external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

Suggest Keywords

  • ห้องข่าว
  • เกี่ยวกับ ทีทีบี
  • ความยั่งยืน
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อธนาคาร
ttb-logo
เมนู
  • ลูกค้าบุคคล
  • ลูกค้าเอสเอ็มอี
  • ลูกค้าธุรกิจ
  • ทีทีบี รีเซิร์ฟ
  • โปรโมชันและสิทธิพิเศษ
  • อัตราและค่าธรรมเนียม
  • ค้นหา
  • เข้าสู่ระบบ ttb business
    ttb business onettb business click
  • สินเชื่อเพื่อธุรกิจ
  • บัญชีและธุรกรรมภายในประเทศ
  • บัญชีและธุรกรรมระหว่างประเทศ
  • ดิจิทัลแบงก์กิ้ง และบริการอื่นๆ
  • finbiz เสริมความรู้ SME
  • สนใจสมัครผลิตภัณฑ์
ค้นหาจุดให้บริการ
หน้าหลัก ทีทีบี
ลูกค้าบุคคล
หน้าหลักลูกค้าบุคคล
เคล็ดลับการเงิน
บัญชีและบัตรเดบิต
บัตรเครดิต
สินเชื่อ
ประกัน
ลงทุน
บัญชีเงินเดือน ทีทีบี
ดิจิทัลแบงก์กิ้ง
บริการอื่น ๆ
ลูกค้าเอสเอ็มอี
หน้าหลักลูกค้าเอสเอ็มอี นิติบุคคล
สินเชื่อเพื่อธุรกิจ
บัญชีและธุรกรรมภายในประเทศ
บัญชีและธุรกรรมระหว่างประเทศ
ดิจิทัลแบงก์กิ้ง และบริการอื่นๆ
finbiz เสริมความรู้ SME
สนใจสมัครผลิตภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์ลูกค้าเอสเอ็มอี บุคคลธรรมดา
เข้าสู่ระบบ
ttb business one
ttb business click
ลูกค้าธุรกิจ
หน้าหลักลูกค้าธุรกิจ
สินเชื่อเพื่อธุรกิจ
บัญชีและธุรกรรมภายในประเทศ
บัญชีและธุรกรรมระหว่างประเทศ
ดิจิทัลแบงก์กิ้ง และบริการอื่นๆ
เข้าสู่ระบบ
ttb business one
ttb business click
ทีทีบี รีเซิร์ฟ
หน้าหลักทีทีบี รีเซิร์ฟ
เอกสิทธิ์พิเศษ
โปรโมชันพิเศษ
อัปเดตการลงทุน
โซลูชันการลงทุนและสกุลเงินต่างประเทศ
โปรโมชันและสิทธิพิเศษ
หน้าหลักโปรโมชันและสิทธิพิเศษ
บัญชี
บัตรเดบิต
บัตรเครดิต
สินเชื่อ
ประกัน
ลงทุน
บัญชีเงินเดือน ทีทีบี
ทีทีบี รีเซิร์ฟ
ttb rewards plus
อัตราและค่าธรรมเนียม
บัญชีเงินฝากและบริการที่เกี่ยวข้อง
สินเชื่อและบริการเงินกู้
บริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
Forward Points
ห้องข่าว
หน้าหลักห้องข่าว
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวลูกค้าธุรกิจ
ข่าวศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ
เกี่ยวกับ ทีทีบี
หน้าหลักเกี่ยวกับ ทีทีบี
รู้จัก ทีทีบี
ประวัติธนาคาร
ลักษณะประกอบธุรกิจ
โครงสร้างและการจัดการ
บรรษัทภิบาล
การบริหารความเสี่ยง
ข้อตกลงการใช้เว็บไซต์
ความยั่งยืน
หน้าหลักความยั่งยืน
แนวทางความยั่งยืน
ความยั่งยืนทางธุรกิจ
ความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม
ความยั่งยืนด้านสังคม
บรรษัทภิบาลและจริยธรรมทางธุรกิจ
นโยบายและการรายงาน
นักลงทุนสัมพันธ์
หน้าหลักนักลงทุนสัมพันธ์
ข้อมูลทางด้านการเงิน
ข้อมูลนำเสนอ
ข้อมูลหลักทรัพย์
ข้อมูลตราสารหนี้และอันดับความน่าเชื่อถือ
ข่าวแจ้งตลาดหลักทรัพย์และนักลงทุน
บริการผู้ถือหุ้น
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ
ร่วมงานกับเรา
หน้าหลักร่วมงานกับเรา
เหตุผลที่ควรร่วมงานกับ ttb
เราทำงานกันอย่างไร
ติดต่อเรา
นโยบายความเป็นส่วนตัวผู้สมัครงาน
ตำแหน่งที่เปิดรับสมัคร
ติดต่อธนาคาร

