external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

The Sea is calling เผยเทคนิคเก็บเงินไปเที่ยวมัลดีฟส์ แบบติดสปีด!!

10 เม.ย. 2566

หากพูดถึงหน้าร้อน หลายคนคงนึกถึง “ทะเล” และทะเลที่หาดสวย น้ำใสก็หนีไม่พ้น ทะเลในฝันของคนรักทะเล อย่าง “มัลดีฟส์” วันนี้เราจึงขอนำเสนอเรื่องดีๆ ที่ควรรู้ก่อนเดินทางไป รวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ต้องเตรียมสำหรับการไปมัลดีฟส์ พร้อมนำทริควางแผนเก็บเงินให้ได้ไปเที่ยวมัลดีฟส์แบบติดสปีดมาฝากทุกคนกัน

5 เรื่องควรรู้ ก่อนไปเที่ยวมัลดีฟส์

5 เรื่องควรรู้ ก่อนไปเที่ยวมัลดีฟส์


1. เที่ยวมัลดีฟส์ช่วงไหนดีสุด?

มัลดีฟส์มี 2 ฤดูหลัก ได้แก่ ฤดูร้อน คือช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน โดยอุณหภูมิเฉลี่ยจะอยู่ที่ 28-30 องศาฯ และฤดูฝน คือช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม โดยอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 27-30 องศาฯ

ดังนั้นช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการท่องเที่ยวมัลดีฟส์ (High Season) คือช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคมของทุกปี ซึ่งอยู่ในช่วงฤดูร้อนของมัลดีฟส์ โดยเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับทำกิจกรรมทางน้ำต่าง ๆ เช่น การดำน้ำตื้นและลึก โต้คลื่น ฯลฯ เนื่องจากทะเลปราศจากคลื่นลม และปะการังมีสีสันสดใส ทำให้ตั๋วเครื่องบินและโรงแรมที่พักมีราคาสูงขึ้นตามไปด้วย

และช่วงเดือนพฤษภาคมจะเป็นเดือนที่เริ่มต้นฤดูฝนของมัลดีฟส์ โดยมีฝนตกเกือบทุกวันหรืออาจจะมีพายุฝนในบางวัน จึงทำให้ตั้งแต่ในช่วงเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไปตั๋วเครื่องบินและโรงแรมต่าง ๆ ราคาเริ่มถูกลง


2. มัลดีฟส์ใช้สกุลเงินอะไร?

มัลดีฟส์ใช้สกุลเงิน “รูฟียาห์มัลดีฟส์” (MVR) โดยมีอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงิน 1 MVR ≈ 2.20 THB อย่างไรก็ตาม โรงแรมรีสอร์ทรวมถึงร้านอาหารและร้านค้าส่วนใหญ่มักจะรับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (USD) ในการชำระค่าสินค้าและบริการด้วย จึงแนะนำให้แลกสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ไปใช้ในมัลดีฟส์แทนสกุลเงินรูฟียาห์มัลดีฟส์ได้เลย เนื่องจากสกุลเงินรูฟียาห์มัลดีฟส์หาแลกค่อนข้างยากและหากแลกมาแล้วก็จะแลกคืนกลับไปเป็นเงินบาทได้ยากเช่นกัน


3. ไปมัลดีฟส์ต้องขอวีซ่าไหม?

นักท่องเที่ยวที่ถือหนังสือเดินทาง (Passport) ประเทศไทย สามารถเดินทางไปเที่ยวมัลดีฟส์ได้ 30 วัน โดยไม่ต้องขอวีซ่า ทั้งนี้หนังสือเดินทางต้องมีอายุเหลือมากกว่า 6 เดือนก่อนเดินทาง ดังนั้นหากจองตั๋วเครื่องบินแล้วควรตรวจสอบวันหมดอายุของหนังสือเดินทางให้ดี หากมีอายุเหลือไม่ถึง 6 เดือน ต้องรีบทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ทันที


4. วันศุกร์คือวันหยุดของมัลดีฟส์!

