Suggest Keywords
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินว่า ในปี 2566 ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยมีแนวโน้มกลับมาเกินดุลราว 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 0.7% ต่อจีดีพี จากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวที่ดีกว่าที่คาดไว้ รวมถึงการกลับมาของนักท่องเที่ยวจีนที่เร็วกว่าที่ประเมิน ขณะเดียวกับที่เงินทุนเคลื่อนย้ายจากต่างชาติก็ไหลเข้าตลาดการเงินไทยอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ค่าเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ต้นปี โดย ณ สิ้นปี 2566 คาดว่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.0-33.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
แรงส่งจากนักท่องเที่ยวต่างชาติและการบริโภคในประเทศ แม้มีผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว
โดยได้แรงหนุนจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ และวัฏจักรการบริโภคที่ฟื้นตัว ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว
เข้าสู่ช่วงปลายปี 2565 เศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น นอกเหนือไปจากผลกระทบที่เกิดจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครนที่เริ่มต้นขึ้นในช่วงต้นปี 2565 หลายปัจจัยที่มีผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2565 นี้ นับเป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดเดาได้ล่วงหน้า เช่น ภัยแล้ง และความเสี่ยงจากความขัดแย้งทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะกรณีจีนและไต้หวัน ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจโลกที่กำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด-19 ได้เกิดความผันผวนและมีความแตกต่างกันในจังหวะการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในแต่ละภูมิภาค ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อทิศทางเศรษฐกิจไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
หลังคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปีจาก 0.5% เป็น 0.75% ในการประชุมเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา เพื่อดูแลอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในประเทศไทยที่เร่งตัวและคาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไปอีกระยะหนึ่ง ประกอบกับเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวชัดเจนต่อเนื่องจึงมีความจำเป็นน้อยลงที่ต้องพึ่งพานโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษ ด้วยเหตุนี้ ภาคครัวเรือนจึงจำเป็นต้องแบกรับภาระทางการเงินมากขึ้น ทั้งจากค่าครองชีพสูงและอัตราดอกเบี้ยในประเทศขาขึ้น โดยเฉพาะครัวเรือนกลุ่มรายได้น้อยและกลุ่มที่มีภาระหนี้สินในระดับสูง จะรับรู้ผลกระทบได้ค่อนข้างชัดเจนกว่ากลุ่มอื่น
ในปี 2565 ทั้งไทยและประเทศเพื่อนบ้านต่างมีมาตรการผ่อนปรนการข้ามแดนและผ่านแดนระหว่างกัน ทำให้เป็นโอกาสของการค้าชายแดนที่จะสามารถฟื้นตัวได้ อย่างไรก็ดี จากปัญหาด้านเศรษฐกิจการเงินของประเทศคู่ค้า ได้แก่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) และเมียนมา รวมถึงมาตรการคุมเข้มโควิดของจีน เป็นโจทย์ท้าทายการส่งออกทางการค้าชายแดนและผ่านแดนว่าจะสามารถโตต่อเนื่องหรือสะดุดในช่วงครึ่งปีหลังนี้
ttb analytics expects in-country tourism to be around 188.1 million tourists in 2022, generating more than 0.72 Trillion Baht. Overall, Thai tourists remain the key support for in-country tourisms, especially for short distance trips in minor tourism provinces
ttb analytics หนุน New s-curve และ BCG ดึงการลงทุนต่างชาติ ดันยอด FDI แตะ 4-5 แสนล้านบาทต่อปี ในช่วงปี 2565-2567
ในไตรมาส 1/2565 เศรษฐกิจไทยขยายตัวที่ 2.2% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันในปี 2564 ซึ่งเป็นการฟื้นตัวต่อเนื่องจากไตรมาสสุดท้าย ทั้งในส่วนของการบริโภค การลงทุนภาคเอกชน และการส่งออกสินค้า แต่ในระยะต่อไป แรงส่งของการเติบโตทางเศรษฐกิจไทยจะลดลง หลังเศรษฐกิจโลกชะลอตัวชัดเจน อันเป็นผลจากสงครามในยุโรปและผลกระทบจากเงินเฟ้อที่เร่งตัว ขณะที่การเบิกจ่ายงบประมาณเริ่มมีข้อจำกัด
แนวโน้มรายได้สุทธิครัวเรือนไทยปี 2565 ลดลงจากปีก่อน เนื่องจากค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นเร็วกว่ารายได้ ประกอบกับภาระผ่อนจ่ายหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง เป็นปัจจัยกดดันแนวโน้มกำลังซื้อ เพิ่มความเปราะบางต่อภาวะการเงินของครัวเรือนไทย หลังผ่านจุดต่ำสุดของวิกฤตโควิด-19
รบกวนให้คะแนนเราหน่อยนะ