การบริหารจัดการเงินเป็นสิ่งสำคัญ สำหรับมนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้ประจำทุกเดือน การวางแผนการเงินที่ดีไม่เพียงแต่ช่วยให้คุณมีความมั่นคงทางการเงินแล้ว แต่ยังช่วยให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการใช้จ่ายในยามเกษียณ สร้างความมั่นคงในอนาคต หรือรับมือได้ทันกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันได้
มนุษย์เงินเดือนวางแผนทางการเงิน ดีอย่างไร
- เพื่อความมั่นคงในอนาคต เพื่อใช้จ่ายในยามเกษียณ หรือในยามฉุกเฉิน
- เพื่อเป้าหมายชีวิต เช่น มีแผนอยากซื้อบ้าน ซื้อรถหรืออยากได้ของชิ้นใหญ่
- เพื่อลดความเสี่ยงทางการเงิน เช่น การสูญเสียรายได้ การเจ็บป่วย หรือภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เป็นต้น
6 วิธีวางแผนทางการเงิน มีอะไรบ้าง
กำหนดเป้าหมาย
เริ่มต้นจากการสำรวจหนี้สินและสินทรัพย์ที่มีอยู่ เพื่อให้ทราบภาพรวมทางการเงินของตัวเอง โดยการทำแบบนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจว่า ตอนนี้สถานะการเงินปัจจุบันเป็นอย่างไร ยังมีสภาพคล่องทางการเงินอยู่หรือไม่ เพื่อช่วยให้คุณสามารถกำหนดเป้าหมายในการใช้จ่ายเงินได้ เช่น ในอีก 3 ปี ต้องการซื้อรถ หรือในอีก 5 ปีต้องการซื้อบ้าน เป็นต้น หลังจากมีเป้าหมายที่ชัดเจนแล้วก็จะสามารถวางแผนการเงินได้อย่างเหมาะสม
แบ่งสัดส่วนรายได้แบบ 80/20
การแบ่งรายได้ที่ได้รับมาในแต่ละเดือนออกเป็นสัดส่วน โดยสามารถแบ่งออกเป็นเงินสำหรับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ โดยรวมถึงค่าใช้จ่ายส่วนตัว หรือค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียเป็นประจำทุกเดือน (fixed cost) ที่ต้องจำเป็นต้องจ่าย ออกเป็น 80% และอีก 20% สำหรับเงินเก็บออมหรือนำไปลงทุนได้
เช่น คุณได้เงินเดือน 25,000 บาทต่อเดือน แบ่งสัดส่วนรายได้แบบ 80/20 โดย 80% หรือ 20,000 บาท จะเป็นเงินสำหรับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และอีก 20% หรือ 5,000 บาท จะเก็บไว้เป็นเงินออมหรือเงินลงทุนต่อไป ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้มนุษย์เงินเดือนอย่างเรามีระบบในการจัดการเงินและสร้างความมั่นคงทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แบ่งสัดส่วนรายได้แบบ 50/30/20
และอีกวิธีการแบ่งสัดส่วยรายได้ คือ การจัดสรรรายได้ออกเป็น 50/30/20 ดังนี้
- เงินสำหรับใช้จ่ายที่จำเป็น (Fixed Cost) 50% ของรายได้ทั้งหมด
- เงินออม หรือเงินลงทุน 30% ของรายได้ทั้งหมด
- ค่าใช้จ่ายส่วนตัว 20% ของรายได้ทั้งหมด
เช่น คุณมีเงินเดือน 25,000 บาทต่อเดือน จะสามารถแบ่งออกสัดส่วนของรายได้เท่ากับ เงินสำหรับใช้จ่ายที่จำเป็น 12,500 บาท เงินออมหรือเงินลงทุนอีก 7,500 บาท และยังคงเหลือเงินค่าใช้จ่ายส่วนตัวอีก 5,000 บาท อย่างไรก็ตาม การแบ่งสัดส่วนรายได้ควรประเมินจากเป้าหมายที่คุณกำหนดไว้ รวมทั้งสถานการณ์การเงินของตนเอง เพื่อให้เข้ากับสถานะทางการเงินของคุณมากที่สุด
บันทึกรายรับ-รายจ่าย
การทำบัญชีบันทึกรายรับ-รายจ่ายจะช่วยให้คุณสามารถตรวจสอบได้ว่าในแต่ละเดือนคุณหมดเงินไปกับอะไรบ้าง ทำให้สามารถวิเคราะห์การใช้เงินของคุณได้ดียิ่งขึ้น และสามารถปรับปรุงและวางแผนทางเงินของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นวิธีประหยัดเงินที่จะช่วยให้คุณปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและเพิ่มการออมได้มากขึ้น
นอกจากนี้ การทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายสำหรับมนุษย์เงินเดือนยังเป็นอีกหนึ่งช่องทาง ในกรณีที่คุณต้องการยื่นขอสินเชื่อในอนาคต เอกสารตรงนี้ก็จะช่วยให้คุณสามารถแจกแจงรายละเอียดที่มาของรายได้ และเพิ่มความน่าเชื่อถือให้แก่ธนาคารผู้พิจารณาสินเชื่อของเราได้อีกด้วย
สร้าง Passive Income
การนำเงินส่วนหนึ่งไปลงทุน เพื่อให้เงินงอกเงย เช่น กองทุนรวม หุ้น อสังหาริมทรัพย์หรือประกันออมทรัพย์ เป็นวิธีการสร้าง Passive Income ที่จะช่วยให้คุณมีรายได้เสริมเข้ามาในบัญชีโดยไม่ต้องทำงานหนักเพิ่มขึ้น แต่สามารถสร้างผลตอบแทนต่อเนื่อง เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในระยะยาวอีกด้วย