วันศุกร์ถือเป็นวันหยุดของประเทศมัลดีฟส์ โดยร้านค้าส่วนใหญ่ รวมถึงเรือเฟอร์รี่จะหยุดให้บริการ อย่างไรก็ตาม ร้านอาหารใหญ่ ๆ อาจจะมีเปิดให้บริการอยู่บ้าง ดังนั้นแนะนำให้วางแผนบินมาเที่ยวมัลดีฟส์ในวันเสาร์และกลับก่อนวันศุกร์ จะได้ไม่ตรงกับวันหยุดของมัลดีฟส์


5. สิ่งที่ห้ามทำเมื่อไปเที่ยวมัลดีฟส์

เนื่องจากกว่า 97% ของประชากรมัลดีฟส์นับถือศาสนาอิสลาม ดังนั้นนักท่องเที่ยวที่จะไปเที่ยวมัลดีฟส์จึงห้ามนำเนื้อหมูหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากหมูเข้าประเทศ รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด สุนัข สัตว์อันตราย อาวุธสงครามและระเบิด

นอกจากนี้ยังไม่ควรนำสิ่งที่อยู่ในธรรมชาติ เช่น หอย ทราย ปะการัง ฯลฯ ออกจากมัลดีฟส์ รวมถึงห้ามเปลือยกายในที่สาธารณะ และห้ามสวมใส่เสื้อสายเดี่ยว เกาะอก กางเกงขาสั้นเที่ยวในเมืองมาเล เนื่องจากเป็นเมืองที่ค่อนข้างเคร่งเรื่องศาสนา


Checklist ค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียมสำหรับทริปมัลดีฟส์

Checklist ค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียม สำหรับทริปมัลดีฟส์


1. ตั๋วเครื่องบิน

สายการบินที่ให้บริการเที่ยวบินจากประเทศไทยสู่มัลดีฟส์มีทั้งแบบบินตรงและแบบแวะพักเปลี่ยนเครื่อง โดยสายการบินที่ได้รับความนิยม ได้แก่ Air Asia, Bangkok Airways และ Srilankan Airlines ซึ่งแต่ละสายการบินก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกันไป เช่น Air Asia เป็นสายการบินราคาประหยัด (Low Cost) ราคาจึงค่อนข้างถูกเมื่อเทียบกับสายการบินอื่นที่ให้บริการบินไปมัลดีฟส์ บินตรงจากไทยไปมัลดีฟส์ ใช้เวลาเดินทางเพียง 4 ชั่วโมงเท่านั้น เช่นเดียวกับ Bangkok Airways ที่ให้บริการเที่ยวบินตรงจากไทยไปมัลดีฟส์ แต่จะให้บริการแบบ Full Service ทำให้ราคาจะสูงกว่าสายการบินโลว์คอส ส่วน Srilankan Airlines ให้บริการแบบ Full Service เช่นกัน แต่จะต้องแวะพักเปลี่ยนเครื่องที่ศรีลังกา ทำให้ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7-8 ชั่วโมง

สำหรับราคาตั๋วเครื่องบินไปมัลดีฟส์ ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 10,000 บาท ขึ้นไป ขึ้นอยู่กับเวลาที่จองและวันที่เดินทางว่าเป็นช่วง High Season หรือ Low Season


2. โรงแรมที่พัก

ที่พักในมัลดีฟส์มีให้เลือกหลายประเภท โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ ที่พักบนเกาะชุมชน และที่พักบนเกาะส่วนตัว ซึ่งแต่ละประเภทก็มีราคาที่แตกต่างกันไป โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • ที่พักบนเกาะชุมชน (Local): ใครอยากสัมผัสวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวมัลดีฟส์แบบใกล้ชิดก็สามารถเลือกจองที่พักบนเกาะชุมชนได้ ข้อดีคือราคาค่อนข้างถูก มีที่พักให้เลือกมากมายหลายราคา โดยราคาเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณคืนละ 2,000 บาท
  • ที่พักบนเกาะส่วนตัว (Private): แบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ 1.) ที่พักริมชายหาดมัลดีฟส์ (Beach Villa) ที่ทำให้เราสามารถดื่มด่ำไปกับวิวชายหาดสวย ๆ ของมัลดีฟส์ พร้อมเดินเล่นรับลมทะเลสบาย ๆ ได้ โดยราคาเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 5,000 บาท/คืน และ 2.) ที่พักกลางทะเลมัลดีฟส์ (Water Villa) ราคาจะสูงที่สุดในบรรดาที่พักในมัลดีฟส์ แต่แลกกับบรรยากาศถือว่าคุ้มมาก ๆ เพราะจะได้รับชมวิวทะเลแบบ 360 องศา ดื่มด่ำกับบรรยากาศของทะเลมัลดีฟส์ได้แบบเต็มอิ่ม โดยราคาเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 15,000 บาท/คืน

