external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

Suggest Keywords

  • ห้องข่าว
  • เกี่ยวกับ ทีทีบี
  • ความยั่งยืน
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อธนาคาร
ttb-logo
เมนู
  • ลูกค้าบุคคล
  • ลูกค้าเอสเอ็มอี
  • ลูกค้าธุรกิจ
  • ทีทีบี รีเซิร์ฟ
  • โปรโมชันและสิทธิพิเศษ
  • อัตราและค่าธรรมเนียม
  • ค้นหา
  • เข้าสู่ระบบ ttb business
    ttb business onettb business click
  • สินเชื่อเพื่อธุรกิจ
  • บัญชีและธุรกรรมภายในประเทศ
  • บัญชีและธุรกรรมระหว่างประเทศ
  • ดิจิทัลแบงก์กิ้ง และบริการอื่นๆ
  • finbiz เสริมความรู้ SME
  • สนใจสมัครผลิตภัณฑ์
ค้นหาจุดให้บริการ
หน้าหลัก ทีทีบี
ลูกค้าบุคคล
หน้าหลักลูกค้าบุคคล
เคล็ดลับการเงิน
บัญชีและบัตรเดบิต
บัตรเครดิต
สินเชื่อ
ประกัน
ลงทุน
บัญชีเงินเดือน ทีทีบี
ดิจิทัลแบงก์กิ้ง
บริการอื่น ๆ
ลูกค้าเอสเอ็มอี
หน้าหลักลูกค้าเอสเอ็มอี นิติบุคคล
สินเชื่อเพื่อธุรกิจ
บัญชีและธุรกรรมภายในประเทศ
บัญชีและธุรกรรมระหว่างประเทศ
ดิจิทัลแบงก์กิ้ง และบริการอื่นๆ
finbiz เสริมความรู้ SME
สนใจสมัครผลิตภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์ลูกค้าเอสเอ็มอี บุคคลธรรมดา
เข้าสู่ระบบ
ttb business one
ttb business click
ลูกค้าธุรกิจ
หน้าหลักลูกค้าธุรกิจ
สินเชื่อเพื่อธุรกิจ
บัญชีและธุรกรรมภายในประเทศ
บัญชีและธุรกรรมระหว่างประเทศ
ดิจิทัลแบงก์กิ้ง และบริการอื่นๆ
เข้าสู่ระบบ
ttb business one
ttb business click
ทีทีบี รีเซิร์ฟ
หน้าหลักทีทีบี รีเซิร์ฟ
เอกสิทธิ์พิเศษ
โปรโมชันพิเศษ
อัปเดตการลงทุน
โซลูชันการลงทุนและสกุลเงินต่างประเทศ
โปรโมชันและสิทธิพิเศษ
หน้าหลักโปรโมชันและสิทธิพิเศษ
บัญชี
บัตรเครดิต
สินเชื่อ
ประกัน
ลงทุน
บัญชีเงินเดือน ทีทีบี
ทีทีบี รีเซิร์ฟ
ttb rewards plus
อัตราและค่าธรรมเนียม
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
อัตราดอกเบี้ย
อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมสินเชื่อรถยนต์
ค่าธรรมเนียมอื่นๆ
Forward Points
ห้องข่าว
หน้าหลักห้องข่าว
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวลูกค้าธุรกิจ
ข่าวศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ
เกี่ยวกับ ทีทีบี
หน้าหลักเกี่ยวกับ ทีทีบี
รู้จัก ทีทีบี
ประวัติธนาคาร
ลักษณะประกอบธุรกิจ
โครงสร้างและการจัดการ
บรรษัทภิบาล
การบริหารความเสี่ยง
ข้อตกลงการใช้เว็บไซต์
ความยั่งยืน
หน้าหลักความยั่งยืน
แนวทางความยั่งยืน
ความยั่งยืนทางธุรกิจ
ความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม
ความยั่งยืนด้านสังคม
บรรษัทภิบาลและจริยธรรมทางธุรกิจ
นโยบายและการรายงาน
นักลงทุนสัมพันธ์
หน้าหลักนักลงทุนสัมพันธ์
ข้อมูลทางด้านการเงิน
ข้อมูลนำเสนอ
ข้อมูลหลักทรัพย์
ข้อมูลตราสารหนี้และอันดับความน่าเชื่อถือ
ข่าวแจ้งตลาดหลักทรัพย์และนักลงทุน
บริการผู้ถือหุ้น
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ
ร่วมงานกับเรา
หน้าหลักร่วมงานกับเรา
เหตุผลที่ควรร่วมงานกับ ttb
เราทำงานกันอย่างไร
ติดต่อเรา
นโยบายความเป็นส่วนตัวผู้สมัครงาน
ตำแหน่งที่เปิดรับสมัคร
ติดต่อธนาคาร

