external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

Suggest Keywords

  • ห้องข่าว
  • เกี่ยวกับ ทีทีบี
  • ความยั่งยืน
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อธนาคาร
ttb-logo
เมนู
  • ลูกค้าบุคคล
  • ลูกค้าเอสเอ็มอี
  • ลูกค้าธุรกิจ
  • ทีทีบี รีเซิร์ฟ
  • โปรโมชันและสิทธิพิเศษ
  • อัตราและค่าธรรมเนียม
  • ค้นหา
  • เข้าสู่ระบบ ttb business
    ttb business onettb business click
  • สินเชื่อเพื่อธุรกิจ
  • บัญชีและธุรกรรมภายในประเทศ
  • บัญชีและธุรกรรมระหว่างประเทศ
  • ดิจิทัลแบงก์กิ้ง และบริการอื่นๆ
  • finbiz เสริมความรู้ SME
  • สนใจสมัครผลิตภัณฑ์
ค้นหาจุดให้บริการ
หน้าหลัก ทีทีบี
ลูกค้าบุคคล
หน้าหลักลูกค้าบุคคล
เคล็ดลับการเงิน
บัญชีและบัตรเดบิต
บัตรเครดิต
สินเชื่อ
ประกัน
ลงทุน
บัญชีเงินเดือน ทีทีบี
ดิจิทัลแบงก์กิ้ง
บริการอื่น ๆ
ลูกค้าเอสเอ็มอี
หน้าหลักลูกค้าเอสเอ็มอี นิติบุคคล
สินเชื่อเพื่อธุรกิจ
บัญชีและธุรกรรมภายในประเทศ
บัญชีและธุรกรรมระหว่างประเทศ
ดิจิทัลแบงก์กิ้ง และบริการอื่นๆ
finbiz เสริมความรู้ SME
สนใจสมัครผลิตภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์ลูกค้าเอสเอ็มอี บุคคลธรรมดา
เข้าสู่ระบบ
ttb business one
ttb business click
ลูกค้าธุรกิจ
หน้าหลักลูกค้าธุรกิจ
สินเชื่อเพื่อธุรกิจ
บัญชีและธุรกรรมภายในประเทศ
บัญชีและธุรกรรมระหว่างประเทศ
ดิจิทัลแบงก์กิ้ง และบริการอื่นๆ
เข้าสู่ระบบ
ttb business one
ttb business click
ทีทีบี รีเซิร์ฟ
หน้าหลักทีทีบี รีเซิร์ฟ
เอกสิทธิ์พิเศษ
โปรโมชันพิเศษ
อัปเดตการลงทุน
โซลูชันการลงทุนและสกุลเงินต่างประเทศ
โปรโมชันและสิทธิพิเศษ
หน้าหลักโปรโมชันและสิทธิพิเศษ
บัญชี
บัตรเครดิต
สินเชื่อ
ประกัน
ลงทุน
บัญชีเงินเดือน ทีทีบี
ทีทีบี รีเซิร์ฟ
ttb rewards plus
อัตราและค่าธรรมเนียม
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
อัตราดอกเบี้ย
อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมสินเชื่อรถยนต์
ค่าธรรมเนียมอื่นๆ
Forward Points
ห้องข่าว
หน้าหลักห้องข่าว
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวลูกค้าธุรกิจ
ข่าวศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ
เกี่ยวกับ ทีทีบี
หน้าหลักเกี่ยวกับ ทีทีบี
รู้จัก ทีทีบี
ประวัติธนาคาร
ลักษณะประกอบธุรกิจ
โครงสร้างและการจัดการ
บรรษัทภิบาล
การบริหารความเสี่ยง
ข้อตกลงการใช้เว็บไซต์
ความยั่งยืน
หน้าหลักความยั่งยืน
แนวทางความยั่งยืน
ความยั่งยืนทางธุรกิจ
ความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม
ความยั่งยืนด้านสังคม
บรรษัทภิบาลและจริยธรรมทางธุรกิจ
นโยบายและการรายงาน
นักลงทุนสัมพันธ์
หน้าหลักนักลงทุนสัมพันธ์
ข้อมูลทางด้านการเงิน
ข้อมูลนำเสนอ
ข้อมูลหลักทรัพย์
ข้อมูลตราสารหนี้และอันดับความน่าเชื่อถือ
ข่าวแจ้งตลาดหลักทรัพย์และนักลงทุน
บริการผู้ถือหุ้น
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ
ร่วมงานกับเรา
หน้าหลักร่วมงานกับเรา
เหตุผลที่ควรร่วมงานกับ ttb
เราทำงานกันอย่างไร
ติดต่อเรา
นโยบายความเป็นส่วนตัวผู้สมัครงาน
ตำแหน่งที่เปิดรับสมัคร
ติดต่อธนาคาร

The Future Trend of SME & Business Opportunities 2030
โอกาสทางธุรกิจแห่งอนาคตสู่เศรษฐกิจยุคใหม่

7 ม.ค. 2565



พบกับตอนที่ 2 ของ The Future Trend of Business Opportunities 2030 โอกาสทาง ธุรกิจแห่งอนาคตสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ กับอีก 6 โอกาสที่จะช่วยต่อยอดให้กับผู้ประกอบการทุกท่าน โดย คุณปรมา ทิพย์ธนทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเทรนด์ และการออกแบบ Baramizi Lab ของกลุ่มบริษัท บารามีซี่ จำกัด และ หัวหน้าทีมวิจัยและพัฒนาประสบการณ์ของแบรนด์ Wazzadu.com ที่ต่อยอดจากงานสัมมนาออนไลน์ “ติดสปีดธุรกิจอาหาร เปลี่ยนให้ไว… ปรับยังไงให้รอด” โดย finbiz by ttb และหากใครยังไม่ได้อ่านข้อที่ 1-5 ในตอนแรก สามารถคลิกกลับไป อ่านได้ที่นี่


  1. Smart City การพัฒนาเมืองอัจฉริยะเพื่อสร้างมูลค่าและบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ


  2. โลกจะมี Mega City (เมืองขนาดใหญ่) เพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 41 เมืองในปีค.ศ. 2030 โดยเมืองต่าง ๆ จะทยอยพัฒนาให้รองรับปริมาณของประชากรได้เพิ่มมากขึ้น มีความเจริญทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการพัฒนาก็มีอีกฝากฝั่งคือนำมาซึ่ง ความเหลื่อมล้ำทางสังคม การมีพื้นที่ใช้ชีวิตไม่เพียงพอต่อปริมาณประชากร เป็นโจทย์สำคัญที่ผู้บริหารเมืองจะต้องวางแผนการรับมือ


    จึงเกิดความท้าทายอย่างมากในแง่การจัดหาโครงสร้างพื้นฐานที่เพียงพอให้กับเมืองที่เติบโตอย่างรวดเร็ว จึงเป็นพื้นที่การสร้างสรรค์นวัตกรรมที่น่าสนใจในโอกาสนี้ ได้แก่ การพัฒนาระบบอัจฉริยะต่าง ๆ ที่จะขับเคลื่อนเมืองโดยอัตโนมัติ ด้วยเทคโนโลยี IoTs (Internet of Things) และ AI หรือปัญญาประดิษฐ์ ระบบขนส่งอัจฉริยะ ยานพาหนะไร้คนขับ อาคารต้นแบบที่มีระบบการบริหารจัดการที่ชาญฉลาด ที่มีระบบการบริหารจัดการด้านต่าง ๆ เช่น พลังงาน ของเสีย อากาศบริสุทธิ์ อย่างมีประสิทธิภาพโดยผสมผสานเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ


    นอกเหนือจากนี้ระบบกลไกทางดิจิทัลต่าง ๆ ที่ช่วยในการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของภาครัฐ หรือที่เรียกว่า GovTech เช่น แพลตฟอร์มการให้บริการของรัฐเข้าถึงประชาชน การบูรณาการข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์เพื่อบริหารที่มีประสิทธิภาพ

  3. Future Food การพัฒนาอาหารแห่งอนาคต


  4. ปัญหาการขาดแคลนอาหารอันเกิดจากสภาวะโลกร้อนและจำนวนการบริโภคที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนมากเกินความสามารถในการผลิตอาหารบนโลก ปัญหาสุขภาพ การถือกำเนิดของกลุ่มผู้บริโภคแนวหน้าที่มีความรับผิดชอบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม


    เหล่านี้ทำให้สตาร์ทอัปและนักวิจัยที่ทำหน้าที่มองหาแหล่งอาหารและวิธีการเพื่อช่วยแก้ปัญหาและสร้างคุณค่าทางโภชนาการใหม่ ๆ เพื่อเป็นทางเลือก (และอาจจะเป็นทางรอดในอนาคต) นวัตกรรมที่น่าสนใจ ได้แก่ อาหารที่ทำมาจากวัตถุดิบทางเลือก เช่น โปรตีนทดแทนจากพืช แมลง เป็นต้น การตัดต่อพันธุกรรมอาหาร หรือส่วนประกอบของอาหาร ที่มีสรรพคุณซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพและประโยชน์ทางยา วิศวกรรมอาหาร หรือการใช้เทคโนโลยีประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับกระบวนการแปรรูปและสร้างคุณสมบัติเฉพาะของอาหาร

  5. Future Skill การพัฒนาทักษะของมนุษย์เพื่อสร้างศักยภาพแข่งขันกับความก้าวหน้าของอนาคต


  6. ในอนาคตอันใกล้...มนุษย์ต้องแข่งขันกับเทคโนโลยี ในปีค.ศ. 2030 จะมีตำแหน่งงานจำนวนมากที่จะถูกแทนที่ด้วยปัญญาประดิษฐ์ และหุ่นยนต์ ก่อนจะถึงจุดนั้น ผู้คนในยุคนี้ต้องพัฒนาทักษะแห่งอนาคตอีกมาก


    การเสริมสร้างทักษะแห่งอนาคตด้วยวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลายจึงเป็นโอกาสทางธุรกิจที่สำคัญทิศทางหนึ่ง โดยพื้นที่สำหรับสร้างสรรค์นวัตกรรมของนักคิดที่อาจหยิบจับเป็นธุรกิจได้ มีตั้งแต่การพัฒนา Content การเรียนการสอนเพื่อสร้างทักษะที่จำเป็นต่อการแข่งขัน การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ ตลอดจนการพัฒนาประสบการณ์ของการเรียนรู้ เช่น การใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงทั้ง VR (Virtual Reality) และ AR (Augmented Reality) หรือแม้แต่ Metaverse (ราชบัณฑิตยสภาเพิ่งจะบัญญัติศัพท์คำนี้ว่า ‘จักรวาลนฤมิต’) เหล่านี้คือโอกาสในการสร้างสรรค์ธุรกิจในกลุ่ม Future Skill

  7. Green & Circular Economy เศรษฐกิจสีเขียวและเศรษฐกิจหมุนเวียน


  8. ในปีค.ศ. 2030 คาดว่าความต้องการเชื้อเพลิงประเภทฟอสซิลจะคิดเป็น 90% ของพลังงานที่ใช้ทั้งหมด ยิ่งความต้องการเชื้อเพลิงประเภทฟอสซิลมากขึ้น โลกยิ่งเผชิญกับภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมากขึ้นเท่านั้น


