external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

รู้ทันกลโกง! ตรวจสอบรายชื่อมิจฉาชีพ ก่อนโดนหลอกให้โอนเงิน

#fintips #เช็กรายชื่อมิจฉาชีพ #รู้ทันกลโกง
5 พ.ย. 2567

การหลอกลวงให้โอนเงิน เป็นปัญหาที่พบเจอได้บ่อยในปัจจุบัน โดยเฉพาะคอลเซนเตอร์ที่มักโทรมาอ้างตัวในหลายรูปแบบ โดยมักอ้างตนว่าเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือ เพื่อหลอกลวงเงินของคุณ หากไม่ทันระวัง อาจส่งผลให้สูญเสียทรัพย์สินโดยไม่รู้ตัว ในบทความนี้ fin tips by ttb จะมาดูกันว่ากลโกงเหล่านี้มีอะไรบ้าง และสามารถตรวจสอบรายชื่อมิจฉาชีพได้ที่ไหนบ้าง เพื่อตรวจสอบก่อนโอน ให้มั่นใจว่าเงินที่เราโอนไป ปลายทางจะไม่ใช่มิจฉาชีพ


กลโกงมิจฉาชีพมีอะไรบ้าง

อ้างตนว่าเป็นพนักงานจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ

เช่น พนักงานจากธนาคาร หน่วยงานรัฐบาล หรือบริษัทจัดส่งพัสดุที่น่าเชื่อถือ เพื่อทำให้เหยื่อหลงเชื่อว่าข้อมูลที่ได้รับเป็นของจริง ซึ่งเมื่อเหยื่อไว้วางใจ มิจฉาชีพจะใช้ข้อมูลนี้เพื่อหลอกลวงหรือขโมยข้อมูลส่วนตัวและหลอกให้โอนเงินไปโดยที่ไม่รู้ตัว

อ้างตนว่าเป็นพนักงานจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ

อ้างว่ามีพัสดุตกค้าง

อ้างตัวว่าเป็นพนักงานขนส่งและแจ้งว่ามีพัสดุตกค้าง หรือคุณมีพัสดุที่จำเป็นต้องเสียค่าส่งและค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม วิธีนี้ถือเป็นหนึ่งในกลโกงที่นิยมใช้ โดยมิจฉาชีพมักส่งข้อความหรือโทรมาแจ้งข้อมูลเท็จเพื่อให้เหยื่อโอนเงิน

อ้างว่าโอนเงินผิด

มิจฉาชีพบางคนจะอ้างว่าตนได้โอนเงินผิดบัญชี และต้องการให้คุณโอนเงินคืนโดยเร็ว เหตุการณ์นี้อาจทำให้ผู้ที่ไม่ทันระวังตกเป็นเหยื่อ หากเกิดกรณีนี้ขึ้น ไม่แนะนำให้โอนคืนเอง เนื่องจากอาจเป็นกลโกงของพวกมิจฉาชีพที่มีจุดประสงค์ใช้บัญชีของคุณเป็นทางผ่านในการโอนเงินผิดกฎหมาย ส่งผลให้คุณอาจตกอยู่กระบวนการฟอกเงินที่ผิดกฎหมายโดยที่ไม่รู้ตัว

การป้องกันไม่ให้คุณทำผิดกฎหมายโดยที่ไม่รู้ตัว ให้คุณตั้งสติ อย่าเพิ่งหลงเชื่อมิจฉาชีพง่าย ๆ และควรเก็บข้อมูล เช่น ชื่อ-นามสกุลและเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้มา และติดต่อธนาคารของคุณโดยตรงว่าควรต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป หรือถ้ายังมีความกังวลอยู่ แนะนำให้รวบรวมหลักฐานและเข้าติดต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจทันที

หลอกให้โอนเงิน เพื่อรับเงินก้อน

อีกกลโกงหนึ่ง คือ การเสนอให้คุณโอนเงินไปก่อนล่วงหน้าแล้วจะได้รับเงินก้อนกลับมา เช่น เงินรางวัล เงินกู้หรือของขวัญ โดยที่จริงแล้วไม่มีสิ่งเหล่านั้นอยู่จริง เพราะฉะนั้นก่อนจะทำธุรกรรมการเงินทุกครั้ง ควรตรวจสอบรายชื่อมิจฉาชีพทุกครั้งก่อนโอน เพื่อจะได้ไม่ตกเหยื่อของมิจฉาชีพเหล่านั้น


เช็กรายชื่อมิจฉาชีพได้ที่ไหนบ้าง

แล้วถ้าเจอเหตุการณ์ดังกล่าว ก่อนโอนเงินสามารถเช็กรายชื่อมิจฉาชีพ และตรวจสอบรายชื่อมิจฉาชีพว่าคนนี้มีประวัติการโกงหรือไม่ ได้ที่ไหนบ้าง ดังนี้