วางแผนภาษี
การจัดการภาษีอย่างรอบคอบเป็นวิธีประหยัดเงินที่จะช่วยให้คุณสามารถลดหย่อนภาษี และรักษาเงินรายได้ให้คงเหลือมากขึ้นในแต่ละปี ดังนั้น การรู้จักใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีที่กฎหมายกำหนดเป็นสิ่งสำคัญสำหรับมนุษย์เงินเดือนได้ มาดูกันว่ารายการลดหย่อนภาษีมีอะไรบ้าง ดังนี้
- ค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว ผู้มีรายได้สามารถขอค่าลดหย่อนสำหรับตนเองและสมาชิกในครอบครัว เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัว คู่สมรส ฝากครรภ์และคลอดบุตร หรือค่าเลี้ยงดูบิดามารดา เป็นต้น โดยสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนได้ เช่น คุณมีคู่สมรสที่ไม่มีรายได้ สามารถลดหย่อนได้สูงสุด 120,000 บาท ซึ่งแบ่งเป็นคาลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท และค่าลดหย่อนคู่สมรสอีก 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนจากเงินบริจาค การบริจาคเงินหรือสิ่งของให้กับองค์กรการกุศลที่ได้รับการรับรองโดยกฎหมาย สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ โดยมักมีอัตราร้อยละที่กำหนด เช่น 10% ของจำนวนเงินบริจาค
- ค่าลดหย่อนจากการออมและลงทุน เช่น การลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ กองทุน RMF หรือกองทุน SSF กบข. กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติและประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถนำมาลดหย่อนภาษีโดยได้สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
- ค่าลดหย่อนกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล เช่น ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท เป็นต้น
สรุป
การวางแผนการเงินสำหรับมนุษย์เงินเดือนเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน ประเมินสถานการณ์ทางการเงิน และแบ่งสัดส่วนรายได้อย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้อย่างราบรื่น และอย่าลืมเตรียมเงินฉุกเฉินสำรองไว้เผื่อกรณีฉุกเฉิน เช่น การเจ็บป่วยหรือการตกงาน การมีเงินสำรองจะช่วยให้คุณไม่มีสะดุดในเรื่องการเงิน
หากเกิดอุบัติเหตุฉุกเฉิน ต้องการเงินด่วนหรือมีความเร่งด่วนต้องใช้เงิน ไม่ต้องไปยืมใคร เพียงแค่สมัครบัตรกดเงินสด แฟลช จาก ทีทีบี ช่วยให้คุณอุ่นใจ เหมือนมีเงินสดเงินสำรองติดตัวไว้ สามารถจัดการทุกปัญหาทางการเงินที่ไม่คาดคิดได้ มีไว้ไม่ใช่ก็ไม่เสียดอกเบี้ย ไม่มีค่าธรรมเนียมรายปี หรือหากวันใดจำเป็นต้องใช้ กดเงินออกมาแล้วมีเงินเมื่อไหร่ก็รีบโปะคืนทันที ก็จะเสียดอกเบี้ยไม่มาก หรือบางคนสามารถเลือกบัตรนี้ใช้ผ่อนสินค้าหรือบริการ เช่น มือถือ คอมพิวเตอร์ ipad เครื่องใช้ไฟฟ้า ณ ร้านค้าชั้นนำที่ร่วมรายการ ก็สามารถใช้สิทธิ์ผ่อน 0% นานสูงสุด 60 เดือน ได้เช่นกัน และบัตรกดเงินสด ทีทีบี แฟลช นี้ยังมีสิทธิประโยชน์อีกมากมาย เช่น
- บริการโอนยอดหนี้ มาทีทีบี แฟลช ดอกเบี้ยเริ่มต้น 13%ต่อปี
- วงเงินอนุมัติสูงสุดถึง 5 เท่าของรายได้ หรือไม่เกิน 1 ล้านบาท
- สามารถเบิกถอนเงินสดได้ผ่านตู้ ATM ได้ทุกที่ ทุกตู้ ทุกธนาคาร ไม่มีค่าธรรมเนียมกดเงินสด
- หรือเลือกโอนวงเงินจากบัตรเข้าบัญชีได้ทันที ผ่านแอป ttb touch
- เลือกผ่อนคืนขั้นต่ำเพียง 3%
- ไม่มีค่าธรรมเนียมการสมัคร ไม่มีค่าธรรมเนียมรายปี
- ผ่อนสินค้าหรือบริการ ผ่าน ttb pay plan ดอกเบี้ย 0% ได้นานสูงสุด 60 เดือน ณ ร้านค้าชั้นนำที่ร่วมรายการ
สนใจสมัครบัตรกดเงินสด แฟลช จากทีทีบี สามารถสมัครได้ผ่าน 3 ช่องทาง ดังนี้ เว็บไซต์ ttb แอป ttb touch หรือ สาขา ttb ที่ท่านสะดวกได้ทั่วประเทศ
กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว ดอกเบี้ย 25% ต่อปี • เงื่อนไขการสมัคร และอนุมัติสินเชื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด