external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

Suggest Keywords

  • ห้องข่าว
  • เกี่ยวกับ ทีทีบี
  • ความยั่งยืน
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อธนาคาร
ttb-logo
เมนู
  • ลูกค้าบุคคล
  • ลูกค้าเอสเอ็มอี
  • ลูกค้าธุรกิจ
  • ทีทีบี รีเซิร์ฟ
  • โปรโมชันและสิทธิพิเศษ
  • อัตราและค่าธรรมเนียม
  • ค้นหา
  • เข้าสู่ระบบ ttb business
    ttb business onettb business click
  • สินเชื่อเพื่อธุรกิจ
  • บัญชีและธุรกรรมภายในประเทศ
  • บัญชีและธุรกรรมระหว่างประเทศ
  • ดิจิทัลแบงก์กิ้ง และบริการอื่นๆ
  • finbiz เสริมความรู้ SME
  • สนใจสมัครผลิตภัณฑ์
ค้นหาจุดให้บริการ
หน้าหลัก ทีทีบี
ลูกค้าบุคคล
หน้าหลักลูกค้าบุคคล
เคล็ดลับการเงิน
บัญชีและบัตรเดบิต
บัตรเครดิต
สินเชื่อ
ประกัน
ลงทุน
บัญชีเงินเดือน ทีทีบี
ดิจิทัลแบงก์กิ้ง
บริการอื่น ๆ
ลูกค้าเอสเอ็มอี
หน้าหลักลูกค้าเอสเอ็มอี นิติบุคคล
สินเชื่อเพื่อธุรกิจ
บัญชีและธุรกรรมภายในประเทศ
บัญชีและธุรกรรมระหว่างประเทศ
ดิจิทัลแบงก์กิ้ง และบริการอื่นๆ
finbiz เสริมความรู้ SME
สนใจสมัครผลิตภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์ลูกค้าเอสเอ็มอี บุคคลธรรมดา
เข้าสู่ระบบ
ttb business one
ttb business click
ลูกค้าธุรกิจ
หน้าหลักลูกค้าธุรกิจ
สินเชื่อเพื่อธุรกิจ
บัญชีและธุรกรรมภายในประเทศ
บัญชีและธุรกรรมระหว่างประเทศ
ดิจิทัลแบงก์กิ้ง และบริการอื่นๆ
เข้าสู่ระบบ
ttb business one
ttb business click
ทีทีบี รีเซิร์ฟ
หน้าหลักทีทีบี รีเซิร์ฟ
เอกสิทธิ์พิเศษ
โปรโมชันพิเศษ
อัปเดตการลงทุน
โซลูชันการลงทุนและสกุลเงินต่างประเทศ
โปรโมชันและสิทธิพิเศษ
หน้าหลักโปรโมชันและสิทธิพิเศษ
บัญชี
บัตรเครดิต
สินเชื่อ
ประกัน
ลงทุน
บัญชีเงินเดือน ทีทีบี
ทีทีบี รีเซิร์ฟ
ttb rewards plus
อัตราและค่าธรรมเนียม
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
อัตราดอกเบี้ย
อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมสินเชื่อรถยนต์
ค่าธรรมเนียมอื่นๆ
Forward Points
ห้องข่าว
หน้าหลักห้องข่าว
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวลูกค้าธุรกิจ
ข่าวศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ
เกี่ยวกับ ทีทีบี
หน้าหลักเกี่ยวกับ ทีทีบี
รู้จัก ทีทีบี
ประวัติธนาคาร
ลักษณะประกอบธุรกิจ
โครงสร้างและการจัดการ
บรรษัทภิบาล
การบริหารความเสี่ยง
ข้อตกลงการใช้เว็บไซต์
ความยั่งยืน
หน้าหลักความยั่งยืน
แนวทางความยั่งยืน
ความยั่งยืนทางธุรกิจ
ความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม
ความยั่งยืนด้านสังคม
บรรษัทภิบาลและจริยธรรมทางธุรกิจ
นโยบายและการรายงาน
นักลงทุนสัมพันธ์
หน้าหลักนักลงทุนสัมพันธ์
ข้อมูลทางด้านการเงิน
ข้อมูลนำเสนอ
ข้อมูลหลักทรัพย์
ข้อมูลตราสารหนี้และอันดับความน่าเชื่อถือ
ข่าวแจ้งตลาดหลักทรัพย์และนักลงทุน
บริการผู้ถือหุ้น
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ
ร่วมงานกับเรา
หน้าหลักร่วมงานกับเรา
เหตุผลที่ควรร่วมงานกับ ttb
เราทำงานกันอย่างไร
ติดต่อเรา
นโยบายความเป็นส่วนตัวผู้สมัครงาน
ตำแหน่งที่เปิดรับสมัคร
ติดต่อธนาคาร

