เริ่มจาก “วิธีคิดใหม่” จากเดิมที่ธุรกิจเป็นแค่คนกลางขนส่ง มาเปลี่ยนตัวเองเป็น Inventory hub ที่เติมเต็ม Supply chain ให้สมบูรณ์ทั้งระบบ โดยการทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางที่สามารถกระจายสินค้าได้ นอกเหนือจากการขนส่งปกติ พูดง่าย ๆ คือมีร้านค้าเป็นของตัวเองด้วย ฉีกกฎการแข่งขันแบบเหนือกว่าคู่แข่ง ที่นับวันอุตสาหกรรมนี้จะมีแต่เรื่องการตัดราคากัน และยิ่งสถานการณ์โควิดเกิดขึ้น ยิ่งทำให้ผู้ประกอบการต้องจมกับต้นทุนและความเสี่ยงสูงขึ้นไปอีก จึงเป็นจุดเปลี่ยนที่ธุรกิจโลจิสติกส์ต้องคิดใหม่ เพื่อก้าวต่อไปให้เป็นเชิงรุกให้ได้
แกะรอยความสำเร็จ กรณีร้านขายของคนต่างชาติที่มาเปิดในเว็บออนไลน์ไทย
จากการเข้าไปดูเว็บมาร์เก็ตเพลสออนไลน์ชื่อดังในไทย 2-3 เจ้า ก็จะพบว่าสินค้าเหมือน ๆ กัน กลับพบราคาที่แตกต่างกัน เราเคยสงสัยกันบ้างไหม ว่าทำไม
นั่นเป็นเพราะบางร้านนั้นเป็นค้าปลีก บางร้านเป็นค้าส่ง และสินค้าบางร้านผู้ผลิตก็มาเปิดเองเลย ทำให้เกิดการแข่งขันด้านราคา จากพฤติกรรมนี้ทำให้ ผู้ประกอบการในต่างประเทศหลายคนมาเปิดร้านในเว็บออนไลน์ของไทย หากใครซื้อสินค้าจากผู้ผลิตโดยตรงราคาสินค้าก็จะถูกกว่าแน่ ๆ แต่อาจจะต้องรอประมาณ 7-14 วัน (ซึ่งตอนนี้บางสินค้าก็เร็วกว่านั้นเพราะบางรายมีการบริหารสต็อกไว้ในประเทศไทยแล้ว เพราะมีฐานลูกค้ารองรับสินค้านั้นมากพอ) นี้คือโมเดลที่ผันตัวจากผู้ผลิต กลายมาเป็นผู้ค้าปลีก สร้างกำไรได้หลายส่วนตั้งแต่ต้นน้ำ ยันปลายน้ำ จากตัวอย่างนี้เป็นตัวย้ำว่า โมเดลนี้สามารถทำได้ และลงทุนไม่มากแบบที่คิด เพราะทั้งพฤติกรรมของลูกค้าและเครื่องมือต่าง ๆ นั้นพร้อมรองรับ
โอกาสของธุรกิจโลจิสติกส์ไม่หมดเพียงเท่านั้น เพราะเมื่อศึกษาโมเดลนี้ ก็ยังมีช่องโหว่และปัญหาที่แก้กันไม่ตก เช่นบางครั้งของที่ส่งมาเกิดความเสียหายจากขนส่ง จะเคลมก็ไม่ได้ เพราะยุ่งยากและมีข้อจำกัดมาก หากเราเป็นธุรกิจโลจิสติกส์ที่มีความเชี่ยวชาญแบบนี้มาจัดการเอง ก็อาจจะเป็นโอกาสใหม่ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาตรงนี้ ให้กลายเป็นจุดเด่นของธุรกิจเราไปได้
“โลจิสติกส์เชิงรุก” จากขนส่งมาเป็นเจ้าของร้าน
