สิ่งเหล่านี้ ถูกเรียกรวมกับว่าแบรนด์ จะสังเกตได้ว่ายิ่งมีแบรนด์ใหญ่ ก็ยิ่งดูแข็งแกร่งมากกว่า ในการสร้างความประทับใจที่สร้างพลังการซื้อได้มากกว่าที่คิด โดยแบรนด์นั้นจะสื่อได้จากทั้งทั้งภาพลักษณ์ของสินค้า การตลาด รวมไปถึงร้านค้า ทุกอย่างถูกปรับจูนมาให้เป็นไปตาม สิ่งที่ผู้บริโภคต้องการอย่างแท้จริง
สำหรับผู้ประกอบการ SME ที่อยากสร้างธุรกิจให้เติบโต จึงต้องแยกให้ออกว่า อะไรคือ “อิทธิพลแห่งการซื้อ” ตามลำดับต่าง ๆ เพื่อสร้างไอเดียนำเสนอสินค้า และทำในสิ่งที่ควรทำก่อนหลัง โดยเฉพาะแบรนด์ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร เพราะความยากของวงการนี้คือ สินค้ามักมีคุณสมบัติคล้าย ๆ กัน ถึงแม้ว่าคุณภาพทางวัตถุดิบจะสามารถทดแทนกันได้ แต่จะไม่สามารถสร้างจุดแข็งได้ในระยะยาว ในขณะที่การสร้างจุดแตกต่างที่เน้นเรื่องของแบรนด์แบบชัดเจน จะทำให้เกิดจุดยืนและสร้างความแข่งขันได้แบบเหนือกว่าคู่แข่ง
หนึ่งในอิทธิพลของการซื้อ ของอุตสาหกรรมอาหาร 2022 คือ “การมีแบรนด์บนสินค้า”
จากการศึกษาของ Foodmix Marketing Communications พบว่าลูกค้า 68% มักซื้อเนื้อสัตว์ ผัก หรืออาหารที่มี ‘ตราสินค้า’ หรือ ’แบรนด์’ มากกว่าสินค้าที่ไม่มีแบรนด์ประทับในผลิตภัณฑ์ เพราะคนรุ่นใหม่มักให้ความสำคัญและตระหนักถึงความปลอดภัยต่อการบริโภคสินค้า ยิ่งเป็นในเรื่องของอาหาร ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพโดยตรง ผู้บริโภคต้องการมาตรฐานและ การตรวจสอบแหล่งที่มาได้
จุดนี้จึงสามารถสร้างเป็นจุดขายใหม่ที่ทำให้เจ้าของธุรกิจในอุตสาหกรรมอาหารสามารถปรับใช้เป็นกลยุทธ์การขายที่แตกต่าง เหนือกว่าคู่แข่งได้ โดยเทคนิคสำหรับ SME ที่เป็นรายย่อยก็สามารถใช้เทคนิคนี้ทำได้เช่นกันดังนี้
เทคนิคสร้างแบรนด์ เพิ่มอิทธิพลของการซื้อในอุตสาหกรรมอาหาร ปี 2022
1. ทุกสินค้าควรมี ฉลาก และตราสินค้าลงไปในผลิตภัณฑ์ หรือแพ็กเกจจิง
จากพฤติกรรมการเลือกซื้อในยุคนี้ ไม่ว่าผลิตภัณฑ์สินค้าของคุณ จะเป็นประเภทไหน ควรจะมี ฉลากแบรนด์แบบชัดเจน อาจจะแสดงเป็นชื่อร้าน หรือรายละเอียดอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ เพราะ ‘ภาพลักษณ์แบรนด์’ คือด่านแรกแห่งความประทับใจ ดีไซน์ที่ทันสมัย ผู้ผลิตคือใคร ยึดมั่นในเรื่องอะไร จะช่วยสร้างเชื่อถือและเป็นผลดีในการสร้างความแตกต่าง แม้หากลูกค้าไม่เคยรู้จักหรือเห็นแบรนด์นี้มาก่อนเลย ก็จะมีความมั่นใจมากกว่าในผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีฉลาก วิธีการสร้างความน่าสนใจนี้ไม่ได้ทำเพียงแค่มีฉลากแปะ แต่ควรทำบนในช่องทางออนไลน์เพื่อไว้ด้วย เพราะมีโอกาสที่ลูกค้าจะหยิบขึ้นมาและเซิร์ชทันทีเพื่อทำความรู้จักแบรนด์ให้มากขึ้น
2. วางรากฐานข้อมูลเป็นสิ่งที่ต้องทำ โดยเฉพาะบนเว็บไซต์ออนไลน์ เพื่อแสดงตัวตนของแบรนด์ให้ผู้บริโภครู้จัก
หลังจากมีป้าย ฉลากแสดงตัวตนแล้ว สิ่งต่อมา คือการสร้างตัวตนที่ตรวจสอบได้บนออนไลน์ เพราะลูกค้าจะมีการค้นหาบนออนไลน์เป็นช่วงทางแรก ๆ การปรากฏตัวตนของแบรนด์ลงบนเว็บหรือโซเชียลมีเดีย เป็นวิธีที่เข้าถึงลูกค้าได้ง่ายที่สุดและใช้ต้นทุนไม่มาก ซึ่งสามารถบอกรายละเอียด ข้อมูล แหล่งผลิต ที่โน้มน้าวมากกว่าภาพสินค้าตรงหน้า หากแบรนด์บอกข้อมูลอย่างครบถ้วน ก็จะทำให้ลูกค้าหมดข้อสงสัย เกิดเป็นความเชื่อมั่นและตัดสินใจซื้อได้ทันที
3. จุดยืนของแบรนด์อุตสาหกรรมอาหารที่ผู้บริโภคคาดหวัง คือ “ความปลอดภัย” และ “เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม”
