external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

อยากปลดหนี้มาทางนี้ ชวนจัดการหนี้สิน สไตล์พนักงานเงินเดือน

#ttbpayroll #LuckyDraw #ปลดหนี้ #เปลี่ยนชีวิตพนักงานเงินเดือนให้ดีขึ้นทุกเดือน
22 มี.ค. 2566

  • แนวทางปลดหนี้ วางแผนระยะยาวอย่างยั่งยืน
  • 3 เทคนิค ป้องกันไม่ให้กลับไปเป็นหนี้
  • ทีทีบี พร้อมช่วยแบ่งเบาภาระหนี้สิน เพื่อพนักงานเงินเดือนโดยเฉพาะ

 

ปัญหาหนี้สินมักก่อให้เกิดความเครียด และทำให้พนักงานเงินเดือนหลายคนมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง บางคนอาจเครียดถึงขั้นกระทบกับชีวิตประจำวันได้เลย ดังนั้นอย่าปล่อยให้ปัญหาหนี้สินต้องทำให้ชีวิตคุณเปลี่ยนไป ถ้าเป็นหนี้ได้ก็สามารถปลดหนี้ให้หมดได้เช่นกัน แต่ต้องมีการวางแผนที่ดี เพื่อที่จะสามารถมีชีวิตการเงินที่ดีขึ้นได้อย่างยั่งยืน


มาปลดหนี้ไปพร้อมกันด้วย 3 ขั้นตอนที่ได้ผลจริง

หลังจากทำงานมีเงินเดือนแล้ว พนักงานเงินเดือนหลายคนก็เผลอใช้จ่ายเกินตัวจนผ่อนไม่ไหว นานวันไปก็ทำให้เกิดปัญหาหนี้สินเยอะ จนทำให้กระทบกับสุขภาพจิตและการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ทีทีบี เข้าใจปัญหาของพนักงานเงินเดือน จึงมีเคล็ดลับวางแผนเคลียร์หนี้ 3 ขั้นตอน ที่ต้องยึดไว้เป็นกฎเหล็กประจำใจ เพื่อปลดหนี้ให้ได้ด้วยตัวคุณเอง ก่อนที่จะปล่อยให้บานปลายจนกลายเป็นหนี้เสีย ซึ่งทั้ง 3 ขั้นตอนนี้ ต้องบอกเลยว่าเป็นเคล็ดลับง่าย ๆ ที่พนักงานเงินเดือนสามารถทำได้ทุกคน ถ้าพร้อมแล้วเรามาปลดหนี้ไปด้วยกันเลย!


3 ขั้นตอน เป็นหนี้ต้องรักษาให้หาย ก่อนสายเกินแก้

3 ขั้นตอน เป็นหนี้ต้องรักษาให้หาย ก่อนสายเกินแก้


1. ตรวจสอบภาระหนี้ของตัวเอง: ก่อนเริ่มวางแผนเคลียร์หนี้ สิ่งแรกที่สำคัญที่สุดคือการสำรวจภาระหนี้สินของตัวเอง เพื่อเตรียมวางแผนในขั้นตอนต่อไป หากขาดการสำรวจภาระหนี้สิน อาจทำให้เกิดการลำดับขั้นตอนวางแผนจ่ายหนี้ที่ผิดพลาด ส่งผลให้ปิดหนี้ได้ช้าลง หรืออาจต้องจ่ายดอกเบี้ยเยอะกว่าที่จำเป็น ดังนั้นเมื่อเป็นหนี้ นอกจากต้องตั้งสติแล้ว ต้องตรวจสอบภาระหนี้สินของตัวเองอยู่เสมอด้วย

ตรวจสอบภาระหนี้ต้องรู้อะไรบ้าง มาทำ checklist ไปพร้อมกัน

  • รวบรวมข้อมูลหนี้ว่ามีหนี้อยู่กี่ประเภท กับเจ้าหนี้หรือธนาคารใดบ้าง
  • หนี้แต่ละก้อนมียอดคงค้าง และอัตราดอกเบี้ยเท่าไร
  • มีหนี้ที่มียอดค้างชำระบ้างหรือไม่ ถ้ามีให้ตรวจสอบว่าค้างชำระมานานแค่ไหนแล้ว
  • หนี้แต่ละก้อนต้องจ่ายค่างวดเท่าไร

เพียงเท่านี้คุณก็จะรู้เบื้องต้นแล้วว่า คุณมีรายจ่ายต่อเดือนอยู่ที่เท่าไร และควรเรียงลำดับการจ่ายหนี้ก้อนไหนก่อนดี เพราะเมื่อนำมาเขียนรายละเอียดทั้งหมดแล้ว จะทำให้รู้ว่าหนี้ก้อนไหนที่อัตราดอกเบี้ยสูงควรปิดก่อน หรือหนี้ก้อนไหนที่เป็นปัญหาหนักใจให้กับคุณ