ทั้งนี้ราคาที่พักจะขึ้นอยู่กับเวลาที่จองและวันที่เดินทางด้วยว่าเป็นช่วง High Season หรือ Low Season เช่นเดียวกับตั๋วเครื่องบิน


3. ค่าเดินทางจากสนามบินไปที่พัก

เนื่องจากมัลดีฟส์มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเกาะ การเดินทางจากสนามบินไปที่พักแต่ละแห่งจึงมีวิธีที่แตกต่างกันไป โดยแบ่งเป็น 3 รูปแบบหลัก ๆ ได้แก่

  1. เรือเร็ว (Speed Boat) ใช้กับที่พักที่อยู่ไม่ไกลจากสนามบินมากนัก ไม่เกิน 40 กิโลเมตร
  2. เครื่องบินน้ำ (Seaplane) สามารถนำเครื่องขึ้นและลงบนน้ำได้ ใช้สำหรับเดินทางไปที่พักที่อยู่ห่างออกไปตั้งแต่ 40-100 กิโลเมตร โดยมีค่าบริการสูงกว่า Speed Boat
  3. เที่ยวบินภายในประเทศ (Domestic Fight) ใช้ในกรณีที่ที่พักอยู่ห่างจากสนามบินค่อนข้างมาก ตั้งแต่ 100-300 กิโลเมตร และหลังจากลงจอดที่สนามบินเล็กแล้วอาจจะต้องต่อ Speed Boat เพื่อเข้าที่พักอีกที

โดยราคาทั้ง 3 รูปแบบก็จะขึ้นอยู่กับระยะทางจากสนามบินสู่ที่พัก เริ่มต้นตั้งแต่ 65 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 2,200 บาท เป็นต้นไป ในขณะที่การเดินทางในประเทศสามารถใช้บริการรถแท็กซี่ผ่านแอปพลิเคชันได้เลย ค่าบริการจะอยู่ที่ราว ๆ 7 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 240 บาท


4. ค่าอาหาร

หากเลือกพักที่รีสอร์ทในมัลดีฟส์ จะมีบริการแพ็กเกจ Meal Plans โดยแบ่งเป็น 4 รูปแบบหลัก ๆ ได้แก่ 1.) Daily Breakfast แพ็กเกจอาหารเช้า ไม่รวมเครื่องดื่ม 2.) Half Board แพ็กเกจอาหารเช้าและค่ำ ไม่รวมเครื่องดื่ม 3.) Full Board แพ็กเกจอาหารเช้า กลางวัน และเย็น ไม่รวมเครื่องดื่ม และ 4.) All Inclusive แพ็กเกจอาหารรวม 3 มื้อ ทั้งอาหารเช้า กลางวัน และเย็น ตลอดจนเครื่องดื่มประเภทต่าง ๆ

แต่ใครที่ไม่ได้เลือกพักในรีสอร์ทหรือใครที่พักรีสอร์ทแล้วไม่อยากซื้อแพ็กเกจเพิ่มในกรณีที่รีสอร์ทไม่ได้บังคับซื้อก็สามารถเลือกทานอาหารที่ร้านอาหารบริเวณรอบเกาะมัลดีฟส์ได้เช่นกัน โดยราคาเฉลี่ยของอาหารเช้าจะอยู่ที่ 300-500 บาท อาหารกลางวันอยู่ที่ 400-700 บาท และอาหารเย็นอยู่ที่ 800-1,000 บาท ทั้งนี้ราคาอาหารจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสถานที่ด้วย


