ในยุคที่การพัฒนานวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนเป็นสิ่งสำคัญต่อโลก และการดำเนินชีวิตของมนุษย์ อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นอีกส่วนหนึ่งที่มีบทบาทอย่างมากในการพัฒนาไปให้ถึงจุดประสงค์ของความยั่งยืนได้ ก้าวต่อไปของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยควรจะมีทิศทางเป็นอย่างไร
ในครั้งนี้ finbiz by ttb ได้เก็บรวบรวบข้อมูลจากหลักสูตร LEAN for Sustainable Growth by ttb รุ่นที่ 18 “เพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจยุคดิจิทัลพร้อมก้าวผ่านความท้าทาย มุ่งสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน” โดยเป็นข้อมูลที่สอดคล้องกันจากทั้ง 3 ผู้เชี่ยวชาญและผู้บริหารระดับสูง ที่มาเป็นวิทยากรพิเศษให้กับหลักสูตรนี้ และเราได้รวบรวมมาเพื่อให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องของไทย ได้นำมาศึกษาพิจารณากัน
EV Car กับ การมาถึงของนวัตกรรมเทคโนโลยี และ กระแส ESG ที่ไม่ใช่แค่เทรนด์
ถ้ากล่าวถึงเทรนด์โลกในยุคปัจจุบันคืออะไร ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ESG กำลังมาแรงจริง ๆ แต่ ESG หรือการพัฒนาสู่ความยั่งยืนนั้นจะไม่ได้เป็นเพียงกระแส แต่เป็นสิ่งที่ต้องตระหนักถึงการพัฒนาให้ไปสู่ความยั่งยืนตลอดไป เพียงแต่ที่ช่วงนี้ดูเป็นกระแสร้อนแรงขึ้นมา เพราะเริ่มมีกฎหมายหรือข้อบังคับต่าง ๆ มากขึ้นอย่างจริงจัง ให้ทุกภาคส่วนเริ่มตระหนักแล้วว่าพวกเราคือส่วนหนึ่งของความยั่งยืนของโลก และนี่ก็อาจเป็นที่มาว่าทำไมยานยนต์ไฟฟ้าหรือยานยนต์พลังงานหมุนเวียน ถึงได้รับความนิยมสูงขึ้นในช่วงสองปีที่ผ่านมา และทำให้ค่ายรถยนต์แต่ละค่ายมุ่งมั่นผลิตยานยนต์ ZEV (Zero Emission Vehicle) ออกมาสู่ตลาดในระยะนี้
- ผู้บริโภคยอมรับ และ มั่นใจใน EV Car มากขึ้น ในฝั่งของผู้บริโภคเองก็มีความตระหนักถึงความยั่งยืนไม่แพ้กัน ด้วยหลาย ๆ ปัจจัยประกอบกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม หรือการตื่นตัวกับเทคโนโลยี แต่ยังมีเรื่องราวราคาเชื้อเพลิงในรถเครื่องยนต์สันดาปที่มากระตุ้นให้ผู้คนตื่นตัวกับยานยนต์ที่ใช้พลังงานหมุนเวียนในรูปแบบอื่น ๆ อีกด้วย ผลักดันให้ ตลาดรถยนต์ไฟฟ้า (EV Car) โลกเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2022 มียอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกถึง 10.1 ล้านคัน คิดเป็นสัดส่วน 14% ของยอดขายรถยนต์ทั้งหมด โดยภูมิภาคที่มีการเติบโตของตลาด EV Car มากที่สุดคือจีน ยุโรป และอเมริกา โดยในปี 2022 จีนมียอดขายรถยนต์ไฟฟ้ามากที่สุดถึง 59% ของตลาดโลก รองลงมาคือยุโรป 26% และอเมริกา 9% และในจำนวน EV Car 1 ล้านคันนั้น เป็นรถ BEVs ถึง 7.2 ล้านคัน และรถ PHEVs, HEVs 2.9 ล้านคัน นั่นแสดงถึง การยอมรับของผู้บริโภคที่มั่นใจในรถยนต์ EV Car แบบไฟฟ้าล้วนที่มากขึ้นนั่นเอง