จุดเริ่มต้นของการเป็น โลจิสติกส์เชิงรุก พาไปรู้จักแนวคิด VMI (Vendor Managed Inventory) เป็นแนวคิดหนึ่งในการบริหารสินค้าคงคลัง โดยให้ผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายไปเป็นผู้บริหารสินค้าคงคลังแทนลูกค้า VMI ยกตัวอย่างจาก เช่น บริษัทน้ำอัดลม เข้าไปดูแลจำนวนสต็อกน้ำอัดลมในคลังของห้างสรรพสินค้าแทน โดยเมื่อไรที่มีการขาดสต็อก ผู้ผลิตก็จะนำสินค้ามาส่งทันตามกำหนดเวลาเพื่อไม่ให้สต็อกขาด จากแนวคิดนี้มีการทำจริงโดยใช้ข้อมูลภายใน ซึ่งสามารถมาเป็นจุดเริ่มต้นพื้นฐานมาใช้ในธุรกิจโลจิสติกส์เชิงรุกได้โดยประยุกต์ควบคู่ไปกับการใช้สต็อกแบบดึง (Pull System)
Pull System (ระบบดึง) หมายถึง การวางแผนป้อนสต็อกแต่ละส่วนตามการเกิดอุปสงค์ขึ้นมาก่อน ส่วนใหญ่จะถูกใช้ในงานผลิต เช่น เมื่อมีลูกค้าสั่งมา หรือมีความต้องการมาก่อน ถึงจะมีการผลิตเพื่องานนั้น ๆ เท่านั้น หรือมีการผลิตแบบคาดการณ์ล่วงหน้าไว้แล้วจำนวนหนึ่งตามระยะเวลา ซึ่งจะทำให้การบริหารสต็อกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและตรงกับความต้องการในช่วงเวลานั้นจริง ๆ แต่ข้อควรระวังของระบบ Pull System (ระบบดึง) คือ ต้องสามารถจัดการทุกอย่างแบบ Just In Time ได้ ซึ่งแปลว่า การเก็บข้อมูลที่ดีและใช้วิเคราะห์ได้ จะช่วยแก้ปัญหานั้นในระยะยาว
การนำระบบดึงมาใช้กับเรื่องสต็อกของธุรกิจโลจิกส์ติกส์ คือ แทนที่จะเป็นเพียงตัวกลางการขนส่ง ให้ดำเนินการหาเจ้าผู้ผลิตไว้ในมือตามหมวดอุตสาหกรรมที่ถนัด โดยอาจจะแยกเป็นทีมใหม่ออกมา เพื่อสร้างบริการใหม่เป็นตัวเลือกให้กับลูกค้าเพิ่มขึ้น หรือดูตามเทรนด์ที่กำลังมาและเตรียมตัวหาผู้ผลิตรอไว้ก่อนเลย และใช้กลยุทธ์เชิงรุกเสนอขายสินค้านี้เอง โดยเข้าหาลูกค้าที่ต้องการสินค้านี้จากการเปิดหน้าร้านออนไลน์ (Online Platform) หรือตั้งกลุ่มทางออนไลน์ขึ้นมาเพื่อหาการซื้อสินค้าแบบกลุ่ม โดยในช่วงแรกใช้ความถนัดในแง่ของสินค้าที่ตัวเองเชี่ยวชาญหรือเป็นสินค้าหมวดเฉพาะกลุ่มที่โดดเด่นจะดีกว่า โดยโมเดลจะเป็นแบบประมาณนี้
จุดเด่นที่แตกต่างคือ โลจิสติกส์นั้นมีความยืดหยุ่นกว่า และสามารถเป็นพันธมิตรกับผู้ผลิตได้ทุกเจ้า ทุกหมวดสินค้า และยังอุดช่องโหว่สำคัญคือการขนส่งที่ได้มาตรฐานมากกว่า และดูแลสินค้าได้ดีกว่าตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงมือผู้รับ
ประเด็นสำคัญในการเตรียมตัวจึงเป็นเรื่องของ
1. การเชื่อมต่อข้อมูลแบบไร้รอยต่อ และแบ่งการทำงานใหม่ ที่ต่อยอดจากงานเดิม เพิ่มการเป็นพาร์ทเนอร์พันธมิตรกับ Online Platform ที่เหมาะสมกับสินค้าและการดำเนินการส่วนต่าง ๆ โดยสามารถใช้บริการกับรายใหญ่ ๆ ได้เลยเพราะส่วนใหญ่มีระบบที่รองรับได้อย่างครอบคลุมกับทุกธุรกิจ