ESG สำหรับ SME ต่อยอดธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน

6 ก.ย. 2566

 

ESG สำหรับ SME ต่อยอดธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน SME เติบโตยั่งยืน finbiz by ttb


ทำไม SME ต้องให้ความสนใจกับ ESG ?


ESG คือ แนวคิดการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนใน 3 ด้าน

  • Environment ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจ
  • Social บริหารทรัพยากรบุคคลอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม ความเป็นอยู่ของสังคมทั้งภายในและนอกบริษัท
  • Governance หลักธรรมาภิบาล การกำกับดูแลกิจการที่ดี มีแนวทางบริหารความเสี่ยงชัดเจน ต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน


ซึ่งธุรกิจที่ทำ ESG จะส่งผลดีต่อองค์กรในหลาย ๆ ด้าน อาทิเช่น ในช่วงโควิด-19 องค์กรที่ให้ความสำคัญกับ ESG สามารถเติบโตได้และฟื้นตัวได้ไวกว่าบริษัทที่ยังไม่ได้นำ ESG เข้ามาเป็นกลยุทธ์ขององค์กร เพราะองค์กรที่ได้ลงมือด้าน ESG จะส่งผลให้ดึงดูดนักลงทุน ดึงดูดผู้ร่วมงานในระดับพรสวรรค์ และทำให้ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริโภค

 

ESG สำหรับ SME ต่อยอดธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน SME เติบโตยั่งยืน finbiz by ttb


เพราะ ESG ที่ SME ต้องทำ ไม่ใช่แค่เรื่องรักษ์โลกสีเขียว


ESG เป็นแนวทางที่สอดรับกับ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) สิ่งแวดล้อมสีเขียว สังคม และความโปร่งใสในประเด็นต่าง ๆ 5 มิติ อันได้แก่ สังคม (PEOPLE) เศรษฐกิจ (PROSPERITY) สิ่งแวดล้อม (PLANET) สันติภาพ และความยุติธรรม (PEACE) การพัฒนา ร่วมกัน (PARTNERSHIP)


ESG จึงไม่ใช่เพียงแค่เรื่องรักษ์โลกที่หมายถึงแต่เพียงธรรมชาติต้นไม้สีเขียวอย่างเดียวเท่านั้น

 

ESG สำหรับ SME ต่อยอดธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน SME เติบโตยั่งยืน finbiz by ttb


โมเดล BCG คืออะไร เกี่ยวข้องกับ ESG อย่างไร ?


BCG เป็นวาระแห่งชาติไทย มีจุดประสงค์ให้สอดคล้องกับ ESG โดยเน้นไปที่การผลิตและใช้อย่างคุ้มค่า เข้ากับบริบทของไทย ที่มีจุดแข็งเป็นภาคกสิกรรม นวัตกรรม เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์


BCG จึงเป็นโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อยอดจุดแข็งของประเทศไทยให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น เน้นความหลากหลายทางชีวภาพ วัฒนธรรม กลไกวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูง

  • B = Bioeconomy เศรษฐกิจชีวภาพ การนำทรัพยากรชีวภาพมา ผลิตให้คุ้มค่าควบคู่กับการรักษาสมดุลสิ่งแวดล้อม โดยใช้เทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าและบริการ สร้างมูลค่าเพิ่ม
  • C = Circular economy เศรษฐกิจหมุนเวียน การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด ใช้ผลิตภัณฑ์เต็มวงจร ของที่ใช้ในการผลิตต้องสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
  • G = Green economy ระบบเศรษฐกิจสีเขียว การสร้างความยั่งยืน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด

 

ESG สำหรับ SME ต่อยอดธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน SME เติบโตยั่งยืน finbiz by ttb


6 ข้อได้เปรียบ เมื่อ SME ทำ ESG


  1. เป็นหนทางในลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว
    เช่น การติดตั้งอุปกรณ์เพื่อใช้ทรัพยากรหมุนเวียน ยกตัวอย่างพลังงานแสงอาทิตย์ การลงทุนในช่วงแรก อาจเป็นการลงทุนที่ดูเหมือนจะสูงสักหน่อย แต่ได้ผลระยะยาว ก็จะช่วยลดค่าไฟฟ้าไปได้มาก นอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายโดยตรง ยังเป็นการเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรอีกด้วย