- นวัตกรรมเทคโนโลยี ที่เปลี่ยนแปลงโลก รวมไปถึงการตลาดของแวดวงยานยนต์ ไม่เพียงแต่กระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์ แต่การมาถึงของเทคโนโลยี ก็ได้เขย่าวงการการตลาดของยานยนต์ไปด้วย มีการเปรียบเทียบถึงยอดจองรถยนต์ในงาน Bangkok International Motor Show ปี 2023 มียอดจอง 42,885 คัน ภายในระยะเวลาจัดงานทั้งหมด 14 วัน โดยค่ายที่ทำยอดจองสูงสุดในงานคือ 6,042 คัน ในขณะที่มีค่ายรถยนต์อีกหนึ่งค่ายที่ไม่ได้ไปร่วมออกแสดงในงานนี้ แต่กลับใช้วิธีเปิดตัวรถยนต์เองและให้ลูกค้าจองผ่านทางออนไลน์พร้อมเก็บมัดจำ ภายใน 1 วัน มีการจองออนไลน์สูงถึง 4,424 คัน ซึ่งทั้งหมดเป็นรถยนต์ไฟฟ้าล้วน (BEVs) จะเห็นได้มาการมาของรถ EV ไม่เพียงแต่นวัตกรรมที่เปลี่ยนไป แต่โมเดลในการขายรถยนต์ก็เริ่มมีทิศทางที่เปลี่ยนไปเช่นกัน โดยบริษัทยานยนต์แห่งนี้ใช้กลยุทธ์ทางการตลาด คือ เปลี่ยนลูกค้าเป็น Marketer เอางบประมาณที่ใช้ในการทำโปรโมชันมาทุ่มกับการวิจัยตลาด เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อให้มั่นใจว่าจะผลิตยานยนต์ที่แตกต่าง และให้คุณประโยชน์ทั้งแก่ผู้ขับขี่เอง รวมถึงสิ่งแวดล้อม สร้างความยั่งยืนให้กับโลกได้
- การพัฒนากระบวนการผลิตเพื่อความยั่งยืนของโลก อิงอยู่บนพื้นฐานของการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การจะทุ่มเททรัพยากรทั้งหมด เพื่อเพิ่มยอดขายและรายได้สูงสุดแต่เพียงอย่างเดียวจะไม่เพียงพออีกต่อไป การบริหารต้นทุน และการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งถือเป็นส่วนที่ผู้ประกอบการสามารถควบคุมได้มากกว่า โดยหากสามารถจัดการกับกระบวนการทำงานที่ซับซ้อน วุ่นวาย ไม่จำเป็น เพื่อเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันให้กับธุรกิจ ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด ขจัดสิ่งสูญเปล่า และปรับปรุงกระบวนการผลิตของทุกอุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพสูงสุดจึงเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมความยั่งยืนของโลก ซึ่งอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ถือเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมสำคัญในการสร้างความยั่งยืนให้กับโลก
เส้นทางการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในยุค EV Car
อย่างที่ทราบกันดีว่า ปัจจุบันจีนจัดว่าเป็นผู้ทำทางด้านนวัตกรรมและการผลิต EV Car จากที่ปี 2022 จีนทำยอดขายทะลุไปแล้วถึง 26% จากที่เคยตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะเป็น 20% ในปี 2025 และได้ก้าวขึ้นมาเป็นเบอร์ 1 ของยานยนต์ไฟฟ้าโลกได้สำเร็จ โดยมีปัจจัยที่จีนส่งเสริมให้ยานยนต์ไฟฟ้าเป็นวาระแห่งชาติ และประกาศชัดเจนว่าปี 2030 ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศจีนจะอยู่ที่ 40% อีกทั้งมีนโยบายสนับสนุนทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้งาน มาตรการลดหย่อนภาษีและการให้เงินสนับสนุนช่วยเหลือ อีกทั้งได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลท้องถิ่นที่ร่วมออกมาตรการสนับสนุน และยังมีแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานล่วงหน้า รองรับการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงการสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้า เช่น การพัฒนาแบตเตอรี่
หันมองกลับมาที่ประเทศไทยก็มีโอกาสสูงที่จะเป็นศูนย์กลางการผลิต EV ที่สำคัญของโลก เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุนหลายประการ และยังมีการขับเคลื่อนที่ทำให้ได้เปรียบ ดังนี้
