external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

Suggest Keywords

  • ห้องข่าว
  • เกี่ยวกับ ทีทีบี
  • ความยั่งยืน
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อธนาคาร
ttb-logo
เมนู
  • ลูกค้าบุคคล
  • ลูกค้าเอสเอ็มอี
  • ลูกค้าธุรกิจ
  • ทีทีบี รีเซิร์ฟ
  • โปรโมชันและสิทธิพิเศษ
  • อัตราและค่าธรรมเนียม
  • ค้นหา
  • เข้าสู่ระบบ ttb business
    ttb business onettb business click
  • สินเชื่อเพื่อธุรกิจ
  • บัญชีและธุรกรรมภายในประเทศ
  • บัญชีและธุรกรรมระหว่างประเทศ
  • ดิจิทัลแบงก์กิ้ง และบริการอื่นๆ
  • finbiz เสริมความรู้ SME
  • สนใจสมัครผลิตภัณฑ์
ค้นหาจุดให้บริการ
หน้าหลัก ทีทีบี
ลูกค้าบุคคล
หน้าหลักลูกค้าบุคคล
เคล็ดลับการเงิน
บัญชีและบัตรเดบิต
บัตรเครดิต
สินเชื่อ
ประกัน
ลงทุน
บัญชีเงินเดือน ทีทีบี
ดิจิทัลแบงก์กิ้ง
บริการอื่น ๆ
ลูกค้าเอสเอ็มอี
หน้าหลักลูกค้าเอสเอ็มอี นิติบุคคล
สินเชื่อเพื่อธุรกิจ
บัญชีและธุรกรรมภายในประเทศ
บัญชีและธุรกรรมระหว่างประเทศ
ดิจิทัลแบงก์กิ้ง และบริการอื่นๆ
finbiz เสริมความรู้ SME
สนใจสมัครผลิตภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์ลูกค้าเอสเอ็มอี บุคคลธรรมดา
เข้าสู่ระบบ
ttb business one
ttb business click
ลูกค้าธุรกิจ
หน้าหลักลูกค้าธุรกิจ
สินเชื่อเพื่อธุรกิจ
บัญชีและธุรกรรมภายในประเทศ
บัญชีและธุรกรรมระหว่างประเทศ
ดิจิทัลแบงก์กิ้ง และบริการอื่นๆ
เข้าสู่ระบบ
ttb business one
ttb business click
ทีทีบี รีเซิร์ฟ
หน้าหลักทีทีบี รีเซิร์ฟ
เอกสิทธิ์พิเศษ
โปรโมชันพิเศษ
อัปเดตการลงทุน
โซลูชันการลงทุนและสกุลเงินต่างประเทศ
โปรโมชันและสิทธิพิเศษ
หน้าหลักโปรโมชันและสิทธิพิเศษ
บัญชี
บัตรเดบิต
บัตรเครดิต
สินเชื่อ
ประกัน
ลงทุน
บัญชีเงินเดือน ทีทีบี
ทีทีบี รีเซิร์ฟ
ttb rewards plus
อัตราและค่าธรรมเนียม
บัญชีเงินฝากและบริการที่เกี่ยวข้อง
สินเชื่อและบริการเงินกู้
บริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
Forward Points
ห้องข่าว
หน้าหลักห้องข่าว
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวลูกค้าธุรกิจ
ข่าวศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ
เกี่ยวกับ ทีทีบี
หน้าหลักเกี่ยวกับ ทีทีบี
รู้จัก ทีทีบี
ประวัติธนาคาร
ลักษณะประกอบธุรกิจ
โครงสร้างและการจัดการ
บรรษัทภิบาล
การบริหารความเสี่ยง
ข้อตกลงการใช้เว็บไซต์
ความยั่งยืน
หน้าหลักความยั่งยืน
แนวทางความยั่งยืน
ความยั่งยืนทางธุรกิจ
ความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม
ความยั่งยืนด้านสังคม
บรรษัทภิบาลและจริยธรรมทางธุรกิจ
นโยบายและการรายงาน
นักลงทุนสัมพันธ์
หน้าหลักนักลงทุนสัมพันธ์
ข้อมูลทางด้านการเงิน
ข้อมูลนำเสนอ
ข้อมูลหลักทรัพย์
ข้อมูลตราสารหนี้และอันดับความน่าเชื่อถือ
ข่าวแจ้งตลาดหลักทรัพย์และนักลงทุน
บริการผู้ถือหุ้น
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ
ร่วมงานกับเรา
หน้าหลักร่วมงานกับเรา
เหตุผลที่ควรร่วมงานกับ ttb
เราทำงานกันอย่างไร
ติดต่อเรา
นโยบายความเป็นส่วนตัวผู้สมัครงาน
ตำแหน่งที่เปิดรับสมัคร
ติดต่อธนาคาร