2. การมีแหล่งเก็บ DATA ที่จริงจังแบบเป็นระบบ ต้องมีทีมที่ติดตามเทรนด์และค้นหาความต้องการของสินค้าใหม่ ๆ ทั้งตามหมวดสินค้านั้น ๆ หรือตามกระแส มารวมไว้เป็นข้อมูล DATA ในที่เดียวกัน โดยเครื่องมือที่น่าสนใจในการเก็บ DATA เบื้องต้นที่แนะนำคือ Google Data Studio เป็นเครื่องมือฟรีจาก Google สำหรับใช้ดึงข้อมูลต่าง ๆ เพื่อมาสร้าง Dashboard ดูข้อมูลได้ในที่เดียว ทั้งข้อมูลเว็บไซต์ แพลตฟอร์ม หรือจากเครื่องมือต่าง ๆ ช่วยให้เราดูข้อมูลได้ง่าย ช่วยให้เห็นภาพรวมโดย Data Source ที่สามารถดึงมาได้มีตั้งแต่แพลตฟอร์มที่เป็นพาร์ทเนอร์ของ Google ทั้ง Facebook, Twitter, YouTube หรือระบบ CRM ก็สามารถดึงข้อมูลมาได้ นอกจากนั้นในตระกูลของ Google เองก็สามารถดึงข้อมูลมาใช้ได้ช่นกัน ทั้ง Google Ads, Google Analytics, Google Search Console ฯลฯ ทั้งหมดนี้ใช้งานได้ฟรีและง่ายมาก ๆ เพียงแค่มี Gmail หรือ Google Account ก็สามารถสมัครใช้งานได้เลย (มีหลายเว็บสอนวิธีใช้แบบละเอียด)
จัดการภาคขนส่งให้แข็งแกร่ง เพิ่มประสิทธิภาพเต็มกำลัง
ข้อมูลจาก ttb analytics ทำให้ทราบว่าธุรกิจโลจิสติกส์ในประเทศไทย โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการ SME รายย่อยถึง 94% ในจำนวนทั้งหมดนี้กว่า 89% เป็นผู้ให้บริการขนส่งทางบก ที่มีต้นทุนหลักคือค่าน้ำมันในการเดินทาง การควบคุมค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก และจะเป็นการได้เปรียบไม่น้อยหากสามารถควบคุมด้วยระบบออนไลน์ที่ทันสมัย ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนค่าใช้จ่ายน้ำมันไว้ได้ล่วงหน้า และอาจเป็นส่วนหนึ่งในการคำนวณเส้นทางที่เหมาะสม
ปัจจุบันการตั้งถังเก็บน้ำมันขนาดใหญ่ในจุดต่าง ๆ เพื่อให้รถขนส่งของเราเองไปเติมน้ำมันตามจุดนั้น ๆ ก็จะต้องมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาถังเก็บน้ำมันให้ได้มาตรฐานและยังเป็นข้อจำกัดในการขยายเส้นทางอีกด้วย ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะไม่เป็นปัญหาหากเราเป็นบริษัทโลจิสติกส์ขนาดใหญ่ที่มีเครือข่ายมากพอและมีต้นทุนส่วนหนึ่งสำหรับจัดการในด้านนี้ เพื่อให้ได้ราคาน้ำมันที่ต่ำลง แต่สำหรับธุรกิจเอสเอ็มอีแล้ว การใช้บริการสถานีบริการน้ำมันที่คุณภาพไว้ใจได้ มีเครือข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ จึงเป็นที่น่าสนใจกว่า หากแต่ต้องหาตัวช่วยที่จะสามารถควบคุมปริมาณน้ำมันที่รถขนส่งแต่ละคันใช้งานได้ และจะมีประสิทธิภาพอย่างมากหากสามารถติดตามผ่านระบบออนไลน์ได้อีกด้วย