external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

“เลือกประกัน”
ให้เหมือน
“เลือกคู่”

“เลือกประกัน” ให้เหมือน “เลือกคู่”

10 ก.ค. 2564


  • การทำ “ประกัน”คือ สิ่งสำคัญที่ช่วยสร้างความอุ่นใจและบริหารความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในชีวิต
  • การเลือกประกันให้เหมาะสมกับช่วงวัย จะช่วยสร้างความสบายใจไม่ต่างไปจากการเลือกคู่ครองที่ดี
  • ประกันภัยมีหลายแบบ ควรทำความเข้าใจและศึกษาให้ดีก่อนที่จะเลือกซื้อประกัน

 

ปัจจุบัน การเลือกซื้อประกันกลายเป็นเรื่องที่ใครหลายคนหันมาให้ความสำคัญเพื่อช่วยสร้างความอุ่นใจในวันที่ชีวิตต้องเจอกับความเสี่ยงแต่พอจะซื้อทีไรก็ตัดสินใจไม่ถูกเพราะมีให้เลือกมากมายเต็มไปหมด ครั้นจะเลือกตามเพื่อนก็ไม่แน่ใจว่าจะเหมาะกับเราจริง ๆ ไหม ซึ่งหากจะเทียบให้เห็นภาพง่าย ๆ ก็คงไม่ต่างไปจากการเลือกคู่ครอง ที่จะต้องอยู่ด้วยกันไปยาว ๆ หากเลือกได้พอดี เป็นคนที่เข้ามาเติมเต็มชีวิตเราให้แฮปปี้ ชีวิตก็จะมีแต่ความสบายใจ

แล้วประกันแบบไหนล่ะ ที่เหมาะกับเราที่สุด ?

วันนี้เราจึงมีเทคนิคและข้อมูลดี ๆ มาแนะนำ เพื่อให้ทุกคนเข้าใจและเลือกซื้อประกันให้เหมาะกับตัวเองได้ง่ายขึ้น

เลือกประกันให้เหมาะสมกับช่วงวัยของตัวเอง

ช่วงอายุในแต่ละวัยเป็นหลักไมล์สำคัญที่เราใช้ประเมินความเสี่ยงของตัวเองได้ ทั้งด้านรายได้ สุขภาพ และการทำงาน การพิจารณาช่วงอายุจึงมีผลอย่างมากในการตัดสินใจเลือกซื้อประกันโดยเราแบ่งช่วงอายุและประกันที่เหมาะสมเอาไว้ให้เป็นแนวทาง ดังนี้

ช่วงวัยเด็กถึงวัยรุ่น อายุ 0-20 ปี :เป็นช่วงอายุที่เหมาะสมกับ ประกันสุขภาพเด็กซึ่งพ่อแม่ควรพิจารณาไว้ตั้งแต่เริ่มวางแผนมีบุตร เพื่อให้ประกันคุ้มครองตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ตลอดจนคลอดบุตรจากนั้นควรทำประกันสุขภาพสำหรับลูกตั้งแต่วัยแรกเกิด เพราะเด็กวัยนี้มีภูมิต้านทานโรคต่ำ มีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่าย เมื่อโตขึ้นเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น 15-20 ปี เป็นช่วงอายุที่ใช้ชีวิตเต็มที่และอาจเสี่ยงอันตรายอยู่บ่อยครั้ง จึงน่าจะต้องมองหาและเรียนรู้เรื่อง ประกันอุบัติเหตุ เพิ่มเติมไว้ด้วย

ช่วงวัยเริ่มทำงาน อายุ 21 -35ปี : ช่วงอายุที่เริ่มสร้างเนื้อสร้างตัว หารายได้จากการทำงาน จึงเหมาะกับ ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ เพื่อสร้างวินัยในการออมเงิน รวมถึงสามารถนำเบี้ยประกันไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังเป็นช่วงอายุที่ควรใส่ใจเรื่องประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุเผื่อเอาไว้ เพราะเป็นช่วงอายุที่มักได้เบี้ยประกันราคาถูกที่สุดนั่นเอง

