external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

6 ผลดีต่อ SME ยุคดิจิทัล
เมื่อไทยเป็นสังคมไร้เงินสด

25 ก.พ. 2565


สามสี่ปีก่อน เมื่อได้ยินเรื่อง “สังคมไร้เงินสด” หรือ Cashless Society ก็ยังดูเป็นเรื่องไกลตัวจากสังคมไทยในตอนนั้น แต่พอมามองดูอีกที ในปี 2022 นี้ กลับพบว่า เรายืนอยู่ในสังคมไร้เงินสดไปเกินครึ่งตัวแล้ว ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น finbiz by ttb ได้รวบรวมข้อมูลอันเป็นเหตุผล ที่เราเข้าสู่สังคมไร้เงินสดอย่างรวดเร็วไว้ที่บทความนี้

เริ่มจากไม่กี่ปีที่ผ่านมาหลายประเทศพยายามผลักดันให้สังคมไร้เงินสดเกิดขึ้นจริง เช่นประเทศสวีเดน ที่เป็นประเทศแรก ๆ ของโลก โดยปัจจุบันเป็นสังคมไร้เงินสดแบบเกือบ 100% ซึ่งในปี 2023 ก็คาดว่า เราอาจจะไม่เห็นการใช้เงินสดในสวีเดนอีกต่อไปแล้ว ฝั่งเอเชีย จีนก็เป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตของการใช้เงินผ่านระบบดิจิทัลอย่างรวดเร็วตั้งแต่มี Alipay และ Wechat pay ซึ่งในตอนนั้นที่ ที่ไทยเรายังมองว่าเป็นเรื่องที่อาจจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 8-10 ปี แต่พอกลับมาดูที่ไทยในวันนี้ ร้านค้าเล็ก ๆ ก็ต้องรับชำระค่าสินค้าผ่านระบบดิจิทัลได้ มิฉะนั้นจะหมายถึงการเสียลูกค้าเลยทีเดียว


สิ่งที่ไม่คาดคิด การมาของโควิด-19 ตัวเร่งความเปลี่ยนแปลง

จากข้อมูลของวีซ่า ได้แสดงว่าตั้งแต่ช่วงโควิด-19 เป็นต้นมา มีจำนวนผู้บริโภคที่หันมาเลือกใช้วิธีการชำระเงินในรูปแบบดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง และพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคจะเปลี่ยนไปอย่างถาวร โดยการรับรู้และคุ้นเคยของการชำระเงินบนระบบดิจิทัลของคนไทยคือ ชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ดมากที่สุด 94% ตามด้วยการชำระเงินแบบแตะเพื่อจ่ายผ่านสมาร์ทโฟน 92% และการแตะเพื่อจ่ายผ่านบัตรไร้สัมผัส (Contactless Card) 89%


ยิ่งล่าสุดธนาคารแห่งประเทศได้ประกาศแนวนโยบายการรู้จักและการบริหารติดตามความเสี่ยงร้านค้าสำหรับการชำระเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (Know Your Merchant : KYM) เพื่อให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจชำระเงินใช้เป็นแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานขั้นต่ำในการรู้จักและบริหารติดตามความเสี่ยงร้านค้า โดยเพิ่งเริ่มบังคับใช้ไปเมื่อ 1 มกราคม 2565 ที่ผ่านมานี้ ยิ่งตอกย้ำให้แน่ใจว่า ประเทศไทยของเรานั้นกำลังอยู่ในสังคมไร้เงินสดอย่างแท้จริง


เพราะ “สังคมไร้เงินสด” ไม่ใช่แค่กระแส แต่คือจุดเริ่มของอนาคต และเป็นประโยชน์กับ SME หลายประการ

เมื่อมีสถานการณ์โควิด-19 เป็นตัวเร่งให้การจ่ายเงินผ่านระบบดิจิทัลเป็นเรื่องใกล้ตัวและด้วยประโยชน์อีกหลาย ๆ ประการ จะทำให้สังคมไร้เงินสดอยู่กับเราตลอดไปและพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจากประโยชน์เหล่านี้ ผู้ประกอบการจึงต้องเร่งปรับตัวตาม เพื่อพัฒนาไปพร้อมกันในอนาคต

