จากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน หลายคนต้องเผชิญกับปัญหาการเงินที่รุมเร้า โดยเฉพาะผู้ที่กำลังผ่อนรถและมีภาระค่าใช้จ่ายสูง จนอาจนำไปสู่การเกิดหนี้เสียรถยนต์ และเสี่ยงต่อการถูกยึดรถในที่สุด บทความนี้ ttb DRIVE จะพาคุณไปทำความเข้าใจให้มากขึ้นว่า หนี้เสียรถยนต์คืออะไร? ทำไมเวลาหนี้เสียเพิ่มขึ้น รถยนต์ถึงถูกยึดเป็นจำนวนมาก พร้อมสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังจะมีหนี้เสียรถยนต์ เพื่อให้คุณสามารถเข้าใจและวางแผนรับมือ รวมถึงแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที
หนี้เสีย NPL คืออะไร?
หนี้เสียหรือ NPL (Non-Performing Loan) คือ หนี้ที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระเงินคืนให้กับสถาบันการเงินได้ตามข้อตกลง โดยทั่วไปจะนับเมื่อค้างชำระเกิน 90 วัน สาเหตุมักเกิดจากรายได้ไม่เพียงพอ การบริหารเงินผิดพลาด หรือการเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันเช่นการเจ็บป่วย การตกงาน เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งหนี้เสียได้หลายประเภท ได้แก่
- หนี้เสียบัตรเครดิต : หนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตและไม่สามารถชำระเงินตามกำหนดเวลา
- สินเชื่อบุคคล : หนี้ที่เกิดจากการกู้เงินเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันหรือเพื่อการลงทุน
- หนี้เสียรถยนต์ : หนี้ที่เกิดจากการขอสินเชื่อรถยนต์ใหม่ เพื่อนำเงินซื้อรถยนต์และไม่สามารถชำระเงินตามสัญญา
โดยหนี้เสีย นับว่าเป็นหนี้ที่มีผลกระทบต่อทั้งผู้กู้และธนาคาร ในมุมมองของผู้กู้ การมีหนี้เสียจะทำให้ประวัติการเงินมีปัญหา ส่งผลให้การขอกู้สินเชื่อในอนาคตยากขึ้น เนื่องจากธนาคารจะมองว่าคุณมีความเสี่ยงสูงและอาจปฏิเสธการให้สินเชื่อใหม่ หรือเสนออัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น
สำหรับธนาคาร การมีลูกหนี้ที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด จะทำให้ธนาคารมีหนี้ที่ต้องติดตามและบริหารจัดการเพิ่มขึ้น ทำให้ธนาคารมีความเสี่ยงในการสูญเสียเงินทุน และต้องวางแผนสำรองสำหรับหนี้เสียเพิ่มขึ้น
ทำไมเวลาหนี้เสียเพิ่มขึ้น รถถึงถูกยึดเยอะขึ้น
เมื่อได้เข้าใจกันไปแล้วว่า หนี้เสียคืออะไร? หลายคนก็อาจจะสงสัยว่า ทำไมเวลาหนี้เสียเพิ่มขึ้น รถยนต์ถึงถูกยึดมากขึ้นตามไปด้วย? คำตอบคือ เนื่องจากรถยนต์เป็นสินทรัพย์มูลค่าสูงที่มีระยะเวลาผ่อนสั้นกว่าที่อยู่อาศัย เมื่อผู้กู้ไม่สามารถผ่อนชำระค่างวดได้และสร้างหนี้เสียรถยนต์ขึ้นมา ผู้กู้ก็มักเลือกจะยอมให้ยึดรถมากกว่ายอมเสียที่อยู่อาศัย ทำให้เมื่อมีหนี้เสียเพิ่มสูงขึ้น จึงทำให้มีปริมาณรถที่ถูกยึดเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น หากคุณไม่ต้องการโดนยึดรถ การรีไฟแนนซ์รถจึงเป็นแนวทางที่จะช่วยให้คุณสามารถผ่านพ้นวิกฤตหนี้เสียรถยนต์ไปได้
