external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

Suggest Keywords

  • ห้องข่าว
  • เกี่ยวกับ ทีทีบี
  • ความยั่งยืน
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อธนาคาร
ttb-logo
เมนู
  • ลูกค้าบุคคล
  • ลูกค้าเอสเอ็มอี
  • ลูกค้าธุรกิจ
  • ทีทีบี รีเซิร์ฟ
  • โปรโมชันและสิทธิพิเศษ
  • อัตราและค่าธรรมเนียม
  • ค้นหา
  • เข้าสู่ระบบ ttb business
    ttb business onettb business click
  • สินเชื่อเพื่อธุรกิจ
  • บัญชีและธุรกรรมภายในประเทศ
  • บัญชีและธุรกรรมระหว่างประเทศ
  • ดิจิทัลแบงก์กิ้ง และบริการอื่นๆ
  • finbiz เสริมความรู้ SME
  • สนใจสมัครผลิตภัณฑ์
ค้นหาจุดให้บริการ
หน้าหลัก ทีทีบี
ลูกค้าบุคคล
หน้าหลักลูกค้าบุคคล
เคล็ดลับการเงิน
บัญชีและบัตรเดบิต
บัตรเครดิต
สินเชื่อ
ประกัน
ลงทุน
บัญชีเงินเดือน ทีทีบี
ดิจิทัลแบงก์กิ้ง
บริการอื่น ๆ
ลูกค้าเอสเอ็มอี
หน้าหลักลูกค้าเอสเอ็มอี นิติบุคคล
สินเชื่อเพื่อธุรกิจ
บัญชีและธุรกรรมภายในประเทศ
บัญชีและธุรกรรมระหว่างประเทศ
ดิจิทัลแบงก์กิ้ง และบริการอื่นๆ
finbiz เสริมความรู้ SME
สนใจสมัครผลิตภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์ลูกค้าเอสเอ็มอี บุคคลธรรมดา
เข้าสู่ระบบ
ttb business one
ttb business click
ลูกค้าธุรกิจ
หน้าหลักลูกค้าธุรกิจ
สินเชื่อเพื่อธุรกิจ
บัญชีและธุรกรรมภายในประเทศ
บัญชีและธุรกรรมระหว่างประเทศ
ดิจิทัลแบงก์กิ้ง และบริการอื่นๆ
เข้าสู่ระบบ
ttb business one
ttb business click
ทีทีบี รีเซิร์ฟ
หน้าหลักทีทีบี รีเซิร์ฟ
เอกสิทธิ์พิเศษ
โปรโมชันพิเศษ
อัปเดตการลงทุน
โซลูชันการลงทุนและสกุลเงินต่างประเทศ
โปรโมชันและสิทธิพิเศษ
หน้าหลักโปรโมชันและสิทธิพิเศษ
บัญชี
บัตรเครดิต
สินเชื่อ
ประกัน
ลงทุน
บัญชีเงินเดือน ทีทีบี
ทีทีบี รีเซิร์ฟ
ttb rewards plus
อัตราและค่าธรรมเนียม
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
อัตราดอกเบี้ย
อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมสินเชื่อรถยนต์
ค่าธรรมเนียมอื่นๆ
Forward Points
ห้องข่าว
หน้าหลักห้องข่าว
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวลูกค้าธุรกิจ
ข่าวศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ
เกี่ยวกับ ทีทีบี
หน้าหลักเกี่ยวกับ ทีทีบี
รู้จัก ทีทีบี
ประวัติธนาคาร
ลักษณะประกอบธุรกิจ
โครงสร้างและการจัดการ
บรรษัทภิบาล
การบริหารความเสี่ยง
ข้อตกลงการใช้เว็บไซต์
ความยั่งยืน
หน้าหลักความยั่งยืน
แนวทางความยั่งยืน
ความยั่งยืนทางธุรกิจ
ความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม
ความยั่งยืนด้านสังคม
บรรษัทภิบาลและจริยธรรมทางธุรกิจ
นโยบายและการรายงาน
นักลงทุนสัมพันธ์
หน้าหลักนักลงทุนสัมพันธ์
ข้อมูลทางด้านการเงิน
ข้อมูลนำเสนอ
ข้อมูลหลักทรัพย์
ข้อมูลตราสารหนี้และอันดับความน่าเชื่อถือ
ข่าวแจ้งตลาดหลักทรัพย์และนักลงทุน
บริการผู้ถือหุ้น
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ
ร่วมงานกับเรา
หน้าหลักร่วมงานกับเรา
เหตุผลที่ควรร่วมงานกับ ttb
เราทำงานกันอย่างไร
ติดต่อเรา
นโยบายความเป็นส่วนตัวผู้สมัครงาน
ตำแหน่งที่เปิดรับสมัคร
ติดต่อธนาคาร