5. ค่าชอปปิง

ใครเป็นสายชอปปิง มัลดีฟส์ก็มีร้านค้าท้องถิ่นให้เลือกซื้อของฝากมากมาย เช่น แม่เหล็กติดตู้เย็น พวงกุญแจรูปสัตว์ เครื่องแก้ว เป็นต้น รวมถึงร้านค้าปลอดภาษี (Duty Free) ในสนามบิน ส่วนราคาก็จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทสิ่งของ ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะขึ้นอยู่นักท่องเที่ยวแต่ละคน บางคนอาจจะเป็นสายเที่ยวไม่เน้นชอปปิงก็สามารถตัดงบส่วนนี้ออกได้เช่นกัน


6. ค่าทำกิจกรรม

เนื่องจากพื้นที่กว่า 99% จาก 90,000 ตารางกิโลเมตรของประเทศมัลดีฟส์เป็นทะเล นักท่องเที่ยวจึงนิยมมาทำกิจกรรมทางน้ำกันในมัลดีฟส์ ไม่ว่าจะเป็น ดำน้ำตื้นชมปะการัง ดำน้ำลึกสกูบา โต้คลื่น เล่นสกีน้ำ และล่องเรือ เป็นต้น ค่าทำกิจกรรมในมัลดีฟส์จะอยู่เริ่มต้นตั้งแต่ 500 บาท ขึ้นไป ขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวเลือก

แถม! สำหรับสายรักสบาย ไม่ชอบแพลนเที่ยวก็สามารถซื้อแพ็กเกจเที่ยวกับทัวร์ได้เช่นกัน ราคาแพ็กเกจทัวร์มัลดีฟส์ 3 วัน 2 คืน จะเริ่มต้นตั้งแต่ 30,000 บาท ขึ้นไป โดยราคาแพ็กเกจทัวร์ส่วนใหญ่เป็นราคาที่รวมทุกอย่างแล้ว ตั้งแต่ค่าที่พัก ค่าอาหาร และเรือรับส่งจากสนามบินไปที่พัก ดังนั้นใครที่เลือกซื้อแพ็กเกจเที่ยวกับทัวร์ให้เตรียมเงินไว้สำหรับชอปปิงก็เพียงพอแล้ว ทั้งนี้ราคาแพ็กเกจทัวร์ก็จะขึ้นอยู่กับวันที่เดินทางด้วย หากเป็นช่วง High Season ราคาก็จะสูงกว่าช่วง Low Season

สรุปค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ต้องเตรียมไปทริปมัลดีฟส์ 4 วัน 3 คืนกันสักหน่อย ในที่นี้ขอแบ่งเป็น 2 สาย คือสายเที่ยวประหยัด และสายเที่ยวหรู โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • สายเที่ยวประหยัด: ค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียมอยู่ที่ประมาณ 23,000 บาท โดยแบ่งเป็นค่าตั๋วเครื่องบินแบบ Low Cost 12,000 บาท ค่าที่พัก 4,000 บาท/คน สำหรับ 3 คืน ค่าเดินทางในประเทศ 1,000 บาท ค่าอาหาร 4,000 บาท (เฉลี่ยมื้อละ 400 บาท) ค่าชอปปิง 1,000 บาท และค่าทำกิจกรรม 1,000 บาท
  • สายเที่ยวหรู: ค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียมอยู่ที่ประมาณ 70,000 บาท โดยแบ่งเป็นค่าตั๋วเครื่องบินแบบ Full Service 20,000 บาท ค่าที่พัก 35,000 บาท/คน สำหรับ 3 คืน รวมค่าอาหารเช้า กลางวัน เย็น และเครื่องดื่มแล้ว ค่าเดินทางด้วย Speed Boat ไปกลับสนามบิน-ที่พัก 6,000 บาท ค่าชอปปิง 4,000 บาท และค่าทำกิจกรรม 5,000 บาท

หมายเหตุ: เป็นการประมาณค่าใช้จ่ายเบื้องต้นเท่านั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสไตล์การเที่ยวของแต่ละคน

สำหรับใครที่กำลังวางแผนเก็บเงินไปเที่ยวมัลดีฟส์อยู่ วันนี้เรามีเทคนิคการวางแผนเก็บเงินมาฝากกัน โดยเป็นเทคนิคที่จะช่วยให้ได้ไปเที่ยวมัลดีฟส์แบบติดสปีดด้วย จะมีรายละเอียดอย่างไร ติดตามไปพร้อมกันต่อจากนี้ได้เลย