ช่วงวัยเริ่มสร้างครอบครัว อายุ 35-55 ปี : เป็นวัยที่เริ่มสร้างครอบครัว สิ่งแรกที่ควรนึกถึงคือ ความเสี่ยงด้านรายได้ที่มาจากเสาหลักของครอบครัว ช่วงอายุนี้จึงเหมาะกับการทำ ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ หรือ ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลาซึ่งอย่างหลังควรเลือกช่วงเวลาคุ้มครองที่เหมาะสมด้วยสำหรับหลักประกันต่อมาที่ควรนึกถึงคือ ประกันทรัพย์สินเมื่อเรามีครอบครัว เป็นธรรมดาที่ต้องมีทรัพย์สินที่มีมูลค่า เช่นบ้าน หรือคอนโดเป็นของตัวเอง การมีหลักประกันเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรต้องมีแต่ทั้งนี้เรื่องสุขภาพและอุบัติเหตุก็เป็นความเสี่ยงที่ไม่ควรละเลยประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุจึงจำเป็นต้องมีควบคู่กันไป เพื่อเป็นหลักประกันความเสี่ยงให้กับครอบครัวหากเกิดอะไรขึ้นกับคนที่เป็นเสาหลักของบ้าน

ช่วงวัยก่อนเกษียณ ช่วงปลายของวัยทำงาน: เป็นช่วงที่ต้องเตรียมเงินไว้ใช้หลังเกษียณ ดังนั้นประกันที่เหมาะสมกับช่วงวัยนี้คือ ประกันชีวิตแบบบำนาญ เพื่อเป็นหลักประกันรายได้ที่จะได้รับควบคู่กับเงินออมที่เก็บหอมรอมริบเอาไว้ นอกจากนี้ ช่วงวัยนี้ยังเหมาะกับการซื้อกองทุนต่าง ๆ ด้วยเช่นRMF หรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพโดยยังคงมี ประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุไว้เพื่อความสบายใจเป็นการปูทางให้แผนใช้ชีวิตหลังเกษียณราบรื่นมากยิ่งขึ้น

ช่วงวัยหลังเกษียณ อายุ 55 ปีเป็นต้นไป: เป็นวัยที่เริ่มมีปัญหาสุขภาพ และมีความเสี่ยงมากขึ้นหากเกิดอุบัติเหตุ จึงควรทำ ประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุเอาไว้ อีกสิ่งสำคัญของวัยนี้คือการจัดสรรมรดก และทรัพย์สินต่าง ๆ ที่ต้องตกทอดให้กับลูกหลาน วัยนี้จึงเหมาะกับประกันชีวิตแบบตลอดชีพ เพราะสามารถเป็นเงินมรดกส่งต่อให้กับลูกหลานของเราได้ อีกทั้งความคุ้มครองตามกรมธรรม์ยังมีความคุ้มครองนานถึง 90-99 ปีเลยทีเดียว หรืออาจเลือกทำประกันชีวิตแบบผู้สูงอายุ ได้ ซึ่งประกันประเภทนี้มักไม่ต้องตรวจสุขภาพ และเมื่อผู้ทำประกันจากไปผลประโยชน์ที่ทำไว้ก็จะเป็นมรดกให้กับทายาทได้เช่นกัน

เลือกประกันภัยที่ทำให้เราสบายใจ

มาทำความเข้าใจเพิ่มเติมกันอีกสักนิดกับประกันภัยที่คนทั่วไปควรจะมีไว้ในครอบครอง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ประกันภัยบุคคล และ ประกันภัยทรัพย์สิน

  1. ประกันภัยบุคคล(Insurance of the person)

