external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

ปรับแผนการเงินรับมือยุคโควิด
ฉบับหัวหน้าครอบครัว

ปรับแผนการเงินรับมือยุคโควิด ฉบับหัวหน้าครอบครัว

#fintips #เคล็ดลับการเงิน #การเงินยุคโควิด

19 ก.ย. 2564


 

  • วิกฤติเศรษฐกิจจากการระบาดของโรค COVID-19 ส่งผลกระทบต่อรายได้การเงินของหัวหน้าครอบครัว ผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดภายในบ้าน
  • แผนการเงิน ที่เคยวางไว้อาจใช้ไม่ได้อีกต่อไปท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง
  • ปรับเปลี่ยนเป็นแผนการเงินระยะยาวที่มีความคุ้มครองสูงและยืดหยุ่น ช่วยให้รับมือเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันได้อย่างอุ่นใจ

 


 

วิฤตเศรษฐกิจจาก COVID-19 ที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อภาคธุรกิจต่าง ๆ ทำให้หลายธุรกิจขาดรายได้ บ้างก็รายได้ลดลง สำหรับเจ้าของธุรกิจที่เป็นหัวหน้าครอบครัวแล้วจึงนับเป็นความท้าทายอย่างยิ่งในการรับมือกับสถานการณ์การเงินที่ไม่แน่นอน ขณะที่รายจ่ายในการดูแลรับผิดชอบครอบครัวยังคงมีอยู่เท่าเดิมไม่ลดลง

เมื่อรายได้เปลี่ยนแปลงไป ย่อมส่งผลโดยตรงต่อแผนการเงินที่เคยวางไว้ ทั้งในส่วนของการบริหารจัดการรายรับ - รายจ่าย สัดส่วนของการเก็บออม การลงทุน และการบริหารความเสี่ยง

ในช่วงเวลาแบบนี้หัวหน้าครอบครัวจึงต้องกลับมาทบทวนและวางแผนการเงินในรูปแบบใหม่ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันที่เศรษฐกิจยังคงเปราะบางและคาดการณ์ไม่ได้ เพื่อเตรียมพร้อมตั้งรับกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้อย่างอุ่นใจ

ปรับแผนการเงินรับมือยุคโควิด ฉบับหัวหน้าครอบครัว

 

วิธีที่ 1 เพิ่มเงินสำรองฉุกเฉินอย่างน้อย 12 เดือน

การเตรียมเงินสำรองฉุกเฉินสำหรับค่าใช้จ่ายในครอบครัว จากเดิมที่เตรียมไว้ 3 เดือน หรือ 6 เดือนอาจเสี่ยงเกินไปสำหรับสถานการณ์ที่ยังคาดเดาไม่ได้ อย่างน้อยที่สุดควรเตรียมเงินในส่วนนี้ไว้อย่างน้อย 12 เดือน หรือเตรียมไว้ถึง 18 เดือนก็จะยิ่งเพิ่มความอุ่นใจ โดยพิจารณาจากรายได้ต่อเดือน คิดครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งครอบครัว ได้แก่ ค่าใช้จ่ายรายเดือน ที่ประกอบไปด้วย ค่าอาหาร ค่าน้ำมัน ค่าสาธารณูปโภค เงินเดือนสำหรับคุณพ่อคุณแม่ เงินเดือนแม่บ้าน ฯลฯ และ ค่าใช้จ่ายรายปี เช่น  ค่าการศึกษาลูก, การตรวจสุขภาพประจำปีของตนเองและครอบครัว เบี้ยประกันต่าง ๆ เป็นต้น โดยคิดจากสูตรง่าย ๆ ดังนี้