สินค้าและผลิตภัณฑ์ทางอาหารนั้นมีผลโดยตรงกับเรื่องสุขภาพ ผู้บริโภคจึงคาดหวังในเรื่องของความปลอดภัยเป็นหลัก ทั้งในกระบวนการผลิต การขนส่ง ฯลฯ ดังนั้นเจ้าของธุรกิจ จึงควรสื่อสาร บอกเล่าเรื่องราวที่มาที่ไป เริ่มตั้งแต่วัตถุดิบจนถึงการส่งมอบ โดยแทรกแนวทางที่ยึดถือในการปฏิบัติ ที่แสดงให้เห็นถึงความปลอดภัยทั้งต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจ ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่เจ้าของธุรกิจในอุตสาหกรรมอาหารสามารถทำได้ทันที เพื่อสร้างจุดขายที่โดดเด่นและตรงกับพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคใหม่ ที่ให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์มาเป็นอันดับหนึ่ง
ขยับยอดขาย ด้วยภาพลักษณ์หน้าร้านแบบยุคใหม่ ttb Smart Shop พร้อมระบบที่ไร้รอยต่อ
นอกจากมีแบรนด์ที่แสดงออกในตัวสินค้าแล้วภาพลักษณ์ของร้านค้าก็เป็นเรื่องสำคัญที่จะส่งเสริมแบรนด์ธุรกิจนั้นให้น่าเชื่อถือยิ่งขึ้น สร้างโอกาสการขายที่มากกว่า ด้วยเครื่องมือดี ๆ แบบ ttb smart shop แอปพลิเคชันจัดการร้านค้าที่ช่วยสร้างประสบการณ์ใหม่ทั้งลูกค้าและเจ้าของร้าน ด้วยการดำเนินธุรกิจแบบไร้รอยต่อ ทั้งการชำระเงินและความทันสมัยของภาพลักษณ์ร้านค้า พร้อมยังให้ความปลอดภัยทั้งข้อมูลสูงสุด มีจุดเด่นคือ
จุดเด่น ttb smart shop แอปพลิเคชันจัดการร้านค้าที่ SME ยุคดิจิทัล จำเป็นต้องมี
- สร้าง QR Code เพื่อรับชำระเงินได้จากทุกธนาคาร ทั้งแบบไม่ระบุจำนวนเงิน และระบุจำนวนเงิน
- จัดการสินค้าและสต๊อกสินค้าอย่างง่ายดาย
- แจ้งเตือนทันทีในแอปพลิเคชัน เมื่อได้รับชำระเงิน
- ดู Dashboard สรุปยอดขาย โดยเลือกช่วงเวลาของยอดขายได้
- ดูรายงานการขายได้ทุกเวลา พร้อมส่งเข้าอีเมลได้ทันที
- สามารถจัดสิทธิการใช้งานของพนักงาน ในการดูแลจัดการร้านค้าได้
สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่
สำหรับผู้ประกอบการ SME ที่มีหน้าร้านเป็นของตัวเอง
สามารถเพิ่มบริการชำระเงินที่เพิ่มประสิทธิภาพในการขายได้ด้วย การใช้คู่กับ บริการรับบัตรเครดิตด้วยเครื่องรูด EDC เพื่อให้ลูกค้าซื้อสินค้าได้สะดวกและง่ายยิ่งขึ้น พร้อมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับร้านค้าที่ใช้ระบบของสถาบันการเงินมาจัดการร้าน เพราะหากไม่มีข้อมูลใดการันตี ก็เป็นเรื่องยากที่ลูกค้าจะกดจ่ายเงิน ดังนั้น แม้จะเป็นสินค้าบนออนไลน์ก็ปิดการขายได้จากภาพลักษณ์สินค้าให้ดูน่าไว้ใจ
นอกจากจะสร้างความประใจแรกของสินค้าแล้ว หลังการซื้อควรสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่แบรนด์ ด้วยบริการหลังการชำระเงินที่สะดวก ก็จะดูเป็นแบรนด์ที่เป็นมืออาชีพมากขึ้น
ดูเพิ่มเติมได้ที่นี่
ทั้งหมดนี้คือการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของธุรกิจที่ตรงกับพฤติกรรมผู้บริโภคในปี 2022 ที่เริ่มทำได้ทันที ด้วยกลยุทธ์ง่าย ๆ เพียงแค่มีฉลากแปะก็จะส่งผลกับกลุ่มลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ ได้ไม่ยาก
พร้อมเชื่อมต่อแบบไร้รอยต่อทั้งออฟไลน์และออนไลน์ ก็จะยิ่งช่วยให้เพิ่มโอกาสการซื้อและสร้างประสบการณ์ที่ประทับใจกับลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น
ที่มา :
finbiz by ttb โครงการเสริมความรู้ ต่อยอด เอสเอ็มอี สู่การเป็น Smart SME
ผ่านหลากหลายแพลตฟอร์ม พร้อมองค์ความรู้ที่ครบครัน จาก Partner
ชั้นนำทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อให้ธุรกิจรับมือกับความเปลี่ยนแปลง
พร้อมปรับตัวในยุคดิจิทัล และเติบโตอย่างยั่งยืน
“ครบ จบในที่เดียว ปรับใช้ได้ง่าย ต่อยอดได้จริง สู่การเป็น Smart SME”
อัปเดตทุกดิจิทัลเทรนด์ และความรู้ดี ๆ ที่ SME ไม่ควรพลาด
เพียงแอดไลน์ @ttbSME หรือคลิกเพิ่มเพื่อน