รู้เทรนด์ผู้บริโภคในอนาคต “กิน-ใช้” อย่างไร สร้างโอกาสให้ธุรกิจ

5 ก.ค. 2567

เพราะ Trend และ Future Insight คือหัวใจสำคัญของธุรกิจยุคใหม่ที่ใช้ขับเคลื่อนการเติบโตสู่อนาคต ข้อมูลจากงานสัมมนา finbiz connect the future for growth เชื่อมเทรนด์ธุรกิจอนาคต สู่กลยุทธ์การเติบโตยั่งยืน เผยเทรนด์อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม สินค้าอุปโภค และพฤติกรรมผู้บริโภคในอนาคต ซึ่งเป็นทั้งความท้าทายและโอกาสสำหรับธุรกิจ รู้เทรนด์ก่อน ปรับตัวไว นำไปต่อยอดธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน


รู้ทัน...ความคาดหวังผู้บริโภค


ผู้บริโภคคนไทยในฐานะประชากรโลกได้รับข่าวสารการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ จากทั่วโลก ได้เห็นกระแสความยั่งยืนที่เข้ามากระทบ ได้ใช้งานแพลตฟอร์มที่มาจากต่างประเทศ จึงมีความคาดหวังว่าจะได้รับสิ่งนี้จากผู้ประกอบการไทยด้วย ทุกวันนี้คนทำธุรกิจต้องเข้าใจสิ่งที่เป็นความคาดหวังของผู้บริโภคผ่าน 9 มิติของการใช้ชีวิต (9-Life Dimensions) ซึ่งมี 3 คีย์เวิร์ดสำคัญควรจำเพราะกระทบกับธุรกิจทั้งหมด หากยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลาง

On-demand Economy Value Experience > Holding Asset Rent I/O Own
เศรษฐกิจตามใจ อยากได้อะไรต้องได้ ทุกที่ทุกเวลา ผลพวงจาก Technology Disruption ยอมจ่ายแพงเพื่อแลกกับประสบการณ์แปลกใหม่ ไม่เน้นการถือครองสินทรัพย์ นิยมการเช่ามากกว่าเป็นเจ้าของ ค่านิยมนี้เริ่มขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในต่างประเทศ


เข้าใจ “มนุษย์” ผ่าน 9-Life Dimensions

 

เข้าใจ “มนุษย์” ผ่าน 9-Life Dimensions รู้เทรนด์ผู้บริโภคในอนาคต “กิน-ใช้” อย่างไร สร้างโอกาสให้ธุรกิจ finbiz by ttb


จาก 9 มิติของการใช้ชีวิต (9-Life Dimensions) จะนำมาสู่ความคาดหวังของผู้บริโภคว่าจะเกิดขึ้นภายในปี 2030 ดังนี้

มิติและนิยาม สิ่งที่คาดหวังว่าจะเกิดขึ้นภายในปี 2030

1. มิติด้านที่พักอาศัย (Live)
มีอาณาเขตของตัวเองในที่พักอาศัย แต่เชื่อมต่อกันด้วยเทคโนโลยี (Alone and Connected)

