external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

Suggest Keywords

  • ห้องข่าว
  • เกี่ยวกับ ทีทีบี
  • ความยั่งยืน
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อธนาคาร
ttb-logo
เมนู
  • ลูกค้าบุคคล
  • ลูกค้าเอสเอ็มอี
  • ลูกค้าธุรกิจ
  • ทีทีบี รีเซิร์ฟ
  • โปรโมชันและสิทธิพิเศษ
  • อัตราและค่าธรรมเนียม
  • ค้นหา
  • เข้าสู่ระบบ ttb business
    ttb business onettb business click
  • สินเชื่อเพื่อธุรกิจ
  • บัญชีและธุรกรรมภายในประเทศ
  • บัญชีและธุรกรรมระหว่างประเทศ
  • ดิจิทัลแบงก์กิ้ง และบริการอื่นๆ
  • finbiz เสริมความรู้ SME
  • สนใจสมัครผลิตภัณฑ์
ค้นหาจุดให้บริการ
หน้าหลัก ทีทีบี
ลูกค้าบุคคล
หน้าหลักลูกค้าบุคคล
เคล็ดลับการเงิน
บัญชีและบัตรเดบิต
บัตรเครดิต
สินเชื่อ
ประกัน
ลงทุน
บัญชีเงินเดือน ทีทีบี
ดิจิทัลแบงก์กิ้ง
บริการอื่น ๆ
ลูกค้าเอสเอ็มอี
หน้าหลักลูกค้าเอสเอ็มอี นิติบุคคล
สินเชื่อเพื่อธุรกิจ
บัญชีและธุรกรรมภายในประเทศ
บัญชีและธุรกรรมระหว่างประเทศ
ดิจิทัลแบงก์กิ้ง และบริการอื่นๆ
finbiz เสริมความรู้ SME
สนใจสมัครผลิตภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์ลูกค้าเอสเอ็มอี บุคคลธรรมดา
เข้าสู่ระบบ
ttb business one
ttb business click
ลูกค้าธุรกิจ
หน้าหลักลูกค้าธุรกิจ
สินเชื่อเพื่อธุรกิจ
บัญชีและธุรกรรมภายในประเทศ
บัญชีและธุรกรรมระหว่างประเทศ
ดิจิทัลแบงก์กิ้ง และบริการอื่นๆ
เข้าสู่ระบบ
ttb business one
ttb business click
ทีทีบี รีเซิร์ฟ
หน้าหลักทีทีบี รีเซิร์ฟ
เอกสิทธิ์พิเศษ
โปรโมชันพิเศษ
อัปเดตการลงทุน
โซลูชันการลงทุนและสกุลเงินต่างประเทศ
โปรโมชันและสิทธิพิเศษ
หน้าหลักโปรโมชันและสิทธิพิเศษ
บัญชี
บัตรเครดิต
สินเชื่อ
ประกัน
ลงทุน
บัญชีเงินเดือน ทีทีบี
ทีทีบี รีเซิร์ฟ
ttb rewards plus
อัตราและค่าธรรมเนียม
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
อัตราดอกเบี้ย
อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมสินเชื่อรถยนต์
ค่าธรรมเนียมอื่นๆ
Forward Points
ห้องข่าว
หน้าหลักห้องข่าว
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวลูกค้าธุรกิจ
ข่าวศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ
เกี่ยวกับ ทีทีบี
หน้าหลักเกี่ยวกับ ทีทีบี
รู้จัก ทีทีบี
ประวัติธนาคาร
ลักษณะประกอบธุรกิจ
โครงสร้างและการจัดการ
บรรษัทภิบาล
การบริหารความเสี่ยง
ข้อตกลงการใช้เว็บไซต์
ความยั่งยืน
หน้าหลักความยั่งยืน
แนวทางความยั่งยืน
ความยั่งยืนทางธุรกิจ
ความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม
ความยั่งยืนด้านสังคม
บรรษัทภิบาลและจริยธรรมทางธุรกิจ
นโยบายและการรายงาน
นักลงทุนสัมพันธ์
หน้าหลักนักลงทุนสัมพันธ์
ข้อมูลทางด้านการเงิน
ข้อมูลนำเสนอ
ข้อมูลหลักทรัพย์
ข้อมูลตราสารหนี้และอันดับความน่าเชื่อถือ
ข่าวแจ้งตลาดหลักทรัพย์และนักลงทุน
บริการผู้ถือหุ้น
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ
ร่วมงานกับเรา
หน้าหลักร่วมงานกับเรา
เหตุผลที่ควรร่วมงานกับ ttb
เราทำงานกันอย่างไร
ติดต่อเรา
นโยบายความเป็นส่วนตัวผู้สมัครงาน
ตำแหน่งที่เปิดรับสมัคร
ติดต่อธนาคาร

