ตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องด้วยมูลค่าตลาดที่ทะลุ 1 ล้านล้านบาทในปี 2022 และคาดว่าจะเติบโตต่อเนื่องที่ระดับ 6% ในปี 2023 นี้ ยิ่งตลาดกำลังเติบโตยิ่งต้องรีบติดอาวุธให้กับ SME ผู้ประกอบการสินค้าอุปโภคบริโภค ให้สามารถเติบโตอย่างยั่งยืนได้
ตลาดออนไลน์ในยุค Hybrid World ต้องทำ ... ไม่ทำ ไม่ได้
ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าตลาด Consumer Product ว่าเติบโตดีขึ้นหลังซบเซามานานจากสถานการณ์โควิด-19 โดยเฉพาะสินค้า Personal Care ที่โตถึง 11.7% สำหรับเทรนด์ผู้บริโภคที่คาดว่าจะมาแรงในตลาดอุปโภคบริโภคของไทย คือ Power of the People โดยบริษัทวิจัยการตลาดระดับโลกอย่าง Mintel มีผลวิจัยว่าบริษัทผู้ผลิตหรือแบรนด์ต่าง ๆ ได้เริ่มเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการพัฒนาสินค้ามากขึ้น เช่น ชอบกลิ่นแบบไหน ชอบรสชาติแบบใด เป็นต้น
ตลาดออนไลน์ เป็นตลาดที่เติบโตอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 ที่โตปีละ 100% แต่สินค้าที่ขายทางออนไลน์ไม่ค่อยมีกำไร เพราะต้นทุนค่อนข้างสูง เช่น ค่ากล่อง ค่าขนส่ง ฯลฯ อีกทั้งยังต้องเล่นสงครามโปรโมชัน ซึ่งผู้บริโภคมักมองหาก่อนตัดสินใจซื้อเสมอ อย่างไรก็ดีนี่เป็นตลาดที่ไม่ทำ…ไม่ได้ ต้องทำอย่างแน่นอนที่สุด เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป โดยประเทศไทยนิยมซื้อสินค้าออนไลน์สูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ในปี 2023 เป็นยุคของ Hybrid World ผู้บริโภคกลับมาจับจ่ายที่หน้าร้านค้าแบบออฟไลน์ (Physical Store) มากขึ้น หลังจากอัดอั้นและช็อปผ่านออนไลน์มานาน ผู้ประกอบการจึงต้องดูแลช่องทางการขายทั้งออฟไลน์และออนไลน์ให้สมดุล จะทุ่มช่องทางใดช่องทางหนึ่งไม่ได้ ในปีนี้คาดว่าช่องทางออนไลน์จะเติบโตลดลง เพียง 10-20% โดยสินค้าที่ขายดีคือ สินค้าแฟชั่น อาหาร เครื่องดื่ม อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และสินค้าเพื่อสุขภาพและดูแลร่างกาย
ตลาดออนไลน์ไม่ทำ…ไม่ได้ ต้องทำอย่างแน่นอนที่สุด ตลาดออนไลน์ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องจำนวน SKU และสต็อก
ทั้งยังมีข้อมูลการขายเชิงลึก SME ต้องใช้ให้เป็นประโยชน์จากส่วนนี้ให้ดี ยิ่งตอนนี้เข้าสู่ยุคตลาดฝืด คนมีเงินน้อยลงและเงินสำคัญสำหรับผู้บริโภค
ต้องรักษาสมดุลเรื่องราคาและคุณภาพให้ดี ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำเพราะคุณภาพสินค้า ถ้าไม่ดีก็ใช้ครั้งเดียวก็ไม่กลับมาอีกแล้ว
อยู่บนตลาดออนไลน์ ต้องซื้อง่าย จ่ายคล่อง
