external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

รับมืออย่างไรกับวิกฤต Quarter-Life Crisis “วิกฤตก่อนวัยกลางคน”

1 มิ.ย. 2565

เมื่อเข้าสู่วัย 30 เราต่างพบเจอกับโจทย์ท้าทายมากมาย ไม่ว่าจะเรื่องงาน เงิน สุขภาพ และความรัก แม้หลาย ๆ เรื่องในชีวิตอาจไม่เป็นอย่างที่คิด ความสำเร็จที่เคยวาดหวังไว้อาจยังห่างไกล จนทำให้ช่วงนี้หลายคนรู้สึกท้อแท้ และไม่แฮปปี้อย่างเคย หลายคนนิยามภาวะนี้ไว้ว่า Quarter-Life Crisis หรือ วิกฤติ ¼ ของชีวิต

มาเปลี่ยนวัย 30 หม่น ๆ ให้เป็นวัย 30 ที่แจ๋วกว่าเดิม! โดยเริ่มต้นด้วยการทบทวนเป้าหมายของตัวเองกันใหม่ พร้อมวางแผนเพื่อรับมือกับปัญหาวุ่น ๆ ในช่วง ‘วัยรุ่นตอนปลาย-ผู้ใหญ่ตอนต้น’ กันเถอะครับ


Quarter-Life Crisis คืออะไร?

ก่อนหน้านี้หลายคนคุ้นกับคำว่า Midlife Crisis หรือ วิกฤตวัยกลางคน ซึ่งมักจะเกิดกับคนวัย 35 - 45 ปี แต่ปัจจุบันโลกหมุนเร็วขึ้น แถมยังมีคอนเทนต์เกี่ยวกับไลฟ์สไตล์หรูหราและความสำเร็จมาให้เสพกันมากมายในโลกโซเชียลมีเดีย

ทำให้หลายคนประสบปัญหาเรื่องการเงิน เปรียบเทียบเห็นชีวิตของคนอื่นดีกว่าไปหมด และบีบคั้นตัวเองให้ประสบความสำเร็จเร็วที่สุด พบได้บ่อย ๆ ในกลุ่มคนทำงานอายุประมาณ 30 ปี ที่หลายคนเริ่มรู้สึกท้อแท้ หมดหวัง ไปถึงขั้นรู้สึกไร้ความหมายในการมีชีวิต

ถ้ามองอีกแง่หนึ่ง วิกฤตวัยกลางคน มีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า Pre-MidLife Crisis หรือที่เรียกว่า Quarter-Life Crisis (ภาวะก่อนวิกฤตวัยกลางคน)
นับว่าเป็นโอกาสที่เราได้ซ้อมเตรียมตัวล่วงหน้า เพื่อรับมือหรือป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤตวัยกลางคนที่หนักหนากว่าในอนาคต

 

ความแตกต่างระหว่าง 2 วิกฤติ


30 ยังแจ๋ว! เตรียมรับมือ Quarter-Life Crisis วิกฤตไหนก็เอาอยู่

ลองทำเช็กลิสต์ทบทวนกันดูก่อนว่าองค์ประกอบของ Quarter-Life มีอะไรบ้าง และถ้าคุณกำลังมีอาการดังกล่าว คุณอาจเข้าใกล้ภาวะนี้มากกว่าที่คิด และอาจต้องเตรียมตัวรับมือตั้งแต่ตอนนี้

*** หมายเหตุ : เช็กลิสต์บางข้อคืออาการที่เกิดขึ้นได้ตามปกติ แต่ต้องสังเกตความรู้สึกของตัวเองให้ดี ว่าไม่รู้สึกเครียดหรือเศร้ามากเกินไป ***

 

เช็กลิสต์วิกฤติวัย 30 ปี

1. เศร้าใจเวลาเห็นใครโพสต์ภาพชีวิตดีๆ

จากที่เคยไถหน้าจอโทรศัพท์ด้วยความสนุกสนาน แต่อยู่ๆ กลับรู้สึกเครียด กดดัน เพราะเจอแต่ภาพเพื่อนซื้อของแบรนด์เนม ซื้อบ้าน ซื้อรถ ไปเที่ยวต่างประเทศ หลายคนเตรียมพร้อมสร้างครอบครัวที่มั่นคง จนไม่อยากรับรู้โลกภายนอก