ถอดกลยุทธ์สร้างธุรกิจใหม่ด้วยแนวคิด Agile

9 ธ.ค. 2565

ในครั้งนี้ finbiz by ttb จะขอพามาถอดรหัสความสำเร็จของ SCG จากการแบ่งปันประสบการณ์ของคุณพิศาล สัญญะเดชากุล Head of Venture Building จาก SCG ที่มุ่งมั่นในการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมในการตอบโจทย์พฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป ที่ได้ให้ไว้ในโครงการอบรมหลักสูตร ttb digital LEAN supply chain โครงการอบรมธุรกิจคุณภาพจาก ttb


เมื่อเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้บริโภคมากขึ้น ประกอบกับอายุขัยของธุรกิจในปัจจุบันนั้นสั้นลง เป็นที่มาของคำถามที่ว่า 100 ปีหน้า SCG จะยังอยู่หรือไม่? ว่าแล้วจึงเป็นที่มาของการหาโมเดลธุรกิจใหม่ๆในการตอบโจทย์ลูกค้านั่นเอง โดยส่วนหนึ่งได้ทำผ่านการสร้าง venture ย่อย ๆ เพื่อจะได้มีความคล่องตัวได้มากกว่า และปรับเปลี่ยนได้เร็วกว่า อันเป็นหนทางแห่งการอยู่รอดในอนาคต


ประสบการณ์ตรงในการเริ่มสร้างธุรกิจ (Venture) ใหม่ของ SCG

สิ่งที่คนทั่วไปคิดว่าธุรกิจ Start up ต้องทำคือ เริ่มจากการริเริ่มขึ้นมาซุ่มพัฒนาสินค้าตัวแรก และนำออกสู่ตลาดพร้อมกับการเร่งการเติบโต เริ่มขึ้นมา ซึ่งความจริงมักจะล้มเหลวระหว่างทาง แต่ในกรณีที่ธุรกิจยังมีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะความเสี่ยงที่ไอเดียธุรกิจนั้นอาจไม่ใช่สิ่งที่ลูกค้าต้องการจริง ๆ หากพัฒนาด้วยหลักการ Metered Funding (จัดสรรงบประมาณตามระดับขั้นความสำเร็จของแต่ละขั้นตอน) เข้ามาช่วยจะได้การลดความเสี่ยงที่เป็นระบบมากกว่า โดยแต่ละขั้นตอนจะมีการทดสอบโดยมีลูกค้าเป็นศูนย์กลางและปรับปรุงอย่างทันท่วงที จนกระทั่งได้โปรโตไทป์ที่ทดสอบกับพฤติกรรมลูกค้ามาระดับหนึ่งแล้วจึงค่อยเร่งการเติบโต ซึ่งอาจจะดูชะลอตัวในช่วงแรกแต่เมื่อ Startup มีโอกาสตอบโจทย์ลูกค้าได้ดีกว่าและปรับแก้ก่อนที่จะเร่งการเติบโต ย่อมจะทำการเติบโตได้เร็วกว่า นอกจากหลักการดังกล่าวแล้ว หลัก Design Thinking ก็เป็นหลักสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมหรือธุรกิจใหม่ ๆ โดยยึดความต้องการของลูกค้า Customer Centric เป็นที่มาของปัญหา และ นวัตกรรมที่สร้างมานั้น จะต้องมาตอบโจทย์ได้นั่นเอง


โดย ผู้เชี่ยวชาญด้าน Design Thinking อาจารย์บุลวิชช์ ช่วยชูวงศ์ ได้ให้รายละเอียดไว้ว่า Design Thinking มีกระบวนการ 5 ขั้นตอน คือ Empathize - Define – Ideate - Prototype – Test โดยกระบวนการ Design Thinking นี้ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้โดยคลิกที่นี่

 

อาจารย์บุลวิชช์ ช่วยชูวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญด้าน Design Thinking  ในหลักสูตร ttb digital LEAN supply chain รุ่นที่ 17