1. Family Virtually Bound ครอบครัวไซส์เล็ก สร้างความสัมพันธ์ผ่านโลกเสมือน

2. Trade Private for Convenience ยอมแลกความเป็นส่วนตัวเพื่อความสะดวกที่เพิ่มขึ้น

3.AI, Robot is basic appliance หุ่นยนต์เป็นผู้ช่วยภายในบ้าน

2. มิติด้านการทำงาน (Work)
ทำงานเพื่อปลดล็อกศักยภาพการทำงานสูงสุด (Maximize Self Potential)

1. Collaboration Culture, Workplace Inclusion วัฒนธรรมการร่วมมือ ความแตกต่างหลากหลายที่เปิดเข้าหากัน

2. Talent Mobility Across Space ทำงานได้หลายหน้าที่ และเข้าถึงทุกที่

3. Diminishing Hierarchy สายบังคับบัญชาที่บางลง เน้นกระจายอำนาจ

4. Free Agent เลือกทำงานเฉพาะที่ถนัด ร่วมมือกับหลายแห่ง

3. มิติด้านการบริโภค (Consume)
บริโภคตามความต้องการ และให้ความสำคัญกับคุณค่าของประสบการณ์ (On Demand, Value Experience)

1. High Switching ความจงรักภักดีที่เจือจาง ผู้บริโภคเริ่มไม่ยึดติดแบรนด์

2. Social Judgement การตัดสินโดยสังคม การรีวิว เรตติ้ง มีอิทธิพลสำคัญต่อการตัดสินใจ

3. Sharing บริโภคแบบร่วมแบ่งปัน เพื่อใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

4. Prefer End to End Service เลือกบริการที่ครบวงจร ทำให้ชีวิตง่ายขึ้น

5. Renewable Consciousness บริโภคโดยตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมและการใช้ซ้ำ

4. มิติด้านการเงิน (Financial)
เงินสดรูปแบบใหม่ที่เข้าถึงได้ (New Digital Money)

1. New form of Cash เงินสดรูปแบบใหม่

2. Growth of Cashless and Smooth Transaction ธุรกรรมที่ราบรื่น ใช้เงินโดยไม่ต้องจับเงิน

3. Risks in Currency Value Instability ความเสี่ยงของค่าเงินจากการมีผู้ออกเงินตราเพิ่มขึ้น

5. มิติด้านการเรียน (Learn)
เรียนรู้เพื่อนำไปใช้ได้จริง ใช้ได้ทันที และสามารถเปลี่ยนเป็นรายได้ (Learn to Earn)

1. Instant Knowledge ความรู้พร้อมใช้

2. Tech Support Collaborative Learning การเรียนรู้แบบร่วมมือผ่านเทคโนโลยี

3. Self-directed Professional Development วางแผนความก้าวหน้าในเส้นทางเฉพาะบุคคล

6. มิติด้านการเข้าสังคม (Socialize)
การมีหลากหลายอัตลักษณ์ในหลายบทบาท ทั้งในโลกจริงและโลกเสมือน (Multiple Identity)

1. Social Fragmentation สังคมแตกเป็นกลุ่มย่อย ความเป็นชาติจางลง ความเป็นกลุ่มชัดขึ้น

2. Awareness in Cyber Security and Privacy ตื่นตัวด้านความมั่นคงและความปลอดภัยทางไซเบอร์

3. Social Success = Self-Fulfillment ความสำเร็จทางสังคมคือการเติมเต็มตัวตน

4. Participatory Culture ฉันต้องมีส่วนร่วมในการสร้างสินค้าและบริการ

7. มิติด้านการใช้เวลาว่างและดูแลจิตใจ (Entertain)
ผู้คนจะโหยหาสัมผัสของความเป็นมนุษย์ เห็นคุณค่าการใช้ชีวิตที่เนิบช้า (Human Touch is Luxury)