สร้างความได้เปรียบให้ธุรกิจ ด้วยสกุลเงินท้องถิ่น

7 ก.ค. 2568

ในช่วงที่เศรษฐกิจโลกมีความผันผวนเช่นนี้ ผู้ประกอบการต้องเริ่มมองหาวิธีบริหารความเสี่ยงที่จะทำให้ธุรกิจมีความเสถียรมากที่สุด เพื่อให้สามารถบริหารธุรกิจต่อไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง finbiz by ttb จึงแนะให้หันมามองสกุลเงินท้องถิ่นที่จะมีส่วนช่วยลดความผันผวนในการทำธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ


ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ดอลลาร์สหรัฐ (USD) ได้ทำหน้าที่เป็นเสมือน “ภาษากลาง” ของระบบการค้าโลก ซึ่งช่วยเสริมสร้างความมั่นคงและความเชื่อมั่นในระบบการเงินระหว่างประเทศ แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา กระแส De-Dollarization หรือการลดการพึ่งพาดอลลาร์ได้เริ่มชัดเจนขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยหลายประการ ทั้งจากแรงผลักภายในและปัจจัยจากภายนอก เช่น ความผันผวนของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และการปรับตัวของประเทศต่าง ๆ ที่ต้องการสร้างความหลากหลายในระบบการเงินของตนเอง การเปลี่ยนแปลงนี้เปิดโอกาสให้สกุลเงินอื่น ๆ เช่น ยูโร (EUR) และปอนด์สเตอริง (GBP) ได้มีบทบาทมากขึ้นในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ ช่วยเสริมสร้างความหลากหลายและความยืดหยุ่นในระบบการเงินโลก


นอกจากนี้ การลดการพึ่งพาดอลลาร์สหรัฐยังช่วยให้ประเทศต่าง ๆ สามารถจัดการกับความเสี่ยงทางการเงินได้ดีขึ้น และสร้างความมั่นคงให้เศรษฐกิจภายในประเทศ ในขณะเดียวกันหลายประเทศในทวีปเอเชีย ก็มีการสนับสนุนให้ใช้สกุลเงินท้องถิ่น ประกอบกับการที่จีนเดินเกมรุกด้วยการผลักดันให้หยวนจีน (CNY) ขึ้นมาเป็นอีกหนึ่งสกุลเงินหลักในธุรกิจระหว่างประเทศ


การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นสัญญาณที่ดีที่แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาของระบบการเงินโลกที่มีความหลากหลายและยืดหยุ่นมากขึ้น ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงและความยั่งยืนในระยะยาว


เมื่อเงินหยวนจีนเติบโต และดอลลาร์สหรัฐยังคงแข็งแกร่ง

สกุลเงิน สัดส่วนการใช้งาน (%)
ข้อมูล ณ มิ.ย. 2023
สัดส่วนการใช้งาน (%)
ข้อมูล ณ มิ.ย. 2024
ดอลลาร์สหรัฐ (USD) 42.02% 47.08%
ยูโร (EUR) 31.25% 22.72%
ปอนด์สเตอร์ลิง (GBP) 6.88% 7.08%
หยวนจีน (CNY) 2.77% 4.61%

ที่มา : SWIFT (Society for Worldwide Interbank Financial Telecommunication)


จากข้อมูลข้างต้น ดอลลาร์สหรัฐยังคงครองตำแหน่งสกุลเงินหลักในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ โดยมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจาก 42.0% ในเดือน มิ.ย. ปี 2023 เป็น 47.08% ในเดือนมิ.ย. ปี 2024 ขณะที่หยวนจีนมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจาก 2.77% เป็น 4.61% ในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งเป็นการที่หยวนจีนแซงขึ้นมาเป็นอันดับ 4 แทนที่เยนญี่ปุ่น เมื่อดูที่ตัวเลขอาจจะดูไม่มาก แต่ความเป็นจริงคือการเติบโตเกือบเท่าตัวของหยวนจีนในการใช้เป็นสกุลเงินในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ และเมื่อมาพิจารณาความผันผวนในช่วงปี 2023– 2025 ดอลลาร์สหรัฐ ก็มีความผันผวนถึง 9% ในขณะที่สกุลเงินท้องถิ่นในเอเชียไม่ว่าจะหยวนจีน บาทไทย หรือเยนญี่ปุ่น มีความผันผวนเพียง 3% เท่านั้น

 

