จากงานสัมมนาออนไลน์ “รู้ลึกจับกระแสค้าปลีก
พิชิตใจกลุ่มเป้าหมาย...พร้อมปรับยังไงให้รอด” โดย finbiz by ttb
สำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคที่ผ่านมา
พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญในวงการอุตสาหกรรม ด้านข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภค
และด้านการเงิน การธนาคาร อย่าง คุณเสาวรัตน์ โอภาสยานนท์ จาก Head of Mother/
Child and Home Care Marketing บมจ. โอสถสภา คุณสมวลี ลิมป์รัชตามร
อดีตกรรมการผู้จัดการ บจก. นีลเส็น (ประเทศไทย) และ คุณศมน คุ้มธรรมพินิจ จาก
ทีทีบี ได้พูดคุย แลกเปลี่ยนมุมมองประสบการณ์
จับประเด็นทิศทางอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภค เทรนด์ผู้บริโภค และทิศทางโอกสในอนาคต
อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคแนวโน้มไปได้แน่...คาดขยายตัวได้ 5% ต่อปีในปีหน้า
จากข้อมูลของศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี
เผยว่าอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคเป็นอุตสาหกรรมที่ใหญ่สุดอันดับต้นของประเทศ
คิดเป็น 17% ของ GDP ในประเทศไทย มูลค่าอยู่ที่ 2.7 ล้านล้านบาทต่อปี
คาดว่าปีนี้จะขยายตัวเล็กน้อยได้อีก 2.5% และจะขยายตัวได้อีก 5.4% ต่อปี
ในปีหน้า แม้ภาพรวมของเศรษฐกิจไทยในช่วงปลายปีนี้ยังคงไม่แน่นอน
ทั้งนี้ปัจจัยบวกและลบสนับสนุนการเติบโต
ปัจจัยบวก ได้แก่
- มาตรการกระตุ้นภาครัฐ เช่น เราชนะ คนละครึ่ง
- การส่งออกฟื้นตัว
- รายได้เกษตรกรดี ได้แก่ ยางพารา ปาล์ม มันสำปะหลัง
- การฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากร > 70%ภายในปี 64
ปัจจัยลบ ได้แก่
- การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
- การล็อคดาวน์ในไตรมาส 3/2564
- ภาคการท่องเที่ยวชะลอตัว
ทั้งนี้ GDP ภาคการค้าส่ง ค้าปลีก ยังเติบโตสูงกว่า GDP รวมประเทศ +5.4%
ถือยังมีช่องว่างโอกาสให้กับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนี้
ซึ่งคุณศมน คุ้มธรรมพินิจ ได้ให้มุมมองสำหรับโอกาสว่า การขยายช่องทางการขาย
จะเป็นการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงผู้บริโภค โดยเฉพาะช่องทางการขายออนไลน์
ที่สามารถทำให้เข้าถึงผู้บริโภคได้โดยตรง
3 เทรนด์หลักที่จะเปลี่ยนแปลงธุรกิจค้าส่ง ค้าปลีก และสินค้าอุปโภคในอนาคต
-
การขยายตัวของเมือง ก่อให้เกิดตลาดในประเทศที่มีโอกาสเติบโตสูง
หัวเมืองจังหวัดใหญ่ พื้นที่ EEC ได้แก่ ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา
เขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) อยู่ในพื้นที่เศรษฐกิจใหม่บริเวณชายแดน ตั้งอยู่ใน 10
จังหวัด ได้แก่ เชียงราย กาญจนบุรี นราธิวาส หนองคาย นครพนม ตราด สงขลา ตาก
สระแก้ว และมุกดาหาร
-
ผสมผสานช่องทางการเข้าถึงผู้บริโภค Omni – Channel (online, offline) มีหลาย
ๆ ช่องทางในการเปิดประตูรับเงินของผู้บริโภค การเข้าถึงเรา
เราเข้าถึงผู้บริโภค รวมถึงช่องทาง social commerce
ที่ผู้ประกอบการค้าส่งและค้าปลีกต้องตั้งรับให้ทัน
-
ปรับใช้ Digital Ecosystem อย่างลงตัว E-Commerce E-Payment E-Transportation
E-Inventory Management ซึ่ง SME ยุคใหม่
ควรเตรียมพร้อมการรับชำระเงินแบบไม่ต้องสัมผัสและนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน
และพร้อมเติบโตอย่างยั่งยืน
แค่รู้ใจผู้บริโภคก็ได้ใจไปกว่าครึ่ง… รู้จัก 10
พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป
10 พฤติกรรมผู้บริโภคยุคโควิดที่เปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ ทำความรู้จัก
และเข้าใจกลุ่มเป้าหมายที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
