ในสถานการณ์ปัจจุบันแนวโน้มเศรษฐกิจ สถานการณ์การนำเข้า-ส่งออก รวมถึงตลาดต่างประเทศที่น่าสนใจในปีนี้จะเป็นอย่างไรบ้าง finbiz by ttb ขอนำเรื่องราวมาอัปเดทเพื่อให้เอสเอ็มอีไทยที่ทำธุรกิจนำเข้า-ส่งออก ได้มีแนวทางในการวางแผนธุรกิจ ทำการค้าระหว่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ และพร้อมเติบโตในตลาดต่างประเทศได้อย่างยั่งยืน โดยเนื้อหานี้ได้มาจากงานสัมมนา “โอกาสใหม่เอสเอ็มอีไทยสู่ตลาดโลก 2023” ที่จัดโดย ทีทีบี และ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
จุดที่เลวร้ายสุดได้ผ่านพ้นไปแล้ว
The worse is over! จุดที่เลวร้ายสุดได้ผ่านไปแล้ว อย่ากลัวเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ยังมีโอกาสสำหรับผู้ประกอบการที่มองหาตลาดใหม่ๆ มาช่วยกระจายความเสี่ยง เพราะจะพึ่งพาตลาดเดิมๆ ทำธุรกิจสูตรเดิม ๆ ไม่ได้แล้ว
ข้อมูลจาก ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ttb analytics ในเชิงการค้าโลกว่าปัจจุบันตัวเลขการนำเข้าและส่งออกดีกว่าช่วงวิกฤตโควิด สะท้อนเศรษฐกิจโลกที่เริ่มกลับมาอย่างเข้มแข็ง แม้ปัจจัยความไม่แน่นอนมีสูง ที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือการส่งออกของปี 2022 ที่โต 17% ส่วนปี 2023 การเติบโตคาดว่าจะเป็นแบบชะลอตัว ไม่หวือหวาเหมือนปีที่ผ่านมา
โอกาส : เลือกเจาะเข้าไปในตลาดที่เป็นม้านอกสายตาอย่างอินเดีย ตลาดที่ไม่ใหญ่แต่เริ่มมีความสำคัญ เช่น ตะวันออกกลาง รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านอย่างกลุ่มอาเซียน CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) ซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่น่าสนใจของไทย เนื่องจากมีความนิยมชมชอบสินค้าไทยอย่างมาก โดยเฉพาะสินค้ากลุ่มอาหารที่มีการนำเข้าจากไทยมากถึง 6.2%
ความเสี่ยง : ต้นทุนที่สูงขึ้น แรงงานขาดแคลน เมื่อเศรษฐกิจเริ่มชะลอลงให้จับตามองจีนไว้ ถ้าเศรษฐกิจจีนไม่ฟื้นตัวกลับมาดี ความลำบากจะตกอยู่ที่ผู้ประกอบการไทย เพราะสินค้าจีนที่บริโภคข้างในประเทศไม่หมด จะถูกส่งออกมาแย่งตลาดกับเรา หากเป็นเช่นนั้น ผู้ประกอบการไทยมีเหนื่อยแน่นอน
รู้ตลาดและเทรนด์การส่งออกปี 2023
โอกาสที่เราต้องให้ความสำคัญที่สุดคือ ตลาดที่มีการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ เช่น อินเดีย CLMV ตะวันออกกลาง รวมทั้งจีน รวมทั้งตลาดใหม่ ๆ ที่ผู้ประกอบการควรทำความเข้าใจ Consumer taste ของแต่ละตลาด
ข้อมูลจากสำนักพัฒนาตลาดและธุรกิจไทยในต่างประเทศ 1 กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ได้เล่าถึง 5 เทรนด์การส่งออกที่จะเกิดขึ้นในปี 2023 นี้ว่า
- เศรษฐกิจโลกชะลอตัว แต่ยังมีตลาดศักยภาพ เศรษฐกิจโลกในภาพรวมมีแนวโน้มชะลอตัว แต่ยังมีตลาดที่มีแนวโน้มขยายตัวทางเศรษฐกิจในเกณฑ์ที่ดี คือ ตะวันออกกลาง เอเชียใต้ และ CLMV
- ความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) ผลจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนทำให้เกิดปรากฏการณ์ Supply Chain Disruption เมื่อปี 2022 ทั่วโลกต่างตื่นตัวเรื่องความมั่นคงทางอาหาร จึงเป็นโอกาสของไทยในฐานะประเทศผู้ผลิตและส่งออกอาหารอันดับต้นๆ ของโลก โดยการส่งออกสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมเกษตรของปี 2022 ขยายตัว 8.82% ทว่าก็ต้องไม่ประมาท ควรหาแหล่งนำเข้าวัตถุดิบเชื่อมโยงสำรองไว้ด้วย
- ค่าระวางเรือลดลงต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปี 2022 อัตราระวางเรือลดลงต่อเนื่อง และมีทิศทางลดลงต่อไปอีกในปี 2023 เนื่องจากอุปทานตู้คอนเทนเนอร์ทั่วโลกเพิ่มขึ้น จากตู้คอนเทนเนอร์ใหม่ที่สั่งต่อเพิ่มเมื่อปี 2022-2023 ซึ่งส่งผลดีต่อผู้ประกอบการในธุรกิจส่งออกที่ไม่ต้องแย่งตู้คอนเทนเนอร์กันเอง ทั้งยังมีผู้ให้บริการเป็นทางเลือกเพิ่มมากขึ้น
- จีนผ่อนคลายมาตรการ Zero-COVID กิจกรรมทางเศรษฐกิจ การบริโภค และการผลิตในจีนจะกลับมาฟื้นตัว ส่งผลดีต่อการส่งออกสินค้าไทยที่จะขยายตัวได้ดีขึ้น โดยเฉพาะผลไม้ที่ส่งออกผ่านด่านได้สะดวกขึ้น รวมถึงอาหาร เครื่องดื่ม สินค้าแฟชั่นที่จะเติบโตตามการเปิดเมือง/เปิดประเทศของจีน
- กระแส BCG (Bio-Circular-Green) โอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทยที่มีความคิดสร้างสรรค์เป็นทุน โดยนำวัตถุดิบใกล้ตัวมาต่อยอด สร้างมูลค่าเพิ่มที่ตรงกับความต้องการของตลาดโลก เป็นสินค้าส่งออกตามแนวทาง BCG
เสริมแกร่งด้วยการปิดความเสี่ยงค่าเงินผันผวน
แม้เศรษฐกิจจะผ่านจุดต่ำสุด แต่ความผันผวนของค่าเงินยังอยู่กับเราไปตลอดทั้งปี ควรเปลี่ยนจากการใช้ดอลลาร์สหรัฐฯ มาใช้ Local Currency จะช่วยปิดความเสี่ยงให้กับผู้ประกอบการได้มาก
โดยมีข้อมูลจากฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต ส่งเสริมและแนะนำว่าในปีนี้ผู้ประกอบการที่ทำการค้าระหว่างประเทศ ควรจับตาดู 3 ปัจจัยหลัก ดังนี้
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับ 3 ปัจจัยนี้ มีผลทำให้ค่าเงินบาทผันผวนค่อนข้างมากเมื่อเราเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ (USD) สิ่งที่น่าสนใจคือ ประเทศที่ผู้ประกอบการไทยค้าขายด้วยเป็นหลักนั้นไม่ใช่สหรัฐอเมริกา เกือบ 40-50% เป็นประเทศในเอเชีย แต่ 80% ของสกุลเงินที่เราใช้ซื้อขายกันคือ ดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ตั้งแต่ต้นปี 2023 ดอลลาร์สหรัฐฯ มีความเหวี่ยงสูง หากผู้ประกอบการตั้งรับไม่ทัน ย่อมมีผลต่อต้นทุนที่สูงขึ้นได้
เทรนด์ที่กำลังเกิดขึ้นตอนนี้คือ การซื้อขายโดยใช้เงินสกุล USD เป็นหลักมีสัดส่วนลดลง เมื่อผู้ประกอบการหันมาปิดความเสี่ยงด้วยการใช้เงินสกุลท้องถิ่น (Local Currency) ในการซื้อขายกันมากขึ้น เช่น สกุลเงินของเอเชีย ซึ่งจะปรับตัวไปในทิศทางเดียวกัน ความผันผวนของค่าเงินจึงน้อยกว่า ผู้ประกอบการสามารถบริหารต้นทุนได้ง่ายขึ้น