  2. เพิ่มความมั่นคงของซัพพลายเชน
    ยิ่งในกลุ่มที่มีการส่งออกไปยังต่างประเทศยิ่งเห็นได้ชัด เช่น ในยุโรปที่มีภาษีคาร์บอนแล้ว และกำลังจะบังคับใช้ CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) หรือการเก็บภาษีคาร์บอนก่อนเข้ายุโรป โดยจะเริ่มเร็ว ๆ นี้ หากหนึ่งในซัพพลายเชนยังมีคาร์บอนเกินกำหนด ก็มีโอกาสที่คู่ค่าอาจเปลี่ยนใจไปใช้สินค้าจากองค์กรอื่น เป็นต้น แต่หากได้เริ่มลงมือด้านความยั่งยืนแล้ว ก็เสมือนมีกุญแจที่จะไขประตูไปยังประเทศต่าง ๆ ที่มีกฎระเบียบใด ๆ ด้านความยั่งยืนได้

  3. ดึงดูดทรัพยากรมนุษย์ระดับพรสวรรค์ (Talent)
    พนักงานคุณภาพจะให้ความสนใจเรื่องความรับผิดชอบต่อโลกขององค์กรอย่างมาก ดังนั้น เมื่อองค์กรมีการลงมือเพื่อความยั่งยืน ยิ่งมีโอกาสได้ Talent เข้ามาร่วมงาน

  4. ดึงดูดนักลงทุน
    นักลงทุนจะลงทุนกับองค์กรที่ได้ลงมือเรื่องความยั่งยืนไปแล้ว ไม่ใช่เพราะความนิยมส่วนตัว แต่นั่นหมายถึง มูลค่าขององค์กรที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย

  5. โอกาสในการสร้างนวัตกรรมและธุรกิจใหม่ ๆ
    การสร้างสรรค์เพื่อความยั่งยืนในหลายครั้งทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ และอาจแข็งแรงถึงขั้นสร้างธุรกิจใหม่ได้อีกด้วย

  6. เสริมภาพลักษณ์องค์กร
    ตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้า ตลอดจนเป็นหนทางพัฒนาสู่ธุรกิจที่ยั่งยืน เมื่อผู้คนให้ความสำคัญกับความยั่งยืนมากขึ้น การได้เริ่มลงมืออย่างจริงจังจะเสริมภาพลักษณ์ให้กับองค์กรอย่างมาก และยังสามารถครองใจลูกค้า รวมถึงพัฒนาต่อยอดได้อีกด้วย


ESG จึงต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้ เริ่มก่อนย่อมได้เปรียบ ซึ่งในสถานการณ์ปัจจุบันเราจะต้องเริ่มได้แล้ว ไม่ว่าในมิติใดมิติหนึ่ง จะเป็นสิ่งแวดล้อม สังคม หรือ ธรรมาภิบาล โดยผู้นำองค์กรที่เห็นความสำคัญจะสามารถผลักดันองค์กรและผนวกแนวคิด ESG ได้โดยไม่ใช่เรื่องยาก

 

ESG สำหรับ SME ต่อยอดธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน SME เติบโตยั่งยืน finbiz by ttb


SME จะทำ ESG เริ่มจากตรงไหน ?


เป็นคำถามของผู้ประกอบการหลาย ๆ ท่าน ที่อาจจะยังมองว่า ESG เป็นเรื่องที่ไกลตัว แล้ว SME จะเริ่ม ESG จากจุดไหนดี finbiz by ttb ขอนำเสนอแนวคิดที่จะช่วยให้การเริ่มต้นนั้นง่ายขึ้น


  1. Start with ESG Mindset เริ่มจากชุดความคิดของเจ้าของธุรกิจและผู้บริหารระดับสูง จะสามารถผลักดันและจุดประกายความยั่งยืนให้ทุกคนในองค์กรเห็นด้วย

  2. Start with What We Have มองหาสิ่งที่องค์กรมี สรรหาบุคลากรที่มีแนวคิดคล้ายๆ กันของแต่ละฝ่ายมาร่วมกันสร้างทีม ESG ระดมสมองและเลือกหยิบยกสิ่งที่มี และสำคัญที่สุดมาเริ่มต้นทำ วางแผนเพื่อให้เกิด Quick Win ในองค์กร