-
ระมัด ระวังมากขึ้น ทุกที่ ตลอดเวลา ด้วยสถานการณ์โควิด
ทำให้ผู้บริโภคมีการระมัดระวังตัวอยู่เสมอ
- การเลือกใช้พื้นที่หรือสถานที่เปิดมากขึ้น
- ให้คุณค่าพื้นที่ส่วนตัว
-
จำกัดจุดสัมผัส ลดการสัมผัส เราจะพบการใช้หุ่นยนต์เข้ามาช่วย
หรือการจ่ายเงินแบบไร้การสัมผัส การจ่ายด้วย QR code เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ
- ให้ค่าโลกเสมือนจริงกว่าโลกทางกายภาพ
-
ใช้ชีวิตอยู่ในบริเวณใกล้เคียง เกิดจากการที่เมืองขยายตัว
จึงเกิดเป็นชุมชนกลุ่มเล็กในอนาคตโดยทุก ๆ 800 เมตรถึง 1 กิโลเมตร
เราสามารถเข้าถึงสถานที่สำคัญ ๆ ได้ อาจจะเป็น Vending machine
หรือว่าห้างเล็ก ๆ ซึ่งเทรนด์ในช่วงที่ผ่านมาห้างใหญ่ ๆ
ก็ไปเปิดในพื้นที่เล็ก ๆ มากขึ้น เรียกว่า small footprint
อย่างธนาคารก็ไปเปิดตามที่เล็ก ๆ มากขึ้น เช่น สถานีรถไฟฟ้า พื้นที่ชุมชน
-
อุดหนุนท้องถิ่น คนในท้องถิ่นจะอยากอุดหนุนของในท้องถิ่นตัวเอง
อยากรู้เรื่องราว รู้จักสินค้าให้มากขึ้นกว่าเดิม ส่วนผู้ขาย
ก็จะมีการพัฒนาสินค้าให้ดีขึ้นกว่าเดิม ให้ทันสมัย สะดวก
เข้าใจผู้บริโภคมากขึ้น จุดนี้จะเป็นโอกาสในการพัฒนานวัตกรรมเชิงสินค้า
และบริการได้
-
วางแผน และควบคุมทางการเงิน ผู้บริโภคจะวางแผนการใช้เงิน ระมัด ระวังมากขึ้น
- ความถูกต้องของข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญ
-
ส่งผลต่อความต้องการสินค้าจำเป็น
ซึ่งพบว่าความต้องการของผู้บริโภคมีแนวโน้มของความต้องการเชิงอารมณ์มากขึ้นด้วย
ไม่ใช่แค่เรื่องของความจำเป็นเชิงกายภาพ ความคุ้มค่าเกี่ยวกับความรู้สึกด้วย
เพราะฉะนั้นเราต้องทำความเข้าใจผู้บริโภคของเราว่าอะไรคือความต้องการทั้งทางกายภาพ
และความรู้สึก
อ่านเกมส์ให้ออก..ปรับตัวให้ทัน กับการเปลี่ยนแปลงแบบ New Normal
ในส่วนมุมมองของ คุณเสาวรัตน์ โอภาสยานนท์ ผู้เชี่ยวชาญในตลาดสินค้าอุปโภค
ที่อยู่ในตลาดมานาน ได้แชร์กระแสโลก แนะ 6
เทรนด์ใหญ่ที่น่าจับตามองสำหรับการตลาดและโลกแห่งการค้าปลีก
ที่จะเข้ามาเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคในอุตสาหกรรมอุปโภค หลังยุค New normal
ที่จะนำไปสู่ความต้องการของผู้บริโภคในรูปแบบใหม่ครั้งใหญ่
-
Tech driven world โลกจะถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี
ส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้บริโภค
-
Environmental awareness
โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่จะให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้มาก
ผู้ประกอบการจะต้องดูว่าเราตอบโจทย์เหล่านี้แล้วหรือยัง เช่น การใช้ถุงเติม,
eco packaging
ซึ่งเห็นชัดว่าบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมมีความต้องการเติบโตเฉลี่ย +25%
ต่อปี
-
Aging society ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ คนจะมีลูกน้อยลง
การใช้สินค้าลดลง แต่จะเปลี่ยนจากการใช้สินค้าน้อยลง
ด้วยผู้สูงอายุที่กำลังซื้อสูง เริ่มมีเวลาว่างมากขึ้น
เน้นการแสวงหาคุณภาพชีวิต เสาะหาการหาความสุข หันไปสู่สินค้าที่แพงมากขึ้น
เราจะต้องปรับเปลี่ยนสินค้าให้ตรงกับความต้องการ
-
Natural / herbal and mild การเติบโตของเทรนด์สินค้าออแกนิค สมุนไพร อ่อนโยน
เติบโตสูงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงโควิด เช่น
ความนิยมของการหันมาใช้สมุนไพร เป็นส่วนผสมหลัก หรืออย่างกัญชง กัญชา
-
Hygiene and health เป็นอีกหนึ่ง segment ที่เติบโตสูง ด้วยกระแสโควิด และ PM
2.5 หากเราสามารถจับกระแสส่วนนี้ ก็จะช่วยในการเติบโตได้
-
Online shopping โควิดทำให้การซื้อของออนไลน์เติบโตอย่างก้าวกระโดด
