ในช่วงนี้ทุกท่านต้องเห็นแล้วว่า คำว่า “ESG” มีปรากฏหลายที่ และกำลังฮิตเป็นกระแสจริง ๆ แท้จริงแล้ว ESG คืออะไร เป็นกระแส หรือไม่ และทุกธุรกิจ ต้องทำจริงหรือไม่
ESG นั้นคือ แนวคิดการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน โดยประกอบด้วย 3 มิติ คือมิติของแนวทางการพัฒนาด้าน สิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และ หลักธรรมมาภิบาล (Governance) ซึ่งเป็นแนวคิดระดับโลกที่ธุรกิจทุกขนาดจะต้องให้ความสำคัญ เพื่อให้โลกของเราอยู่ต่อได้อย่างยั่งยืน และธุรกิจสามารถดำเนินต่อได้ในอนาคต
ESG คือแนวทางพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน แล้ว BCG คืออะไร
BCG (Bio-Circular-Green Economy) จัดเป็นวาระแห่งชาติไทย คือ โมเดลเศรษฐกิจแบบใหม่ที่บูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อสนับสนุนความได้เปรียบของประเทศไทยที่มีความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม โดยมุ่งเน้นกลุ่มธุรกิจการเกษตรและอาหาร สุขภาพและการแพทย์ พลังงาน วัสดุและชีวเคมีภัณฑ์ การท่องเที่ยว และธุรกิจที่เน้นความสร้างสรรค์ ซึ่งจะเห็นได้ว่า BCG จะใกล้เข้ามา เพราะเป็นโมเดลของไทยเราที่เหมาะกับประเทศที่มีการทำกสิกรรม ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการเพิ่มมูลค่า รวมไปถึงด้านการท่องเที่ยว
ทำธุรกิจต้องสนใจเรื่องรักษ์โลกขนาดนั้นเลยไหม
การรักษ์โลก นั้นไม่ได้หมายถึง สีเขียว ป่าไม้ แต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังหมายถึง สิ่งแวดล้อมในมิติต่างๆ เช่นด้านของสังคม ความเท่าเทียม เชื้อชาติศาสนา และความไม่อดยากของผู้คน ถึงแม้ความหมายจะกว้างอย่างนั้นแล้วก็ตาม ก็ยังคงมีคำถามจากผู้ประกอบการบางส่วนว่าหากการทำธุรกิจเปลี่ยนไปโฟกัสเรื่องของการรักษ์โลกแล้ว จะยังคงดำเนินธุรกิจให้เกิดกำไรนั้น อาจเป็นเรื่องยาก ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ที่ ESG มีความจำเป็นต้องโฟกัสและลงมือทำให้เร็วที่สุด เพราะหากไม่เริ่มตอนนี้ ในภายภาคหน้า อาจไปถึงจุดที่เป็นทางตันของธุรกิจ ด้วยเหตุผลดังนี้
- ความกดดันจากผู้มีส่วนกับธุรกิจ นักลงทุน หรือหุ้นส่วนต่าง ๆ จะให้ความสำคัญในส่วนนี้ด้วย รวมไปถึงซัพพลายเชน จะคาดหวังให้การประกอบธุรกิจทั้งซัพพลายเชนต้องคำนึงถึงเรื่องความยั่งยืน
- กฎระเบียบต่าง ๆ ในอนาคตอันใกล้นี้ ไทยกำลังจะมีภาษีคาร์บอน และในขณะนี้ก็อยู่ในระหว่างพิจารณา ทั้งนี้เพราะนานาอารยประเทศทั่วโลกมีกฎข้อนี้กันแล้ว หากไทยไม่ขยับตามก็จะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ดังนั้น เมื่อกฎระเบียบของไทยขยับตาม จะเป็นข้อที่บังคับผู้ประกอบการไปด้วย มิฉะนั้นแล้ว ก็จะขาดอำนาจในการแข่งขันเช่นกัน