ลองหาเวลาหยุดพัก พาตัวเองออกไปจากหน้าจอโซเชียลมีเดีย เช่น อ่านหนังสือสนุกๆ (ไม่ต้องมีสาระ หรือพัฒนาตัวเองตลอดเวลาก็ได้), ไปเดินสวนสาธารณะ, ดูแลต้นไม้สักต้น, โทรศัพท์หาคนที่คิดถึง เน้นกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เริ่มทำได้ทันที ช่วยลดความเครียดลงได้


2. คิดอยู่บ่อย ๆ ว่าตัวเองเก่งไม่พอ

เมื่อเปรียบเทียบกับชีวิตคนอื่นมากขึ้น เห็นเพื่อนร่วมงานผลงานโดดเด่น เห็นคนอายุใกล้เคียงกันไปได้ไกลกว่า ก็รู้สึกกดดันคิดว่าเป็นเพราะตัวเองเก่งไม่พออยู่เสมอ เข้าข่ายอาการที่เรียกว่า Imposter Syndrome

สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ได้เสนอวิธีเบื้องต้น เพื่อรักษาอาการ Imposter Syndrome เอาไว้ 3 วิธี คือ

  1. ประเมินประสิทธิภาพของตัวเองตามความเป็นจริง
  2. ทุกคนมีความสามารถ มองหาจุดเด่น ข้อดี ที่ไม่มีใครเหมือนให้เจอ
  3. ค้นหาความความถนัดและแรงจูงใจในการใช้ชีวิตของตัวเอง โดยไม่เปรียบเทียบกับคนอื่น


3. หมดไฟในการทำงานและการใช้ชีวิต

ภาวะหมดไฟมีจุดร่วมคล้ายกัน คือตั้งคำถามกับตัวเองซ้ำ ๆ ว่าหน้าที่การงาน การใช้ชีวิตที่เป็นอยู่ถูกต้องจริง ๆ หรือเปล่า ซึ่งหลายคนก็สามารถเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส ด้วยการตัดสินใจเดินออกจากคอมฟอร์ตโซนเพื่อไปเริ่มต้นสิ่งใหม่ ๆ ได้เหมือนกัน

เริ่มต้นจากการวิเคราะห์บริบทโดยรอบของตัวเองอย่างละเอียด มองหาจุดเด่น โอกาสและความเป็นไปได้ในชีวิต ตั้งเป้าหมายส่วนตัวไม่ที่ไม่ต้องเปรียบเทียบกับใคร แล้วลองรวบรวมความกล้า ตัดสินใจพาตัวเองไปสู่ความท้าทายใหม่ ๆ ที่ไม่เคยเจอมาก่อน


4. ความสัมพันธ์กับคนรอบตัวไม่ค่อยดี

เมื่อเกิดความเครียดสะสม หลายคนที่อยู่ใน Quarter-Life Crisis จะเริ่มแผ่รังสีด้านลบไปถึง คนรัก ครอบครัว เพื่อนสนิท เพื่อนร่วมงาน และคนรอบข้างโดยไม่รู้ตัว
คล้าย ๆ ข้อที่ 3 คือ เราสามารถเปลี่ยนความขัดแย้งเป็นช่วงทบทวนความสัมพันธ์ เปิดอกพูดคุยถึงปัญหากันอย่างเข้าใจ มองหาทางออกร่วมกัน เพื่อความสัมพันธ์ที่ดีในระยะยาว


5. สุขภาพเริ่มไม่ดีตั้งแต่อายุยังน้อย

หลายคนยอมทุ่มชีวิตทำงานอย่างหนัก อุทิศกล้ามเนื้อ คอ บ่า ไหล่ ให้กับออฟฟิศ ซินโดรม จากที่เคยพบได้บ่อยในคนอายุ 30 - 40 ปี ตอนนี้มีการสำรวจจาก baaankluayonline.co คนอายุ 15-25 ปี จำนวน 50 คน พบว่า 75% มีอาการดังกล่าวเป็นระยะเวลามากกว่า 1 ปี และมีถึง 35% ที่คิดว่าตัวเองอายุยังน้อย จนละเลยไม่คิดหาต้นตอและวิธีการรักษา

รีบให้ความสำคัญกับการดูแลตัวเองตั้งแต่วันนี้ อย่าปล่อยให้มีใครต้อง ‘แยกย้ายกันไปปวดหลัง’ อีกเลย