(ค่าใช้จ่ายรายเดือน x 12) + ค่าใช้จ่ายรายปี = เงินสำรองฉุกเฉิน

ปรับสัดส่วนการลงทุนให้มีความเสี่ยงน้อยลง

โดยเก็บเงินสำรองฉุกเฉินไว้ในบัญชีที่มีความเสี่ยงต่ำ มีสภาพคล่องพร้อมเบิกออกมาใช้ทันที และได้ผลตอบแทนสูง ได้แก่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ที่ได้ดอกเบี้ยสูง รวมถึงกองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market) ซึ่งเป็นกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงต่ำ มีสภาพคล่องสูง ใช้เวลาเพียง 1 วันทำการนับจากวันทำรายการขายคืน


วิธีที่ 2 ปรับสัดส่วนการลงทุนให้มีความเสี่ยงน้อยลง

อีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้อุ่นใจได้ในยามเศรษฐกิจยังคงผันผวน คือการปรับสัดส่วนการลงทุนให้มีความเสี่ยงน้อยลง เพื่อสร้างความมั่นใจว่าเงินลงทุนนั้นแม้จะมีโอกาสได้ผลตอบแทนไม่มากเท่าใจหวังแต่ก็จะไม่ขาดทุนอย่างหนัก หากมีความจำเป็นต้องนำเงินมาใช้ฉุกเฉินจะได้สามารถนำเงินมาใช้ได้อย่างทันท่วงที ซึ่งสามารถทำได้เบื้องต้น 2 วิธี ได้แก่

  1. เลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลายเพื่อกระจายความเสี่ยง เช่น ลงทุนในตราสารหนี้ ลงทุนในทองคำ ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงทุนในกองทุนกลุ่มต่าง ๆ ลงทุนในหุ้นไทย-หุ้นต่างประเทศในกลุ่มที่หลากหลาย โดยลดความเสี่ยงจากการลงทุนด้วยการศึกษาหาความรู้ก่อนตัดสินใจลงทุน
  2. ปรับสัดส่วนพอร์ต หรือ Rebalancing เพื่อเป็นการเช็กตัวเองอีกครั้งว่าแผนการลงทุนในระยะยาวของเรานั้นยังคงอยู่ในสัดส่วนเดิมอยู่ไหม เนื่องจากผลกระทบจากโควิดอาจทำให้ผลตอบแทนที่เคยได้รับเปลี่ยนแปลงไปจากเป้าหมายเดิมที่วางไว้ สัดส่วนเงินในพอร์ตอาจไม่สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่เรายอมรับได้ก็จะทำให้พอร์ตการลงทุนของเรามีโอกาสที่จะขาดทุนได้มากเช่นกัน

ใช้โอกาสนี้ในการปรับสัดส่วนโดยเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความผันผวนและมีระดับความเสี่ยงที่น้อยลง เพื่อความสบายใจว่าถึงแม้อาจจะไม่ได้โอกาสรับผลตอบแทนที่คาดหวังไว้ แต่ก็ไม่ทำให้ขาดทุนหนักในระยะยาว


วิธีที่ 3 เลือกแผนประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองสูง เพียงพอสำหรับครอบคลุมสมาชิกทุกคนในครอบครัว

สำหรับคนเป็นหัวหน้าครอบครัวที่รับผิดชอบการเงินให้สมาชิกที่บ้าน ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับการทำประกันที่ให้ความคุ้มครองสูง เพราะหากเกิดเหตุไม่คาดฝัน ความสูญเสียที่เกิดขึ้นย่อมส่งผลไปถึงครอบครัวเพราะขาดเสาหลักของบ้านที่เป็นผู้หารายได้ เงินที่ได้จากการทำประกันชีวิตจะช่วยให้คนข้างหลังสามารถมีชีวิตต่อไปได้

ในสถานการณ์ทั่วไปแล้ว การคิดทุนประกันชีวิตควรคิดให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายของทั้งครอบครัวรายปี ยิ่งแผนประกันชีวิตไหนที่สามารถให้ความคุ้มครองได้สูง ให้ครอบครัวยังสามารถยืดหยัดต่อไปได้หลายปี ยิ่งเป็นแผนที่น่าสนใจ โดยเฉพาะท่ามกลางสถานการณ์โควิดที่ยังไม่สามารถคาดเดาได้ รวมถึงระยะเวลาในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ การมองหาแผนประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองสูงที่เพียงพอสำหรับครอบคลุมทุกคนในบ้านยิ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นที่หัวหน้าครอบครัวไม่ควรมองข้าม เพราะยิ่งทุนประกันชีวิตมากเท่าไหร่ ยิ่งเป็นเป็นการต่อเวลาให้สมาชิกในครอบครัวได้ตั้งตัวได้เร็วขึ้นเท่านั้น

แผนการเงินแบบใหม่ หัวใจสำคัญอยู่ที่ สภาพคล่องทางการเงิน การสร้างหลักประกันระยะยาวที่มีความยืดหยุ่นให้เหมาะกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนตลอดเวลา


ttb flexi ultimate protect (Unit Linked)

Unit Linked ประกันชีวิตควบการลงทุนที่ให้ได้มากกว่า เป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ให้ทั้งความคุ้มครองในกรณีเสียชีวิต รวมถึงจากอุบัติเหตุ และมีโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน ด้วยคุ้มครองสูงแต่มาพร้อมแผนที่ยืดหยุ่นและผลประโยชน์ด้านการลงทุน จึงสร้างความมั่นใจให้กับหัวหน้าครอบครัวได้แม้ยามวิกฤตที่ไม่สามารถคาดเดาได้ ความคุ้มครองที่สูงมากพอที่จะครอบคลุมทุกมิติชีวิตของเสาหลักของบ้าน


สร้างความมั่นคงให้ตัวเอง
สามารถเลือกลงทุนที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และระดับความเสี่ยงที่รับได้ มีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงในระยาวจากการลงทุน เมื่อครบกำหนดสัญญากรมธรรม์ ได้รับผลประโยชน์เป็นมูลค่ารับซื้อคืนหน่วยลงทุน เพื่อเป็นเงินอีกก้อนที่สามารถนำไปทบกับเงินเกษียณ หรือนำไปต่อยอดในการลงทุนต่อ


สร้างความมั่นคงให้ครอบครัว
มั่นใจได้ว่าไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตามอนาคตทางการศึกษาของลูก ชีวิดของทุกคนในครอบครัวจะไม่กระทบกระเทือน


สร้างความมั่นคงให้ธุรกิจ
มั่นใจได้ว่าธุรกิจจะต้องขับเคลื่อนต่อไปได้ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เพื่อเป็นมรดกให้รุ่นลูกได้สืบสานต่อไปอย่างไม่ติดขัด

ทีทีบี เฟล็กซี่ อัลติเมท โพรเทค (ยูนิตลิงค์)

  • ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครอง และเงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง และควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
  • ผลิตภัณฑ์ ทีทีบี เฟล็กซี่ อัลติเมท โพรเทค (ยูนิตลิงค์) รับประกันชีวิตโดยบริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) เป็นเพียงนายหน้าประกันชีวิต และรับผิดชอบในฐานะนายหน้าเท่านั้น
  • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน


ที่มา:

Finnomena, เงินสำรองฉุกเฉิน ต้องมีเท่าไรถึงจะพอ, 2020
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, Re balancing พอร์ตให้ปลอดภัย, 2021
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, เลือกซื้อประกันแบบไหน ทุนประกันเท่าไหร่ ให้เหมาะสมกับเราที่สุด, 2021
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, ทำความรู้จักกับประกันชีวิตแบบ Unit Linked, 2021
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, Investor's Practice Guide คู่มือผู้ลงทุน ฉบับลงทุนในกองทุนรวม, 2017

ให้คะแนนความพึงพอใจ
ประสบการณ์ในการใช้งานเว็บไซต์วันนี้ คุณพอใจมากน้อยแค่ไหน ?

รบกวนให้คะแนนเราหน่อยนะ

1
2
3
4
5
ไม่พอใจพอใจมากที่สุด