external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

เก็บเงินเก่งไม่เท่าใช้ให้เป็น ใช้จ่ายอย่างไรให้คุ้มค่า

22 มี.ค. 2566


  • ในปี 2022 รายได้เฉลี่ยของคนไทยต่อครัวเรือนคิดเป็น 79% ของรายได้
  • พฤติกรรมการใช้จ่ายย่อมส่งผลต่อสุขภาพทางการเงิน

 

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเก็บหอมรอมริบคือหนทางสะสมทรัพย์สู่ความมั่งคั่งในชีวิต แต่คงต้องยอมรับเช่นเดียวกันว่าในสถานการณ์ของเศรษฐกิจปัจจุบันที่รายได้ของคนส่วนใหญ่เติบโตไม่ทันสารพัดค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง การออมเงินเพียงอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอต่อความมั่นคงทางการเงินอีกต่อไป แต่ต้องพึ่งทักษะบริหารจัดการค่าใช้จ่ายอย่างชาญฉลาดเพื่อให้สามารถประหยัดรายจ่ายที่เกิดขึ้นได้ จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่นอกจากการเก็บเงินเก่งแล้ว นักออมเงินต้องหันมาฝึกปรือทักษะการใช้จ่ายอย่างคุ้มค่าและเพิ่มเติมเงินออมจากการใช้เงินอย่างชาญฉลาด

รายได้ไม่พอใช้กับรายจ่ายเป็นเพราะอะไร


รายได้ไม่พอใช้กับรายจ่าย เป็นเพราะอะไร

หากมองภาพความเป็นจริงปัจจุบันที่อ้างอิงตามรายงานโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2022 ที่ผ่านมาจะพบว่ารายได้ต่อเดือนของคนไทยนั้นยากจะอำนวยให้สามารถสร้างฐานเงินออมที่มั่นคงได้ เพราะรายได้เฉลี่ยของคนไทยต่อครัวเรือนอยู่ที่ 27,352 บาทในขณะที่ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือนอยู่ที่ 21,616 บาทคิดเป็น 79%ของรายได้เลยทีเดียว

น่าตกใจที่สัดส่วนของรายจ่ายนั้นเกือบเทียบเท่ากับรายได้และจากผลสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนในปี 2022 พบว่ากว่า 87% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดถูกใช้ไปกับรายจ่ายที่จำเป็นต้องใช้ในการยังชีพ ซึ่งสามารถแจกแจงออกมาได้ ดังนี้

  • 35.5 % ของค่าใช้จ่ายถูกใช้ไปกับค่าอาหาร เครื่องดื่มมากที่สุด เฉลี่ยราวๆ 7,660 บาทต่อเดือน
  • ค่าที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ที่คนไทยต้องจ่ายคิดเป็น 21.40% ของค่าใช้จ่ายด้านอุปโภคบริโภค
  • คนไทยเสียเงินให้กับยานพาหนะและการเดินทางกว่า 16% ของรายจ่ายด้านอุปโภคบริโภค

จากผลสำรวจยังพบด้วยว่ามี 13% ของรายจ่ายหรือ 2,614 บาท ต่อเดือนที่คนไทยใช้จ่ายสำหรับภาษี เบี้ยประกันภัย สลากกินแบ่งรัฐบาลและดอกเบี้ยสลากกินแบ่งรัฐบาล ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายจำเป็นที่แยกออกมาจากค่าอุปโภคบริโภค

นอกเหนือจากปัจจัยทางเศรษฐกิจอย่างค่าครองชีพและค่าแรงขั้นต่ำแล้ว พฤติกรรมการใช้จ่ายของแต่ละคนก็ส่งผลต่อสุขภาพทางการเงินจนไม่สามารถสะสมเป็นเงินเก็บได้เหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น

  • ซื้อของตามความอยากเดี๋ยวนั้น (Impulse Spending) เป็นการใช้จ่ายตามใจจากความต้องการที่ฉับพลันและไม่วางแผนล่วงหน้า ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่เกินจำเป็น ส่งผลให้ออมเงินได้น้อย เหลือเงินไม่พอใช้ในยามฉุกเฉิน
  • ขาดการออมเงินและการวางแผนการเงินอย่างมีวินัย เมื่อไม่มีเป้าหมายการเก็บเงินที่ชัดเจน รายได้ที่เข้ามาก็เปลี่ยนเป็นรายจ่ายที่เสียไปอย่างรวดเร็ว
  • ใช้เงินเกินรายได้ที่มี มักเห็นในรูปแบบของการใช้เงินเดือนชนเดือน นอกจากขาดสภาพคล่องทางการเงินแล้วยังเสี่ยงต่อการเป็นหนี้อีกด้วย
  • รายจ่ายฉุกเฉิน เหตุการณ์ไม่คาดคิดที่เข้ามาในชีวิตเช่น ค่ารักษาพยาบาลหรือค่าซ่อมรถจากอุบัติเหตุก็สามารถเป็นสาเหตุที่ทำให้เงินเก็บร่อยหรอ เงินไม่พอใช้ได้เช่นกัน
  • ทักษะบริหารการเงินที่ไม่มีประสิทธิภาพ เช่น การละเลยการทำบัญชีรายรับรายจ่ายมีส่วนทำให้เราขาดความระมัดระวังในการใช้จ่าย เพราะมองไม่เห็นภาพรวมหรือสัดส่วนว่าเงินหายไปกับค่าอะไรทั้งหมดนี้

จะเห็นได้ว่าด้วยสัดส่วนของรายจ่ายที่เกินกว่าครึ่งของรายได้มีส่วนสำคัญให้สถานการณ์ทางการเงินของคนไทยอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงที่เงินไม่พอใช้ได้ง่ายๆ ดังนั้นแล้วการย้อนกลับมามองพฤติกรรมใช้จ่ายของตัวเอง จึงช่วยให้สามารถควบคุมเม็ดเงินที่เสียไปอย่างไม่จำเป็นและเพิ่มเติมเงินเก็บกลับคืนเข้ากระเป๋าได้มากขึ้น

เคล็ดลับจัดการค่าใช้จ่ายให้พอเหมาะมีเงินเหลือเก็บ


เคล็ดลับจัดการค่าใช้จ่ายให้พอเหมาะ มีเงินเหลือเก็บ

กลยุทธ์ทางการเงินที่ช่วยปรับเปลี่ยนการใช้จ่ายแต่ละเดือนให้มนุษย์เงินเดือนทำตามได้ง่ายๆ โดยเลือกวิธีเก็บเงินที่ได้ผลมากขึ้นและเหมาะกับเรา ได้แก่

ตั้งงบประมาณรายจ่ายต่อเดือน

การมีตัวเลขให้ตัวเองอย่างชัดเจนเพื่อไม่ใช้เกินกว่านั้นจะช่วยเพิ่มความรอบคอบให้กับการใช้จ่ายได้มากขึ้นเพราะมีเป้าหมายเป็นตัวเลขมาคอยกำกับให้เราระมัดระวังกับการช้อปปิ้งตามใจ และจัดลำดับความสำคัญของรายจ่ายต่อเดือนได้ดีมากขึ้น


ลดทอนรายจ่ายที่ไม่จำเป็น

จากผลสำรวจข้างต้นจะเห็นแล้วว่า รายจ่ายของคนส่วนใหญ่ในแต่ละเดือนนั้นหมดไปกับค่าอาหารและเครื่องดื่มเสียส่วนมาก และเพื่อเป้าหมายของการมีเงินเหลือเก็บนี่อาจเป็นโอกาสเหมาะให้เริ่มลดทอนค่าใช้จ่ายที่เกินจำเป็น เช่น มีลิสต์รายการซื้อของเข้าบ้านก่อนช้อปปิ้ง ลดการกินข้าวนอกบ้านให้น้อยลง เปรียบเทียบราคาก่อนซื้อของในแต่ละครั้ง เป็นต้น


ใช้วิธีออมเงินอัตโนมัติ

หลายคนอาจออมเงินได้น้อยลงเพราะหลงลืมการโอนเงินเก็บแยกไว้ต่างหาก การออมเงินอัตโนมัติจึงเป็นหนึ่งวินัยทางการออมที่ทำได้โดยการมีบัญชีฝากประจำที่หักจากเงินเดือนอัตโนมัติเพื่อให้เราไปถึงเป้าหมายได้ง่ายขึ้น ทั้งยังสร้างก้อนเงินออมอย่างสม่ำเสมอ มีเงินสำรองสำหรับกรณีฉุกเฉินได้โดยไม่ต้องมาคอยโอนเงินเองทุกเดือน ทั้งยังเป็นการปรับพฤติกรรมออมก่อนใช้ทีหลัง


มีตัวเลือกการใช้จ่ายที่คุ้มค่า

การมีตัวเลือกการจ่ายเงินที่ได้ส่วนลดหรือเปลี่ยนเป็นเงินคืนกลับมาคืออีกหนึ่งแนวทางของการใช้จ่ายอย่างคุ้มค่าที่มากกว่าการใช้เงินสดตามธรรมดา เช่น บัตรเครดิต ttb so smart บัตรเครดิตคู่หูนักออมเงินที่เน้นความคุ้มค่าเป็นพิเศษเพราะให้เงินคืนกลับมา 1% ทุกการใช้จ่าย เท่ากับเพิ่มโอกาสให้จับจ่ายได้ในราคาที่น้อยลงเพราะเปลี่ยน 1% ยอดบิลเป็นเครดิตเงินคืนเข้าบัญชี ทีทีบี โน ฟิกซ์ ได้เลยทันทีไม่ต้องรอโปรโมชัน ได้สิทธิประโยชน์มากกว่าการใช้จ่ายด้วยเงินสดเห็นๆ

บัตรเครดิต ttb so smart ให้เครดิตเงินคืน 1% ทุกใช้จ่าย

ให้คะแนนความพึงพอใจ
ประสบการณ์ในการใช้งานเว็บไซต์วันนี้ คุณพอใจมากน้อยแค่ไหน ?

รบกวนให้คะแนนเราหน่อยนะ

1
2
3
4
5
ไม่พอใจพอใจมากที่สุด