6. พ่อแม่เริ่มป่วย แต่ไม่มีเงินและเวลาไปช่วยดูแล

ช่วงเวลาสำคัญที่ต้องช่วยกันจับสัญญาณสุขภาพของผู้สูงอายุให้ดี เพราะหลายคนปากแข็ง กลัวลูกหลานเป็นห่วง เก็บอาการป่วยไว้ในใจ หรือไม่ก็รักษาตัวเองแบบไม่ถูกวิธี เมื่อรู้อีกทีอาการป่วยก็รุนแรง และค่ารักษาพยาบาลสูงจนหลายคนรับมือไม่ไหว

หาเวลาหยุดพักจากการทำงาน กลับไปดูแลสุขภาพ ใช้เวลาพูดคุยกับผู้สูงอายุในบ้านให้มากขึ้น ถือเป็นอีกหนึ่งโอกาสที่อาจทำให้เราได้ทบทวนตัวเอง และได้คำตอบหรือเป้าหมายใหม่บางอย่างในชีวิตได้เหมือนกัน


7. รายได้น้อย ไม่มั่นคง เริ่มต้นเก็บเงินไม่ได้

สถานะทางการเงิน เรียกได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดภาวะ Quarter-Life Crisis หลายคนถูกค่าใช้จ่ายหลายอย่างวิ่งตามจนหนีไม่ได้ ค่ารถ, ค่าผ่อนบ้าน, เช่าคอนโด, ค่าบัตรเครดิต, ค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายฉุกเฉินที่อยู่ ๆ ก็พุ่งเข้ามาแบบไม่ทันตั้งตัว ซึ่งน้อยคนจะมีเงินสำรองมากพอรับมือกับวิกฤตนี้ได้

สำหรับวิธีเตรียมความพร้อมเรื่องการเงิน เพื่อรับมือกับ Quarter-Life Crisis สามารถเริ่มต้นได้ง่ายๆ จากการรู้ ‘8 เรื่องเงินต้องทบทวนในวัย 30 หากไม่อยากรู้สึกผิดกับตัวเอง’ คลิกเพื่ออ่านรายละเอียดได้เลย !

 

8 เรื่องการเงินที่ต้องทบทวนในวัย 30 ปี

 

Text:ปั้นเงินร้อยเป็นเงินล้านด้วย DCA

นอกจากทบทวนปัญหาที่ควรระวัง การมี ‘เครื่องมือการลงทุน’ ที่เชื่อถือได้ จะช่วยสร้างสุขภาพทางการเงินเตรียมพร้อมรับวิกฤต Quarter-Life Crisis ได้อย่างเข้มแข็ง และช่วยให้คุณมีปัจจัยพร้อมสำหรับสานฝันเพื่ออนาคตมากขึ้น

ttb smart port คือ เครื่องมือช่วยให้การลงทุนง่ายขึ้น เพราะมีผู้เชี่ยวชาญคอยคัด จัด ปรับการลงทุนให้ โดยวิธีหนึ่งที่ ttb advisory แนะนำคือ DCA หรือ Dollar-Cost Averaging การลงทุนผ่าน ‘สินทรัพย์ลงทุน’ เป็นประจำทุกงวด


ตัวอย่างการคำนวณผลการลงทุนกับ ttb smart port


ภาพจำลองผลการลงทุนกับ ttb smart port

ซึ่งถ้าจำลองการลงทุนผ่านกองทุน ttb smart port 5 go-getter ด้วยเงินวันละ 250 บาท ผ่านกองทุน ttb smart port 5 go-getter ที่มีผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลังอยู่ที่ 9.08% จะใช้เวลาเพียง 7 ปี ในการพิชิตเงินล้าน! สามารถเข้าไปดูรายละเอียดแบบเต็มๆ ได้ที่

Quarter-Life Crisis ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว ถ้าเราเตรียมสำรวจสภาพร่างกาย จิตใจ และการเงินของตัวเองอยู่เสมอ ค้นหาข้อดีของตัวเอง วางเป้าหมายโดยไม่ต้องเปรียเทียบกับคนอื่น ทบทวนความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง วางแผนทางการเงินให้พร้อมอยู่ตลอดเวลา เราสามารถเปลี่ยนวิกฤตครั้งนี้ ให้กลายเป็น ‘โอกาส’ เปลี่ยนแปลงตัวเองครั้งสำคัญได้เลย


ที่มา :

  • bltbangkok.com
ให้คะแนนความพึงพอใจ
ประสบการณ์ในการใช้งานเว็บไซต์วันนี้ คุณพอใจมากน้อยแค่ไหน ?

รบกวนให้คะแนนเราหน่อยนะ

1
2
3
4
5
ไม่พอใจพอใจมากที่สุด