ปีใหม่แล้ว หลายคนอาจเริ่มต้นปีด้วยการวางแผนทำสิ่งใหม่ ๆ แต่สำหรับมนุษย์เงินเดือนและคนที่มีรายได้ ยังมีสิ่งที่ค้างคาจากปีเก่า นั่นก็คือ “การยื่นภาษีเงินได้” ซึ่งเป็นการยื่นแบบแสดงรายได้ของทั้งปี 2565 ที่ผ่านมา โดยยื่นปีละ 1 ครั้ง คนที่มีรายได้มากกว่า 10,000 บาทต่อเดือน จะต้องยื่นภาษีในช่วง ม.ค. - มี.ค. 2566 ซึ่งวิธีการยื่นภาษีสามารถทำได้ทั้งการยื่นภาษีด้วยตนเองผ่านสำนักงานสรรพากรใกล้บ้าน และการยื่นผ่านออนไลน์
การยื่นภาษีออนไลน์นั้นถือว่าเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกมาก ๆ ซึ่งสามารถยื่นได้ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงวันที่ 10 เมษายน 2566 ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร
เอกสารที่ต้องเตรียมก่อนการยื่นภาษีออนไลน์
- เอกสารแสดงรายได้ อย่างหนังสือรับรองเงินเดือน (50 ทวิ) จากบริษัท ซึ่งเป็นเอกสารที่ระบุว่าในปีนั้น ๆ เรามีรายได้รวมเท่าไหร่ มีการหักภาษีล่วงหน้าเท่าไหร่บ้าง
- รายการลดหย่อนภาษีที่รวบรวมไว้ตลอดทั้งปี เช่น ค่าเลี้ยงดูบิดา-มารดา หรือบุตร
- เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษีเพื่อนำมาใช้ในการกรอกแบบฟอร์มยื่นภาษี เช่น จำนวนเงินที่ซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี, เบี้ยประกันชีวิต, เบี้ยประกันสุขภาพ หรือใบกำกับภาษีเต็มรูปของช้อปดีมีคืน เป็นต้น
แต่ในปี 2565 ที่ผ่านมา หากใครลืมแจ้งสิทธิลดหย่อนภาษี SSF และ RMF ก็ยังสามารถแจ้งความประสงค์ไปยัง บลจ. ที่ซื้อหน่วยลงทุนเพื่อให้บลจ.นำส่งข้อมูลให้กับกรมสรรพากรได้ ซึ่งผู้ลงทุนจะยังคงสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีของปี 2565 ได้เช่นเดิม แต่กรมสรรพากรจะใช้เวลาดำเนินการนานกว่าปกติ ทำให้อาจได้เงินคืนภาษีล่าช้า ผู้ลงทุนกองทุน SSF/RMF ผ่านทีทีบี ท่านใดที่ยังไม่ได้แจ้งความประสงค์ขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษี SSF/RMF กับ บลจ. ที่ซื้อหน่วยลงทุน ยังสามารถแจ้งความประสงค์ได้ผ่านช่องทางออนไลน์ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
วิธียื่นภาษีออนไลน์ปี 2566 ด้วยตนเอง
STEP 1 เข้าไปที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร https://efiling.rd.go.th/
- กด “ยื่นแบบออนไลน์” (สามารถยื่นภาษีออนไลน์ได้ตั้งแต่วันนี้ - 10 เม.ย. 66)
- ทำการ “เข้าสู่ระบบ” ด้วยเลขบัตรประชาชน แต่หากใครที่ยื่นครั้งแรกให้กด “สมัครสมาชิก” แล้วทำตามขั้นตอนก่อน
- ยืนยันตัวตนด้วยรหัส OTP ผ่านเบอร์โทรศัพท์ที่ลงทะเบียนไว้
- กดยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/91
-
- ภ.ง.ด.90 คือ คนที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือนที่ได้รับ เช่น ขายของออนไลน์แบบบุคคลธรรมดา หรือเงินปันผล
- ภ.ง.ด.91 คือ คนที่มีรายได้จากเงินเดือนเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีรายได้เสริมจากช่องทางอื่น
STEP 2 ดึงข้อมูลค่าลดหย่อนอัตโนมัติ
- กรอกข้อมูลรหัสหลังบัตรประชาชน แล้วกด “ตรวจสอบข้อมูล”
- ระบบจะแสดงข้อมูลค่าลดหย่อนต่าง ๆ ที่เรามีให้อัตโนมัติ จากนั้นกด “ตรวจสอบข้อมูลสำหรับยื่นแบบ”
- เลือกข้อมูลที่จะใช้ในการยื่นภาษี จากนั้นกด “เริ่มยื่นแบบ”
STEP 3 ตรวจสอบข้อมูลส่วนตัว และใส่สถานะ
ระบบจะแสดงข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ ของเรา ทั้งเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร, ชื่อ-นามสกุล, วันเดือนปีเกิด, สถานที่ติดต่อ, ร้านค้า/กิจการส่วนตัว (ถ้ามี) ให้เราทำการตรวจสอบความถูกต้อง จากนั้นให้ระบุ “สถานะ” โสด / สมรส / หม้าย
STEP 4 ระบุข้อมูลตามแหล่งที่มาของรายได้
ระบบจะแสดงหน้ารายได้ต่าง ๆ โดยแยกตามแหล่งที่มาของรายได้ เช่น รายได้จากเงินเดือน, รายได้จากฟรีแลนซ์, รายได้จากทรัพย์สิน, รายได้จากการลงทุน และรายได้จากมรดกหากเป็นพนักงานประจำที่มีรายได้ช่องทางเดียวจากเงินเดือน ให้เลือก “ระบุข้อมูลช่อง 40(1)”
STEP 5 กรอกรายได้ทั้งปีตามใบ 50 ทวิ
ในหน้านี้ให้เรากรอกรายได้ทั้งปีตามใบ 50 ทวิ ที่ทางบริษัทให้มา ดังนี้
- เงินได้ทั้งหมด คือ รายได้ในปีที่ผ่านมาของเราทั้งหมด
- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ให้ดูว่าบริษัทมีการหักภาษีล่วงหน้าไปหรือไม่ หากไม่มีให้ระบุ 0 หรือถ้ามีก็ให้ระบุตามใบ 50 ทวิ
- เลขผู้จ่ายเงินได้ของบริษัทที่เราทำงานอยู่
STEP 6 ตรวจสอบค่าลดหย่อนทั้งหมด
ในระบบจะแสดงข้อมูลค่าลดหย่อนที่เรามีมาให้อัตโนมัติอยู่แล้ว แต่หากมีค่าลดหย่อนอื่น ๆ เพิ่มเติมในปี 2565 ที่ผ่านมา ก็สามารถใส่เพิ่ม หรือปรับแก้ไขได้
STEP 7 ตรวจสอบข้อมูลทั้งหมด
จากการที่เราใส่ข้อมูลรายได้ทั้งปี และค่าลดหย่อนต่าง ๆ ระบบจะทำการคำนวณเงินที่ต้องเสียภาษี หรือได้คืนภาษีมาให้อัตโนมัติ โดยให้เราตรวจสอบความถูกต้อง แล้วเลือกว่าจะขอคืนภาษีและอุดหนุนพรรคการเมืองหรือไม่ จากในตัวอย่างจะได้คืนภาษีทั้งหมด 10,215 บาท
STEP 8 กดยืนยันการยื่นแบบ
ให้ทำการตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง หากเรียบร้อย ถูกต้องแล้ว ให้ “กดยืนยันการยื่นแบบ” ก็เป็นการเสร็จสิ้นการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ต้องอัปโหลดเอกสารค่าลดหย่อนอื่น ๆ เพิ่มเติมด้วย เพื่อความรวดเร็วในการขอคืนภาษี
วิธีประหยัดภาษีในปีหน้า ด้วยการ DCA ใน ttb smart port SSF
จากในตัวอย่างการยื่นภาษีออนไลน์ปี 2566 จะได้เงินคืนภาษีอยู่ที่ 10,215 บาท หากใครต้องการที่จะประหยัดภาษีในปีหน้า แต่ไม่รู้ว่าจะลงทุนอะไรดี สามารถใช้เงินในส่วนนี้ โยกจากกระเป๋าซ้ายไปกระเป๋าขวา อย่างการทยอยลงทุนหรือ DCA ในกองทุนลดหย่อนภาษี SSF ของ ttb ได้ เรียกว่ายิงปืนนัดเดียว ได้นกสองตัว ได้ทั้งลงทุน และได้ทั้งลดหย่อนภาษีไปเลย
สำหรับใครที่ต้องการหากองทุนเพื่อลดหย่อนภาษี ทาง ttb advisory ก็มีกองทุนให้เลือกสรรมากมายตามความเสี่ยงที่รับได้ และนอกจากนี้ ยังสามารถวางแผนการลงทุนตามเป้าหมายพร้อมลดหย่อนภาษีได้ ด้วย ttb calculator และลงทุนผ่าน ttb smart port – SSF ที่มีผู้เชี่ยวชาญที่คอยดูแลบริหารจัดการพอร์ตให้อีกด้วย
สนใจทดลองตั้งเป้าหมายและลงทุนได้เลย เพียง 1 บาท ก็เริ่มลงทุนได้ด้วย ttb smart port สามารถดูรายละเอียดได้ที่ https://www.ttbbank.com/tsp/lite-cal สามารถเปิดบัญชีกองทุน และลงทุนผ่านแอป ttb touch ได้ง่ายๆ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ttb investment line หรือโทร. 1428 กด#4 ทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 9:00 น. – 17:30 น. (ยกเว้นวันหยุดธนาคาร)