- ความกดดันทางสังคม ปัจจุบัน ผู้คนให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมและคุณภาพด้านสังคมต่าง ๆ ซึ่ง แรงงานเองก็เช่นเดียวกัน ซึ่งแรงงานคุณภาพจะให้ความสนใจกับองค์กรที่ให้ความสำคัญด้านความยั่งยืน องค์กรที่เริ่มลงมือกับความยั่งยืน จะได้รับความสนใจจากแรงงานคุณภาพ ซึ่งจะสามารถดึงดูดพนังงานคุณภาพอันจะเป็นทรัพยากรขับเคลื่อนองค์กรที่สำคัญที่สุด
- สามารถสร้างมูลค่า ความน่าเชื่อถือให้กับองค์กร ทั้งนักลงทุน และพันธมิตร จะมั่นใจในองค์กรที่มีแนวทางการบริหารจัดการความยั่งยืนที่ชัดเจน สร้างความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจให้เกิดกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร
ลงมือเพื่อยั่งยืนคือ “โอกาส” แข่งขันทางธุรกิจ
นอกจากแรงผลักในด้านต่าง ๆ แล้ว การเริ่มลงมือทำอะไรที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน ถือเป็นโอกาสอันสำคัญ ที่ SME ต้องรีบเข้าไปมีส่วนร่วมในโอกาสนี้ให้เร็วที่สุด
- เป็นหนทางในลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว เช่น การติดตั้งอุปกรณ์เพื่อใช้ทรัพยากรหมุนเวียน ยกตัวอย่างพลังงานแสงอาทิตย์ การลงทุนในช่วงแรก อาจเป็นการลงทุนที่ดูเหมือนจะสูงสักหน่อย แต่ได้ผลระยะยาว ก็จะช่วยลดค่าไฟฟ้าไปได้มาก นอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายโดยตรง ยังเป็นการเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรอีกด้วย
- เพิ่มอำนาจการแข่งขัน เพิ่มความมั่นคงของซัพพลายเชน ยิ่งในกลุ่มที่มีการส่งออกไปยังต่างประเทศยิ่งเห็นได้ชัด เช่น ในยุโรปที่มีภาษีคาร์บอนแล้ว และกำลังจะบังคับใช้ CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) หรือการเก็บภาษีคาร์บอนก่อนเข้ายุโรป โดยจะเริ่มเร็ว ๆ นี้ หากหนึ่งในซัพพลายเชนยังมีคาร์บอนเกินกำหนด ก็มีโอกาสที่คู่ค่าอาจเปลี่ยนใจไปใช้สินค้าจากองค์กรอื่น เป็นต้น แต่หากได้เริ่มลงมือด้านความยั่งยืนแล้ว ก็เสมือนมีกุญแจที่จะไขประตูไปยังประเทศต่าง ๆ ที่มีกฎระเบียบใด ๆ ด้านความยั่งยืนได้
- ดึงดูดทรัพยากรมนุษย์ระดับพรสวรรค์ (Talent) ดังที่กล่าวไว้ขั้นต้น พนักงานคุณภาพจะให้ความสนใจเรื่องความรับผิดชอบต่อโลกขององค์กรอย่างมาก ดังนั้น เมื่อองค์กรมีการลงมือเพื่อความยั่งยืน ยิ่งมีโอกาสได้ Talent เข้ามาร่วมงาน
- ดึงดูดนักลงทุน นักลงทุนจะลงทุนกับองค์กรที่ได้ลงมือเรื่องความยั่งยืนไปแล้ว ไม่ใช่เพราะความนิยมส่วนตัว แต่นั่นหมายถึง มูลค่าขององค์กรที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย
- โอกาสในการสร้างนวัตกรรมและธุรกิจใหม่ ๆ การสร้างสรรค์เพื่อความยั่งยืนในหลายครั้งทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ และอาจแข็งแรงถึงขั้นสร้างธุรกิจใหม่ได้อีกด้วย
- เสริมภาพลักษณ์องค์กร ตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้า ตลอดจนเป็นหนทางพัฒนาสู่ธุรกิจที่ยั่งยืน จากทั้งหมดที่กล่าวมา ผู้คนให้ความสำคัญกับความยั่งยืนมากขึ้น การได้เริ่มลงมืออย่างจริงจังจะเสริมภาพลักษณ์ให้กับองค์กรอย่างมาก และยังสามารถครองใจลูกค้า รวมถึงพัฒนาต่อยอดได้อีกด้วย