ด้วยเข้าใจดีว่าผู้ประกอบการไทยทำธุรกิจนำเข้าและส่งออกกับหลายประเทศ การใช้สกุลเงินจึงหลากหลายตามไปด้วย ทีทีบีธนชาตเป็นธนาคารแรกและธนาคารเดียวที่พัฒนาบัญชีเพื่อตอบโจทย์ผู้ประกอบการการค้าระหว่างประเทศ นั่นคือ ttb multi-currency account บัญชีเดียวที่รองรับได้มากถึง 11 สกุลเงิน ผู้ประกอบการสามารถซื้อ-ขาย-รับ-จ่ายได้สะดวกทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งทำธุรกรรมเทรดไฟแนนซ์บนแพลตฟอร์ม ttb business one สามารถเข้าถึงได้ทุกอุปกรณ์ ตลอด 24 ชั่วโมง
ในขณะที่ภาครัฐเองก็มีเครื่องมือสนับสนุนผู้ประกอบการ ผ่าน SMEs Pro-active by DITP ที่ช่วยสนับสนุนและลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปแสดงสินค้าในต่างประเทศ หรือขายสินค้าบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซระหว่างประเทศ เพื่อให้เอสเอ็มอีก้าวออกไปทำธุรกิจได้อย่างมั่นคงจริง ๆ
เครื่องมือทางการเงินดี สร้างสถานการณ์ที่ได้เปรียบ
ในการทำการค้ากับต่างประเทศความเสี่ยงหนึ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องเผชิญก็คอความเสี่ยงด้านความผัวผวนของสกุลเงิน finbiz by ttb ของแนะนำเครื่องมือทางการเงินในการปิดความเสี่ยงนี้ ttb multi-currency account บัญชีสำหรับบริหารหลายสกุลเงิน ทีทีบี บัญชีที่สามารถบริหารจัดการหลายสกุลเงินในบัญชีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการโอนเงิน การแลกเปลี่ยนเงิน และการเรียกดูรายการเดินบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Statement) ที่สะดวก ง่าย และรวดเร็ว ทำได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง ทีทีบี บิสสิเนสวัน พร้อมรับดอกเบี้ยเงินฝากทันที เมื่อมีรายการโอนเงินเข้าบัญชี ตอบทุกโจทย์ของการนำเข้า-ส่งออกและลดปัญหาค่าเงินที่ผันผวน ด้วยการค้าขายด้วยสกุลเงินท้องถิ่น โดยใช้บัญชีบริหารหลายสกุลเงิน พร้อมยกระดับธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ สู่ประสบการณ์ดิจิทัลเต็มรูปแบบ
ซึ่งเครื่องมือทางธนาคารที่ดีจะช่วยปิดความเสี่ยงลงได้ ซึ่งก็นับว่าเป็นเรื่องที่ดีกว่าในยุคก่อน ๆ ธนาคารแนะนำให้กระจายการใช้หลายสกุลเงินโดยเฉพาะสกุลเงินท้องถิ่นเพื่อช่วยลดต้นทุนจากความผันผวนของดอลลาร์สหรัฐ
และทั้งหมดนี้ก็คือทิศทางและโอกาสสำหรับ SME ที่กำลังจะไปสู่ตลาดโลก finbiz by ttb หวังว่าจะสามารถช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเตรียมตัวสำหรับการทำธุรกิจในปีนี้ได้อย่างราบรื่น สร้างโอกาสต่อยอดให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป
ที่มา :
- งานสัมมนา “โอกาสใหม่เอสเอ็มอีไทยสู่ตลาดโลก 2023
finbiz by ttb โครงการเสริมความรู้ธุรกิจ
ผ่านหลากหลายแพลตฟอร์ม พร้อมองค์ความรู้ที่ครบครัน จาก Partner
ชั้นนำทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อให้ธุรกิจรับมือกับความเปลี่ยนแปลง
พร้อมปรับตัวในยุคดิจิทัล และเติบโตอย่างยั่งยืน
“ครบ จบในที่เดียว ปรับใช้ได้ง่าย ต่อยอดได้จริง สู่การเป็น Smart SME”
อัปเดตทุกดิจิทัลเทรนด์ และความรู้ดี ๆ ที่ SME ไม่ควรพลาด
เพียงแอดไลน์ @ttbSME หรือคลิกเพิ่มเพื่อน