ซึ่งกระบวนการ Design Thinking นี้ไม่ได้เป็นเส้นตรง จึงสามารถที่จะเข้าสู่กระบวนการจากขั้นตอนไหนก็ได้ และยิ่งไปกว่าหลัก Design Thinking องค์กรที่ต้องการกระตุ้นให้คนในองค์กรสร้างนวัตกรรมนั้น ต้องเข้าใจ “ความกลัว” เอาชนะความกลัวด้วยการทำองค์กรให้ชัดเจน


กว่าจะได้ Venture ใหม่ ผ่านการทดลองหลายครั้งหลายครา

WAVE#1 Top-Down Innovation

 

Wave#1 Top-Down Innovation


สรุปว่า แนวคิดแรกนี้ SCG ได้ทดลองทำเป็นระยะเวลาหนึ่ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร นั่นเพราะ “คนทำที่ ‘อิน’ (IN) กับเรื่องที่สั่งให้ทำ มีไม่เยอะ” จึงได้เกิดแนวคิดระลอกที่ 2 ที่เริ่มจากคนที่ “อิน” ก่อน


WAVE#2 Bottom-Up Innovation

 

Wave#2 Bottom-Up Innovation


เริ่มจากคนที่อยากทำโปรเจคอะไรกับ SCG และ ดูดีเป็นไปได้ ค่อยเปลี่ยนจากทำงานประจำที่ทำมาทำในสิ่งที่คิด โดยมีเงินลงทุนให้ไปจัดการธุรกิจได้เอง โดยเรียกโครงการนี้ว่า Internal Startup Program ที่ให้พนักงานเรียน Design Thinking และนำสิ่งที่เรียนมาใช้ คิดนวัตกรรมที่อยากทำ พัฒนาต่อยอดจนกระทั่งสามารถก่อตั้งเป็นธุรกิจ (Venture) ย่อยใหม่ ซึ่งได้กุญแจหลัก ๆ มา 3 อย่าง

  1. Discipline ในการ allocated budget แบบเป็น step ในการเติบโตแต่ละขั้น หากให้เป็นก้อนใหญ่จะทำให้เกิดโปรเจคซอมบี้ ไม่ตายแต่ก็ไม่โต
  2. People คนที่มี Passion ความกระหายในความสำเร็จกับนวัตกรรมที่คิด จึงอยากทำจะทำให้มีโอกาสสูงที่โปรเจคจะสำเร็จ
  3. Fear of failing ความกลัวจะทำให้เกิดข้อจำกัด ดังนั้น ความคิดแบบเด็กที่สามารถเอาความผิดพลาด มาปรับปรุงแก้ไขทำใหม่

หลังจากที่เกิด Internal Startup ใน Wave#2 ที่เป็นโครงการภายในเองแล้ว ทาง SCG ยังคงดำเนินการใน Wave ต่อ ๆ ไปอีกหลาย Wave และยังมุ่งขยายผลในการมองหา Partner เพื่อร่วมมือกันสร้างธุรกิจใหม่ด้วยกันอีกด้วย