ก้าวข้ามสถานการณ์ปรับธุรกิจด้วยแนวคิด LEAN

6 ส.ค. 2564

อย่างที่ทุกท่านทราบกันดีว่า ต้นปี 2021 ที่พึ่งผ่านมาไทยเราได้พบกับสถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่ ซึ่งข้อมูลจากศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ได้ประเมินผลกระทบของสถานการณ์ โควิด-19 ต่อภาคการค้าและภาคการท่องเที่ยวในไตรมาสแรกปี 2564 พบว่าในภาพรวมไทยมีสัดส่วนการพึ่งพิงภาคการค้าและการท่องเที่ยว 22% ต่อ GPP รวมทั้งประเทศ และมีการจ้างงานรวมกัน 6.9 ล้านคน ซึ่งคาดว่าผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 จะทำให้รายได้จากภาคการค้า และการท่องเที่ยวลดลงรวมกันกว่า 1.4 แสนล้านบาท ซึ่งในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 5 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด มีสัดส่วนการพึ่งพิงภาคการค้าและการท่องเที่ยวเป็นอันดับต้น ๆ ซึ่งรวมเป็นผลกระทบกว่า 20,000 ล้านบาท ยังไม่รวมถึงกรุงเทพมหานครที่เป็นเมืองหลวงแม้ไม่ได้เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด แต่คาดว่าจะได้รับผลกระทบราว 81,424 ล้านบาท และถึงแม้ว่าภาคการค้าและท่องเที่ยวจะได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แต่สำหรับภาพรวมยังคงคาดการณ์ว่า GDP ยังมีโอกาสเติบโตขึ้น 2.4% จากปีที่แล้ว

สำหรับครั้งนี้แม้ยังไม่มีการล็อกดาวน์เช่นต้นปีที่แล้ว แต่ผลพวงของโควิด-19 ก็อาจส่งผลต่อธุรกิจของทุกท่านไม่มากก็น้อย ซึ่งทีทีบี ขอนำประสบการณ์ตรงจากทั้งกูรู และผู้ประกอบการตัวจริงที่สามารถข้ามผ่านสถานการณ์โควิด-19 ระลอกที่แล้วมาแบ่งปันไว้อีกครั้ง เพื่อให้ผู้ประกอบสามารถใช้เป็นแนวคิดเพื่อรับมือกับโควิด-19 ระลอกใหม่นี้ โดยได้สรุปแนวคิดแบ่งออกมาเป็น 5 สิ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึง ทั้งนี้ไม่เพียงเพื่อรับมือกับโควิด-19 เท่านั้น แต่ยังสามารถปรับใช้เพื่อรับมือกับหลาย ๆ สถานการณ์ไม่ปกติที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตอีกด้วย


5 สิ่งต้องคิด เพื่อก้าวต่อจากโควิด-19

จากความเห็นของผู้ประกอบการที่มาร่วมแบ่งปันกันพบว่าในสถานการณ์ไม่ปกติเช่นนี้ มี 5 สิ่งที่จะต้องคำนึงถึง ดังนี้