2. วางแผนชำระหนี้สิน: เมื่อตรวจสอบภาระหนี้สินตาม checklist ที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการวางแผนชำระหนี้สิน โดยควรเริ่มจากการปิดหนี้ที่ดอกเบี้ยสูง หรือหนี้นอกระบบก่อน อย่ากู้เงินมาเพื่อปิดหนี้เพราะจะทำให้เกิดปัญหาหนี้ไม่รู้จบ และควรเลือกจ่ายเฉพาะหนี้ที่ดอกเบี้ยสูง หรือหนี้ที่อาจถูกฟ้องร้องก่อน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคต

สามารถวางแผนชำระหนี้สินได้ ดังนี้

  • เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย
  • ชำระหนี้ให้ได้ตามกำหนดเวลา เพื่อไม่ให้โดนค่าปรับ และเป็นการรักษาประวัติที่ดี
  • จัดลำดับหนี้ที่จะชำระก่อน - หลัง โดยเลือกชำระหนี้ที่ดอกเบี้ยสูง หรือหนี้ที่อาจถูกฟ้องร้องก่อน ซึ่งควรระบุเป็นวันที่ไปเลยก็ได้ เพื่อสร้างวินัยทางการเงินที่ดี เช่น จะชำระหนี้บัตรเครดิตทุกวันที่ 1 และจะชำระหนี้รถยนต์ทุกวันที่ 15 เป็นต้น การระบุวันจะทำให้คุณสามารถควบคุม และวางแผนการเงินได้ดียิ่งขึ้น ไม่ทำให้เผลอจ่ายล่าช้านั่นเอง


3. เจรจาแก้ไขหนี้: หลังจากคุณวางแผนชำระหนี้แล้ว ในบางท่านอาจจะพบว่า ถ้าต้องปิดหนี้ที่ดอกเบี้ยสูงก่อน อาจจะทำให้จ่ายค่างวดของเจ้าหนี้อื่นไม่ได้ ดังนั้นคุณต้องวางแผนการเงินให้ดี แต่หากสุดทางแล้วจริง ๆ ก็อย่าเพิ่งเครียดไปนะครับ ทุกปัญหามีทางออกเสมอ คุณสามารถเจรจาแก้ไขหนี้กับทางเจ้าหนี้ของคุณได้ เพื่อหาทางออกให้คุณสามารถผ่อนชำระต่อไปได้ จากตรงนี้จะเห็นว่าการเป็นหนี้ในระบบนั้น ปลอดภัยและมีลำดับขั้นตอนในการแก้ไขปัญหา ดังนั้นไม่ควรก่อหนี้นอกระบบ เพราะนอกจากจะดอกเบี้ยสูงแล้ว ยังอาจจะไม่สามารถเจรจาแก้ไขหนี้ได้อีกด้วย

เจรจาแก้ไขหนี้ คืออะไร?
การเจรจาแก้ไขหนี้ คือการพักชำระหนี้ หรือการปรับลดค่างวดชั่วคราว เพื่อให้ลูกหนี้สามารถไปต่อได้ โดยคุณต้องแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจที่จะชำระหนี้อย่างแท้จริง พร้อมทั้งแสดงหลักฐานที่มาของรายได้ เพื่อให้ธนาคารเจ้าของหนี้พิจารณาการแก้ไข สิ่งสำคัญอีกหนึ่งอย่างเมื่อเป็นหนี้จนผ่อนไม่ไหว คือการต้องเดินหน้าพูดคุยกับธนาคาร อย่าหนีหาย เพราะจะทำให้บานปลายยิ่งขึ้น ความจริงแล้วเจ้าหน้าที่ธนาคารยินดีให้คำปรึกษาทุกท่านเสมอครับ

เป็นอย่างไรกันบ้างกับ 3 ขั้นตอนพิชิตปัญหาหนี้ ค่อย ๆ วางแผนและทำตามที่ตั้งใจ รับรองว่าจะสามารถแก้ปัญหาหนี้ได้ในเร็ววันอย่างแน่นอน ทีทีบี เข้าใจปัญหาของพนักงานเงินเดือน จึงพร้อมแบ่งเบาภาระหนี้สินให้พนักงานเงินเดือนด้วย ttb benefitplus loan สินเชื่อสวัสดิการอเนกประสงค์ ทีทีบี แบบไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ที่ช่วยลดดอกเบี้ยแพง ๆ ให้เบาลงได้สูงสุดถึง 3 เท่า ด้วยดอกเบี้ยเริ่มต้นเพียง 7.99% ต่อปี (จากปกติ 25% ต่อปี) สำหรับพนักงานบัญชีเงินเดือน ทีทีบี รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก (เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด)

ลดหนี้ดอกเบี้ยแพงๆ ให้เบาลงได้


วางแผนการเงินอย่างยั่งยืน ไม่ให้เกิดหนี้ซ้ำ

เมื่อหลุดจากวังวนของหนี้สินได้แล้ว ไม่มีพนักงานเงินเดือนคนไหนอยากกลับไปเป็นหนี้อีกครั้งอย่างแน่นอน แต่บางครั้งพฤติกรรมการใช้จ่ายก็อาจจะทำให้คุณเผลอกลับไปเป็นหนี้ได้แบบไม่ทันตั้งตัว เราจึงมีเคล็ดลับการวางแผนการเงินอย่างยั่งยืน เพื่อไม่ให้พนักงานเงินเดือนต้องเป็นหนี้ หรือกลับไปเป็นหนี้ซ้ำมาฝากกัน