สัญญาณเตือนว่าคุณกำลังมีหนี้เสียรถยนต์
เมื่อเริ่มรู้สึกว่าผ่อนรถไม่ไหว จึงควรรีบหาวิธีการแก้ไขปัญหาเพราะจะช่วยให้คุณมีทางเลือกและหาทางออกได้ ดีกว่าปล่อยทิ้งไว้นานจนกลายเป็นหนี้เสียหรือมียอดค้างชำระ ดังนั้น การสังเกตสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังมีหนี้เสียรถยนต์ จะช่วยให้คุณหาทางรับมือและแก้ไขได้ทันท่วงที
1. มีรถแต่ไม่นำมาใช้งาน
หลายคนน่าจะรู้กันดีว่า การมีรถยนต์สักคัน ไม่ได้มีค่าใช้จ่ายเฉพาะตอนที่ซื้อรถยนต์เท่านั้น แต่ยังมีค่าใช้จ่ายระหว่างการใช้รถยนต์อย่างต่อเนื่อง แน่นอนว่าเมื่อค่าใช้จ่ายในการใช้รถสูงเกินไป ทั้งค่าน้ำมัน ค่าบำรุงรักษา ค่าประกัน และค่า พ.ร.บ. คนที่มีปัญหาด้านการเงินจึงเลือกที่จะจอดรถไว้และหันไปใช้การเดินทางสาธารณะแทนเพื่อลดค่าใช้จ่ายเหล่านี้ลง ซึ่งนับว่าเป็นสัญญาณชัดเจนว่าสภาพคล่องทางการเงินกำลังมีปัญหา
2. เริ่มจ่ายค่างวดล่าช้า
การจ่ายค่างวดล่าช้าเป็นสัญญาณอันตรายที่ชัดเจนว่า คุณกำลังมีปัญหาด้านการเงิน โดยเฉพาะเมื่อค้างชำระเกิน 1 เดือนขึ้นไป เพราะการกลับมาจ่ายให้ตรงเวลาจะยิ่งยากขึ้น เนื่องจากต้องจ่ายทั้งค่างวดปกติและค่างวดค้างชำระพร้อมค่าปรับไปพร้อม ๆ กัน
3. กู้เงินเพื่อจ่ายค่างวด
การกู้เงินมาจ่ายค่างวดรถเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุและเป็นวิธีที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะแม้ว่าการกู้เงินมาจ่ายค่างวดรถ จะทำให้คุณสามารถจ่ายหนี้ได้ตรงเวลาและรักษาประวัติเครดิตเอาไว้ได้ แต่ก็สามารถทำได้ในระยะสั้น ๆ เท่านั้น เพราะนอกจากคุณจะต้องผ่อนรถตามปกติแล้ว ยังมีภาระหนี้ก้อนใหม่เพิ่มขึ้นมาอีก ทำให้เกิดเป็นหนี้ซ้ำซ้อนที่จัดการได้ยาก
4. ยอดผ่อนรถต่อเดือนเกิน 40% ของรายได้
การมียอดผ่อนรถต่อเดือนเกิน 40% ของรายได้ นับว่าเป็นสัญญาณเตือนที่สามารถสังเกตได้ง่ายที่สุด เพราะโดยปกติแล้ว ภาระหนี้รวมทั้งหมดของผู้ที่มีรายได้ประจำ ไม่ควรเกินกว่า 40% ของรายได้ ดังนั้น หากคุณมียอดผ่อนรถต่อเดือนมากกว่า 40% ของรายได้ นั่นหมายความว่า คุณมีความเสี่ยงที่จะผ่อนรถต่อไม่ไหว จนอาจก่อให้เกิดหนี้เสียรถยนต์ขึ้นในอนาคตได้
ยกตัวอย่างเช่น หากมีรายได้ 20,000 บาท แต่ผ่อนรถ 10,000 บาท เท่ากับว่าคุณจะต้องสูงเสียรายได้ถึง 50% ไปกับการผ่อนรถ และแม้ว่าจะยังมีเงินเหลืออยู่ แต่หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน หรือต้องใช้เงินฉุกเฉินขึ้นมา เงิน 50% ที่เหลือก็อาจจไม่เพียงพอ และก่อให้เกิดปัญหาสภาพคล่องทางการเงินได้
ผ่อนรถไม่ไหวปล่อยให้รถถูกยึดคุ้มไหม?