โปรโมชันพิเศษสำหรับกองทุนลดหย่อนภาษีปี 2566
เมื่อซื้อหรือสับเปลี่ยนเข้ากองทุน RMF/ SSF ของ บลจ. 5 แห่ง ที่เข้าร่วมโปรโมชัน หรือโอนกองทุน LTF จาก บลจ.อื่นเข้ากองทุน LTF ของ บลจ. 4 แห่ง ที่เข้าร่วมโปรโมชัน (ยกเว้น ONEAM) ทุกๆ 50,000 บาท ของการลงทุนในแต่ละ บลจ.
จะได้รับเงินลงทุนเพิ่มในกองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market) จำนวน 100 บาท (ตาม บลจ. ที่ได้ลงทุน) ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม – 29 ธันวาคม 2566 อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
รายละเอียดเพิ่มเติม
- กิจกรรมส่งเสริมการตลาดนี้ สำหรับลูกค้าที่มีบัญชีผู้ถือหน่วยลงทุนผ่าน ttb และลงทุนในกองทุน RMF และ/หรือ SSF ที่เข้าร่วมโปรโมชันหรือโอนกองทุน LTF จาก บลจ. อื่น เข้ากองทุน LTF ของ บลจ. ที่เข้าร่วมโปรโมชัน (ทั้งนี้เฉพาะหน่วยลงทุนกองทุน LTF ที่มีอยู่ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2563) ในช่วงเวลาส่งเสริมการขายระหว่างวันที่ 3 ม.ค.- 29 ธ.ค.2566
ทั้งนี้ กองทุนเปิด อเบอร์ดีน สมาร์ทอินคัมเพื่อการเลี้ยงชีพ (ABSI-RMF) และกองทุนเปิดวรรณเดลี่ หน่วยลงทุนชนิดเพื่อการออม (1AM-DAILY-SSF) ไม่ร่วมรายการส่งเสริมการตลาดนี้ - การคำนวณสิทธิรับเงินคืนจะคำนวณจากยอดเงินลงทุนสุทธิในกองทุน RMF และ/หรือ SSF ที่อยู่ภายใต้ บลจ. เดียวกันรวมกับยอดโอนกองทุน LTF เข้า บลจ.เดียวกัน โดยผู้ถือหน่วยลงทุนที่ได้สิทธิรับเงินคืนจากยอดเงินลงทุนสุทธิในกองทุน RMF และ/หรือ SSF และยอดโอนกองทุน LTF จะต้องมีเลขบัตรประจำตัวประชาชนเดียวกัน และจะต้องถือหน่วยลงทุนไว้จนถึงวันที่ 30 เม.ย. 2567
- ยอดเงินลงทุนสุทธิ คือ ยอดรวมของรายการซื้อและยอดรับโอนจาก บลจ. อื่น หักด้วยยอดรวมของรายการขายคืนที่ผิดเงื่อนไขทางภาษีของกรมสรรพากร และยอดโอนไปยัง บลจ. อื่น ระหว่างวันที่ 3 ม.ค.- 29 ธ.ค.2566 โดยไม่นับรวมการโอนยอดหน่วยลงทุนภายในและระหว่าง บลจ. 5 แห่งที่เข้าร่วมโปรโมชัน
- ttb จะทำการโอนหน่วยลงทุนกองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market) ที่ ttb กำหนดให้ลูกค้าตามมูลค่าหน่วยลงทุนที่ได้รับตามโปรโมชันนี้ โดยโอนเข้าบัญชีผู้ถือหน่วยลงทุนที่เปิดไว้กับ ttb ภายในวันที่ 30 มิ.ย.2567
- ttb ขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงของสมนาคุณที่มีมูลค่าเทียบเท่า รวมทั้งเงื่อนไข ข้อกำหนดของรายการส่งเสริมการตลาดนี้ โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจและคำตัดสินของ ttb และให้ถือเป็นที่สุด
หมายเหตุ: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุนการลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงของการลงทุน / ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวน โดยเฉพาะนโยบายการลงทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน รวมทั้งศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุน กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ กองทุนรวมเพื่อการออม ก่อนตัดสินใจลงทุน / ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจและปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี และต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับพร้อมเงินเพิ่ม รวมทั้งเสียภาษีสำหรับกำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน
ระยะเวลาโปรโมชัน : 3 มกราคม – 29 ธันวาคม 2566
คำเตือน : การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะกองทุน นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานกองทุนก่อนตัดสินใจลงทุน / กองทุนนี้ลงทุนในต่างประเทศ จึงมีความเสี่ยงที่ทางการของต่างประเทศอาจออกมาตรการในภาวะที่เกิดวิกฤตการณ์ที่ไม่ปกติ ทำให้กองทุนไม่สามารถนำเงินกลับเข้ามาในประเทศ ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ลงทุนไม่ได้รับคืนเงินตามระยะเวลาที่กำหนด / กองทุนนี้มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนในต่างประเทศ ถึงแม้ว่ากองทุนอาจป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนรวม แต่เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ /การลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงของการลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจได้รับเงินลงทุนมากกว่าหรือ น้อยกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ / กองทุนที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ผู้ลงทุนควรศึกษารายละเอียดเงื่อนไขการลงทุนให้ครบถ้วน / สอบถามข้อมูล และขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ ttb ทุกสาขา หรือที่ ttb investment line โทร 1428 กด # 4 ทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 9:00 - 17:30 น. (ยกเว้นวันหยุดธนาคาร)
หมายเหตุ : ข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์และการคาดหมาย รวมทั้งการแสดงความคิดเห็นทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้ ทำขึ้นบนพื้นฐานของแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุด ที่ได้รับมาและพิจารณาแล้วเห็นว่าน่าเชื่อถือ แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความถูกต้อง ความสมบูรณ์แท้จริงของข้อมูลดังกล่าว ความเห็นที่แสดงไว้ในรายงานฉบับนี้ได้มาจากการพิจารณาโดยเหมาะสมและรอบคอบแล้ว และอาจเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งล่วงหน้าแต่อย่างใด รายงานฉบับนี้ไม่ถือว่าเป็นคำเสนอหรือคำชี้ชวนให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ และจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อประโยชน์แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเท่านั้น ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) ไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นโดยตรงหรือเป็นผลจากการใช้เนื้อหาหรือรายงานฉบับนี้ การนำไปซึ่งข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์ และการคาดหมาย ทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้ เป็นการนำไปใช้โดยผู้ใช้ยอมรับความเสี่ยงและเป็นดุลยพินิจของผู้ใช้แต่เพียงผู้เดียว