external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

แจ้งความประสงค์ขอใช้สิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีอากร
คลิก
ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสะดวกมากขึ้น

เพื่อเพิ่มความสะดวกในการใช้สิทธิ์ขอหักลดหย่อนภาษีเงินได้ตามประกาศกรมสรรพากร เพียงให้ความ
ยินยอมแก่ธนาคาร สำหรับการนำส่งและเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัย และข้อมูลอื่น ๆ ที่
เกี่ยวข้องตามสัญญากู้ยืมเงินต่อกรมสรรพากร

ทั้งนี้ การให้ความยินยอมดังกล่าว จะเริ่มมีผลตั้งแต่ปีภาษี 2564 เป็นต้น

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการหักลดหย่อนภาษีดอกเบี้ยเงินกู้ยืมสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย

ตามประมวลรัษฎากร กำหนดให้การหักลดหย่อนภาษีดอกเบี้ยเงินกู้ยืมสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยได้ตามที่จ่ายไปจริง เป็นจำนวนเงินสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท โดยมีเงื่อนไขหลักๆ ดังต่อไปนี้

  • ต้องเป็นการกู้ยืมจากสถาบันการเงินที่ประกอบกิจการภายในราชอาณาจักรไทยเท่านั้น
  • เป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามสัญญากู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้ออาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด หรือเพื่อสร้างอาคารใช้อยู่อาศัยบนที่ดินของตนเอง หรือบนที่ดินที่ตนเองมีสิทธิ์ครอบครอง
  • ทรัพย์สินที่กู้ต้องใช้เป็นหลักประกันในการกู้ (จำนอง)
  • หากมีการกู้สำหรับที่อยู่อาศัยมากกว่า 1 แห่ง สามารถใช้ลดหย่อนได้ทุกแห่งแต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
  • กรณีที่เป็นการกู้ร่วมกันหลายคน ให้แบ่งดอกเบี้ยคนละเท่า ๆ กัน แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
ทำไมต้องแจ้งความประสงค์และยินยอมให้ธนาคารนำส่งและเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยต่อกรมสรรพากร

สำหรับการกู้ยืมเงินที่ได้เริ่มทำสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีเงินได้ต้องแจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้ต่อธนาคาร และต้องให้ความยินยอมแก่ธนาคารเพื่อนำส่งและเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับดอกเบี้ยเงินกู้ยืม และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามสัญญากู้ยืมเงินต่อกรมสรรพากร เพื่อประโยชน์ในการใช้สิทธิ์ขอหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมสรรพากรกำหนด

สามารถศึกษาจากประกาศกรมสรรพากรได้ที่ : ฉบับที่ 396 | ฉบับที่ 397

แจ้งความประสงค์ขอใช้สิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีอากร
คำถามที่พบบ่อย
ต้องการใช้สิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้เกี่ยวกับดอกเบี้ยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ต้องทำอย่างไร

ลูกค้าที่ทำสัญญากู้ยืมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป ต้องแจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิ์ต่อธนาคาร โดยต้องให้ความยินยอมแก่ธนาคารเพื่อนำส่งและเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับดอกเบี้ยเงินกู้ยืม และข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องต่อกรมสรรพากร

ลูกค้าที่ทำสัญญากู้ยืมก่อนวันที่ 1 มกราคม 2564 สามารถใช้สิทธิ์ได้ 2 วิธี

  1. แจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิ์ต่อธนาคาร (ขั้นตอนเดียวกับกรณีลูกค้าที่ทำสัญญากู้ยืมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป)
  2. ใช้หนังสือรับรองดอกเบี้ยเงินกู้ยืม (ล.ย. 02) จากธนาคาร เป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิ์ได้ ตามเดิม
ให้ความยินยอมแล้ว จะได้รับหนังสือรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืม (ล.ย. 02) อีกหรือไม่

ธนาคารยังคงออก ล.ย. 02 ให้ลูกค้าเพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีตามปกติ โดยธนาคารจะจัดส่งให้แก่ลูกค้าตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม ของทุกปี

ทั้งนี้ สัญญากู้ยืมที่เกิดขึ้นตั้งแต่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป การที่ผู้เสียภาษีจะใช้สิทธิ์ลดหย่อนได้นั้น จะต้องแจ้งความยินยอมแก่ธนาคารเพื่อให้นำส่งข้อมูลแก่กรมสรรพากร ดังนั้นกรณีผู้กู้ที่ไม่ลงนามให้ความยินยอม หรือเคยให้แต่ขอเพิกถอนภายหลังนั้น หลักฐานที่เป็น ล.ย. 02 จะไม่สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิ์ลดหย่อนได้อีก

กรณีการกู้ร่วม ผู้กู้ทุกคนต้องให้ความยินยอมหรือไม่

สามารถให้ความยินยอมเฉพาะผู้ที่ต้องการจะใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้ ตามวิธีการในข้อ 1 (หากผู้กู้ร่วมคนอื่น ไม่ต้องการจะใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษี สามารถเลือกยินยอม หรือไม่ยินยอมก็ได้)

ทั้งนี้สิทธิ์ลดหย่อนของผู้กู้หลักและผู้กู้ร่วมรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท โดยต้องแบ่งสัดส่วนสิทธิ์ลดหย่อนของผู้กู้ทุกคนให้เท่ากัน

กรณีมีสัญญาเงินกู้หลายฉบับ (บ้านหลายหลัง) หรือกรณีเคยให้ความยินยอมแล้ว ต่อมากู้เงินซื้อที่อยู่อาศัยเพิ่ม จะต้องให้ความยินยอมใหม่หรือไม่

การให้ความยินยอมจะต้องระบุเป็นรายสัญญา ดังนั้น กรณีลูกค้ามีหลายสัญญาเงินกู้ จำเป็นจะต้องให้ความยินยอมทุกสัญญาเงินกู้ที่ได้เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป หรือกรณีเคยให้ความยินยอมครั้งหนึ่ง แล้วภายหลังกู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยเพิ่มอีก ก็จำเป็นจะต้องมาให้ความยินยอมสำหรับสัญญาเงินกู้ที่เพิ่มขึ้น จึงจะสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนได้ทุกสัญญาเงินกู้ ทั้งนี้รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท

หากให้ความยินยอมแล้ว สามารถเพิกถอนในภายหลังได้หรือไม่

สามารถทำได้ โดยเข้าไปทำรายการที่เมนู “แจ้งความประสงค์ขอใช้สิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีอากร” ตามเดิม และเลือกสัญญาสินเชื่อที่ต้องการยกเลิก โดยคลิกในช่องที่ระบุว่า “ไม่ยินยอม” และกดบันทึก

หากให้ความยินยอมแล้ว สามารถยื่นเรื่องขอลดหย่อนภาษีต่อกรมสรรพากรได้ตั้งแต่เมื่อไหร่

ลูกค้าสามารถยื่นเรื่องต่อกรมสรรพากรได้ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2565 เป็นต้นไป (สำหรับปีภาษี 2564)

fin tips เคล็ดลับเรื่องเงิน

5 - 6 นาที

3 สิ่งต้องรู้ พิชิตหนี้ได้ไวขึ้น” อย่าฝืนจนกลายเป็นหนี้เสีย

หลายคนคงจะเคยเจอปัญหาที่รายจ่ายมากกว่ารายรับ หาเงินมาก็หมดไปกับการจ่ายหนี้ อยู่ในวงจรหามาใช้ไป และมีแนวโน้มที่จะประสบปัญหาทางการเงินระยะยาว

5-7 นาที

อยากมีรถสักคัน จะซื้อหรือจะเช่าดีกว่ากันนะ?

การมีรถขับสักคันหนึ่งไม่ใช่เรื่องยากในสมัยนี้อีกแล้วเพราะเรามีทางเลือกอยู่หลายรูปแบบ แบบแรกก็คือการซื้อรถและขอสินเชื่อจากทางธนาคารเพื่อผ่อนชำระ และแบบที่ 2 คือการเช่าในรูปแบบ Car Subscription ซึ่งจะมีความแตกต่างกัน เราจะมาดูกันว่าทั้ง 2 แบบมีความแตกต่างกันอย่างไร และแบบไหนเหมาะกับตัวเรา

5-7 นาที

ซื้อรถจากการประมูลง่าย ๆ ได้รถมือสองน่าใช้ พร้อมขอสินเชื่อกับทีทีบีไดรฟ์

ยังมีอีกหนึ่งช่องทางที่น่าสนใจแต่หลายๆ คนอาจจะลืมนึกถึง นั่นก็คือการเข้าร่วมประมูลรถยนต์มือสอง ซึ่งจะมีบริษัทเป็นตัวกลางในการจัดประมูล มานำเสนอรถยนต์มือสองให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมประมูล พร้อมราคาเริ่มต้น
ให้คะแนนความพึงพอใจ
ประสบการณ์ในการใช้งานเว็บไซต์วันนี้ คุณพอใจมากน้อยแค่ไหน ?

รบกวนให้คะแนนเราหน่อยนะ

1
2
3
4
5
ไม่พอใจพอใจมากที่สุด