จากปัญหาง่ายๆ สุดท้ายได้ Innovation

ตัวอย่างนวัตกรรมที่เกิดใน Wave#2 ที่เกิดจากปัญหาง่าย ๆ เช่น

  • Urbanice เป็นแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน ที่ช่วยนิติบุคคลอาคารชุด ในการจัดการพัสดุ และใบแจ้งหนี้ค่าน้ำค่าไฟ ของลูกบ้าน ให้ดำเนินการได้ง่ายและสะดวกผ่านแอปพลิเคชัน และยังช่วยลูกบ้านในเรื่องความสะดวกสบายต่างๆในการอยู่คอนโดอีกด้วย ซึ่ง โปรเจคนี้เกิดจากปัญหาการจัดการพัสดุที่มีมากขึ้น และกลายเป็นชีวิตประจำวันในปัจจุบันไปแล้ว
    https://urbanice.app
  • DEZPAX แพลตฟอร์มที่ช่วยธุรกิจ เช่น ร้านอาหาร จัดการด้าน Packaging เกิดจากจุดเริ่มของปัญหาง่าย ๆ ที่ร้านอาหารควรจะโฟกัสในสิ่งที่เป็นธุรกิจหลัก มากกว่าจะต้องมาจุกจิกเรื่องบรรจุภัณฑ์ DEZPAX จึงมาแก้เรื่องของการเลือกบรรจุภัณฑ์บนแพลตฟอร์ม มีการแนะนำบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม การทำบรรจุภัณฑ์ให้มีอัตลักษณ์กับ brand ของร้าน รวมไปถึงสามารถทำการสั่งซื้อบรรจุภัณฑ์บนแพลตฟอร์มได้เลย
    https://www.dezpax.com
  • ROOTS แพลตฟอร์มช่วยในการจัดซื้อ ซึ่งแก้ปัญหาการซื้อบนเวนเดอร์ลิสต์ โดย ROOTS เปรียบเสมือนเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้งานที่ต้องการจะสั่งซื้อ จากปัญหาง่าย ๆ ที่พนักงานจัดซื้อคนหนึ่งต้องเจอทุกวันและมีไอเดียแก้ปัญหาที่คิดเล่น ๆ ไว้นาน SCG ก็ไปสะกิดให้เฉิดฉายไอเดียนั้นออกมาจากพนักงาน เป็นต้นกำเนิดของ ROOTS ที่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างดี
    https://rootsplatform.com/en/welcome


การกระตุ้นให้เกิด Innovation ในองค์กรมีได้ประโยชน์ที่มากกว่าการได้ธุรกิจใหม่ตามมา ไม่ว่าจะเป็น ความก้าวหน้าของธุรกิจ และได้สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การพัฒนาคน เพราะเมื่อบุคคลากรได้คิดสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ จะได้รับการ re-energize ความหมดไฟของพนักงานจะลดลง เกิดแรงกระตุ้นสร้างสรรค์ และยังเป็นการสร้างเครือข่ายในองค์กรให้เข้มแข็งอีกด้วย

 

คุณพิศาล สัญญะเดชากุล Head of Venture Building ในหลักสูตร ttb digital LEAN supply chain รุ่นที่ 17


ข้อควรระวังในการสร้างสร้างนวัตกรรมที่องค์กรต้องรู้...

  1. ต้องรู้ว่า เมื่อนวัตกรรมสำเร็จ มีกลุ่มลูกค้ามารองรับมากพอกับต้นทุนของการทำนวัตกรรมหรือไม่ ซึ่งระหว่างการดำเนินโครงการของ SCG มีโครงการที่ดี และนวัตกรรมได้ผลิตออกเป็นธุรกิจย่อย แต่สุดท้ายต้องล้มเหลวด้วยการที่ความต้องการของลูกค้าไม่มากพอ หรือก็อาจเป็นไปได้ว่าการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายยังไม่ดีเท่าที่ควร
  2. จะต้องรู้ขีดจำกัด (Limit) ว่าองค์กรสามารถ “ล้ม” ได้มากน้อยแค่ไหน ลงทุนเพื่อแลกสิ่งที่คุ้มหรือไม่
  3. องค์กรต้องเข้าใจว่า นวัตกรรมกับความล้มเหลวเป็นของคู่กัน ไม่ใช่ว่านวัตกรรมที่ส่งเสริมจะต้องประสบความสำเร็จทุกชิ้น ความคุ้มค่าของการทำนวัตกรรมจึงควรมองเป็นระดับ portfolio
  4. จังหวะที่จะกระตุ้นให้สร้างนวัตกรรม ควรทำในเวลาที่ธุรกิจยังไปได้ด้วยดี เพราะหากทำในจังหวะที่หนีเพื่อเอาชีวิตรอด ถึงพนักงานจะมีความกระหายในการสร้างนวัตกรรม แต่องค์กรอาจจะไม่สามารถรับความเสี่ยงซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นในการทำนวัตกรรมได้

และนี่คือประสบการณ์ตรงที่ SCG นำมาแบ่งปันกัน finbiz by ttb หวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้ผู้ประกอบการณ์จุดประกายและนำไปประยุกต์ใช้ได้กับธุรกิจที่กำลังดำเนินการอยู่ เพื่อความรุ่งโรจน์เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป


ที่มา :

  • หลักสูตร ttb digital LEAN supply chain รุ่นที่ 17

ttb digital LEAN supply chain โครงการพัฒนาต่อยอดมาจาก LEAN Supply Chain by ttb

ให้ความรู้ด้านการพัฒนาประสิทธิภาพให้ซัพพลายเชนอย่างแท้จริงมายาวนานกว่า 10 ปี ซึ่งช่วยผู้ประกอบการลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพหนึ่งในโครงการ finbiz by ttb โครงการเสริมความรู้ธุรกิจผ่านหลากหลายแพลตฟอร์ม พร้อมองค์ความรู้ที่ครบครัน จากพันธมิตรชั้นนำทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อให้ธุรกิจรับมือกับความเปลี่ยนแปลง พร้อมปรับตัวในยุคดิจิทัลและเติบโตอย่างยั่งยืน


อัปเดตทุกดิจิทัลเทรนด์ และความรู้ดี ๆ ที่ SME ไม่ควรพลาด
เพียงแอดไลน์ @ttbSME หรือคลิกเพิ่มเพื่อน


ผลิตภัณฑ์แนะนำ

สินเชื่อธุรกิจ ทีทีบี เอสเอ็มอี สมาร์ทบิส

บัญชีธุรกิจ ทีทีบี เอสเอ็มอีวันแบงก์

โซลูชันเพื่อองค์กรและสวัสดิการพนักงานแบบครบวงจร จาก ทีทีบี

ธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ สำหรับ SME


หน้าหลัก finbiz


ศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจ ทีทีบี 0 2643 7000


ศูนย์ธุรกิจต่างประเทศ ทีทีบี


finbiz team


คลิก รับข่าวสารทางไลน์

การใช้และจัดการคุกกี้

ธนาคารใช้คุกกี้ 3 ประเภท คือ 1) จำเป็นต่อการใช้งานของเว็บไซต์ 2) เพื่อประสบการณ์ที่ดีของท่าน และ 3) เพื่อการวิเคราะห์วิจัย โดยการใช้คุกกี้จะไม่สามารถระบุตัวตนของผู้ใช้งานได้ ท่านสามารถกดปุ่ม “อนุญาต” ให้ธนาคารเก็บคุกกี้การใช้งานของท่านในการกำหนดเป้าหมายทางการตลาดเพิ่มเติม เพื่อนำเสนอสิทธิประโยชน์ที่ตรงความต้องการของท่านมากที่สุด โปรดอ่านรายละเอียด นโยบายการใช้คุกกี้ ของธนาคาร

เกี่ยวกับ ทีทีบี

  • เกี่ยวกับ ทีทีบี
  • โครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการและผู้บริหาร
  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ
  • ห้องข่าว

ติดต่อธนาคาร

  • ติดต่อธนาคาร
  • ร่วมงานกับเรา
  • ค้นหาสาขา
  • รายงานเบาะแสการทุจริต
  • บริการอื่น ๆ
  • รายงานและการเปิดเผยข้อมูลคุณภาพการให้บริการ

เว็บไซต์อื่นที่เกี่ยวข้องกับธนาคาร

  • ttb business click
  • ttb business one
  • ttb consumer
  • ttb DRIVE app
  • ttb property


  • ttb spark
  • ttb supply chain solutions
  • ttb web fleet service
  • fai-fah by ttb
  • Punboon by ttb
  • Eastspring Asset Management

ติดตามข่าวสาร

  • social-media-fb-logo
  • social-media-line-logo
  • social-media-tiktok-logo
  • social-media-twitter-logo
  • social-media-linkedin-logo

สำนักงานใหญ่

  • 3000 ถนนพหลโยธิน แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

ติดตามข่าวสาร
  • fb-icon
  • line-icon
  • tiktok-icon
  • twitter-icon
  • linkedin-icon
  • เกี่ยวกับ ทีทีบี
  • โครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการและผู้บริหาร
  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ
  • ห้องข่าว
  • ติดต่อธนาคาร
  • ร่วมงานกับเรา
  • ค้นหาสาขา
  • รายงานเบาะแสการทุจริต
  • บริการอื่น ๆ
  • รายงานและการเปิดเผยข้อมูลคุณภาพการให้บริการ
  • ttb business click
  • ttb business one
  • ttb consumer
  • ttb DRIVE app
  • ttb property
  • ttb spark
  • ttb supply chain solutions
  • ttb web fleet service
  • fai-fah by ttb
  • Punboon by ttb
  • Eastspring Asset Management
© สงวนลิขสิทธิ์ 2568 ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
นโยบายความเป็นส่วนตัวลูกค้า
กลับสู่ด้านบน