นอกจากช่องทาง e-marketplace ที่เป็นที่นิยมในการซื้อขายออนไลน์แล้ว การใช้โซเชียลมีเดียก็ยังเป็นอีกช่องทางที่ผู้คนนิยมกันอยู่ หลังจากที่ได้พูดคุยกับร้านค้าแล้ว ทันทีที่ลูกค้าตัดสินใจที่จะซื้อ การชำระเงินจะต้องเป็นสิ่งที่ง่าย คล่อง สะดวก เพื่อไม่ให้เกิดการเปลี่ยนใจทีหลังได้ และจะยิ่งได้เปรียบหากสามารถรับเงินได้จากทั้งบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิตได้ เหล่านี้เป็นสิ่งที่สร้างความได้เปรียบ finbiz by ttb ขอแนะนำ บริการรับชำระเงินออนไลน์ ทีทีบี ควิกเพย์ (ttb quick pay) บริการที่ช่วยร้านค้าในการรับชำระค่าสินค้าและบริการ ผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิต (VISA/MasterCard) โดยที่ไม่ต้องให้ลูกค้าเดินทางมาชำระค่าสินค้าที่ร้านด้วยตัวเอง และไม่จำเป็นจะต้องมีเว็บไซต์หน้าร้านแต่อย่างใด เพียงแค่
- สร้างลิ้งก์ เข้าระบบ Payment Gateway กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการของท่านที่ต้องการรับชำระเงินจากลูกค้า ระบบก็จะทำการสร้างลิงก์รับชำระเงิน
- แชร์ลิ้งก์ คัดลอกและส่งลิงก์ให้กับผู้ซื้อเพื่อรับชำระเงิน สามารถแชร์ลิงก์ผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น อีเมล ข้อความสั้น (SMS) หรือทางแชตไลน์
- รับเงินและเช็กยอดเงินทันที ลูกค้าที่ได้รับลิงก์สามารถคลิกเพื่อชำระเงินผ่านบัตรเครดิต/บัตรเดบิตได้ทันที โดยจะร้านค้าจะเห็นการแสดงผลการจ่ายเงินสำเร็จที่ Payment Gateway โดยหลังจากที่ผู้ซื้อชำระเงินสำเร็จ
ยิ่งร้านค้าสามารถทำให้ลูกค้าชำระเงินได้ทันที สะดวก จะช่วยลดโอกาสการเปลี่ยนใจของลูกค้าได้ เพราะในปัจจุบัน ไม่เพียงลูกค้าอาจจะเปลี่ยนใจไปซื้อร้านอื่นบนออนไลน์ ยังอาจจะเปลี่ยนใจระดับที่ขอไปเดินดูที่หน้าร้านค้าแบบออฟไลน์ก่อนค่อยทำการตัดสินใจอีกด้วย และหน้าร้านค้าแบบออฟไลน์ อาจไม่ใช่ร้านเดิมที่เคยตัดสินใจจะซื้อในออนไลน์ เพราะอยู่ในพื้นที่ที่ไม่ใกล้กับที่ลูกค้าอยู่ จึงมีโอกาสจะเสียลูกค้าให้กับร้านค้าอื่น ได้อีกด้วย
ที่มา :
- งานสัมมนา “finbiz industry hack 2023 ติดอาวุธ…สู่การเติบโตอย่างยั่งยืน” ttb
finbiz by ttb โครงการเสริมความรู้ธุรกิจ
“ครบ จบในที่เดียว ปรับใช้ได้ง่าย ต่อยอดได้จริง สู่การเป็น Smart SME”
ผ่านหลากหลายแพลตฟอร์ม พร้อมองค์ความรู้ที่ครบครัน จาก Partner ชั้นนำทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อให้ธุรกิจรับมือกับความเปลี่ยนแปลง พร้อมปรับตัวในยุคดิจิทัลและเติบโตอย่างยั่งยืน
อัปเดตทุกดิจิทัลเทรนด์ และความรู้ดี ๆ ที่ SME ไม่ควรพลาด
เพียงแอดไลน์ @ttbSME