เก็บเงินไปเที่ยวมัลดีฟส์แบบติดสปีดด้วย ttb smart port

วิธีการลงทุนแบบ DCA ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการเก็บเงินเที่ยวมัลดีฟส์ เพราะเป็นการลงทุนที่ไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก เน้นความสม่ำเสมอ แถมยังเพิ่มโอกาสติดสปีด ให้เราสามารถพิชิตเป้าหมายทริปมัลดีฟส์ในฝันได้ไวกว่าการออมเงินเพียงอย่างเดียวอีกด้วยด้วย

ซึ่งในบทความนี้ขอยกตัวอย่างการเก็บเงินไปเที่ยวมัลดีฟส์ด้วยการลงทุนแบบ DCA ผ่านกองทุนเปิด “ttb smart port” เครื่องมือที่จะช่วยทำให้การวางแผนการเงินของคุณเป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้น เพราะมีผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนระดับโลกอย่าง Amundi และ Eastspring คอยดูแลอย่างใกล้ชิด ปรับสัดส่วนการลงทุนให้โดยอัตโนมัติทุกเดือนเพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ในทุกสภาวะตลาด เลือกความสบายใจได้จากกองทุนทั้ง 5 รูปแบบ ตามเป้าหมายและระดับความเสี่ยงที่แต่ละคนยอมรับได้ ซึ่งในที่นี้จะขอยกตัวอย่างมา 3 รูปแบบ ตามระดับความเสี่ยงต่ำ กลาง และสูง ได้แก่ ttb smart port 1 - preserver, ttb smart port 3 - balancer และ ttb smart port 5 - gogetter

โดยตัวอย่างในบทความนี้ จะเป็นการเก็บเงินเดือนละ 4,000 บาท มาลงทุนใน ttb smart port ทั้ง 3 รูปแบบ มาดูกันว่าถ้าเราเริ่มเก็บเงินตั้งแต่ตอนนี้ เพื่อให้ได้ไปเที่ยวช่วง High Season ของปีหน้า ในระยะเวลา 1 ปี จะเป็นอย่างไร แผนการลงทุนแต่ละรูปแบบจะทำให้เรามีเงินเก็บไปทริปมัลดีฟส์ในฝันเท่าไรกันบ้าง


ttb smart port 1 - preserver

โมเดลกองทุนที่เหมาะสำหรับคนที่สามารถรับความเสี่ยงได้ต่ำ เน้นรักษาเงินต้น ต้องการควบคุมความเสี่ยงเป็นหลัก มีการกระจายการลงทุนในตราสารหนี้ไทยและต่างประเทศเพื่อเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนในระยะยาวที่มากกว่าเงินฝาก โดยแบ่งสัดส่วนการลงทุนเป็นตราสารหนี้ต่างประเทศ 30% และตราสารหนี้ในประเทศ 70% โดยมีผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 อยู่ที่ 2.9%* ต่อปี

เก็บเงินไปเที่ยวมัลดีฟส์แบบติดสปีดด้วย ttb smart port


หากเราเก็บเงินเดือนละ 4,000 บาท มาลงทุนผ่านกองทุนเปิด ttb smart port 1 - preserver ในระยะเวลา 1 ปี เราจะมีโอกาสมีเงินเก็บไปทริปมัลดีฟส์ในฝันเท่ากับ 48,643 บาท โดยโอกาสผลตอบแทนที่เกิดขึ้นได้คือ 643 บาท


ttb smart port 3 - balancer

โมเดลกองทุนที่เหมาะสำหรับคนที่ต้องการกระจายเงินลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายด้วยระดับความเสี่ยงสายกลาง ไม่เสี่ยงมากหรือน้อยไป และมีเป้าหมายให้เงินทำงานแทนในระยะยาว โดยแบ่งสัดส่วนการลงทุนเป็นตราสารหนี้ในประเทศ 15%, ตราสารหนี้ต่างประเทศ 35%, หุ้นในประเทศ 10% และหุ้นต่างประเทศ 40% โดยมีผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 อยู่ที่ 5.6%* ต่อปี

