบด้าน

ttb analytics มองว่า เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันยังไม่กลับสู่ระดับศักยภาพจากการฟื้นตัวที่ล่าช้าและไม่ทั่วถึงในหลายภาคส่วน โดยเราได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจปี 2566 ลงจาก 2.8% เหลือ 2.4% สำหรับปี 2567 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 3.1% โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนหลักจากการบริโภคภาคเอกชนและภาคการท่องเที่ยว ประกอบกับผลบวกชั่วคราวจากมาตรการกระตุ้นการบริโภค

15 ธันวาคม 2566

มองส่งออกไทยครึ่งปีหลังฟื้นตัวจากผลของฐานต่ำ ชี้โมเมนตัมการค้าโลกยังไม่แน่นอนสูง ประเมินทั้งปีติดลบ 1.1%

ttb analytics ประเมินส่งออกไทยตลอดปี 2566 จะพลิกหดตัว 1.1%YoY เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่ขยายตัว 5.7%YoY โดยการส่งออกในช่วงครึ่งปีหลังจะมีแนวโน้มดีขึ้นจากปัจจัยฐานต่ำเป็นสำคัญ ประกอบกับอุปสงค์สินค้าอุตสาหกรรมที่จะปรับดีขึ้นตามวัฎจักรการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจแบบค่อยเป็นค่อยไป รวมถึงสินค้าเกษตรและอาหารที่จะได้แรงหนุนจากประเด็นความมั่นคงทางอาหาร อย่างไรก็ดี การชะลอตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าที่อาจลุกลามไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ความไม่แน่นอนจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์และมาตรการกีดกันทางการค้าที่เข้มข้นขึ้น ตลอดจนสภาพอากาศแปรปรวนที่อาจส่งผลต่อปริมาณสินค้าเกษตร ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะกดดันภาพรวมการส่งออกของไทยในระยะต่อไป

17 สิงหาคม 2566

เม็ดเงินต่างชาติไหลออกไม่หยุด กดดัชนีร่วงต่ำสุดในรอบ 2 ปี ttb analytics มอง 3 ปัจจัยพื้นฐานไทยเปราะบางสูง หวั่นฉุดโฟลว์ระยะยาว

ttb analytics มองว่า ฟันด์โฟลว์ต่างชาติไหลออกสุทธิจากตลาดหุ้นไทยกว่าแสนล้านบาทในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 หลังสภาพคล่องทั่วโลกถูกดึงออกจากระบบตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา กดดัชนี SET Index ร่วงต่ำสุดในรอบ 2 ปี ทั้งนี้ ปรากฎการณ์ที่ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยพื้นฐานของไทยที่ค่อนข้างเปราะบางอยู่ก่อนแล้วตลอดหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะผลตอบแทนหุ้นไทยที่ต่ำกว่าภูมิภาค เศรษฐกิจไทยขยายตัวช้าลง รวมถึงความไม่แน่นอนทางการเมือง

21 กรกฎาคม 2566

ttb analytics มองการส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ย ท่ามกลางเศรษฐกิจชะลอตัวและเงินเฟ้อขาลง ห่วงเศรษฐกิจไทยปีนี้อาจโตไม่ถึง 3.4%

ttb analytics มองว่า ผลจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงเป็นประวัติการณ์ในรอบหลายปี ทำให้การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางที่มีอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมายังคงต่ำกว่าตัวเลขอัตราเงินเฟ้อ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real Interest Rate) อยู่ในระดับต่ำจนอาจติดลบได้ในหลายประเทศ รวมถึงไทยด้วย อย่างไรก็ดี การเร่งขึ้นดอกเบี้ยเพื่อให้เพียงพอที่อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงกลับมาเป็นบวกได้นั้น อาจจำเป็นต้องพิจารณาตัวแปรหรือองค์ประกอบด้านเศรษฐกิจและสังคมอื่นร่วมด้วย เพื่อรักษาสมดุลระหว่างระดับราคา เสถียรภาพทางการเงิน และการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาว

6 กรกฎาคม 2566

ttb analytics คาดตลาดการเงินโลกมีแนวโน้มผันผวนสูง ในช่วงวัฏจักรดอกเบี้ย ขาขึ้นใกล้สิ้นสุด

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินว่า ทั่วโลกกำลังเผชิญกับภาวะการเงินตึงตัวและวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้นที่ใกล้สิ้นสุด ในขณะที่ระดับเงินเฟ้อทั่วไปชะลอตัวได้ช้า จึงมีความเสี่ยงที่ธนาคารกลางจะปรับขึ้นดอกเบี้ยมากกว่าที่คาด ซึ่งอาจทำให้ตลาดกลับมาปิดรับความเสี่ยง (Risk-off Sentiment) ส่งผลให้ตลาดการเงินมีแนวโน้มผันผวนสูงได้ในระยะต่อไป

3 กรกฎาคม 2566