1. ปรับตัวให้ไว พร้อมรับทุกสถานการณ์ แบ่งออกเป็น

a. การปรับตัวระยะสั้น เช่น การบริหารจัดการสต็อกให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าปัจจุบัน การนำของที่มีมาดัดแปลงให้เข้ากับสถานการณ์ เพื่อให้ธุรกิจมีรายได้
b. การปรับตัวระยะยาว เป็นการพิจารณาสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น พร้อมวางแผนธุรกิจ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือในอนาคต
ซึ่งส่วนใหญ่ตอนนี้คิดว่าการปรับตัวระยะสั้น น่าจะดีกันขึ้นมากแล้ว แต่การปรับตัวระยะยาว ยังต้องขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละบริษัทด้วย


2. เพิ่มช่องทางการขายกระจายความเสี่ยง

หาช่องทางอื่นที่จะช่วยเพิ่มการขาย พิจารณาการทำธุรกิจที่สามารถทำรายได้ตั้งแต่ต้นทาง ไปถึงปลายทาง หรือขยายช่องทางอื่นเพิ่มเติม ซึ่งขณะนี้ ทุกท่านคงเข้าสู่ตลาดออนไลน์กันเกือบหมดแล้ว โดยการเข้าสู่ตลาดออนไลน์เป็นเพียงวิธีการเท่านั้น ส่วนการจะใช้เป็นช่องทางการขายหลักหรือไม่ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ในการทำธุรกิจของท่าน


3. จริงใจต่อพนักงาน คู่ค้า และลูกค้า พัฒนาศักยภาพให้หลายทักษะ

ในหลายองค์การพบว่า การเปิดเผยสถานการณ์ที่เกิดขึ้นให้กับพนักงานทำให้ได้รับความร่วมมือกลับมาเกินคาด และหลายครั้งยังสามารถดึงศักยภาพของพนักงานในด้านอื่น ๆ ออกมาให้สามารถทำงานได้ Multi skill มากขึ้น ส่วนสำหรับคู่ค้าจะต้องมีการสื่อสารที่ชัดเจน เพื่อให้ซัพพลายเชนมีความราบรื่น และหากมีส่วนที่กระทบกับสินค้าและบริการ จะต้องแจ้งให้กับลูกค้าได้ทราบ เพื่อให้ไม่เกิดความคาดหวังที่คลาดเคลื่อนกับความเป็นจริง


4. คำนึงถึงเงินทุนหมุนเวียนสำรอง

การหาแหล่งเงินทุนสำรองยามคับขัน เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยประคองธุรกิจไว้ได้ จึงต้องติดตามข่าวสารทั้งจากภาครัฐ และธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ ซึ่งในระลอกใหม่นี้ก็ยังคงมีการช่วยเหลืออยู่อย่างต่อเนื่อง


5. มุมมองเชิงบวก

ท้ายที่สุดผู้ประกอบการและกูรูที่มาแลกเปลี่ยนความคิดกับเรา พบว่าจิตใจที่เข้มแข็งสามารถพลิกมุมมองและดึงศักยภาพของผู้บริหาร ทีมงาน รวมถึงเป็นขวัญกำลังใจให้พนักงานพร้อมเดินไปกับองค์กรอีกด้วย

นอกจาก 5 แนวคิดข้างต้นที่จะช่วยให้ธุรกิจผ่านพ้นจากสถานการณ์ที่ไม่ปกติไปได้ด้วยดีแล้ว เราจะขอชวนให้ผู้ประกอบการลองมองย้อนกลับมาสร้างองค์กรให้แข็งแรง และมีประสิทธิภาพ เพื่อพร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ โดยการนำแนวคิด LEAN มาเป็นพื้นฐานในการบริหารจัดการธุรกิจ เพื่อให้องค์กรเกิดประสิทธิภาพสูงสุด อันจะเป็นการสร้างพื้นฐานที่แข็งแรงให้กับธุรกิจในระยะยาว ไม่ว่าจะเผชิญกับสถานการณ์ใด ๆ


LEAN คืออะไร ทำไมต้อง LEAN?

