ปัจจุบันตลาดรถยนต์พลังงานไฟฟ้า EV (Electric Vehicle) เติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ที่ผู้คนตระหนักด้านมลพิษ และการใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น ยิ่งต้นปี 2022 ที่ราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นอย่างรวดเร็วก็สะกิดให้คนที่เคยเมินเฉยกลับหันมามองรถ EV ได้อย่างง่ายดายมากขึ้น
จากข้อมูลของศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีทีบี หรือ ttb analytics และกรมการขนส่งทางบกชี้ให้เห็นว่า ตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา ตลาดรถยนต์พลังงานไฟฟ้า EV (Electric Vehicle) มีการเติบโตต่อเนื่องโดยเฉพาะจากจีน โดยปลายปี 2020 มีรถพลังงานไฟฟ้าจากจีนออกมาแล้วถึงประมาณ 4.5 ล้านคัน ซึ่งเป็นพลังงานไฟฟ้าล้วน BEV (Battery electric vehicle) ถึง 3.5 ล้านคัน จากรถยนต์พลังงานไฟฟ้าทุกประเภททั้งหมดทั่วโลกที่มีอยู่ราว 10 ล้านคัน
สำหรับประเทศไทยจากต้นปี 2021 ถึงต้นปี 2022 พบว่าการเติบโตของตลาดรถยนต์พลังงานไฟฟ้าล้วน BEV มีการเติบโตถึง 62% แสดงให้เห็นว่าคนไทยเริ่มปรับตัวได้ และมั่นใจ กับรูปแบบการเติมพลังงานรถยนต์ที่เปลี่ยนไป ถ้ารวมทุกประเภทของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV) แล้ว เรามีรถยนต์ EV ถึงประมาณ 62,000 คันที่วิ่งอยู่ในท้องถนนไทย เป็น พลังงานไฟฟ้าล้วน BEV ราว 3,600 คัน และ รถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบบใช้ไฟฟ้าร่วมกับระบบน้ำมันเชื้อเพลิง PHEV และ HEV 58,400 คัน
มาตรการรัฐที่ออกมาสนับสนุนรถ EV ที่ผลิตในประเทศไทย
ล่าสุดในช่วงปี 2565-2568 นี้รัฐบาลไทยได้ส่งเสริมมาตรการเงินอุดหนุนรถยนต์ ลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์ และลดภาษีอากรนำเข้ารถยนต์ โดยตั้งเป้าหมายการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าคือ 30% ของปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งหมดในแต่ละปี หรือ 750,000 คัน ภายในปี พ.ศ. 2573
และคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติได้มีข้อเสนอให้รถที่จดทะเบียนใหม่ตั้งแต่ปี 2035 เป็นต้นไป ต้องเป็นรถที่ไม่ปล่อยไอเสีย 100% (ZEV: Zero-Emissions Vehicles) เท่านั้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความตื่นตัวของภาครัฐที่จะเร่งการเปลี่ยนผ่านจากรถยนต์พลังงานสันดาป มาเป็นรถยนต์พลังงานไฟฟ้าให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และประกอบกับบริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่ทั่วโลก ก็เริ่มผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อตอบสนองความต้องการของคนรุ่นใหม่มากขึ้น ทำให้ตลาดผู้ใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าของในไทยเติบโตและมีความต้องการมากขึ้นอย่างรวดเร็ว
โอกาสใหม่ของผู้ประกอบธุรกิจเอสเอ็มอีในวงการยานยนต์
เมื่อวิเคราะห์จากตัวเลขอัตราการเติบโต จะทำให้เห็นโอกาสของธุรกิจที่จะเป็นดาวรุ่ง และธุรกิจที่ได้รับผลกระทบหากไม่เริ่มปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้
จากข้อมูลพบว่าตลาดรถยนต์พลังงานไฟฟ้าล้วน BEV กำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วมาก จนมาเบียดพื้นที่ของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบบใช้ไฟฟ้าร่วมกับระบบน้ำมันเชื้อเพลิง PHEV และ HEV ซึ่งมีผลกระทบกับธุรกิจต่าง ๆ เช่น
-
ผลิตชิ้นส่วนประกอบยานยนต์
โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SME ที่ผลิตเฉพาะชิ้นส่วนประกอบที่ใช้กับระบบสันดาป เช่น เครื่องยนต์ ลูกสูบ หัวเทียน หม้อน้ำ ท่อไอเสีย ถังน้ำมัน เป็นต้น อาจต้องเริ่มต้นหาช่องทางใหม่ ๆ หรือกลับมาสำรวจตัวเอง ว่าทุกวันนี้เราผลิตได้แต่ในส่วนรถระบบสันดาป หรือไม่ เราต้องมีการปรับเทคโนโลยี สายการผลิต หรือหาคู่ค้าเพิ่ม พัฒนาทักษะพนักงาน เพื่อให้ทันการเปลี่ยนแปลงในวันที่รถยนต์พลังงานไฟฟ้าล้วน BEV จะเข้ามามีส่วนแบ่งทางตลาดแทนรถยนต์ในระบบที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงมากขึ้นเรื่อย ๆ
-
ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า
สำหรับผู้ประกอบการ SME ที่ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์เกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้า เช่น แบตเตอรี่ สายไฟ มอเตอร์ต่าง ๆ ก็มีช่องทางโอกาสที่จะต่อยอดจากกิจการเดิมพัฒนาเพิ่มเติมไปสู่การผลิตอุปกรณ์ที่รองรับการใช้งานของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าได้
-
สถานีบริการน้ำมัน
จะเริ่มเห็นโอกาสในรูปแบบใหม่ เช่น การเพิ่มเติมจุดบริการเติมพลังงานรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งการชาร์จไฟฟ้าแต่ละครั้งใช้เวลาพอสมควรทำให้เห็นโอกาสของธุรกิจอื่น ๆ ที่สามารถอยู่ในสถานีบริการน้ำมันเดิมได้ ไม่ว่าจะเป็นการให้เช่าพื้นที่เพื่อทำร้านอาหารหรือกิจการอื่น ๆ
-
ร้านอาหารหรือบริการต่าง ๆ
ที่มีบริเวณจอดรถ ในทางกลับกันกับ ผู้ประกอบกิจการร้านอาหาร หรือบริการต่าง ๆ ที่มีบริเวณจอดรถ สามารถใช้โอกาสนี้ในการศึกษาและลงทุนกับจุดบริการเติมพลังงานรถยนต์ไฟฟ้าในบริเวณจอดรถที่มีอยู่แล้ว ซึ่งอาจเป็นในรูปแบบลงทุนเองหรือร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจ
-
ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์
สามารถเพิ่มเติมโอกาสจากจังหวะที่เหมาะสมนี้ โดยใช้กลยุทธ์ทางการตลาดกระตุ้นความสนใจจากช่วงเวลาที่ผู้คนกำลังหันมามองรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ให้มีความต้องการเพิ่มขึ้นอีกและตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วขึ้น สร้างโอกาสในการเพิ่มยอดขายในระยะนี้ พร้อมพัฒนาสู่ศูนย์บริการหลังการขายสำหรับรถประเภทนี้ให้มากขึ้น
การลงทุนในช่วงเวลาที่มีโอกาสเหมาะสม
เมื่อเห็นโอกาส และต้องการตอบรับอย่างรวดเร็ว finbiz by ttb ขอแนะนำผลิตภัณฑ์จาก ttb ที่จะซัพพอร์ตเงินทุนในการหมุนเวียนและเพิ่มสภาพคล่องให้ธุรกิจ นั่นคือ สินเชื่อธุรกิจ ทีทีบี เอสเอ็มอี สมาร์ทแอนด์ฟาสต์ (ttb sme smart and FAST) สินเชื่อที่มีจุดเด่นเรื่องการอนุมัติเร็ว เสริมสภาพคล่องเร่งด่วนให้จะได้ไม่พลาดโอกาสทางธุรกิจ ที่ช่วยให้ธุรกิจเติบโตต่อได้ หมดปัญหาขอเงินทุนล่าช้า
จุดเด่นสินเชื่อธุรกิจ ทีทีบี เอสเอ็มอี สมาร์ทแอนด์ฟาสต์ (ttb sme smart and FAST)
- อนุมัติไว รู้ผลได้เร็วสุดภายใน 7 วัน ทันทุกโอกาสที่เข้ามา
- วงเงินเพียงพอ สูงสุด 10 ล้านบาท เพื่อใช้ดำเนินการได้ในทุกส่วน
- ผ่อนชำระนาน สูงสุดถึง 12 ปี
- ใช้เอกสารน้อย เหมาะสำหรับใช้ในการลงทุนในกิจการและเงินทุนหมุนเวียนของกิจการ
- อัตราดอกเบี้ยปีแรกต่ำสุดถึง 4% และปีที่ 2 ต่ำสุดถึง 5%
- สะดวก เพราะสามารถตรวจสอบวงเงิน O/D ได้ตลอด 24 ชม. ผ่านแอป ทีทีบี บิสสิเนสวัน
- ประหยัดต้นทุน ได้วงเงินแล้ว โอนฟรี! ผ่านทีทีบี บิสสิเนสวัน คู่กับบัญชีธุรกิจ ทีทีบี เอสเอ็มอี วันแบงก์
รายละเอียดผลิตภัณฑ์
คลิกที่นี่
ที่มา :
finbiz by ttb โครงการเสริมความรู้สู่การเป็น Smart SME
ผ่านหลากหลายแพลตฟอร์ม พร้อมองค์ความรู้ที่ครบครัน จาก Partner
ชั้นนำทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อให้ธุรกิจรับมือกับความเปลี่ยนแปลง
พร้อมปรับตัวในยุคดิจิทัล และเติบโตอย่างยั่งยืน
“ครบ จบในที่เดียว ปรับใช้ได้ง่าย ต่อยอดได้จริง สู่การเป็น Smart SME”