    การพัฒนาธุรกิจโดยมุ่งเน้นเป้าหมายด้านความยั่งยืน (แนวคิดการบริหารการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยสหประชาชาติ Sustainable Development Goals : SDG) ต่อไปจะกลายเป็นพื้นฐานของการทำธุรกิจ การลดการทำร้ายโลก การควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอน การลดการใช้พลังงานหรือเลือกใช้พลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียน จะเป็นหัวเรื่องสำคัญ ๆ ที่ธุรกิจในโลกเดิมต้องตระหนักและวางแผนที่จะเปลี่ยนถ่ายอย่างจริงจัง เหล่านี้ก็ทำให้เป็นโอกาสของธุรกิจใหม่ ๆ ที่จะเข้ามาทำหน้าที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้การเปลี่ยนผ่านนี้ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสะอาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แนวคิดการนำกลับมาใช้ใหม่ Reduce-Reuse-Recycle แนวคิด Regenerative Design หรือการออกแบบระบบการทำงานของสสารและทรัพยากรทุกชนิด สร้างวิธีการฟื้นฟูและกระบวนการซ่อมแซมตัวเองของทรัพยากรซึ่งได้จากการเลียนแบบธรรมชาติ

  9. Sharing Economy เศรษฐกิจแห่งการแบ่งปัน


  10. เมื่อทรัพยากรกลายเป็นสิ่งจำเป็น เกิดการแย่งชิงทรัพยากรกันอย่างไม่มีสิ้นสุด จึงเกิดแนวคิดการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดผ่านการแบ่งปันกับผู้อื่นโดยมีเทคโนโลยีเป็นตัวกลาง


    แนวคิดเศรษฐกิจแห่งการแบ่งปันไม่ใช่เรื่องใหม่ ตั้งแต่ Uber และ Airbnb เปิดตัวบนโลกใบนี้ผู้บริโภคก็ได้รู้จักกับคอนเซปต์ของการแบ่งปันทรัพยากรซึ่งกันและกัน ด้านหนึ่งก็ติดใจในฐานะผู้ใช้และอีกด้านหนึ่งก็พบว่าสามารถหมุนเวียนทรัพยากรที่ตนเองมีมาสร้างประโยชน์สร้างรายได้เพิ่มเติมให้ตนเองได้


    จากการวิเคราะห์ข้อมูลแวดล้อม บารามีซี่ แล็บ เชื่อว่าแนวคิดเศรษฐกิจแห่งการแบ่งปันนี้จะไปต่อได้อีกมาก เนื่องจากจับเอาความต้องการที่มีอยู่จริงและจะทวีจำนวนความต้องการมากขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่ทรัพยากรบางอย่างไม่สามารถผลิตเพิ่มได้ซึ่งมีแนวโน้มจะไม่เพียงพอ พื้นที่แห่งโอกาสในเศรษฐกิจแห่งการแบ่งปันนั้นสามารถมองรอบตัวถึงวิถีชีวิตของคนเมืองว่ามีความต้องการอะไรที่ใช้คอนเซปต์ของการแบ่งปันมาช่วยแก้ปัญหา เช่น การจอดรถ การเก็บของ การเดินทาง เป็นต้น ในขณะที่โลกได้รู้จักกับโรคระบาดอย่างโควิด-19 แล้วการแบ่งปันจะยังมีอยู่ แต่จะต้องใส่ใจกับความปลอดภัยระหว่างกันมากขึ้น

  11. Space Business ธุรกิจด้านอวกาศ ความหวังใหม่ของมนุษยชาติ


  12. ในขณะที่ประชากรล้นโลกส่งผลให้ทรัพยากรโลกลดน้อยลงจึงเกิดแนวคิดส่งมนุษย์ไปดาวดวงอื่น หรือหาวิธีการใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และด้วยการพัฒนาของภาคเอกชนที่ทำให้ต้นทุนการปล่อยจรวดและดาวเทียมถูกลงเป็นอย่างมาก วงการอวกาศในทุกวันนี้จึงก้าวเข้าสู่ยุคที่เรียกว่า "New Space Era" ซึ่งสาระสำคัญคือ การเกิดการกระจายอำนาจการสร้างสรรค์และดำเนินกิจการที่เกี่ยวกับอวกาศที่ไม่จำกัดอยู่กับหน่วยงานของรัฐขนาดใหญ่เท่านั้นอีกต่อไป