เรื่องของ “ภาษี” ที่ผู้ประกอบการ SME “ต้องรู้”

22 มิ.ย. 2566

 

เคุณถนอม เกตุเอม ผู้เชี่ยวชาญเรื่องความรู้ภาษีชื่อดัง และ เจ้าของเพจ TAXBugnoms

คุณถนอม เกตุเอม ผู้เชี่ยวชาญเรื่องความรู้ภาษีชื่อดัง และ เจ้าของเพจ TAXBugnoms

 

เรื่องของ ภาษี ที่ผู้ประกอบการ SME  ต้องรู้ ต่อยอดธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน


เป็นปกติอยู่แล้วที่ธุรกิจควรจะโฟกัส เงินสด และกำไร ก่อนเป็นสำคัญ แต่ในมุมของภาษีแล้ว ธุรกิจควรที่จะวางแผน “ลดภาษี” โดยที่แน่ใจว่า “ไม่มีความเสี่ยง” ที่จะถูกตรวจสอบและเสียภาษีย้อนหลัง เพราะหากเกิดข้อผิดพลาดใด ๆ ก็ตาม ภาษีที่ผู้ประกอบการลดได้วันนี้ อาจเป็นระเบิดเวลาในวันหน้า

 

เรื่องของ ภาษี ที่ผู้ประกอบการ SME  ต้องรู้ ต่อยอดธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน


ดังนั้นเทคนิคที่จะช่วยลดภาษีโดยไม่มีความเสี่ยงในด้านของการจัดการภาษี ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนกิจการเป็นบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนในไทย จะต้องจัดการเรื่องปัญหา “รายจ่ายต้องห้าม” และหาช่องทางในการสร้าง “รายจ่ายหักได้เพิ่ม”

 

เรื่องของ ภาษี ที่ผู้ประกอบการ SME  ต้องรู้ ต่อยอดธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน


รายจ่ายต้องห้าม คือ อะไร


รายจ่ายต้องห้าม คือ รายการที่บัญชีลงบันทึกไว้ แต่ทางภาษีไม่ยอมให้เป็นค่าใช้จ่าย อันได้แก่

  1. ค่าใช้จ่ายที่ ไม่มีหลักฐานการพิสูจน์ว่ามีผู้รับเงิน
  2. ค่าใช้จ่ายส่วนตัว ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของธุรกิจ
  3. ค่าใช้จ่ายที่กฎหมายห้ามไว้ในแต่ละเรื่อง

    ยกตัวอย่างเช่น ค่ารับรอง โดยค่ารับรองส่วนนี้เป็นส่วนที่ผู้ประกอบการมักจะพลาด และทำให้สรรพากรมีความสงสัยในรายได้ ค่ารับรองที่เกินโควตานั้น มักเกิดจากการต้องการเพิ่มรายจ่ายหักได้เพิ่ม แต่ไม่ได้คำนึงถึงความสัมพันธ์กับรายได้ แม้ว่าการเลี้ยงรับรองลูกค้าจะสามารถใช้เป็นรายจ่ายทางภาษีได้ แต่ทางกฎหมายจะคิดในอัตรา 0.3% ของรายได้หรือทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว (ตัวที่มากกว่า) และต้องไม่เกิน 10 ล้านบาท ซึ่งโดยปกติบริษัทจะมียอดขายมากกว่าทุน เราจึงมักจะใช้ยอดขายเป็นเกณฑ์ในการคำนวณ

    หากสมมติว่าบริษัทมียอดขาย 1 ล้านบาท จะใช้โควตาเลี้ยงรับรองที่เป็นรายจ่ายทางภาษีได้แค่ 3,000 บาทเท่านั้น หากเกิดความผิดพลาดขึ้น เช่น นำไปลดภาษีเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด อาจจะถูกตรวจสอบรายได้ และความสัมพันธ์ของรายจ่าย ซึ่งอาจส่งผลกระทบให้ต้องเสียภาษีมากขึ้น

 

เรื่องของ ภาษี ที่ผู้ประกอบการ SME  ต้องรู้ ต่อยอดธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน


วางแผนเพิ่ม “รายจ่ายหักได้เพิ่ม”