Blacklistseller

เว็บไซต์เช็กรายชื่อมิจฉาชีพ โดยสามารถค้นหาชื่อ-นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ เลขบัตรประชาชนหรือชื่อสินค้าที่คุณซื้อ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ว่าคนนั้นเคยมีประวัติการโกงมาก่อนไหม และมีการอัปเดตอยู่เสมอว่ามิจฉาชีพใช้กลโกงไหนในการหลอกให้โอนเงินไปบ้าง โดยข้อมูลรายชื่อมิจฉาชีพต่าง ๆ ที่เราใช้ค้นหาบนเว็บไซต์นั้น จะมาจากผู้บริโภคทั้งหลายที่เคยมีประสบการณ์เช่นเดียวกับคุณ และคุณยังสามารถเพิ่มรายชื่อมิจฉาชีพบนเว็บไซต์ได้ เพื่อเป็นการเตือนให้กับบุคคลอื่น ๆ ที่อาจจะโดนหลอกเช่นเดียวกันได้

Whoscheat

เว็บไซต์ค้นหารายชื่อมิจฉาชีพที่สามารถตรวจสอบได้จากเลขบัญชีธนาคาร เบอร์โทรศัพท์มือถือ เลขประจำตัวประชาชน และชื่อ-นามสกุล โดยการค้นหาข้อมูลจะสามารถทราบได้ตั้งแต่จำนวนครั้งที่ถูกรายงาน ยอดความเสียหาย ช่องทางการทำธุรกรรม ประเภทสินค้าหรือบริการ รวมทั้งหลักฐานการโอนเงินและหลักฐานอื่น ๆ ประกอบอีกด้วย

เบอร์แปลกโทรเข้ามา

Whoscall

แอปพลิเคชัน Whoscall เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คุณตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์ เพื่อดูว่าหมายเลขที่โทรมานั้นเป็นมิจฉาชีพหรือไม่ โดย Whoscall จะทำการกรองและแจ้งเตือนหากหมายเลขมีความเสี่ยง พร้อมทั้งแสดงข้อมูลของผู้โทรเพื่อให้คุณสามารถตัดสินใจเลือกรับสายโทรศัพท์ได้อย่างปลอดภัย


สรุป

ในปัจจุบัน กลโกงมิจฉาชีพมีหลากหลายรูปแบบ โดยมักแอบอ้างตนว่าเป็นพนักงานจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ หรืออ้างเหตุผลต่าง ๆ เพื่อหลอกให้เหยื่อโอนเงิน หากไม่ทันระวัง อาจสูญเสียทรัพย์สินโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นก่อนทำธุรกรรมการเงินทุกครั้ง ควรตรวจสอบรายชื่อมิจฉาชีพผ่านแหล่งที่น่าเชื่อถือ เช่น เว็บไซต์ Blacklistseller Whoscheat หรือแอปพลิเคชัน Whoscall เพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ พร้อมทั้งเก็บหลักฐานและแจ้งเจ้าหน้าที่หากพบความผิดปกติ

อย่างไรก็ตาม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นกับคุณ ก่อนทำธุรกรรมทางการเงิน ควรเช็กรายชื่อมิจฉาชีพ และค้นหารายชื่อมิจฉาชีพกู้เงินผ่านช่องทางที่แนะนำไปข้างต้น และหากคุณประสบปัญหาทางด้านการเงินจริง ๆ แนะนำให้กู้เงินด่วนแบบถูกกฎหมายผ่านสถาบันทางการเงินที่น่าเชื่อถือได้ เช่น บริการสินเชื่อบุคคล จากทีทีบี อย่าง สินเชื่อส่วนบุคคล แคชทูโก และบัตรกดเงินสดทีทีบี แฟลช ซึ่งสามารถสมัครได้ผ่าน 3 ช่องทางหลักของธนาคาร เช่น เว็บไซต์ ttb แอป ttb touch หรือ สาขา ttb ทั่วประเทศ สะดวก ปลอดภัย มั่นใจได้ และที่สำคัญไม่มีนโยบายให้ลูกค้าโอนเงินก่อนจะได้รับการอนุมัติสินเชื่อ หรือให้โอนเงินผ่านบัญชีบุคคล

สินเชื่อส่วนบุคคล แคชทูโก

บัตรกดเงินสดทีทีบี แฟลช

กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว • สินเชื่อส่วนบุคคล แคชทูโก ดอกเบี้ย 18% - 25% ต่อปี • บัตรกดเงินสด ทีทีบี แฟลช ดอกเบี้ย 25% ต่อปี • เงื่อนไขการสมัคร และอนุมัติสินเชื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด