external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

วางแผน DCA กองทุนรวมอย่างไร ? เพื่อซื้อรถคันแรก

Tag #fintips#วางแผนการลงทุน #ตั้งเป้าหมายการลงทุน#กองทุนรวม#DCA#เก็บเงินซื้อรถ #มนุษย์เงินเดือน

6 ก.ค. 2566

ถึงแม้ว่าการเดินทางในปัจจุบันจะสะดวกสบายขึ้นมาก แต่ “รถยนต์” ก็ยังมีความสำคัญและมีบทบาทในชีวิตประจำวันของใครหลาย ๆ คน ซึ่งการซื้อรถยนต์นั้นถือเป็นค่าใช้จ่ายระยะยาว จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนและศึกษารายละเอียดให้ดี ก่อนซื้อ ลองมาดูกันว่าถ้าอยากมีรถยนต์สักคัน ควรวางแผนการเงินอย่างไรและมีขั้นตอนอะไรบ้าง

ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่าไฟแนนซ์ เงินดาวน์และเงินผ่อนคืออะไร ?

  1. การจัดไฟแนนซ์ คือ การขอกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน ธนาคาร หรือบริษัทไฟแนนซ์ เพื่อนำเงินมาซื้อรถยนต์
  2. เงินดาวน์ เป็นการจ่ายเงินสดบางส่วนก่อนการจัดไฟแนนซ์ ยิ่งดาวน์เยอะเท่าไหร่ ภาระในการผ่อนชำระต่อเดือนก็จะยิ่งต่ำลงเท่านั้น เช่น ดาวน์ 20% หรือ 25% ซึ่งนอกจากจะผ่อนชำระต่อเดือนไม่สูงมากแล้ว ยังอาจจะได้รับดอกเบี้ยในอัตราพิเศษด้วย
  3. เงินผ่อนชำระ คือ เงินที่ต้องจ่ายให้ไฟแนนซ์ทุกเดือน จนกว่าจะครบตามสัญญา


ขั้นตอนที่ 1 เลือกรถยนต์ให้เหมาะสมกับรายได้


เลือกรถยนต์ให้เหมาะสมกับรายได้


หากใครที่ต้องการจะซื้อรถยนต์ด้วยเงินผ่อน ควรผ่อนไม่เกินประมาณ 40% ของรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ซึ่งถ้าเอาเงินผ่อนที่เหมาะสมเป็นตัวตั้ง ก็จะทำให้เราคิดย้อนกลับไปได้ว่า ราคารถที่เหมาะสมที่เราควรจะซื้อเป็นจำนวนเท่าไหร่ ซึ่งจะช่วยให้เราเลือกซื้อรถได้เหมาะสม ไม่เป็นภาระจนเกินไป โดยวิธีคิดคือ (เงินผ่อนต่อเดือน x จำนวนเดือนที่ผ่อน)/(1+ดอกเบี้ย) x %ยอดเงินกู้)

ตัวอย่างเช่น มีรายได้ 30,000 บาทต่อเดือน ถ้าหากต้องการดาวน์ 20% ผ่อนชำระ 60 งวด ดอกเบี้ย 3.5% ต่อปี ราคารถยนต์ที่เหมาะสมคือเท่าไหร่ ?

  1. เงินผ่อนต่อเดือน : ควรผ่อนรถไม่เกิน 30,000 x 40% = 12,000 บาท
  2. ราคารถยนต์ : (12,000 บาท x 60 เดือน )/(1+3.5%) x 80%) = 869,565.22 บาท
  3. ดังนั้น ราคารถยนต์ที่เหมาะสมกับรายได้ 30,000 บาท คือประมาณ 870,000 บาท


ขั้นตอนที่ 2 ค่าใช้จ่ายสำหรับรถยนต์ 1 คัน

การมีรถยนต์ 1 คัน นอกจากค่าใช้จ่ายอย่างค่างวดหรือค่าผ่อนชำระในแต่ละเดือนที่ต้องรับผิดชอบแล้ว ยังมีเรื่องของค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จะตามมาอีก โดยเราจะสรุปค่าใช้จ่ายคร่าว ๆ ต่อปี ดังนี้