โดยรายจ่ายหักได้เพิ่ม นั้นหมายถึง ในทางบัญชีลงเป็นรายจ่ายไปแล้ว แต่ทางภาษีให้สิทธิประโยชน์ให้รายจ่ายเหล่านี้ สามารถเป็นรายจ่ายได้เพิ่มขึ้นอีก เพื่อใช้ในการคำนวณภาษีเงินได้ของธุรกิจ รายจ่ายเหล่านี้มักเกี่ยวข้องกับรายจ่ายที่รัฐต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือสนับสนุนในช่วงเวลานั้นๆ

 

เรื่องของ ภาษี ที่ผู้ประกอบการ SME  ต้องรู้ ต่อยอดธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน


โดยปกติมักจะเป็นการกระตุ้นให้เกิด การลงทุน การว่าจ้าง การบริจาค หรือการกระทำเพื่อให้เกิดผลกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและมีผลกระทบต่อประเทศ โดยในช่วงนี้เรื่องที่รัฐกระตุ้นที่สำคัญ ได้แก่ เรื่องที่เกี่ยวกับการลงทุนพัฒนาต่าง ๆ อาทิ


  1. การพัฒนาด้านเทคโนโลยี

    1. การลงทุนระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt รัฐให้สิทธิ์เป็นค่าใช้จ่าย 2 เท่า ตั้งแต่ 1 มกราคม 2023 - 31 ธันวาคม 2025

    2. ลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับการหักภาษีผ่านระบบ e-wht ซึ่งในปัจจุบันลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้กับผู้รับเงินในกรณีที่ต้องหัก 5% 3% และ 2% ให้เหลือเพียง 1% ในช่วงปี 1 มกราคม 2023 - 31 ธันวาคม 2025

      โดยการลงทุนในการพัฒนาระบบต่างๆเหล่านี้ ผู้ประกอบการจะต้องเทียบกับประโยชน์ที่จะได้รับ เช่น ต้นทุนในการใช้บริการที่เพิ่มขึ้น เปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายที่เราประหยัดได้ เช่น ค่าใช้จ่ายกับการจัดการเอกสาร รวมถึงบุคลากรที่ต้องมาจัดการในด้านนี้ และผลประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับเพิ่มเติมจากการใช้ระบบนี้


  2. นโยบายภาครัฐ อย่างในช่วงนี้รัฐบาลขับเคลื่อนเศรษฐกิจควบคู่กับการรักษาสมดุลสิ่งแวดล้อมตามแนวนโยบายเศรษฐกิจ BCG เช่น มาตรการกระตุ้นการใช้พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ รายจ่ายจากการซื้อผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากโรงงานที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและได้รับการรับรองผลิตภัณฑ์จากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสามารถหักลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็น 1.25 เท่าของค่าใช้จ่ายที่จ่ายไป ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2023 - 31 ธันวาคม 2024

  3. การพัฒนาบุคคล รัฐพยายามอุดหนุนและช่วยแรงงานให้มีการพัฒนา และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ตอบโจทย์ความยั่งยืน โดยรายจ่ายจากการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อย่างการจัดสัมมนานอกสถานที่เพื่อให้ความรู้กับพนักงานในช่วงเวลาที่ผ่านมา หรือส่งพนักงานเข้าอบรมตามหน่วยงานที่กฎหมายกำหนดไว้ รายจ่ายส่วนนี้จะไม่ถือเป็นเงินได้ของพนักงาน และยังเป็นรายจ่ายที่สามารถใช้ได้ถึง 2 เท่าในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลของธุรกิจ


โดยรายการรายจ่ายหักได้เพิ่มนั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละปี ผู้ประกอบการจะต้องติดตามข่าวสารประกาศจากทางภาครัฐ และศึกษาได้จากรายการใบแนบรายได้ที่ได้รับการยกเว้น หรือ รายจ่ายที่มีสิทธิ์หักได้เพิ่มขึ้น ใน ภงด. 50 ของแต่ละปี


อย่างไรก็ตาม รายจ่ายที่หักได้เพิ่มที่เลือกใช้นั้น ควรจะต้องพิจารณา 3 สิ่งนี้ประกอบกัน นั่นคือ กำไร สภาพคล่อง และความจำเป็นของธุรกิจ

 

เรื่องของ ภาษี ที่ผู้ประกอบการ SME  ต้องรู้ ต่อยอดธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน


สุดท้าย หากผู้ประกอบการสามารถจัดการภาษีได้ดี ย่อมจะมีกำไรเพิ่มจากการประหยัดภาษีได้ และจะต้องไม่เป็นระเบิดเวลาให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง ผู้ประกอบการจึงต้องจัดการอย่างรอบคอบร่วมกับผู้ดูแลด้านบัญชีของบริษัท อัปเดตความรู้ด้านภาษีอยู่เสมอ หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านบัญชี เพื่อให้สามารถปรับปรุงกำไรทางบัญชี ให้เป็นกำไรทางภาษี ได้อย่างถูกต้องปลอดภัยนั่นเอง


จัดการเรื่องภาษีได้ง่ายขึ้น เมื่อมีเครื่องมือทางการเงินที่ครบวงจร


ในการทำธุรกรรมทางการเงิน คงจะดีไม่น้อย หากสามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา ว่าธุรกิจได้รับจ่ายไปกับอะไรบ้าง หรือมีรายการทางการเงินอย่างไรบ้าง ทีทีบี บิสสิเนสวัน (ttb business one) ธนาคารดิจิทัลเพื่อโลกธุรกิจ สามารถตอบโจทย์ได้อย่างครบวงจรเลยทีเดียว เพราะเป็นระบบที่สร้างมาเพื่อเป็นผู้ช่วยสำหรับผู้ประกอบการโดยเฉพาะที่แก้ปัญหาทุก pain point ที่ผู้ประกอบการเคยเจอ


ttb business one ใช้งานได้บนทุกอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็น เครื่อง Desktop Tablet หรือบนมือถือสมาร์ทโฟน ที่ตอบโจทย์ทุกเรื่องการเงิน ช่วยลดต้นทุนให้ธุรกิจ SME โดยมีจุดเด่น เช่น


ช่วยจัดการกับภาษีได้ง่ายขึ้น ทุกรายการการโอนสามารถใส่รายละเอียดของรายการภาษีหัก ณ ที่จ่ายได้และธนาคารจะนำส่งข้อมูล e withholding tax ของลูกค้าให้กับกรมสรรพากรโดยอัตโนมัติ สะดวก ง่าย ประหยัดเวลา


Smart Dashboard เห็นภาพรวมการเงินได้ครบถ้วนและรวดเร็ว SME จะเห็นภาพรวมการเงินได้ครบถ้วนและรวดเร็ว เช่น ยอดขายเป็นอย่างไร มีกระแสเงินสดหมุนเวียนเท่าไร มีวงเงิน OD (สินเชื่อเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี) เหลือในธนาคารเท่าไร ที่แสดงผลอยู่ในรูปแบบของกราฟที่สวยงาม ดูง่าย สามารถเลือกช่วงเวลาที่ต้องการดูได้ เห็นการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงของภาพรวมได้ง่ายๆเพียงแค่ login


ไม่มีค่าธรรมเนียมในการโอนจ่ายเงินเดือน สามารถทำธุรกรรม และอนุมัติรายการ ได้ทุกที่ทุกเวลา บนมือถือ ด้วยฟีเจอร์ Payroll on mobile รวมถึงมี e-Slip หลังการโอนสำเร็จทุกรายการ และสามารถบันทึก e-Slip ลงสมาร์ทโฟนหรือส่งให้ผู้รับทางไลน์ หรืออีเมลได้ทันที


Smart Statement แสดงรายการข้อมูลธุรกรรมครบถ้วน เมื่อเข้ามาเช็คยอดการโอนเงินจะเห็นได้ทันที เช่น รับเงินโอนจากใครเพราะมีการออกแบบให้เห็น statement หลังโอน ทำให้เคลียร์บัญชีได้เร็ว ลดระยะเวลาสำหรับการทำธุรกรรมทางการเงิน และทำให้ธุรกิจ สะดวกคล่องตัว มีประสิทธิภาพมากขึ้น


Group Company View มองเห็นภาพรวมทั้งกลุ่มบริษัทได้ทุกบัญชี สำหรับ SME เมื่อมีหลายบริษัท ttb business one จึงรวมทุกบริษัทในกลุ่มไว้ในระบบเดียว จะทำให้เห็นแยกเป็นรายบริษัทเช่น บริษัทแม่มีเงินคงเหลือเท่าไร บริษัทลูกมีเงินเท่าไร


ความเข้าใจด้านภาษี และการตรวจสอบรายการการใช้จ่ายได้ทุกที่ทุกเวลา จะเป็นตัวช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถจัดการด้านภาษีได้ดีขึ้น และทำธุรกรรมทางการเงินอื่น ๆ ได้อย่างสะดวก ประหยัดขึ้นอีกด้วย