เก็บเงินไปเที่ยวมัลดีฟส์แบบติดสปีดด้วย ttb smart port


หากเราเก็บเงินเดือนละ 4,000 บาท มาลงทุนผ่านกองทุนเปิด ttb smart port 3 - balancer ในระยะเวลา 1 ปี เราจะมีโอกาสมีเงินเก็บไปทริปมัลดีฟส์ในฝันเท่ากับ 49,251 บาท โดยโอกาสผลตอบแทนที่เกิดขึ้นได้คือ 1,251 บาท


ttb smart port 5 - gogetter

โมเดลกองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้น ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยแบ่งสัดส่วนการลงทุนเป็นหุ้นต่างประเทศ 80% และหุ้นในประเทศ 20% เหมาะสำหรับคนที่สามารถรับความผันผวนได้สูงและต้องการสร้างโอกาสทำกำไรจากหุ้นทั่วโลก โดยมีผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 อยู่ที่ 7.7%* ต่อปี

เก็บเงินไปเที่ยวมัลดีฟส์แบบติดสปีดด้วย ttb smart port

หากเราเก็บเงินเดือนละ 4,000 บาท มาลงทุนผ่านกองทุนเปิด ttb smart port 5 - gogetter ในระยะเวลา 1 ปี เราจะมีโอกาสมีเงินเก็บไปทริปมัลดีฟส์ในฝันเท่ากับ 49,731 บาท โดยโอกาสผลตอบแทนที่เกิดขึ้นได้คือ 1,731 บาท

*อ้างอิงผลตอบแทนจากดัชนีชี้วัด (Benchmark) คำนวณจากข้อมูลในอดีตย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ของกองทุน ttb smart port 1, 3, และ 5 ทั้งนี้ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องมิได้เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

และนี่ก็เป็นตัวอย่างการเก็บเงินไปเที่ยวทริปมัลดีฟส์ในฝัน ผ่าน ttb smart port 3 รูปแบบ ที่เราได้นำมาฝากกัน ทั้งนี้ควรเลือกลงทุนในรูปแบบและแผนการลงทุนที่เหมาะสมกับความเสี่ยงของตัวเอง เพื่อให้เงินของเราสามารถเติบโตต่อไปได้อย่างสบายใจ ผู้ที่อยากลองสร้างแผน DCA เป็นของตัวเอง สามารถทำได้ง่าย ๆ ที่ https://www.ttbbank.com/tsp/lite-cal

และวันนี้เรามีโปรโมชันสุดพิเศษมามอบให้ลูกค้าที่ลงทุนแบบ DCA กับกองทุน ttb smart port ด้วย โดยลูกค้าที่ลงทุน DCA ขั้นต่ำเดือนละ 1,000 บาท ขึ้นไป ติดต่อกัน 12 เดือน จะได้รับหน่วยลงทุนพิเศษเพิ่มอีก 0.2% ของเงินลงทุนแบบตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือนในกองทุน ttb smart port โดยต้องเริ่มตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 29 ธันวาคม 2566 เท่านั้น ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ttbbank.com/th/promotion/detail/tspdca2023 และ ศึกษาขั้นตอนการเปิดพอร์ตการลงทุนผ่านแอป ttb touch ได้ที่ https://www.ttbbank.com/archive/howto/app/open-inv-port.php


ข้อมูลอ้างอิงจาก
https://www.clubmed.co.th/l/blog/maldives-trip?locale=th-TH
https://www.wayfairertravel.com/th/destinations/maldives/when-to-go-to-maldives/
https://th.trip.com/hot/articles/เที่ยวมัลดีฟส์+ใช้เงินเท่าไหร่.html
https://www.wonderfulpackage.com/article/v/1132/
https://www.wonderfulpackage.com/article/v/1404/
https://www.wonderfulpackage.com/article/v/768/
http://ibreak2travel.com/2017/10/05/15-things-to-khow-maldives/
https://maldivestour.guide/maldives-transportation-ferry-speedboat-transfers.html