สรุป ค่าใช้จ่ายสำหรับรถยนต์ 1 คัน


สรุปค่าใช้จ่ายต่อปีประมาณ 250,400 บาท หรือ 20,867 บาทต่อเดือน แต่นี่ยังไม่รวมค่าเสื่อมราคา ค่าล้างรถ ค่าน้ำมันที่อาจปรับเพิ่มขึ้น ค่าเปลี่ยนยางทุก 2 ปีอีกด้วย หากใครที่ต้องการจะซื้อรถยนต์ก็ต้องวางแผนการเงินในค่าใช้จ่ายส่วนนี้เพิ่มเติม หรือศึกษาวิธีการใช้รถยนต์ที่สามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายเหล่านี้ได้ เช่น การวางแผนการเดินทางจากสภาพจราจร การใช้ความเร็ว การเช็กแรงดันลมยาง การตั้งอุณหภูมิแอร์ การบรรทุกสิ่งของในรถ หรือเปลี่ยนเป็นซื้อรถไฟฟ้า (EV) แทน เป็นต้น


ขั้นตอนที่ 3 คำนวณเงินที่ต้องเตรียม

จากตัวอย่างข้างต้น หากมีรายได้ 30,000 บาทต่อเดือน ราคารถที่เหมาะสมคือประมาณ 870,000 บาท มาดูกันว่า ถ้าต้องซื้อรถยนต์ราคาประมาณนี้อย่างเช่น HONDA CITY e:HEV RS ราคา 839,000 บาท สีขาวแพลทินัม โดยดาวน์ 20% จะต้องเตรียมเงินเท่าไหร่ ?

เงินที่ต้องเตรียมสำหรับออกรถ HONDA CITY


ดังนั้น เงินที่ต้องเตรียมสำหรับซื้อรถยนต์ HONDA CITY e:HEV RS สีขาวแพลทินัม คือ 193,300 บาท ซึ่งเป็นการคำนวณโดยคร่าว ๆ สามารถปรับลดได้ตามโปรโมชันของแต่ละศูนย์บริการ แต่ค่าใช้จ่ายหลัก ๆ ที่จำเป็นจะต้องเตรียมเลยคือ เงินดาวน์

และหากใครยังไม่มีไอเดียในการวางแผนเตรียมเงินสำหรับการซื้อรถยนต์ ทาง ttb advisory ขอแนะนำเครื่องมือที่จะช่วยจัดการให้เป้าหมายของเราเป็นไปได้ง่ายและมีโอกาสสำเร็จได้มากขึ้น อย่างการทดลองตั้งแผนการลงทุน DCA กองทุนรวม ด้วย ttb smart port calculator ที่มีแผนการลงทุนให้เลือกมากมาย ครอบคลุมทุกเป้าหมายตามระดับความเสี่ยง


ขั้นตอนที่ 4 วางแผนเก็บเงินดาวน์รถยนต์ด้วย ttb smart port calculator


วางแผนเก็บเงินดาวน์รถยนต์ด้วย ttb smart port calculator


Step 1 : ตั้งเป้าหมายการลงทุน
วิธีการเก็บเงินเพื่อเตรียมเงินสำหรับซื้อรถยนต์แบบง่าย ๆ เริ่มต้นจากการกำหนดเป้าหมายอย่าง การเตรียมเงินดาวน์รถยนต์ในอีก 3 ปีข้างหน้า ใช้เงินทั้งสิ้น 200,000 บาท และเลือกระดับความเสี่ยงที่รับได้ไม่เกิน +/- 4% หรือมากกว่า


Step 2 : เลือกแผนการลงทุนด้วย DCA รายเดือน
เมื่อกรอกข้อมูลครบแล้ว ระบบจะแสดงแผนการลงทุนต่าง ๆ ซึ่งมีให้เลือกทั้งลงทุนด้วยเงินก้อนเดียว ลงทุนด้วยเงินก้อนผสมรายเดือน หรือทยอยลงทุนเท่ากันทุกเดือน ก็สามารถเลือกให้ตรงกับไลฟ์สไตล์ของเราได้ ซึ่งวิธีที่เหมาะสมกับมนุษย์เงินเดือนคือ การเลือกลงทุนในแผน smart port 2 โดยตั้งแผนทยอยลงทุนหรือ DCA ไว้อัตโนมัติรายเดือน เดือนละ 5,199 บาท จะมีโอกาสได้ผลตอบแทน 12,822 บาท โดยใช้เงินต้นเพียง 187,178 บาท

ซึ่งเราสามารถดูกลยุทธ์การลงทุนของแผนการลงทุนที่เราเลือกได้ด้วย โดยแผนการลงทุน tsp2-nurturer ที่เราเลือกนั้น มีการลงทุนทั้งในตราสารหนี้และตราสารทุน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

จะเห็นได้ว่าหากเรามีการใช้เครื่องมือที่เหมาะสม จะช่วยให้เรามีโอกาสเก็บเงินดาวน์รถยนต์ได้ง่ายสำเร็จตามเป้าหมายได้มากขึ้น อีกทั้งยังช่วยสร้างวินัยในการออม เป็นการซ้อมผ่อนก่อนเริ่มผ่อนจริง ประหยัดเงินต้นได้เยอะ และไม่ต้องเสียเวลาในการจัดพอร์ตการลงทุนเองอีกด้วย เพราะมีผู้เชี่ยวชาญระดับโลกด้านการลงทุนอย่าง Amundi และ Eastspring ที่จะคอยดูแลปรับสัดส่วนการลงทุนให้โดยอัตโนมัติทุกเดือน และหากใครต้องการคำแนะนำก็สามารถรับคำปรึกษาได้ที่ ttb advisory

โปรโมชันพิเศษ! เพิ่มโอกาสมั่งคั่ง ด้วย DCA กับกองทุน ttb smart port

รับหน่วยลงทุนพิเศษเพิ่มอีก 0.2% ของเงินลงทุนแบบตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือนในกองทุน ttb smart port เมื่อลงทุนขั้นต่ำเดือนละ 1,000 บาท ขึ้นไป ติดต่อกัน 12 เดือน โดยเริ่มตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 – 29 ธันวาคม 2566


เงื่อนไขของรายการส่งเสริมการขาย

  1. รายการส่งเสริมการขายแบบตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน (DCA) พิจารณาจากเงินลงทุนครั้งแรกที่เกิดจากการตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน โดยยอดเงินลงทุนครั้งแรกต้องเกิดขึ้นในช่วงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 – 29 ธันวาคม 2566 และต้องเป็นการลงทุนต่อเนื่องทุกเดือนจำนวน 12 เดือน นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก โดยต้องลงทุนในกองทุน ttb smart port ซึ่งประกอบด้วยกองทุน 1) tsp1-preserver 2) tsp2-nurturer 3) tsp3-balancer 4) tsp4-explorer 5) tsp5-gogetter
  2. รายการส่งเสริมการขายตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือนต้องมีการตั้งแผนการลงทุน (โดยไม่รวมการซื้อเป็นครั้งๆ) และลงทุนขั้นต่ำ 1,000 บาทต่อเดือนในกองทุนเดียวกันของชุดกองทุนใน ttb smart port ทั้งนี้จะคำนวณตามเลขที่ผู้ถือหน่วยลงทุน (CIS) และคำนวณเป็นรายกองทุน โดยนับเฉพาะยอดซื้อในกองทุน ttb smart port ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน
  3. บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด จะสรุปยอดเงินลงทุนที่เข้าเงื่อนไขรายการส่งเสริมการขายแบบตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน และจ่ายหน่วยลงทุนของกองทุน ttb smart port ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนถืออยู่ ให้กับผู้ถือหน่วยลงทุนที่ได้รับสิทธิตามรายการส่งเสริมการขายดังกล่าว เมื่อลงทุนครบจำนวน 12 เดือน ตามเลขที่ผู้ถือหน่วยลงทุน (CIS) โดยจะดำเนินการแบ่งจ่ายเป็น 4 รอบ ได้แก่
    รอบที่ 1 ผู้ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ครั้งแรกภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 - มีนาคม 2566 จะได้รับหน่วยลงทุนในวันที่ 31 พฤษภาคม 2567
    รอบที่ 2 ผู้ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ครั้งแรกภายในเดือนเมษายน 2566 - มิถุนายน 2566 จะได้รับหน่วยลงทุนในวันที่ 31 สิงหาคม 2567
    รอบที่ 3 ผู้ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ครั้งแรกภายในเดือนกรกฎาคม 2566 - กันยายน 2566 จะได้รับหน่วยลงทุนในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2567
    รอบที่ 4 ผู้ที่ตั้งแผนการลงทุนอัตโนมัติรายเดือน ครั้งแรกภายในเดือนตุลาคม 2566 - ธันวาคม 2566 จะได้รับหน่วยลงทุนในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568
    (หากวันที่ทำการจ่ายหน่วยลงทุนตรงกับ เสาร์ อาทิตย์ วันหยุดราชการ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ จะดำเนินการจ่ายหน่วยลงทุนในวันทำการถัดไป)
  4. บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด ขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และเงื่อนไข วันทำรายการโอนหน่วยลงทุนพิเศษเพื่อซื้อกองทุนเพิ่ม และกำหนดระยะเวลาดำเนินการ โดยมิต้องแจ้งให้ท่านทราบล่วงหน้า และคำตัดสินของบริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน อีสท์สปริง (ประเทศไทย) จำกัด ไม่ว่ากรณี ใดๆ ให้ถือเป็นที่สุด
  5. หากผู้ลงทุนได้รับโปรโมชันจากรายการส่งเสริมการขายนี้แล้ว ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิในรายการส่งเสริมการขายอื่นในช่วงเวลาเดียวกันอีก
  6. ผู้ได้รับสิทธิ์โปรโมชันพิเศษเป็นผู้รับผิดชอบในภาษีที่เกิดขึ้นทั้งหมด (ถ้ามี) ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด


คำเตือน :
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานกองทุนก่อนตัดสินใจลงทุน / กองทุนนี้ลงทุนในต่างประเทศ จึงมีความเสี่ยงที่ทางการของต่างประเทศอาจออกมาตรการในภาวะที่เกิดวิกฤตการณ์ที่ไม่ปกติ ทำให้กองทุนไม่สามารถนำเงินกลับเข้ามาในประเทศ ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ลงทุนไม่ได้รับคืนเงินตามระยะเวลาที่กำหนด / กองทุนนี้มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนในต่างประเทศ ถึงแม้ว่ากองทุนอาจป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนรวม แต่เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ กองทุนที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ผู้ลงทุนควรศึกษารายละเอียดเงื่อนไขการลงทุนให้ครบถ้วน / สอบถามข้อมูล และขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ ttb ทุกสาขา หรือที่ ttb investment line โทร 1428 กด # 4 ทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 9:00 - 17:30 น. (ยกเว้นวันหยุดธนาคาร)


หมายเหตุ :
ข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์และการคาดหมาย รวมทั้งการแสดงความคิดเห็นทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้ ทำขึ้นบนพื้นฐานของแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุด ที่ได้รับมาและพิจารณาแล้วเห็นว่าน่าเชื่อถือ แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความถูกต้อง ความสมบูรณ์แท้จริงของข้อมูลดังกล่าว ความเห็นที่แสดงไว้ในรายงานฉบับนี้ได้มาจากการพิจารณาโดยเหมาะสมและรอบคอบแล้ว และอาจเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งล่วงหน้าแต่อย่างใด รายงานฉบับนี้ไม่ถือว่าเป็นคำเสนอหรือคำชี้ชวนให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ และจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อประโยชน์แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเท่านั้น ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) ไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นโดยตรงหรือเป็นผลจากการใช้เนื้อหาหรือรายงานฉบับนี้ การนำไปใช้ซึ่งข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์ และการคาดหมาย ทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้ เป็นการนำไปใช้โดยผู้ใช้ยอมรับความเสี่ยงและเป็นดุลยพินิจของผู้ใช้แต่เพียงผู้เดียว


ที่มา : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, finspace

 

ให้คะแนนความพึงพอใจ
ประสบการณ์ในการใช้งานเว็บไซต์วันนี้ คุณพอใจมากน้อยแค่ไหน ?

รบกวนให้คะแนนเราหน่อยนะ

1
2
3
4
5
ไม่พอใจพอใจมากที่สุด