    นวัตกรรมและเทคโนโลยี ตลอดจนแนวคิดการใช้ประโยชน์จากอวกาศจึงเพิ่มมากขึ้นได้มากมายในระยะเวลาอันสั้น พื้นที่แห่งโอกาสในแนวโน้มนี้ ได้แก่ การส่งดาวเทียมขึ้นโคจรรอบโลกด้วยวัตถุประสงค์ต่างๆ การนำเอา Data จากอวกาศมาวิเคราะห์ สร้างองค์ความรู้ ด้านอวกาศเองและทำประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมสุขภาพ อุตสาหกรรมการเกษตร เป็นต้น การท่องเที่ยวอวกาศ การออกแบบวัสดุและสิ่งก่อสร้างเพื่อความอยู่รอดบนอวกาศ และกิจการสำรวจดวงดาว นอกเหนือจากนี้องค์ความรู้หรือเทคโนโลยีจากการมุ่งสู่อวกาศของมนุษย์ยังสามารถนำมาต่อยอดการแก้ปัญหาบนพื้นโลกได้อีกมากมายหลายอุตสาหกรรม


    11 โอกาสทางธุรกิจแห่งอนาคตสู่เศรษฐกิจยุคใหม่นี้ ให้ผู้ประกอบการทุกท่านลองทำความเข้าใจถึงโอกาสทั้ง 11 พื้นที่ และพิจารณาว่าธุรกิจของเรานั้นปัจจุบันอยู่ในกลุ่มโอกาสใด หรือสามารถขยับเข้าใกล้โอกาสใดบ้าง แล้วพัฒนาวิสัยทัศน์แห่งอนาคต (Brand Future Vision) พันธกิจ (Mission) ออกแบบยุทธศาสตร์ (Strategic Roadmap) เพื่อนำองค์กรไปส่งเส้นทางนั้นต่อไป


เตรียมธุรกิจให้พร้อมรับกับโลกดิจิทัลและการพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่ใกล้ตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ


นอกจาก The Future Trend of Business Opportunities 2030 โอกาสทาง ธุรกิจแห่งอนาคตสู่เศรษฐกิจยุคใหม่แล้ว เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกดิจิทัลในปัจจุบัน และเตรียมความพร้อมสู่ความเป็นดิจิทัลเต็มตัวในอนาคต ด้วยธนาคารดิจิทัลเพื่อโลกธุรกิจอย่าง ทีทีบี บิสสิเนสวัน (ttb business one) อินเทอร์เน็ต แบงก์กิ้งสำหรับลูกค้าธุรกิจ ที่ควบคุมธุรกิจได้ในที่เดียว และรองรับระบบการทำงานแบบอนุมัติตามผังงาน สามารถกำหนดสิทธิการเข้าถึง (Authorization) ได้ กับคอนเซ็ปท์ ONE ระบบเดียว...

  • ONE Platform ระบบเดียว เข้าได้จากทุกอุปกรณ์ประสบการณ์เดียวกัน
  • ONE to Control ระบบเดียว ทำได้ทุกธุรกรรม ควบคุมธุรกิจได้จากที่เดียว
  • ONE to Command ระบบเดียว เห็นข้อมูลพร้อมสั่งการ บริหารงานครบถ้วน

ซึ่งได้รับรางวัล Best Digital Transformation Implementation in Thailand จาก The Asian Banker Thailand Award 2021 ตอกย้ำถึงความเป็นเลิศด้านการออกแบบระบบดิจิทัล ที่ตอบโจทย์ด้านการบริหารจัดการทางการเงิน ให้กับลูกค้าธุรกิจ ช่วยยกระดับประสิทธิภาพการบริหารงานของลูกค้าธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น