ที่มา :

  • งานสัมมนา “ttb SME พันธมิตรสู่ความสำเร็จ” โดย ทีเอ็มบีธนชาต และ หอการค้าจังหวัดต่าง ๆ ทั่วไทย

finbiz by ttb

โครงการเสริมความรู้สู่การเป็น Smart SME ผ่านหลากหลายแพลตฟอร์ม
พร้อมองค์ความรู้ ที่ครบครัน จาก Partner ชั้นนำทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน
เพื่อให้ธุรกิจสามารถก้าวผ่านความท้าทายของโลกปัจจุบัน
ปรับตัวตอบโจทย์ยุคดิจิทัล พร้อมมุ่งสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน


อัปเดตทุกดิจิทัลเทรนด์ และความรู้ดี ๆ ที่ SME ไม่ควรพลาด
เพียงแอดไลน์ @ttbSME


ผลิตภัณฑ์แนะนำ

สินเชื่อธุรกิจ ทีทีบี เอสเอ็มอี สมาร์ทบิส

บัญชีธุรกิจ ทีทีบี เอสเอ็มอีวันแบงก์

บริการจ่ายเงินเดือน และดูแลสวัสดิการพนักงาน ทีทีบี เพย์โรลพลัส

ธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ สำหรับ SME


หน้าหลัก finbiz


ศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจ ทีทีบี 0 2643 7000


ศูนย์ธุรกิจต่างประเทศ ทีทีบี


finbiz team


คลิก รับข่าวสารทางไลน์

การใช้และจัดการคุกกี้

ธนาคารใช้คุกกี้ 3 ประเภท คือ 1) จำเป็นต่อการใช้งานของเว็บไซต์ 2) เพื่อประสบการณ์ที่ดีของท่าน และ 3) เพื่อการวิเคราะห์วิจัย โดยการใช้คุกกี้จะไม่สามารถระบุตัวตนของผู้ใช้งานได้ ท่านสามารถกดปุ่ม “อนุญาต” ให้ธนาคารเก็บคุกกี้การใช้งานของท่านในการกำหนดเป้าหมายทางการตลาดเพิ่มเติม เพื่อนำเสนอสิทธิประโยชน์ที่ตรงความต้องการของท่านมากที่สุด โปรดอ่านรายละเอียด นโยบายการใช้คุกกี้ ของธนาคาร

เกี่ยวกับ ทีทีบี

  • เกี่ยวกับ ทีทีบี
  • โครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการและผู้บริหาร
  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ
  • ห้องข่าว

ติดต่อธนาคาร

  • ติดต่อธนาคาร
  • ร่วมงานกับเรา
  • ค้นหาสาขา
  • รายงานเบาะแสการทุจริต
  • บริการอื่น ๆ
  • รายงานและการเปิดเผยข้อมูลคุณภาพการให้บริการ

เว็บไซต์อื่นที่เกี่ยวข้องกับธนาคาร

  • ttb business click
  • ttb business one
  • ttb consumer
  • ttb DRIVE app
  • ttb property


  • ttb spark
  • ttb supply chain solutions
  • ttb web fleet service
  • fai-fah by ttb
  • Punboon by ttb
  • Eastspring Asset Management

ติดตามข่าวสาร

  • social-media-fb-logo
  • social-media-line-logo
  • social-media-tiktok-logo
  • social-media-twitter-logo
  • social-media-linkedin-logo

สำนักงานใหญ่

  • 3000 ถนนพหลโยธิน แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

ติดตามข่าวสาร
  • fb-icon
  • line-icon
  • tiktok-icon
  • twitter-icon
  • linkedin-icon
  • เกี่ยวกับ ทีทีบี
  • โครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการและผู้บริหาร
  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ
  • ห้องข่าว
  • ติดต่อธนาคาร
  • ร่วมงานกับเรา
  • ค้นหาสาขา
  • รายงานเบาะแสการทุจริต
  • บริการอื่น ๆ
  • รายงานและการเปิดเผยข้อมูลคุณภาพการให้บริการ
  • ttb business click
  • ttb business one
  • ttb consumer
  • ttb DRIVE app
  • ttb property
  • ttb spark
  • ttb supply chain solutions
  • ttb web fleet service
  • fai-fah by ttb
  • Punboon by ttb
  • Eastspring Asset Management
© สงวนลิขสิทธิ์ 2568 ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
นโยบายความเป็นส่วนตัวลูกค้า
กลับสู่ด้านบน