  3. Start Together สร้างการมีส่วนร่วมให้ทุกฝ่ายเข้ามาร่วมมือกัน ไม่ว่าจะเป็นพนักงานที่เกี่ยวข้อง คู่ค้าในห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) กำหนดเป้าหมายและวิธีการวัดผล

  4. Start Now สื่อสารและจัดทำรายงานให้ทุกคนในองค์กรและคนนอกบริษัทเข้าใจใน ESG ที่องค์กรกำลังดำเนินการ


นอกจากนี้สิ่งที่ SME สามารถโฟกัสก่อน 2 สิ่ง คือ

  1. การผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ และลดความสูญเปล่า (Waste) ตามหลักการ LEAN Six Sigma และ

  2. ด้านการบริหาร เน้นการบริหารบุคลากรเป็นสิ่งที่ SME สามารถทำได้ก่อน

 

ESG สำหรับ SME ต่อยอดธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน SME เติบโตยั่งยืน finbiz by ttb


CBAM ความท้าทายใหม่ ของ SME ไทยภาคส่งออก


CBAM คือ มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นการกำหนดราคาสินค้านำเข้าบางประเภทเพื่อป้องกันการนำเข้าสินค้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเข้ามาในยุโรป


โดยมี 5 อุตสาหกรรมแรกที่จะเข้ามาตรการ CBAM ได้แก่ ซีเมนต์ เหล็กและเหล็กกล้า อลูมิเนียม ปุ๋ย กระแสไฟฟ้า


ปัจจุบันไทยเป็นผู้รับจ้างผลิต โดยมี 4.3% ของ 28,573 ล้านบาท ผู้ประกอบการไทย ส่งออกไปยังยุโรป และอยู่ใน 5 อุตสาหกรรมที่ CBAM กำหนด


ผู้ประกอบการที่ส่งออกไปจึงต้องเร่งจัดการด้านการลดปริมาณคาร์บอน เพื่อให้พร้อมเมื่อ CBAM จะประกาศใช้ในเดือนตุลาคม 2023 โดยมีระยะเวลาสำหรับช่วงเปลี่ยนผ่าน 3 ปี และจะมีผลบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบในวันที่ 1 มกราคม 2026 ซึ่งผู้นำเข้าจะต้องลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนของสินค้า หรือ ซื้อ CBAM Certificate ตามปริมาณการปล่อยคาร์บอนของสินค้านำเข้า


SME ไทย ควรปรับตัวให้ไว พร้อมรับมือกับภาษีคาร์บอน


CBAM เข้าสู่ระยะเปลี่ยนผ่านในเดือนตุลาคม 2023 และสำหรับประเทศไทยกำลังอยู่ในระหว่างพิจารณาภาษีคาร์บอน คาดการณ์ว่าจะได้ข้อสรุปในปีนี้ โดยพิจารณาจาก กลุ่ม 5 เข้ามาตรการ CBAM ก่อน ได้แก่ ซีเมนต์ เหล็กและเหล็กกล้า อลูมิเนียม ปุ๋ย กระแสไฟฟ้า และกลุ่มที่จะเข้า CBAM ตามมา ได้แก่ เคมีภัณฑ์ และ พอลิเมอร์


ซึ่งการมีภาษีคาร์บอนของไทยจะส่งผลดีโดย จะทำให้ไทยได้รับการยอมรับ และมี Certificate เพื่อรับรองปริมาณคาร์บอน สอดรับกับมาตรการ CBAM และ มาตรการด้านคาร์บอนอื่น ๆ

 

ESG สำหรับ SME ต่อยอดธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน SME เติบโตยั่งยืน finbiz by ttb


E แห่ง ESG ที่ SME ทำได้


5 ตัวอย่างการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ


สำหรับ SME ที่ให้ความสนใจ ESG และให้ความสำคัญไปทางด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นสิ่งที่สร้างความได้เปรียบกับธุรกิจในหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้านความสนใจของผู้บริโภค นักลงทุน รวมไปถึงเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาสินเชื่อเพื่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ
ซึ่งโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ SME สามารถเริ่มต้นได้ไม่ยาก รวมไปถึงอาจเป็นสิ่งที่ธุรกิจทำอยู่แล้ว ดังเช่น 5 กิจกรรมเหล่านี้