ทั้งนี้การพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าจะต้องมุ่งเน้นที่จะตอบโจทย์ “5S” เพื่อสร้างความได้เปรียบและมุ่งสู่ความยั่งยืน
ดังนั้นความยั่งยืนคือหัวใจของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV Car นอกจากจะต้องตอบโจทย์ทั่วไปของยานยนต์ได้แล้ว เช่นด้านของรูปลักษณ์ และอรรถประโยชน์ อีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องตระหนักอยู่เสมอก็คือ ต้องมุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยมลพิษ และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติหมุนเวียนแทนที่พลังงานสิ้นเปลืองแบบในยุครถยนต์สันดาป (ICE Car) โดยแนวทางที่อุตสาหกรรม EV ใช้ในการบรรลุเป้าหมายความยั่งยืน ได้แก่ การใช้พลังงานไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน การใช้วัสดุรีไซเคิลในการผลิตรถยนต์ และ การใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงาน
ประเทศไทยถือว่ามีโอกาสและศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางการผลิต EV Car ที่สำคัญของโลกด้วยข้อได้เปรียบที่ได้กล่าวไปข้างต้น โดยต้องมุ่งเน้นการพัฒนาสู่ความยั่งยืนเป็นหัวใจหลัก อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังมีสิ่งที่ต้องมุ่งเน้นและเร่งพัฒนา เพื่อให้หนทางของ EV car ในไทยประสบความสำเร็จ ได้แก่
- เร่งพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
- เพิ่มจำนวนสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าให้เพียงพอเพื่อกระตุ้นการใช้งานในประเทศ
- ส่งเสริมและสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคในประเทศเห็นประโยชน์และหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น
- พัฒนาบุคลากรด้านการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าให้มีคุณภาพสูง และมีความพร้อม
เมื่อภาคผลิตมีความพร้อม และได้รับความมั่นใจจากผู้บริโภคในประเทศ จะช่วยสร้างความมั่นใจและกระตุ้นให้ไทยสามารถเป็นศูนย์กลางการผลิต EV Car ระดับภูมิภาคได้ และด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจะสามารถผลักดันให้ก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าหลักของโลกได้ ซึ่งจะช่วยช่วยบรรเทาปัญหามลพิษทางอากาศและภาวะโลกร้อนได้ในอนาคต
ที่มา :
จากหัวข้อสัมมนาในหลักสูตร LEAN for Sustainable Growth by ttb รุ่นที่ 18 โดย
- คุณณรงค์ สีตลายน กรรมการผู้จัดการ เกรท วอลล์ มอเตอร์ ประเทศไทย (GWM)
- ดร.เกรียงศักดิ์ วงศ์พร้อมรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์
- คุณศรัณย์ ภู่พัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ ttb
finbiz by ttb
โครงการเสริมความรู้สู่การเป็น Smart SME ผ่านหลากหลายแพลตฟอร์ม
พร้อมองค์ความรู้ ที่ครบครัน จาก Partner ชั้นนำทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน
เพื่อให้ธุรกิจสามารถก้าวผ่านความท้าทายของโลกปัจจุบัน
ปรับตัวตอบโจทย์ยุคดิจิทัล พร้อมมุ่งสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
อัปเดตทุกดิจิทัลเทรนด์ และความรู้ดี ๆ ที่ SME ไม่ควรพลาด
เพียงแอดไลน์ @ttbSME