ในสถานการณ์เช่นนี้ หลายธุรกิจต้องเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว พฤติกรรมผู้บริโภคที่คาดเดาได้ยาก รวมไปถึงสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น โควิด-19 นี้ ด้วยเหตุต่าง ๆ นี้เองแม้กระทั่งองค์กรใหญ่ระดับโลกยังสามารถถูกกลืนหายไปจากตลาด เพราะปรับตัวกับกระแสความเปลี่ยนแปลงไม่ทัน ถือเป็นสัญญาณเตือนให้ผู้ประกอบการที่คิดจะ “อยู่รอด” ต้องกล้าที่จะปรับเปลี่ยนทัศนคติ สลัดภาพความสำเร็จเก่า ๆ แล้วเรียนรู้ที่จะปรับตัว และปรับปรุงวิธีการทำงาน เพื่อสร้างโอกาสให้ธุรกิจอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน

LEAN แปลตรงตัว ก็คือความเพรียวกระชับ ถ้าเป็นคนก็จะเป็นคนที่ สมส่วน กระฉับกระเฉง ไร้ไขมันส่วนเกิน ดังนั้นเมื่อเป็นธุรกิจ จึงเป็นธุรกิจที่ “ไร้ส่วนเกิน” ในทุก ๆ กระบวนการ ทั้งภาคการผลิต ภาคการบริการ หรือแม้กระทั่งภาคการบริหาร ทั้งการบริหารคนและการบริหารองค์กร ทำให้เป็นธุรกิจมีประสิทธิภาพสูงสุด สามารถปรับตัว ตอบสนองความต้องการของตลาดได้เป็นอย่างดี

การนำแนวคิด LEAN มาใช้ในธุรกิจนั้น อาศัยเทคนิคสำคัญที่ช่วยให้กระบวนการต่าง ๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการกำจัดความสูญเปล่าและกระบวนการที่ไม่จำเป็นออกไป ทำให้ทำงานได้เร็วขึ้น ของเสียลดลง ส่งผลให้มีต้นทุนที่ต่ำลง กำไรเพิ่มขึ้น และสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ตรงจุด


ยกตัวอย่าง การนำแนวคิดแบบ LEAN ง่าย ๆ มาปรับใช้ในธุรกิจ เช่น การปรับผังการทำงาน เพื่อให้ลดระยะเวลาในการเดินระหว่าง Station ทำให้พนักงานใช้เวลาทำงานสั้นลง หรือผลผลิตเพิ่มมากขึ้นในเวลาเท่าเดิม พนักงานไม่ต้องทำ OT ส่งผลให้มีประสิทธิภาพในงาน และมีต้นทุนที่ลดลง

Lean Process Before and After
รูปประกอบ Spaghetti Diagram ก่อนปรับปรุง และหลังปรับปรุง


LEAN จึงเป็นการมองที่ผลงานรวมขององค์กรอย่างยั่งยืน มุ่งไปที่การทำงานที่มีคุณค่า และรักษาไว้ซึ่งคุณค่านั้น โดยอาศัยการปรับปรุง และเฝ้าบำรุงอย่างสม่ำเสมอ โดยการผสมผสานของแนวคิด วิธีการในการทำงาน กระทั่งทำให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร และพร้อมที่จะพัฒนาศักยภาพของพนักงานในทุกระดับ ให้องค์กรมีแนวคิดแบบ LEAN (LEAN Thinking) ดังนั้นไม่ว่าจะเจอสถานการณ์รูปแบบใด ธุรกิจก็จะสามารถผ่านพ้นไปได้ และพร้อมที่จะเติบโตอย่างยั่งยืน