ESG จึงต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้ เริ่มก่อนย่อมได้เปรียบ ซึ่งในสถานการณ์ปัจจุบันเราจะต้องเริ่มได้แล้ว ไม่ว่าในมิติใดมิติหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อม สังคม หรือ ธรรมาภิบาล โดยผู้นำองค์กรที่เห็นความสำคัญจะสามารถผลักดันองค์กรและผนวกแนวคิด ESG ได้โดยไม่ใช่เรื่องยาก
จะเริ่มเพื่อความยั่งยืน กำลังหนุน เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง
เริ่มต้นทำธุรกิจเพื่อความยั่งยืนก็ต้องมีการลงทุนที่ให้ผลลัพท์เชิงบวกกับสิ่งแวดล้อมในระยะยาว ttb ขอแนะนำ สินเชื่อเพื่อติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป ทีทีบี (ttb solar rooftop solution) ผลิตภัณฑ์สินเชื่อเงินกู้ระยะยาว เพื่อติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป ทีทีบี สนับสนุนเงินลงทุนเพื่อติดตั้งและบำรุงรักษาโซลาร์รูฟท็อป พร้อมด้วยพันธมิตรดูแลแบบครบวงจร เริ่มต้นจากช่วยจัดหาผู้ติดตั้งที่มีความชำนาญสูงและมีประสบการณ์ติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปให้กลุ่มธุรกิจชั้นนำในประเทศไทย โดยสินเชื่อเพื่อติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป ทีทีบี มีจุดเด่นดังนี้
- ประหยัดต้นทุน
ลดค่าใช้จ่ายค่าไฟในระยะยาว เพิ่มสภาพคล่องให้ธุรกิจ และไม่ต้องเสียค่าประเมินราคาหลักประกันแผงโซลาร์
- ประหยัดเวลาในการติดตั้ง สะดวก ไม่ยุ่งยาก
ด้วย ttb solar rooftop solution ที่พร้อมดูแลตั้งแต่ต้นจนจบ ตั้งแต่จัดหาผู้ติดตั้งที่มีความเชี่ยวชาญ จนถึงการขออนุญาตติดตั้ง โดยที่ลูกค้าไม่ต้องดำเนินการเอง
- มั่นใจได้
ผู้ติดตั้งจะมีการออกหนังสือค้ำประกันการผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับลูกค้า และธนาคารสนับสนุนค่าใช้จ่ายสำหรับค่าธรรมเนียมบำรุงรักษาล่วงหน้าตลอดระยะเวลาสินเชื่อ
- รับวงเงินกู้สูงสุด 100% ของมูลค่าการลงทุนแผงโซลาร์
ด้วยสินเชื่อที่ออกแบบมาเพื่อการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป โดยเฉพาะ พร้อมพันธมิตรมืออาชีพที่พร้อมให้คำแนะนำแบบครบวงจร การเริ่มต้นทำธุรกิจเพื่อความยั่งยืนจึงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
ที่มา :
- งานสัมมนา “ลงทุนเพื่อความยั่งยืน เริ่มต้นจากการสร้างคน” ttb
finbiz by ttb โครงการเสริมความรู้ธุรกิจ
“ครบ จบในที่เดียว ปรับใช้ได้ง่าย ต่อยอดได้จริง สู่การเป็น Smart SME”
ผ่านหลากหลายแพลตฟอร์ม พร้อมองค์ความรู้ที่ครบครัน จาก Partner ชั้นนำทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อให้ธุรกิจรับมือกับความเปลี่ยนแปลง พร้อมปรับตัวในยุคดิจิทัลและเติบโตอย่างยั่งยืน
อัปเดตทุกดิจิทัลเทรนด์ และความรู้ดี ๆ ที่ SME ไม่ควรพลาด
เพียงแอดไลน์ @ttbSME