เป็นประกันที่ให้ความคุ้มครองกับคนในครอบครัวเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน ทั้งแบบสร้างความเสียหายต่อบุคคล เช่น การเจ็บป่วย การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ รวมถึงระยะเวลาของอายุไขของผู้ทำประกันภัยแต่ละคน โดยสามารถแบ่งได้ดังนี้

- ประกันชีวิต : เป็นประกันชีวิตรายบุคคล ที่มีลักษณะเด่นคือ การสร้างวินัยในการออม เป็นประกันที่มีความเสี่ยงต่ำ และยังเป็นหลักประกันให้กับครอบครัวและผู้ทำประกันได้ เมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันแก่ผู้ทำประกันภัยโดยแบ่งออกเป็น 5 แบบ ได้แก่ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ ประกันชีวิตแบบบำนาญ และประกันชีวิตผู้สูงอายุ

- ประกันอุบัติเหตุ :คือประกันที่คุ้มครองความเสี่ยงเมื่อเกิดอุบัติเหตุ เมื่อได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย ทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิต ทางบริษัทประกันจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นกับผู้ทำประกัน หรือจ่ายค่าทดแทนให้ตามเงื่อนไขที่กรมธรรม์กำหนด

- ประกันสุขภาพ :คือประกันที่ให้ความคุ้มครองชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย หรือโรคภัยไข้เจ็บ ของผู้ทำประกัน เมื่อต้องเข้ารักษาที่โรงพยาบาล

  1. ประกันภัยทรัพย์สิน(Property Insurance)

เป็นประกันที่บริษัทประกันภัยช่วยคุ้มครองชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือชดใช้เงินจำนวนหนึ่งให้กับทรัพย์สินที่เราทำประกันภัยเอาไว้ เพื่อรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เช่น อัคคีภัย อุบัติเหตุทางรถยนต์ หรือจากภัยอื่น ๆ โดยสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทหลักดังนี้

- ประกันอัคคีภัย : เป็นประกันวินาศภัยที่จำเป็นมากทุกยุคสมัย เพราะเป็นประกันภัยที่คุ้มครองทรัพย์สินหรือสิ่งปลูกสร้าง บ้านเรือน ซึ่งถือเป็นทรัพย์สินชิ้นใหญ่และสำคัญของครอบครัวหากเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น ไฟไหม้ ฟ้าผ่า หรือเหตุเภทภัยต่าง ๆ บริษัทประกันจะชดเชยให้ตามที่ระบุไว้ในกรรมธรรม์

- ประกันภัยรถยนต์ : มีทั้งประกันภัยภาคบังคับ คือ ประกัน พ.ร.บ หรือ พ.ร.บ รถยนต์ โดยประกันประเภทนี้ให้ความคุ้มครองตัวบุคคลเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ แต่ไม่คุ้มครองความเสียหายที่เกิดกับตัวรถ ส่วนประกันที่คุ้มครองตัวรถ คือ ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ หรือ ประกันชั้น 1, 2, 3 ที่เราคุ้นชินกัน โดยประกันภัยประเภทนี้จะให้ความสบายใจกับผู้ใช้รถเพราะคุ้มครองค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถ อีกทั้งยังมีความคุ้มครองเพิ่มเติมอื่น ๆ ให้เลือกได้อีก เช่น คุ้มครองผู้โดยสารที่นั่งมาในรถ หรือมีวงเงินค้ำประกันตัวผู้ขับขี่กรณีเกิดเหตุ เป็นต้น

เมื่อมีแนวทางอย่างนี้แล้ว ลองศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันภัยที่จะมอบความสบายใจและเหมาะกับตัวคุณเองได้ที่ https://www.ttbbank.com/th/personal/insurance/life/health-insurance

ให้คะแนนความพึงพอใจ
ประสบการณ์ในการใช้งานเว็บไซต์วันนี้ คุณพอใจมากน้อยแค่ไหน ?

รบกวนให้คะแนนเราหน่อยนะ

1
2
3
4
5
ไม่พอใจพอใจมากที่สุด