เครื่องมือทางการเงินที่ดี ซึ่งช่วยทำให้การทำธุรกรรมทางการเงินมีประสิทธิภาพมากขึ้น และก้าวทันโลกดิจิทัลที่ใกล้ตัวเรามากขึ้นทุกวัน เพื่อให้ธุรกิจพร้อมปรับตัวรับมือกับความเปลี่ยนแปลง สร้างธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน


ผลิตภัณฑ์แนะนำ

สินเชื่อธุรกิจ ทีทีบี เอสเอ็มอี สมาร์ทบิส

บัญชีธุรกิจ ทีทีบี เอสเอ็มอีวันแบงก์

บริการจ่ายเงินเดือน และดูแลสวัสดิการพนักงาน ทีทีบี เพย์โรลพลัส

ธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ สำหรับ SME


หน้าหลัก finbiz


ศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจ ทีทีบี 0 2643 7000


ศูนย์ธุรกิจต่างประเทศ ทีทีบี


finbiz team


คลิก รับข่าวสารทางไลน์

การใช้และจัดการคุกกี้

ธนาคารใช้คุกกี้ 3 ประเภท คือ 1) จำเป็นต่อการใช้งานของเว็บไซต์ 2) เพื่อประสบการณ์ที่ดีของท่าน และ 3) เพื่อการวิเคราะห์วิจัย โดยการใช้คุกกี้จะไม่สามารถระบุตัวตนของผู้ใช้งานได้ ท่านสามารถกดปุ่ม “อนุญาต” ให้ธนาคารเก็บคุกกี้การใช้งานของท่านในการกำหนดเป้าหมายทางการตลาดเพิ่มเติม เพื่อนำเสนอสิทธิประโยชน์ที่ตรงความต้องการของท่านมากที่สุด โปรดอ่านรายละเอียด นโยบายการใช้คุกกี้ ของธนาคาร

เกี่ยวกับ ทีทีบี

  • เกี่ยวกับ ทีทีบี
  • โครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการและผู้บริหาร
  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ
  • ห้องข่าว

ติดต่อธนาคาร

  • ติดต่อธนาคาร
  • ร่วมงานกับเรา
  • ค้นหาสาขา
  • รายงานเบาะแสการทุจริต
  • บริการอื่น ๆ
  • รายงานและการเปิดเผยข้อมูลคุณภาพการให้บริการ

เว็บไซต์อื่นที่เกี่ยวข้องกับธนาคาร

  • ttb business click
  • ttb business one
  • ttb consumer
  • ttb DRIVE app
  • ttb property


  • ttb spark
  • ttb supply chain solutions
  • ttb web fleet service
  • fai-fah by ttb
  • Punboon by ttb
  • Eastspring Asset Management

ติดตามข่าวสาร

  • social-media-fb-logo
  • social-media-line-logo
  • social-media-tiktok-logo
  • social-media-twitter-logo
  • social-media-linkedin-logo

สำนักงานใหญ่

  • 3000 ถนนพหลโยธิน แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

ติดตามข่าวสาร
  • fb-icon
  • line-icon
  • tiktok-icon
  • twitter-icon
  • linkedin-icon
  • เกี่ยวกับ ทีทีบี
  • โครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการและผู้บริหาร
  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ
  • ห้องข่าว
  • ติดต่อธนาคาร
  • ร่วมงานกับเรา
  • ค้นหาสาขา
  • รายงานเบาะแสการทุจริต
  • บริการอื่น ๆ
  • รายงานและการเปิดเผยข้อมูลคุณภาพการให้บริการ
  • ttb business click
  • ttb business one
  • ttb consumer
  • ttb DRIVE app
  • ttb property
  • ttb spark
  • ttb supply chain solutions
  • ttb web fleet service
  • fai-fah by ttb
  • Punboon by ttb
  • Eastspring Asset Management
© สงวนลิขสิทธิ์ 2568 ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
นโยบายความเป็นส่วนตัวลูกค้า
กลับสู่ด้านบน