  1. การใช้ทรัพยากรหมุนเวียน เช่น การนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมไปถึงพลังงานหมุนเวียนต่าง ๆ
  2. การบำบัดน้ำเสีย ที่ในหลายธุรกิจมีการบำบัดน้ำเสียอยู่แล้ว ที่ต้องเพิ่มความสำคัญให้มากขึ้น
  3. การเลือกวัตถุดิบ โดยการเลือกวัตถุดิบที่สามารถใช้ได้อย่างคุ้มค่า และทำให้กระบวนการในการผลิต หรือย่อยสลายมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
  4. การลดของเสียในกระบวนการผลิต การใช้ทุกส่วนประกอบของวัตถุดิบโดยไม่เหลือทิ้ง ทำให้ได้ผลผลิตเพิ่ม ทำลายสิ่งแวดล้อมน้อยลง
  5. การนำของเสียกลับมาแปรรูปใช้งาน คือ การนำส่วนที่เคยเป็นของเหลือทิ้งมาประกอบกับกระบวนการคิดและนวัตกรรมให้สามารถนำมาผลิตใหม่ได้

 

ESG สำหรับ SME ต่อยอดธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน SME เติบโตยั่งยืน finbiz by ttb


มิติ แห่ง S ที่ ESG เริ่มได้ทันที


DEI&B คือแนวคิดที่องค์กรต้องมีเพื่อพัฒนาสู่เป้าหมายความยั่งยืน ในมุมของมิติสังคม (S : Social) โดย DEI&B ประกอบไปด้วยความหมายดังนี้


  • D : Diversity ความหลากหลาย การยอมรับความหลากหลายของผู้คนในทุก ๆ ด้าน เช่น เพศ ศาสนา ภาษา เชื้อชาติ ความเชื่อ ฐานะทางเศรษฐกิจ ช่วงวัย และ ทุกแง่มุมของความหลากหลาย

  • E : Equity ความเสมอภาค ให้ความเสมอภาคเท่าเทียมกันของมนุษย์ทุกคน เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถประสบความสำเร็จเติบโตในหน้าที่การงาน และ มีสิทธิในการออกเสียงต่าง ๆ โดยเท่าเทียมกัน

  • I : Inclusion การผสมผสาน คือ การผสมผสาน ทุกความแตกต่างของบุคคลให้เป็นหนึ่งเดียวกัน ด้วยการยอมรับและเคารพซึ่งกันและกัน

  • B : Belonging การเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน คือ ความรู้สึกอันเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว ต้องทำให้ทุกคนรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรด้วย B : Belonging นี้จะเป็นส่วนสำคัญให้ DEI ไม่ล้มเหลว

 

ESG สำหรับ SME ต่อยอดธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน SME เติบโตยั่งยืน finbiz by ttb


เคล็ดลับดึงดูดคนเก่ง ๆ มาร่วมงานกับ SME ด้วย ESG


ในปัจจุบันที่พนักงานระดับพรสวรรค์มองหาที่ทำงานที่ตอบสนองความรู้สึกภาคภูมิใจในการทำงานนอกเหนือจากการผลตอบแทนที่เป็นตัวเงิน ดังนั้น การจะเป็นองค์กรที่ดึงดูดให้พนักงานระดับพรสวรรค์มาทำงานร่วมกันองค์กรจึงควรมีคุณสมบัติดังนี้


  1. มีความเชื่อใจ ยืดหยุ่น สามารถทำงานได้จากทุกที่
  2. มีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับการทำงาน
  3. มีผู้นำองค์กรที่น่าศรัทธา
  4. ใส่ใจในความเท่าเทียม
  5. มีความยุติธรรมต่อพนักงาน


ผลจากการที่องค์กรมีคนเก่งมาร่วมงานแล้ว จะสามารถดึงดูดพนักงานระดับพรสวรรค์มาร่วมงานได้เพิ่มอีกเรื่อย ๆ เพราะเป็นที่สนใจ ยิ่งองค์กรที่มีแนวคิด ESG และลงมือทำอย่างจริงจัง จะยิ่งเป็นที่น่าสนใจ นอกเหนือจากนั้นองค์กรที่ยึดหลัก DEI&B จะช่วยเสริมแนวคิดความยั่งยืน สร้างความรู้สึกเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวเป็นปัจจัยที่ผลักดันให้องค์กรก้าวหน้าอย่างยั่งยืนได้