เราเริ่มเห็นสินค้า บริการที่เป็นรูปแบบออนไลน์ 100% เพิ่มสูงมากขึ้น อย่าง
การสั่งอาหารเดลิเวอรี่ผ่านออนไลน์แพลตฟอร์ม อย่าง Grab, Line Man ธุรกิจใหม่
ๆ เหล่านี้ ชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง
เตรียมพัฒนานวัตกรรมให้พร้อม พิชิตใจกลุ่มเป้าหมาย
และจากมุมมองของคุณสมวลี ผู้คร่ำหวอดในวงการการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค
ได้แนะหมวดหมู่สินค้าที่จะเติบโตต่อเนื่อง
ผู้ประกอบการต้องเตรียมพัฒนานวัตกรรมสินค้าและบริการให้พร้อมปรับให้ทัน
พร้อมนำเสนอสินค้าที่ตรงความต้องการเพื่อพิชิตใจกลุ่มเป้าหมายผู้บริโภคยุคใหม่
-
หมวดหมู่สินค้าที่ดีต่อสุขภาพ ด้วยกระแสการรักสุขภาพที่เพิ่มสูงมากขึ้น
-
หมวดหมู่สินค้าตอบเรื่องความสะดวก เช่น
บรรจุภัณฑ์ที่ช่วยให้การรับประทานสะดวกขึ้น, การเพิ่มจุดขายที่สะดวกสบาย,
การเพิ่มช่องทางการขายอย่าง omni channel เพื่อเพิ่มความสะดวกสบาย
-
หมวดหมู่สินค้าที่มี shelf life ยาวขึ้น สามารถรักษาอายุของสินค้าได้นานขึ้น
เพราะคนใส่ใจเรื่องสุขภาพ และผู้บริโภคยุคโควิด รู้สึกว่า ความไม่แน่นอนสูง
คนจะดูว่ามันจะสามารถเก็บได้นานแค่ไหน
5 เทคนิค วิเคราะห์ คาดการณ์ความต้องการผู้บริโภค
ไม่เพียงรู้เท่าทันเทรนด์เท่านั้น คุณศมน
ได้เสริมถึงเครื่องมือที่จัดว่าเป็นผู้ช่วยให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอุปโภค
สามารถปรับธุรกิจให้เข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
รวมถึงการดูแลพนักงานซึ่งเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการดำเนินธุรกิจ
-
บริการจ่ายเงินเดือน และดูแลสวัสดิการพนักงาน ทีทีบี เพย์โรลพลัส (ttb
payroll plus)
เลือกดูแลพนักงานได้มากกว่า ด้วยบริการเสริมพิเศษ 4 พลัส
ที่ช่วยทั้งในด้านประโยชน์ของพนักงาน การทำประกันกลุ่ม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
และยังมีระบบ บริหารจัดการ งานบุคคลแบบดิจิทัล (Digital HRM)
ที่ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ทั้งในองค์กรและพนักงาน
และยังเป็นการทำงานผ่านระบบได้ตลอด 24 ชั่วโมง
-
กลุ่มบริการ Digital Collections เพื่อให้ SME ยุคใหม่ เตรียมพร้อมการรับชำระเงินแบบไม่ต้องสัมผัส
วิธีการจ่ายเงินที่ช่วยให้ลูกค้ามีทางเลือกในการชำระเงินได้หลากหลาย สะดวก
รวดเร็ว ลดการสัมผัสที่อาจเป็นสาเหตุของการแพร่กระจายเชื้อโรค
และยังช่วยให้ผู้ประกอบการรับชำระเงินได้ สะดวก รวดเร็ว
บริหารเงินที่รับมาแล้วได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ ทีทีบี ยังมุ่งมั่นที่จะเป็นธนาคารพันธมิตร
ที่จะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจให้เอสเอ็มอีประสบความสำเร็จ
ด้วยโซลูชันและบริการที่ครบครันที่ถูกพัฒนาให้เหมาะสมกับเอสเอ็มอีโดยเฉพาะ
เพื่อช่วยยกระดับประสิทธิภาพการทำงานในแง่มุมต่าง ๆ ประกอบไปด้วย
เป็นแหล่งเงินทุนที่เหมาะสม มีดิจิทัลโซลูชันยกระดับประสิทธิภาพ
มีระบบดูแลพนักงานเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถดูแลพนักงานได้อย่างครบครัน
และการเสริมความรู้ เสริมศักยภาพของผู้ประกอบการให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน
ทีทีบีพร้อมเป็นทั้งพันธมิตรและผู้ให้คำปรึกษาทางการเงินที่จะทำให้ผู้ประกอบการเติบโตในธุรกิจไปด้วยกัน
เครดิต:
งานสัมมนาออนไลน์รู้ลึกจับกระแสคอนซูมเมอร์ยุคดิจิทัล พิชิตใจกลุ่มเป้าหมาย... พร้อมปรับยังไงให้รอด
โดย
คุณเสาวรัตน์ โอภาสยานนท์ จาก Head of Mother/ Child and Home Care Marketing
บมจ. โอสถสภา
คุณสมวลี ลิมป์รัชตามร อดีตกรรมการผู้จัดการ บจก. เดอะ นีลเส็น คอมปะนี
(ประเทศไทย)
คุณศมน คุ้มธรรมพินิจ จาก ทีทีบี