  1. ประโยชน์ทางด้านสุขภาพ ลดความเสี่ยงการติดเชื้อโรคที่สะสมอยู่ตามเงินสด การเปลี่ยนมาจ่ายเงินด้วยมือถือหรือการใช้บัตรเดบิต เครดิต ที่ไม่ต้องส่งต่อผ่านหลายมือ และทำความสะอาดได้ง่ายกว่า จึงช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อโรค เชื้อไวรัสต่าง ๆ
  2. สะดวกรวดเร็วมากขึ้น ทั้งในมุมของลูกค้า และร้านค้า หากร้านค้าสามารถรับชำระค่าสินค้า และบริการได้จากช่องทางอื่น ๆ นอกจากเงินสด ก็สามารถลดขั้นตอนเกี่ยวกับเงินสด เช่นการไปที่ตู้ ATM การทอนเงิน โดยสามารถรับชำระค่าสินค้าและบริการด้วย Mobile Banking บัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือบริการพร้อมเพย์ (PromptPay) ได้ทันที
  3. จัดการการเงินได้ง่ายและลดการตกหล่นหายระหว่างทาง ไม่ว่าจะเป็นการพลัดตกหล่นหายจริง ๆ หรือการที่เงินหายในกระบวนการ เช่น การทอนเงินผิดพลาด การลงบัญชีรับเงินสดที่ผิดพลาด การทุจริต รวมไปถึงการจี้ปล้นที่อาจขึ้นได้
  4. การทำธุรกรรมกับต่างประเทศที่ง่ายขึ้น โดยโอนเงินไปต่างประเทศได้โดยตรง ไม่ต้องเดินทางไปต่างประเทศก็สามารถค้าขายได้ ยิ่งปัจจุบันเราสามารถโอนเงินไปต่างประเทศได้สะดวก ปลอดภัย ด้วยโมบายล์ แบงก์กิ้ง แอปพลิเคชัน ซึ่งไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องกรอกเอกสาร หรือต้องเดินทางไปที่สาขาธนาคาร
  5. ช่วยให้ประเทศพัฒนาและลดต้นทุนทางเศรษกิจภายในประเทศ พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคทำให้เกิดการพัฒนาด้านเทคโนโลยี กฎหมายและมาตรการใหม่ ๆ ที่ทันสมัย การพัฒนาระบบของธนาคารและสถาบันการเงิน และลดต้นทุนทางเศรษฐกิจในการผลิตเหรียญและพิมพ์ธนบัตร รวมถึงการพัฒนาด้านระบบจัดการภาษีที่มีความถูกต้องแม่นยำ ทำให้ประเทศไทยยกระดับมาตรฐาน ซึ่งเป็นส่วนในการพัฒนาประเทศ
  6. ปฐมบทสู่โลกดิจิทัลในอนาคต การจับจ่ายผ่านระบบดิจิทัลที่ผู้ประกอบการหลายท่านคุ้นเคยแล้วในวันนี้ จะเป็นบทเริ่มต้นสู่การพัฒนาด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการคุ้นเคยกับเทคโนโลยี และสามารถก้าวทันนวัตกรรมที่จะเกิดขึ้นใหม่ ๆ ในอนาคตอันใกล้


เครื่องมือที่ SME ยุคดิจิทัลขาดไม่ได้เพื่อสนับสนุนให้สามารถรองรับการจับจ่ายผ่านระบบดิจิทัล

ช่องทางดิจิทัล จาก ทีทีบี หรือเรียกอีกอย่างได้ว่า Digital Collections Solutions ที่จะช่วยผู้ประกอบการพร้อมก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสดได้อย่างมั่นใจ

บริการเครื่องรูดบัตร ทีทีบี (ttb EDC)

เครื่องรับชำระเงิน ที่รับได้ทั้งบัตรเครดิต และเดบิต จากทุกประเทศทั่วโลก ด้วย QR Payment หรือการชำระผ่าน E-Wallet ที่มีการโอนเงินเข้าบัญชีร้านค้าในวันถัดไป เครื่องรูดบัตร ทีทีบี ยังสามารถให้บริการแบบไร้สัมผัส สะดวก และลดการสัมผัสบัตรระหว่างลูกค้าและพนักงานที่อาจมีความเสี่ยง


แอปพลิเคชันจัดการร้านค้า ทีทีบี สมาร์ทช็อป (ttb smartshop)

ให้ร้านค้าสามารถใช้ QR Code ในการรับชำระเงินจากทุกธนาคาร และสามารถรับเงินได้จากหลายสาขาของหน้าร้านค้า เข้าบัญชีทันที พร้อมระบบแจ้งเตือนเมื่อมีเงินเข้าบัญชี และยังสามารถจัดการสิทธิ์ในการเข้าระบบสำหรับพนักงานหน้าร้านค้าได้อีกด้วย


บริการรับชำระเงินออนไลน์ ทีทีบี ควิกเพย์ (ttb quick pay)

บริการรับชำระเงินผ่านบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิต ผ่านลิงก์ชำระเงินแบบออนไลน์ โดยไม่ต้องเดินทางมาที่หน้าร้าน หรือจุดรับชำระเงิน สามารถชำระได้รวดเร็วผ่านลิงก์ ให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยที่ร้านค้าไม่จำเป็นต้องมีหน้าเว็บไซต์ เพียงส่งลิงก์ ผ่าน SMS, Email หรือบน Social Media Platform ไม่ว่าจะเป็น LINE, Facebook Message ได้ง่ายๆ นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบการชำระได้ทันทีที่ลูกค้าปลายทางชำระเรียบร้อยแล้ว


ที่มา:

- ธนาคารแห่งประเทศไทย

- ไทยโพสต์

- งานสัมมนา “รู้ลึกจับกระแสค้าปลีก พิชิตใจกลุ่มเป้าหมาย...พร้อมปรับยังไงให้รอด” โดย finbiz by ttb

- กรุงเทพธุรกิจ

- ลงทุนแมน

- marketeeronline

- TOYOTA LEASING THAILAND

- Kapook Money

- VBeyond



บทความในหมวดเดียวกัน


ผลิตภัณฑ์แนะนำ