external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

ทำไม? “ประกัน”
ถึงสำคัญกับ Gen
“Sandwich”

ทำไม? “ประกัน” ถึงสำคัญกับ Gen “Sandwich”

#fintips #เคล็ดลับการเงิน #คุ้มครองอุ่นใจ
19 ก.ย. 2564



  • Sandwich Generation คือ เสาหลักครอบครัวที่รับภาระของคนในบ้าน
  • ประกันชีวิตนั้นทำเพื่อตัวเราเอง และเพื่อคนที่เรารัก
  • การทำประกันชีวิตเป็นการถ่ายโอนความเสี่ยงรูปแบบหนึ่ง

 

เคยลองคิดเล่น ๆ ไหมว่า ถ้าวันพรุ่งนี้เกิดอุบัติเหตุ เจ็บป่วยกะทันหัน หรืออาจจะร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต มีใครบ้างที่จะได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้บ้าง ตัวเอง คนที่รัก หรือคนข้างหลัง ?

และยิ่งถ้าเป็นคนกลุ่ม “Sandwich Generation” หรือ คนวัยกลางคน ที่ต้องดูแลทั้งพ่อ แม่ และลูก เป็นเสาหลักของครอบครัว มีหน้าที่ และภาระต้องรับผิดชอบทั้งเรื่องเงิน เรื่องงาน ผลกระทบที่มีต่อครอบครัวจะยิ่งมีมากไปอีก จึงจำเป็นต้องวางแผนรองรับความเสี่ยงล่วงหน้าเพื่อคนข้างหลัง

ก่อนอื่น มาดูกันว่า Sandwich Generation ต้องรับผิดชอบอะไรบ้างทำความรู้จักกลุ่มคน Sandwich Generation

กลุ่ม Sandwich Generation ต้องรับภาระการทำงาน และภาระเรื่องค่าใช้จ่ายของคนในครอบครัวทั้งหมด ซึ่งคำว่า Sandwich นี้ ใช้แทนภาระที่รับผิดชอบอยู่ นั่นก็คือ ชั้นที่ 1: พ่อแม่, ชั้นที่ 2 : ตัวเอง และคู่ชีวิต, ชั้นที่ 3 : ลูก ดังนั้น คนที่อยู่ในตำแหน่งนี้ จึงมักจะมีความกังวลมากกว่าคนทั่ว ๆ ไป ทั้งในเรื่องการเงินที่จะนำมาหล่อเลี้ยงครอบครัวในชีวิตประจำวัน, เงินเก็บหลังเกษียณ, เงินที่สามารถใช้จ่ายได้ในยามฉุกเฉิน คนกลุ่มนี้จึงควรจะมีการเตรียมความพร้อมด้านการเงินมากกว่าคนกลุ่มอื่น ๆ

ดังนั้น วิธีการเตรียมความพร้อมที่สำคัญอีกวิธีหนึ่งของ Sandwich Generation คือ การทำประกันชีวิต เพราะการทำประกันนั้น เป็นการกระจายถ่ายโอนความเสี่ยงรูปแบบหนึ่ง หากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดฝันที่ร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตขึ้นมา ก็ยังมีเบี้ยประกันตามกรมธรรม์ที่ได้ทำไว้ช่วยเยียวยาครอบครัวอยู่บ้าง เพื่อให้คนข้างหลังไม่ลำบาก ทั้งนี้หลายคนยังคงมีคำถาม เช่น ประกันชีวิตนั้นตอบโจทย์สำหรับการเตรียมความพร้อมของกลุ่มคน Sandwich Generation จริง ๆ ไหม? ทำไมต้องทำประกัน ? อายุยังไม่เยอะทำประกันไปทำไม ? นาน ๆ ป่วยที ไม่จำเป็นต้องทำประกันหรอกมั้ง?

ดังนั้นเรามาไขข้อสงสัย และทำความเข้าใจเกี่ยว “ประกันชีวิต” เพื่อจะได้เตรียมพร้อมกันแต่เนิ่น ๆ กันเลยดีกว่าครับ

ประกันชีวิต คือ อะไร ?

ประกันชีวิต หรือ Life Insurance คือ ประกันที่จะมีการชดเชยเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการเสียชีวิตเกิดขึ้น หรืออาจจะมีประกันอื่น ๆ พ่วงไปด้วย เช่น ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ หรือแม้แต่ประกันกรณีทุพพลภาพ โดยประกันจะมีผลคุ้มครองก็ต่อเมื่อ ผู้เอาประกันยื่นขอประกัน และบริษัทประกันตกลงรับประกัน จากนั้นบริษัทก็จะออกกรมธรรม์ตามเงื่อนไขที่เป็นที่ยอมรับกันทั้ง 2 ฝ่าย

การทำประกันชีวิต ส่งผลอย่างไร กับใครบ้าง ?

การทำประกันชีวิต ส่งผลอย่างไร กับใครบ้าง ?

แน่นอนว่าการทำประกันนั้นเหตุผลข้อแรก คือ การทำประกันเพื่อตัวคุณเอง โดยเมื่อเกิดเหตุอะไรขึ้นมา ถ้าอยู่ภายใต้ข้อกำหนด และข้อตกลง คุณก็จะได้ค่าชดเชยตามกรมธรรม์ของคุณทันที หลาย ๆ คนมักจะคิดว่าคงไม่เกิดอุบัติเหตุหรอก คงไม่เจ็บป่วยหรอก หรือคงไม่มีอะไรร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตหรอก แต่ใครจะรู้ล่ะ ทั้งเรื่องอุบัติเหตุ ทั้งเรื่องเจ็บป่วย เรื่องเหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องที่ไม่สามารถคาดเดาได้ แต่ถ้าเรามีประกันไว้ก็จะสามารถช่วยลดภาระด้านการเงินได้ไม่มากก็น้อยนะ

การทำประกันชีวิต ส่งผลอย่างไร กับใครบ้าง ?

เมื่อพ่อแม่เริ่มเข้าสู่วัยชราแล้ว เรื่องของรายรับของพวกท่านจึงแทบจะตัดทิ้งออกไปได้เลย และคงจะไม่ใช่เรื่องดีแน่ หากเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นกับคนที่เป็นเสาหลักในครอบครัวอย่าง Sandwich Generation เพราะภาระต่าง ๆ ที่คุณเคยแบกรับไว้ ก็คงจะหาใครมารับผิดชอบต่อไม่ได้ การทำประกันจึงเป็นการแบ่งเบาภาระของคนในครอบครัวด้วย เช่น ช่วยให้พ่อ แม่หมดกังวลเรื่องเงิน หากเกิดเหตุที่ไม่คาดฝันขึ้นมาจริง ๆ

อนาคตของลูกน้อยเป็นเรื่องที่คนเป็นพ่อ เป็นแม่นั้นเป็นห่วงมากที่สุด

สำหรับคนที่มีครอบครัว โดยเฉพาะถ้ามีลูก การทำประกันถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิต หรือประกันสุขภาพก็ตาม อนาคตของลูกน้อยเป็นเรื่องที่คนเป็นพ่อ เป็นแม่นั้นเป็นห่วงมากที่สุด แล้วถ้าวันไหนเราไม่อยู่แล้ว การวางแผนอนาคตให้ลูก และคู่ครองก็คงจะเป็น Priority หลัก ฉะนั้นการทำประกันชีวิตถือว่าเป็นทางเลือกที่ค่อนข้างตรงจุดทางหนึ่งเลยทีเดียวในกรณีหากเกิดเหตุการณ์ใด ๆ ขึ้นมา

วิธีทำประกันแบบไม่ให้รู้สึกว่าเป็นภาระติดตัว

ซึ่งวิธีทำประกันแบบไม่ให้รู้สึกว่าเป็นภาระติดตัว คือ ให้ทำแบบพอดี ๆ มีกำลังส่งไปตลอดรอดฝั่ง เพราะการทำประกันอาจต้องใช้ระยะเวลายาวนานพอสมควร ฉะนั้นควรมีการลองคำนวณรายรับรายจ่ายดูก่อน ว่าในแต่ละเดือน หรือปีนั้นจะมีกำลังส่งค่าเบี้ยประกันได้เท่าไหร่ที่จะไม่ “เกินตัว” อย่างน้อย ๆ ลองบริหารเงินสัก 10% ของรายได้มาทำประกัน ก็ถือว่าไม่มากเกินไป เมื่อมีรายได้มากขึ้นค่อยทยอยซื้อประกันเพิ่มขึ้น

และท้ายที่สุดแล้วการทำประกันไม่ใช่สิ่งที่ฟุ่มเฟือย หากแต่เป็นสิ่งที่จะช่วยกระจายความเสี่ยง และการันตีค่าชดเชยที่ได้รับ โดยการทำประกัน จะต้องเริ่มจากเลือกหาประเภทที่เหมาะกับจุดประสงค์ หรือเป้าหมายที่ตั้งไว้ เหมาะกับช่วงอายุ และภาระที่แบกรับไว้ให้มากที่สุด และสุดท้ายสิ่งสำคัญในการทำประกัน คือ การอ่านข้อตกลง และเงื่อนไขความคุ้มครองอย่างถี่ถ้วน หากสงสัย สามารถสอบถามตัวแทนบริษัทประกันเพื่อทำความเข้าใจให้ดีเสียก่อนที่จะทำสัญญายื่นขอประกัน

ที่มาข้อมูล:
- Set.or.th
- MarketingOops.cm

ประกันชีวิต ทีทีบี แฮปปี้ ไลฟ์ โพรเทค