ขั้นตอนการตั้งรายการลงทุนรายเดือนอัตโนมัติผ่านแอป ttb touch

การตั้งรายการลงทุนรายเดือนอัตโนมัติผ่านแอป ttb touch


เงื่อนไขของรายการส่งเสริมการขาย

  1. รายการส่งเสริมการขายแบบตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน (DCA) พิจารณาจากเงินลงทุนครั้งแรก ที่เกิดจากการตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน โดยยอดเงินลงทุนครั้งแรกต้องเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 29 ธันวาคม 2566 และต้องเป็นการลงทุนต่อเนื่องทุกเดือนจำนวน 12 เดือน นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก โดยต้องลงทุนในกองทุน ttb smart port ซึ่งประกอบด้วยกองทุน 1) tsp1-preserver 2) tsp2-nurturer 3) tsp3-balancer 4) tsp4-explorer 5) tsp5-gogetter
  2. รายการส่งเสริมการขายตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือนต้องมีการตั้งแผนการลงทุน (โดยไม่รวมการซื้อเป็นครั้งๆ) และลงทุนขั้นต่ำ 1,000 บาทต่อเดือนในกองทุนเดียวกันของชุดกองทุนใน ttb smart port ทั้งนี้จะคำนวณตามเลขที่ผู้ถือหน่วยลงทุน (CIS) และคำนวณเป็นรายกองทุน โดยนับเฉพาะยอดซื้อในกองทุน ttb smart port ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน
  3. บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด จะสรุปยอดเงินลงทุนที่เข้าเงื่อนไขรายการส่งเสริมการขายแบบตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน และจ่ายหน่วยลงทุนของกองทุน ttb smart port ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนถืออยู่ ให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนที่ได้รับสิทธิตามรายการส่งเสริมการขายดังกล่าว เมื่อลงทุนครบจำนวน 12 เดือน ตามเลขที่ผู้ถือหน่วยลงทุน (CIS) โดยจะเริ่มดำเนินการจ่าย 4 รอบ ได้แก่
    รอบที่ 1 ผู้ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ครั้งแรกภายในเดือนกุมภาพันธ์- มีนาคม 2566 จะได้รับหน่วยลงทุนในวันที่ 31 พฤษภาคม 2567
    รอบที่ 2 ผู้ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ครั้งแรกภายในเดือนเมษายน- มิถุนายน 2566 จะได้รับหน่วยลงทุนในวันที่ 31 สิงหาคม 2567
    รอบที่ 3 ผู้ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ครั้งแรกภายในเดือนกรกฎาคม- กันยายน 2566 จะได้รับหน่วยลงทุนในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567
    รอบที่ 4 ผู้ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ครั้งแรกภายในเดือนตุลาคม- ธันวาคม 2566 จะได้รับหน่วยลงทุนในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568
    (หากวันที่ทำการจ่ายหน่วยลงทุนตรงกับ เสาร์ อาทิตย์ วันหยุดราชการ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ จะดำเนินการจ่ายในวันทำการถัดไป)
  4. บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด ขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และเงื่อนไข วันทำรายการโอนหน่วยลงทุนพิเศษเพื่อซื้อกองทุนเพิ่ม และกำหนดระยะเวลาดำเนินการ โดยจะแจ้งให้ท่านทราบล่วงหน้าผ่านช่องทางของบริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด หรือธนาคาร และคำตัดสินของบริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด ไม่ว่ากรณี ใดๆ ให้ถือเป็นที่สุด
  5. บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด ขอสงวนสิทธิ์ หากผู้ลงทุนได้รับโปรโมชันจากรายการส่งเสริมการขายนี้ ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิในการพิจารณารายการส่งเสริมการขายอื่นในช่วงเวลาเดียวกัน
  6. โปรโมชันที่ได้รับนับรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีอื่นใดในทำนองเดียวกัน (ถ้ามี) ซึ่งผู้ได้รับสิทธิ์เป็นผู้รับผิดชอบในภาษีที่เกิดขึ้นทั้งหมด โดยผู้ได้รับสิทธิ์ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด


คำเตือน:

  • ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
  • กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจผู้จัดการกองทุน จึงอาจทำให้มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
  • การลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงของการลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจได้รับเงินลงทุนมากกว่าหรือ น้อยกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
  • สนใจลงทุน ขอรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือหนังสือชี้ชวน ได้ที่ ทีทีบี ทุกสาขา หรือ ttb investment line โทร. 1428 กด #4 ทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 09:00 – 17:30 น. ยกเว้น วันหยุดธนาคาร