1. Value of Interpersonal Relationship ให้คุณค่าความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

2. Value of Cozy Slow Life คุณค่าของการใช้ชีวิตที่เนิบช้า

3. Immersive Experience การสร้างประสบการณ์แบบเสมือน

8. มิติด้านการเดินทาง (Commute)
การเดินทางแห่งอนาคตที่ไร้รอยต่อ และคาดการณ์ได้ (Frictionless)

1. Predictable Journey การเดินทางที่สามารถคาดการณ์ได้

2. Transactionless การเดินทางที่ต่อเนื่องไร้รอยสะดุด

3. Zero-Time Waste รูปแบบการเดินทางที่ไม่ต้องเสียเวลาระหว่างทาง

9. มิติด้านการดูแลสุขภาพ (Healthcare)
มีส่วนร่วมในการจัดการกับสุขภาพของตนเอง (Self Mastering)

1. Enhanced Physical and Cognitive Capability ปลดล็อกขีดจำกัดความเป็นมนุษย์และเทคโนโลยีที่เพิ่มสมรรถนะความคิดและความทรงจำ

2. Realtime Monitoring ติดตามสถานะร่างกายตนเองแบบเรียลไทม์

3. Self-diagnosis วินิจฉัยโรคด้วยตนเองผ่านอุปกรณ์ Wearable


เทรนด์ธุรกิจอาหารอนาคต 2025


แนวโน้มการบริโภคอาหารของผู้คนในอนาคตจะผูกพันกับ 3 เรื่องใหญ่ 1) กินเพื่อสุขภาพ พัฒนาไปสู่อาหารการกิน เพื่อสุขภาพ 2) กินเพื่อเข้าถึงประสบการณ์ “อยู่เพื่อกิน” เน้นเข้าถึงประสบการณ์ใหม่ ๆ และ 3) กินเพื่อโลก การอุปโภคบริโภคที่ให้ทำร้ายโลกน้อยที่สุด ซึ่งสามารถอธิบาย 10 แนวโน้มธุรกิจอาหารแห่งอนาคต ภายใต้ 6 ความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ได้ ดังนี้

6 เทรนด์ความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ 10 แนวโน้มธุรกิจอาหารแห่งอนาคต

1. กินเพื่อสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ

1. Personalized Nutrition หรือโภชนาการเฉพาะบุคคล เช่น Medical Food ในรูปแบบเจลลี่เสริมสารอาหาร

2. Well-Mental Eating กินแล้วดีต่อสุขภาพใจ เช่น ไอศกรีมที่กินก่อนนอน ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น

3.Fermented Taste of Time อาหารประเภทหมักดองมาแรง เช่น เจลลี่คอมบูชาที่อุดมด้วยพรีไบโอติกส์

2. กินเพื่อรับประสบการณ์แปลกใหม่

4. Extraordinary Meal มื้อแปลกเกินจินตนาการ เช่น ชานมไข่มุกท็อปปิ้งด้วยหมูสามชั้น

3. กินเพื่อเสพเรื่องราวและอัตลักษณ์

5. Through the Root นำวัตถุดิบท้องถิ่น เช่น ไข่ผำของภาคเหนือและภาคอีสาน มาใส่ในเมนู ต่างชาติบอกเป็นไข่ปลาคาเวียร์เขียว

6. Alcoholic Journey เช่น โกจิโซจู ผสมสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยา เป็นแอลกอฮอล์ที่ดีต่อสุขภาพ ได้ภาพลักษณ์ที่เป็นธรรมชาติ

4. กินเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการทำให้โลกดีขึ้น

7. Foods for the World เช่น ขนมขบเคี้ยวที่ผลิตด้วยกระบวนการที่ประหยัดน้ำ

8. Alternative Protein เช่น ผงแมลงที่ช่วยเพิ่มโปรตีนในอาหาร และ Plant-based Meat ที่เหมือนและอร่อยยิ่งกว่าเดิม

5. สร้างความมั่นใจ ปลอดภัย สะดวก และประสิทธิภาพสูงในการกิน

9. Food Tech มาในรูปแบบ Smart Packaging เช่น บรรจุภัณฑ์ที่มีฉนวนกันความร้อนจากกระดาษแข็งรีไซเคิลได้ หรือการใช้ 3D Printing มาดีไซน์อาหารที่ง่ายต่อการกลืนของผู้สูงอายุ