ที่มา :

  • งานสัมมนา “ลงทุน เพื่อความยั่งยืน เริ่มต้นจากการสร้างคน” ttb
  • ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

finbiz by ttb

โครงการเสริมความรู้สู่การเป็น Smart SME ผ่านหลากหลายแพลตฟอร์ม
พร้อมองค์ความรู้ ที่ครบครัน จาก Partner ชั้นนำทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน
เพื่อให้ธุรกิจสามารถก้าวผ่านความท้าทายของโลกปัจจุบัน
ปรับตัวตอบโจทย์ยุคดิจิทัล พร้อมมุ่งสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน


อัปเดตทุกดิจิทัลเทรนด์ และความรู้ดี ๆ ที่ SME ไม่ควรพลาด
เพียงแอดไลน์ @ttbSME


ผลิตภัณฑ์แนะนำ

สินเชื่อธุรกิจ ทีทีบี เอสเอ็มอี สมาร์ทบิส

บัญชีธุรกิจ ทีทีบี เอสเอ็มอีวันแบงก์

บริการจ่ายเงินเดือน และดูแลสวัสดิการพนักงาน ทีทีบี เพย์โรลพลัส

ธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ สำหรับ SME


หน้าหลัก finbiz


ศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจ ทีทีบี 0 2643 7000


ศูนย์ธุรกิจต่างประเทศ ทีทีบี


finbiz team


คลิก รับข่าวสารทางไลน์

การใช้และจัดการคุกกี้

ธนาคารใช้คุกกี้ 3 ประเภท คือ 1) จำเป็นต่อการใช้งานของเว็บไซต์ 2) เพื่อประสบการณ์ที่ดีของท่าน และ 3) เพื่อการวิเคราะห์วิจัย โดยการใช้คุกกี้จะไม่สามารถระบุตัวตนของผู้ใช้งานได้ ท่านสามารถกดปุ่ม “อนุญาต” ให้ธนาคารเก็บคุกกี้การใช้งานของท่านในการกำหนดเป้าหมายทางการตลาดเพิ่มเติม เพื่อนำเสนอสิทธิประโยชน์ที่ตรงความต้องการของท่านมากที่สุด โปรดอ่านรายละเอียด นโยบายการใช้คุกกี้ ของธนาคาร

เกี่ยวกับ ทีทีบี

  • เกี่ยวกับ ทีทีบี
  • โครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการและผู้บริหาร
  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ
  • ห้องข่าว

ติดต่อธนาคาร

  • ติดต่อธนาคาร
  • ร่วมงานกับเรา
  • ค้นหาสาขา
  • รายงานเบาะแสการทุจริต
  • บริการอื่น ๆ
  • รายงานและการเปิดเผยข้อมูลคุณภาพการให้บริการ

เว็บไซต์อื่นที่เกี่ยวข้องกับธนาคาร

  • ttb business click
  • ttb business one
  • ttb consumer
  • ttb DRIVE app
  • ttb property


  • ttb spark
  • ttb supply chain solutions
  • ttb web fleet service
  • fai-fah by ttb
  • Punboon by ttb
  • Eastspring Asset Management

ติดตามข่าวสาร

  • social-media-fb-logo
  • social-media-line-logo
  • social-media-tiktok-logo
  • social-media-twitter-logo
  • social-media-linkedin-logo

สำนักงานใหญ่

  • 3000 ถนนพหลโยธิน แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

ติดตามข่าวสาร
  • fb-icon
  • line-icon
  • tiktok-icon
  • twitter-icon
  • linkedin-icon
  • เกี่ยวกับ ทีทีบี
  • โครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการและผู้บริหาร
  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ
  • ห้องข่าว
  • ติดต่อธนาคาร
  • ร่วมงานกับเรา
  • ค้นหาสาขา
  • รายงานเบาะแสการทุจริต
  • บริการอื่น ๆ
  • รายงานและการเปิดเผยข้อมูลคุณภาพการให้บริการ
  • ttb business click
  • ttb business one
  • ttb consumer
  • ttb DRIVE app
  • ttb property
  • ttb spark
  • ttb supply chain solutions
  • ttb web fleet service
  • fai-fah by ttb
  • Punboon by ttb
  • Eastspring Asset Management
© สงวนลิขสิทธิ์ 2568 ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
นโยบายความเป็นส่วนตัวลูกค้า
กลับสู่ด้านบน