หากคุณรู้ตัวแล้วว่า ผ่อนรถต่อไม่ไหว หลายคนน่าจะมีคำถามว่า ผ่อนรถไม่ไหวปล่อยให้รถถูกยึดคุ้มไหม? คำตอบคือ ไม่คุ้ม เพราะแม้ว่าจะปล่อยให้รถถูกยึดไปแล้ว แต่หนี้รถที่มีอยู่ไม่ได้หมดตามไปด้วย คุณยังต้องรับผิดชอบส่วนต่างหลังจากที่ไฟแนนซ์นำรถไปขายทอดตลาด อีกทั้งยังส่งผลเสียต่อประวัติเครดิตอีกด้วย
ซึ่งระยะเวลาที่รถจะเริ่มโดนยึดไปคือ ต้องค้างชำระค่างวดทั้งหมด 3 เดือนขึ้นไป ดังนั้น หากคุณยังอยากรักษารถไว้ใช้งาน ในระยะเวลา 3 เดือนให้คุณพยายามหาเงินก้อนมาชำระหนี้ให้ทัน หรือหาตัวช่วยในการลดอัตราดอกเบี้ยรถ เพิ่มระยะเวลาผ่อน และอาจมีเงินก้อนเหลือใช้จ่ายเพิ่มเติม คือ “รีไฟแนนซ์รถยนต์” หรือกรณีถ้ามีหนี้หลายก้อนก็สามารถ “รวมหนี้เป็นก้อนเดียว” กับทีทีบีไดรฟ์ได้
สมัครรถแลกเงิน รวบหนี้ ทีทีบีไดรฟ์ หรือคำนวณสินเชื่อรถแลกเงินคลิก ที่นี่ เลย
ขั้นตอนการยึดรถของไฟแนนซ์
หากคุณไม่อยากชำระงวดรถต่อไปแล้ว และเลือกที่จะปล่อยให้รถถูกยึด คุณอาจจะต้องเตรียมรับมือกับปัญหามากมายที่จะตามมามากมาย ดังนั้น เพื่อให้คุณสามารถตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้นว่า จะปล่อยให้รถถูกยึด หรือจะหาตัวช่วยในการชำระหนี้รถยนต์อย่างการรีไฟแนนซ์ และการรวมหนี้เป็นก้อนเดียว ttb DRIVE จึงได้รวบรวมขั้นตอนการยึดรถของไฟแนนซ์มาแบ่งปันให้คุณได้ทราบกัน
ถูกติดตามหนี้ (อย่างเป็นธรรมและถูกกฎหมาย)
หลังจากค้างค่างวดรถมาแล้ว 3 งวด หรือ 90 วัน คุณจะถูกติดตามหนี้จากธนาคารหรือสถาบันการเงินอีก 30 วัน ซึ่งการถูกติดตามหนี้ในแต่ละรูปแบบ จะมีค่าบริการ อย่างไรก็ตาม วิธีการติดตามหนี้เหล่านี้ จะเป็นวิธีการที่ถูกกฎหมายเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น การติดตามหนี้โดยการส่งจดหมายทวงถามไปที่บ้าน การโทรหาเพื่อติดตามหนี้จากธนาคารหรือสถาบันการเงิน การติดต่อผ่านสำนักกฎหมาย และการดำเนินคดีทางศาล
ไฟแนนซ์ดำเนินการร้องต่อศาล
หลังจากที่ผ่านระยะเวลาติดตามหนี้ 30 วันไปแล้ว ธนาคารหรือสถาบันการเงินจะดำเนินการร้องต่อศาล เพื่อให้ศาลออกหมายบังคับคดี จากนั้นจะมีการนำหมายศาลดังกล่าวมาแต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยในวันที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินจะมาดำเนินการยึดรถกับลูกหนี้ จะต้องมีการพาเจ้าพนักงานบังคับคดีมายึดทรัพย์ด้วยตัวเอง ถึงจะเป็นการดำเนินการยึดรถได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
ไฟแนนซ์ยึดรถเพื่อนำไปขายทอดตลาด
เมื่อครบกำหนด 120 วัน (90 วันค้างชำระ + 30 วันทวงถาม) และผู้กู้ไม่ได้มีการติดต่อเพื่อขอประนอมหนี้ในระหว่างนั้น ธนาคารหรือสถาบันการเงินมีสิทธิ์ยึดรถ โดยต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วันก่อนยึดรถและนำไปขายทอดตลาด
อย่างไรก็ตาม หากธนาคารหรือสถาบันการเงินสามารถขายรถได้ในราคาสูงกว่ายอดหนี้คงเหลือ คุณจะมีสิทธิ์ได้รับเงินส่วนต่างคืนมาด้วย แต่หากมูลค่ารถที่ขายไปต่ำกว่ามูลค่าหนี้คงเหลือ คุณจะต้องจ่ายส่วนต่างเหล่านั้นให้กับธนาคารหรือสถาบันการเงินด้วยเช่นกัน
รถจะถูกยึดทําไงดี ไม่อยากติดแบล็กลิสต์ต้องรู้
ถ้าคุณกำลังเผชิญปัญหาผ่อนรถไม่ไหวและไม่อยากให้รถถูกยึด ยังมีทางออกที่จะช่วยให้คุณรักษารถและเครดิตทางการเงินเอาไว้ได้ ดังนั้นเรามาดูกันดีกว่าว่าวิธีการแก้ปัญหาที่จะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงการถูกยึดรถและไม่ต้องติดแบล็กลิสต์มีอะไรบ้าง
1. เจรจากับธนาคารหรือสถาบันการเงิน
ในปัจจุบัน ธนาคารและสถาบันการเงินหลายแห่ง มีมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ประสบปัญหาการชำระหนี้ ไม่ว่าจะเป็นการพักชำระหนี้ชั่วคราว การให้ชำระเฉพาะดอกเบี้ย เป็นต้น ดังนั้น หากรู้สึกว่ากำลังผ่อนรถไม่ไหวและไม่อยากให้รถถูกยึด คุณควรจะเข้ามาติดต่อกับธนาคารหรือสถาบันการเงินเพื่อเจรจาทันทีที่เริ่มมีปัญหา
2. รีไฟแนนซ์รถ
การรีไฟแนนซ์รถยนต์ให้ผ่อนน้อยลง คือ การนำยอดหนี้ที่เหลืออยู่ มาขยายระยะเวลาผ่อนให้นานขึ้น ทำให้ค่างวดต่อเดือนลดลง ดังนั้นเมื่อเริ่มมีปัญหาก็ควรจะเข้าไปติดต่อธนาคารหรือสถาบันการเงินเพื่อขอรีไฟแนนซ์รถยนต์ และลดภาระค่าใช้จ่ายต่อเดือนลง โดยที่คุณยังสามารถมีรถไว้ใช้งานได้และไม่ส่ผลเสียต่อประวัติเครดิต
รีไฟแนนซ์รถยนต์ ttb DRIVE หรือคำนวณสินเชื่อรถแลกเงินคลิก ที่นี่ เลย
3. ขาย – เปลี่ยนสัญญา ขายดาวน์
สำหรับวิธีสุดท้าย เป็นวิธีที่หลายคนยังคงสงสัยอยู่ว่า เราสามารถขายรถติดไฟแนนซ์ได้ไหม? คำตอบคือ สามารถขายต่อได้ ซึ่งจะเป็นการขายรถต่อโดยเปลี่ยนสัญญา เป็นวิธีที่ตอบโจทย์สำหรับคนที่ไม่อยากแบกรับภาระหนี้อีกต่อไป โดยเงินที่ได้ก็จะขึ้นอยู่กับราคาตลาด ณ ตอนนั้นว่า มากหรือน้อยกว่ายอดหนี้ที่เหลือ
อย่างไรก็ตามหลังจากที่ขายรถได้แล้ว จะต้องนำเงินส่วนที่ได้มาปิดยอดไฟแนนซ์ที่เหลืออยู่ก่อน ถึงจะเป็นการปิดการขายอย่างสมบูรณ์ และหากยอดขายที่ได้ไม่สามารถปิดไฟแนนซ์ได้ทั้งหมด ก็อาจจะต้องมีการตกลงกับผู้ซื้อ เพื่อเปลี่ยนเงื่อนไขเป็นการขายดาวน์ และให้ผู้ซื้อไปผ่อนต่อในเงื่อนไขเดิมแทน
รถโดนยึดอยากได้คืนต้องทำอย่างไร?
หากต้องการไถ่ถอนรถคืน คุณจะต้องหาเงินมาชำระค่างวดค้างทั้งหมดพร้อมค่าติดตามทวงถาม นอกจากนี้ยังควรเจรจากับไฟแนนซ์โดยตรงเพื่อหาทางออกที่เหมาะสม โดยอาจจะขอผ่อนผันการชำระหรือปรับโครงสร้างหนี้
เคยคืนรถ หรือเคยโดนยึดรถ ออกรถใหม่ได้ไหม?
การคืนรถ ไม่ว่าจะเป็นการคืนรถด้วยตัวเอง หรือถูกยึดรถ จะส่งผลให้มีประวัติการชำระล่าช้าเกิน 90 วันในเครดิตบูโร ซึ่งจะคงอยู่ในระบบนาน 3 ปี ในช่วงนี้โอกาสได้รับอนุมัติสินเชื่อใหม่แทบเป็นไปไม่ได้ ต้องรอให้พ้นระยะเวลาดังกล่าวและชำระหนี้เดิมให้หมดก่อน จึงจะสามารถขอสินเชื่อใหม่ได้
สรุปบทความ
หนี้เสียรถยนต์เป็นปัญหาร้ายแรงที่ส่งผลกระทบระยะยาวต่อสถานะทางการเงิน การรู้เท่าทันสัญญาณเตือนและรีบแก้ไขตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยป้องกันการถูกยึดรถและผลกระทบต่อเครดิต หากเริ่มมีปัญหา ควรรีบปรึกษาสถาบันการเงินเพื่อหาทางออกที่เหมาะสม เช่น การรีไฟแนนซ์ หรือปรับโครงสร้างหนี้ ดีกว่าปล่อยให้ถูกยึดรถซึ่งจะส่งผลเสียในระยะยาว
และสำหรับคนที่ต้องการออกรถ ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ใหม่ป้ายแดง หรือรถยนต์มือสอง สามารถขอสินเชื่อกับ ttb DRIVE ได้ เพราะเรามีบริการสินเชื่อรถยนต์ใหม่ และสินเชื่อรถยนต์ใช้แล้ว ที่ให้วงเงินสูงสุด 100% ของราคาประเมินรถ รู้ผลอนุมัติเบื้องต้นไวภายใน 30 นาที (เมื่อเอกสารครบ) ดอกเบี้ยรถยนต์ใหม่แบบคงที่ ชำระค่างวดเท่ากันตลอดอายุสัญญา ผ่อนชำระได้นานสูงสุด 84 เดือน ไม่ต้องมีคนค้ำประกัน
นอกจากนี้สำหรับคนที่กำลังมองหาเงินก้อนแบบเร่งด่วน เพื่อนำไปใช้จ่ายยามฉุกเฉิน หรือเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน เรายังมีบริการสินเชื่อรถแลกเงิน ttb DRIVE ที่พร้อมตอบโจทย์ความต้องการทางการเงินของแต่ละคน
สมัครสินเชื่อรถแลกเงิน ttb DRIVE หรือคำนวณสินเชื่อรถแลกเงินคลิก ที่นี่ เลย
สำหรับผู้ที่มีข้อสงสัยเพิ่มเติม หรือต้องการคำปรึกษาด้านสินเชื่อ ttb DRIVE มีผู้เชี่ยวชาญด้านสินเชื่อที่พร้อมให้บริการและให้คำปรึกษาตลอดกระบวนการ คุณจึงมั่นใจได้ว่าจะได้รับบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของคุณอย่างแท้จริง
*กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว
สินเชื่อรถยนต์ใหม่ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.21% - 10.00% ต่อปี
สินเชื่อรถยนต์ใช้แล้ว อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 7.48% - 15.00% ต่อปี
สินเชื่อรถแลกเงิน อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง 5.93% - 23.00% ต่อปี