และเมื่อเราสามารถติดตามการใช้งานน้ำมันได้จะทำให้เห็นปริมาณการใช้งานรวมซึ่งหากมากพออาจสร้างโอกาสในการเจรจากับบริษัทผู้ให้บริการน้ำมันเพื่อให้ได้น้ำมันในราคาที่ต่ำลงเช่นกัน เหนือไปกว่านั้น หากค่าน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้เรียกเก็บภายหลังตามการใช้งานจริง โดยไม่ต้องสำรองจ่าย หรือฝากเงินสดไว้กับพนักงานขับรถที่เสี่ยงกับการถูกโจรกรรม หรืออาจนำไปสู่การทุจริตได้
finbiz by ttb จึงขอนำเสนอ ผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ บัตรเครดิตน้ำมัน ทีทีบี (ttb fleet card) ที่ตอบโจทย์ทั้งหมดที่ได้กล่าวมาในขั้นต้น ที่มีจุดเด่นหลักสำคัญดังนี้
- ควบคุมค่าใช้จ่ายได้เพราะการกำหนดวงเงิน ระบุประเภทน้ำมัน และสถานีบริการที่ต้องการให้ใช้บริการได้
- ปลอดภัย ไม่ต้องพกเงินสด สามารถออกบัตรแบบมี PIN (optional) ในการใช้งานและมีรายงานตรวจสอบได้ทุกการใช้จ่าย
- สะดวก มีพันธมิตรสถานีบริการน้ำมันคุณภาพ ที่ครอบคลุมทั่วประเทศ
- ฟรี ค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าธรรมเนียมรายปีในปีแรก
- สามารถใช้บัตรเติมน้ำมันได้ทันที โดยไม่ต้องให้ผู้มีอำนาจลงนามอนุมัติในใบสั่งจ่ายน้ำมัน
- มีการบันทึกข้อมูลของการใช้บัตรเครดิตน้ำมันของรถแต่ละคันอย่างถูกต้องแม่นยำ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลการเติมน้ำมันแต่ละครั้ง เช่น วัน เวลา ชื่อสถานีบริการน้ำมัน ปริมาณที่เติม (ลิตร) จำนวนเงิน (บาท) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เลขกิโลเมตร และสามารถแสดงอัตราการสิ้นเปลืองของปริมาณน้ำมันต่อกิโลเมตร โดยเรียกดูผ่านระบบ Web Fleet Service ได้อย่างง่ายดาย
- สามารถดาวน์โหลดใบแจ้งยอดค่าใช้จ่ายบัตรเครดิตน้ำมันได้ทางระบบ Web Fleet Service ทันทีหลังจากสรุปยอดใช้จ่าย
- สามารถเช็คยอดใช้งานคงเหลือผ่านโทรศัพท์มือถือแบบเรียลไทม์ได้ง่าย ๆ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
สนใจการใช้ระบบ บัตรเครดิตน้ำมัน ทีทีบี (ttb fleet card) สามารถดูรายละเอียดที่เว็บไซต์เพิ่มเติม คลิกที่นี่
ที่มา :
- logisticafe
- themanufacturer
finbiz by ttb โครงการเสริมความรู้ ต่อยอด เอสเอ็มอี สู่การเป็น Smart SME
ผ่านหลากหลายแพลตฟอร์ม พร้อมองค์ความรู้ที่ครบครัน จาก Partner ชั้นนำทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อให้ธุรกิจรับมือกับความเปลี่ยนแปลง พร้อมปรับตัวในยุคดิจิทัล และเติบโตอย่างยั่งยืน
“ครบ จบในที่เดียว ปรับใช้ได้ง่าย ต่อยอดได้จริง สู่การเป็น Smart SME”