วางแผนการเงินอย่างยั่งยืนง่าย ๆ 3 สเตป

3 สเตป วางแผนการเงินอย่างยั่งยืน


1. วางแผนรายรับ-รายจ่าย: เรียกได้ว่าเป็นขั้นตอนที่ใคร ๆ ก็รู้ แต่ไม่ง่ายเลยที่จะทำให้เป็นประจำจนเป็นนิสัย การวางแผนรายรับ - รายจ่าย จะทำให้คุณสามารถรู้ภาระค่าใช้จ่ายของตัวเองในแต่ละเดือน และสามารถวางแผนเพื่อเตรียมรับมือค่าใช้จ่ายล่วงหน้าได้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของพนักงานเงินเดือนที่มีรายรับทางเดียว เพราะเมื่อมีรายรับเพียงเดือนละ 1 ครั้ง ดังนั้นการวางแผนจัดการเงินก้อนให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายทั้งเดือนจึงสำคัญมาก

การประมาณการรายรับ - รายจ่าย โดยทั่วไปแล้วควรวางแผนล่วงหน้า 3 – 6 เดือน เพื่อให้ประมาณค่าใช้จ่ายที่อาจจะต้องเจอในอนาคตได้ โดยเฉพาะผู้มีปัญหาหนี้สิน การประมาณค่าใช้จ่ายล่วงหน้าหลายเดือนนั้นสำคัญมาก เพราะอาจมีเรื่องของอัตราดอกเบี้ย หรือค่างวดที่เพิ่มขึ้นได้ ดังนั้นการคิดล่วงหน้าย่อมทำให้สามารถรับมือได้ดีกว่า


2. เงินออมสำคัญ อย่าละเลยที่จะเก็บไว้เพื่ออนาคต: เงินออมหรือเงินสำรองฉุกเฉิน เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่พนักงานเงินเดือนไม่ควรละเลยที่จะเก็บออม เพราะหากเมื่อมีเหตุฉุกเฉินคุณก็สามารถอุ่นใจได้ การเริ่มต้นออมเงินนั้นควรเริ่มจากการออมทีละน้อย เพื่อเป็นการค่อย ๆ สร้างวินัยให้ตนเอง การตั้งเป้าออมเงินทีละเยอะมักจะทำได้ไม่ยั่งยืน ดังนั้นจึงควรเริ่มจากจำนวนเงินที่คิดว่าจะสามารถทำได้จริง

Tips ออมเงินสำหรับพนักงานเงินเดือน: ให้ออมเงินทันทีที่ได้รับเงินเดือน อย่าใช้ก่อนแล้วค่อยออม เพราะมักจะไม่สามารถทำได้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดความสม่ำเสมอจึงควรกำหนดตัวเลขที่ชัดเจนที่ต้องการออม และออมให้เท่ากันในจำนวนเดิมเป็นประจำทุกเดือน เพียงเท่านี้คุณก็จะมีเงินสำรองไว้ใช้ในยามฉุกเฉินแล้ว

อีกหนึ่งตัวช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายที่ ทีทีบี มอบให้พิเศษสำหรับพนักงานบัญชีเงินเดือน ทีทีบี ในทุกวันที่ 16 ของเดือนด้วย “Happy 16 ดีต่อใจ” ที่สามารถให้คุณใช้คะแนนเพียง 16 wow ก็สามารถแลกโค้ดส่วนลดมูลค่า 50 บาทได้ทันที! (จากปกติใช้คะแนน 50 wow) สามารถสะสมคะแนน wow ด้วยการทำธุรกรรมผ่านแอป ttb touch (1 wow = 1 บาท) ใช้คะแนน wow แทนเงินสด หรือแลกของรางวัลโดนใจได้ที่เมนูสิทธิประโยชน์ของฉัน รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก (รอเติม link) (เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด)

แฮปปี้ 16 ดีต่อใจ


3. หมั่นเช็กความพร้อมทางการเงินของตัวเองอยู่เสมอ: การทำรายรับ – รายจ่ายอย่างเดียว อาจไม่เพียงพอในปัจจุบัน เนื่องจากเศรษฐกิจมีความผันผวนอยู่เสมอ การตรวจสอบความพร้อมทางการเงินของตัวเองเป็นประจำ จะทำให้คุณสามารถปรับเปลี่ยนแผนการในการใช้เงินให้เข้ากับสภาพเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี

เพียงวางแผนการเงินอย่างเป็นระบบ ก็จะสามารถทำให้พนักงานเงินเดือนทุกคนมีชีวิตการเงินที่ดีขึ้นได้ และสำหรับลูกค้าบัญชีเงินเดือนทีทีบี เราได้รวบรวมทุกทางเลือกเรื่องการเงินเพื่อคนพิเศษเช่นคุณไว้ให้แล้วที่นี่ คลิก

เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ


fintips by ttb #เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร.1428


ที่มา ธนาคารแห่งประเทศไทย: https://www.bot.or.th/covid19/doctordebt/content/Pages/general_process.aspx