6. กินเพื่อให้มีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น

10. Edible Beauty กินแล้วสวย ควบคุมน้ำหนักได้ เช่น นำคอลลาเจนมาเป็นส่วนผสมในอาหารและเครื่องดื่ม

 

คุณปรมา ทิพย์ธนทรัพย์ ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยคอนเซปต์แห่งอนาคต Baramizi Lab – finbiz by ttb


เปลี่ยนเทรนด์เป็นกลยุทธ์ธุรกิจ


จากเจาะลึกไปยังเทรนด์ธุรกิจเครื่องดื่ม อาหาร และสินค้าอุปโภคบริโภค ตลอดจนพฤติกรรมผู้บริโภคในอนาคต ที่ผู้บริโภคคนไทยให้การตอบรับ ซึ่งคุณปรมาแนะนำว่าสามารถนำไปวางเป็นกลยุทธ์ของธุรกิจได้มีดังนี้


  1. โฟกัสเรื่องสิ่งแวดล้อมหรือการใช้ซ้ำ ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาหรือกระบวนการในการผลิตควรออกแบบให้ตอบโจทย์เรื่องความยั่งยืน และสื่อสารให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าองค์กรธุรกิจหรือแบรนด์ตระหนักและทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง

  2. ตอบโจทย์ความต้องการด้านการดูแลสุขภาพ ควรพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เติมเต็มการดูแลสุขภาพองค์รวม และความสามารถในการวินิจฉัยโรคด้วยตนเอง เช่น Personalized Nutrition ที่มีโมเมนต์ของการตรวจประเมินสุขภาพด้วยตนเอง และมีคำแนะนำเกี่ยวกับอาหารที่ควรกินเพื่อสุขภาพที่ดี

  3. บอกเล่าเรื่องราวอันเป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่น ผ่านอาหารและเครื่องดื่ม และตอบโจทย์การกินให้มีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น

  4. ต่อยอดความครบวงจร ลองคิดต่ออีกนิดว่าจะต่อยอดสินค้าและบริการอย่างไรให้เกิดความครบวงจรกับชีวิตของลูกค้า เพื่อเพิ่มรายได้ที่มากขึ้น

  5. ใส่ใจบริหารมุมมองความคิดเห็นของสังคมผู้บริโภค โดยเฉพาะช่องทางออนไลน์ เพราะผู้บริโภคจะเลือกสินค้าและบริการโดยให้น้ำหนักกับมุมมองความคิดเห็นของสังคมหรือบุคคลที่เคยใช้ มากกว่าข้อมูลจากแบรนด์


จากข้อมูลเหล่านี้ finbiz by ttb คาดหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนธุรกิจเพื่อพิชิตใจผู้บริโภคคนไทย และเป็นประตูเปิดเข้าไปนั่งในหัวใจผู้บริโภคในตลาดโลกได้ไม่ยากนัก


ที่มา :

  • คุณปรมา ทิพย์ธนทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยคอนเซปต์แห่งอนาคต Baramizi Lab
    ในงานสัมมนา finbiz connect the future for growth เชื่อมเทรนด์ธุรกิจอนาคต สู่กลยุทธ์การเติบโตยั่งยืน โดย finbiz by ttb

finbiz by ttb

โครงการเสริมความรู้สู่การเป็น Smart SME ผ่านหลากหลายแพลตฟอร์ม
พร้อมองค์ความรู้ ที่ครบครัน จาก Partner ชั้นนำทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน
เพื่อให้ธุรกิจสามารถก้าวผ่านความท้าทายของโลกปัจจุบัน
ปรับตัวตอบโจทย์ยุคดิจิทัล พร้อมมุ่งสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน


อัปเดตทุกดิจิทัลเทรนด์ และความรู้ดี ๆ ที่ SME ไม่ควรพลาด
เพียงแอดไลน์ @ttbSME

ผลิตภัณฑ์แนะนำ

สินเชื่อธุรกิจ ทีทีบี เอสเอ็มอี สมาร์ทบิส

บัญชีธุรกิจ ทีทีบี เอสเอ็มอีวันแบงก์

บริการจ่ายเงินเดือน และดูแลสวัสดิการพนักงาน ทีทีบี เพย์โรลพลัส

ธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ สำหรับ SME


หน้าหลัก finbiz


ศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจ ทีทีบี 0 2643 7000


ศูนย์ธุรกิจต่างประเทศ ทีทีบี


finbiz team


คลิก รับข่าวสารทางไลน์

การใช้และจัดการคุกกี้

ธนาคารใช้คุกกี้ 3 ประเภท คือ 1) จำเป็นต่อการใช้งานของเว็บไซต์ 2) เพื่อประสบการณ์ที่ดีของท่าน และ 3) เพื่อการวิเคราะห์วิจัย โดยการใช้คุกกี้จะไม่สามารถระบุตัวตนของผู้ใช้งานได้ ท่านสามารถกดปุ่ม “อนุญาต” ให้ธนาคารเก็บคุกกี้การใช้งานของท่านในการกำหนดเป้าหมายทางการตลาดเพิ่มเติม เพื่อนำเสนอสิทธิประโยชน์ที่ตรงความต้องการของท่านมากที่สุด โปรดอ่านรายละเอียด นโยบายการใช้คุกกี้ ของธนาคาร

เกี่ยวกับ ทีทีบี

  • เกี่ยวกับ ทีทีบี
  • โครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการและผู้บริหาร
  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ
  • ห้องข่าว

ติดต่อธนาคาร

  • ติดต่อธนาคาร
  • ร่วมงานกับเรา
  • ค้นหาสาขา
  • รายงานเบาะแสการทุจริต
  • บริการอื่น ๆ
  • รายงานและการเปิดเผยข้อมูลคุณภาพการให้บริการ

เว็บไซต์อื่นที่เกี่ยวข้องกับธนาคาร

  • ttb business click
  • ttb business one
  • ttb consumer
  • ttb DRIVE app
  • ttb property


  • ttb spark
  • ttb supply chain solutions
  • ttb web fleet service
  • fai-fah by ttb
  • Punboon by ttb
  • Eastspring Asset Management

ติดตามข่าวสาร

  • social-media-fb-logo
  • social-media-line-logo
  • social-media-tiktok-logo
  • social-media-twitter-logo
  • social-media-linkedin-logo

สำนักงานใหญ่

  • 3000 ถนนพหลโยธิน แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

ติดตามข่าวสาร
  • fb-icon
  • line-icon
  • tiktok-icon
  • twitter-icon
  • linkedin-icon
  • เกี่ยวกับ ทีทีบี
  • โครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการและผู้บริหาร
  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ
  • ห้องข่าว
  • ติดต่อธนาคาร
  • ร่วมงานกับเรา
  • ค้นหาสาขา
  • รายงานเบาะแสการทุจริต
  • บริการอื่น ๆ
  • รายงานและการเปิดเผยข้อมูลคุณภาพการให้บริการ
  • ttb business click
  • ttb business one
  • ttb consumer
  • ttb DRIVE app
  • ttb property
  • ttb spark
  • ttb supply chain solutions
  • ttb web fleet service
  • fai-fah by ttb
  • Punboon by ttb
  • Eastspring Asset Management
© สงวนลิขสิทธิ์ 2568 ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
นโยบายความเป็นส่วนตัวลูกค้า
กลับสู่ด้านบน