LEAN Supply Chain by ttb โครงการเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อผู้ประกอบการโดยทีทีบี ขอเป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยเติบโตอย่างยั่งยืน


อ้างอิง : ttb analytic, LEAN Supply chain by ttb


ผลิตภัณฑ์แนะนำ

สินเชื่อธุรกิจ ทีทีบี เอสเอ็มอี สมาร์ทบิส

บัญชีธุรกิจ ทีทีบี เอสเอ็มอีวันแบงก์

บริการจ่ายเงินเดือน และดูแลสวัสดิการพนักงาน ทีทีบี เพย์โรลพลัส

ธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ สำหรับ SME


หน้าหลัก finbiz


ศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจ ทีทีบี 0 2643 7000


ศูนย์ธุรกิจต่างประเทศ ทีทีบี


finbiz team


คลิก รับข่าวสารทางไลน์

การใช้และจัดการคุกกี้

ธนาคารใช้คุกกี้ 3 ประเภท คือ 1) จำเป็นต่อการใช้งานของเว็บไซต์ 2) เพื่อประสบการณ์ที่ดีของท่าน และ 3) เพื่อการวิเคราะห์วิจัย โดยการใช้คุกกี้จะไม่สามารถระบุตัวตนของผู้ใช้งานได้ ท่านสามารถกดปุ่ม “อนุญาต” ให้ธนาคารเก็บคุกกี้การใช้งานของท่านในการกำหนดเป้าหมายทางการตลาดเพิ่มเติม เพื่อนำเสนอสิทธิประโยชน์ที่ตรงความต้องการของท่านมากที่สุด โปรดอ่านรายละเอียด นโยบายการใช้คุกกี้ ของธนาคาร

เกี่ยวกับ ทีทีบี

  • เกี่ยวกับ ทีทีบี
  • โครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการและผู้บริหาร
  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ
  • ห้องข่าว

ติดต่อธนาคาร

  • ติดต่อธนาคาร
  • ร่วมงานกับเรา
  • ค้นหาสาขา
  • รายงานเบาะแสการทุจริต
  • บริการอื่น ๆ
  • รายงานและการเปิดเผยข้อมูลคุณภาพการให้บริการ

เว็บไซต์อื่นที่เกี่ยวข้องกับธนาคาร

  • ttb business click
  • ttb business one
  • ttb consumer
  • ttb DRIVE app
  • ttb property


  • ttb spark
  • ttb supply chain solutions
  • ttb web fleet service
  • fai-fah by ttb
  • Punboon by ttb
  • Eastspring Asset Management

ติดตามข่าวสาร

  • social-media-fb-logo
  • social-media-line-logo
  • social-media-tiktok-logo
  • social-media-twitter-logo
  • social-media-linkedin-logo

สำนักงานใหญ่

  • 3000 ถนนพหลโยธิน แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

ติดตามข่าวสาร
  • fb-icon
  • line-icon
  • tiktok-icon
  • twitter-icon
  • linkedin-icon
  • เกี่ยวกับ ทีทีบี
  • โครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการและผู้บริหาร
  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ
  • ห้องข่าว
  • ติดต่อธนาคาร
  • ร่วมงานกับเรา
  • ค้นหาสาขา
  • รายงานเบาะแสการทุจริต
  • บริการอื่น ๆ
  • รายงานและการเปิดเผยข้อมูลคุณภาพการให้บริการ
  • ttb business click
  • ttb business one
  • ttb consumer
  • ttb DRIVE app
  • ttb property
  • ttb spark
  • ttb supply chain solutions
  • ttb web fleet service
  • fai-fah by ttb
  • Punboon by ttb
  • Eastspring Asset Management
© สงวนลิขสิทธิ์ 2568 ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
นโยบายความเป็นส่วนตัวลูกค้า
กลับสู่ด้านบน