สกุลเงินในตลาดโลก ใช้สกุลเงินท้องถิ่น สร้างความแข็งแกร่ง – ttb Local Currency Solutions – Trade finance - finbiz


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง

  1. ความพยายามของจีนในการส่งเสริมการใช้หยวน
    จีนได้ดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการใช้หยวนจีนในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ เช่น การขยายระบบการชำระเงินข้ามพรมแดน (CIPS) และการจัดตั้งธนาคารเคลียร์ริ่งหยวนจีนในหลายประเทศ อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อกังขาในด้านการควบคุมเงินทุนและความไม่โปร่งใสในตลาดการเงิน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการยอมรับหยวนจีนในระดับสากล

  2. การลดการพึ่งพาดอลลาร์สหรัฐ
    บางประเทศเริ่มลดการพึ่งพาดอลลาร์สหรัฐในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ โดยหันมาใช้สกุลเงินท้องถิ่นหรือสกุลเงินอื่น ๆ เช่น หยวนจีน เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากความผันผวนของดอลลาร์และมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ


ทำไมประเทศในเอเชียควรใช้สกุลเงินท้องถิ่น?


การใช้สกุลเงินท้องถิ่นในการค้าระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียจะสร้างความได้เปรียบหลายประการ ดังนี้

ความได้เปรียบ รายละเอียด
ลดต้นทุนธุรกรรม ไม่ต้องผ่านดอลลาร์สหรัฐ ช่วยลดความเสี่ยงจากความผัวผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเมื่อแปลงสกุลและค่าธรรมเนียม
เสถียรภาพในระดับภูมิภาค ช่วยให้ประเทศมีภูมิคุ้มกันจากความผันผวนของดอลลาร์สหรัฐ
ส่งเสริมนโยบายการเงินร่วมกัน เอเชียสามารถร่วมมือกำหนดแนวนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนที่ตอบโจทย์ภูมิภาค
เพิ่มความยืดหยุ่นในการค้าระดับทวิภาคี สร้างความแข็งแกร่งระดับภูมิภาค ในการเจรจาและทำธุรกิจได้รวดเร็วขึ้นโดยไม่ขึ้นกับตลาดทุนตะวันตก


แม้ดอลลาร์สหรัฐจะยังคงเป็นสกุลเงินหลักในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ แต่แนวโน้มการใช้สกุลเงินท้องถิ่น โดยเฉพาะหยวนจีนกำลังเพิ่มขึ้นในบางภูมิภาค การพิจารณาใช้สกุลเงินท้องถิ่นในการค้าระหว่างประเทศอาจเป็นทางเลือกที่ดีในการลดความเสี่ยงและต้นทุนทางการเงิน


สำหรับผู้ประกอบการและนักลงทุนในเอเชีย การเข้าใจและติดตามแนวโน้มนี้จะช่วยให้สามารถวางแผนและปรับกลยุทธ์ทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น


รับมือความผันผวนของเงินตราต่างประเทศ ด้วยบริการ ttb Local Currency Solutions


จากข้อได้เปรียบในการใช้สกุลเงินท้องถิ่น ทีทีบีจึงมีโซลูชันเพื่อให้ผู้ประกอบการพร้อมรับมือกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่มีการคาดเดาได้ยาก ครอบคลุมทั้งบริการ ttb Local Currency Solutions และบริการการค้าระหว่างประเทศ (Trade Finance) ประกอบกับธนาคารแห่งประเทศไทยได้สนับสนุนการใช้เงินสกุลท้องถิ่นในการค้าขายระหว่างประเทศ ซึ่งจะช่วยผลักดันให้เกิดระบบนิเวศใหม่ของอัตราแลกเปลี่ยน (New FX Ecosystem) เพื่อให้ผู้นำเข้า-ส่งออกสามารถรับมือกับความผันผวนเงินตราต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ทีทีบีมุ่งมั่นในการพัฒนาโซลูชันบริหารความเสี่ยงที่สามารถตอบโจทย์ผู้นำเข้า-ส่งออก ด้วยบริการ ttb Local Currency Solutions เพื่อช่วยผู้ประกอบการบริหารจัดการธุรกิจด้วยสกุลเงินท้องถิ่นซึ่งครอบคลุมเงินสกุลท้องถิ่นของประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยกว่า 90% อาทิ สกุลหยวนจีน รูปีอินเดีย ริงกิตมาเลเซีย ดองเวียดนาม วอนเกาหลี เป็นต้น โดยมีบริการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น

  • “Yuan Pro Rata Forward” เพื่อลดความผันผวน และเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันความเสี่ยงจากบริการรับจองอัตราแลกเปลี่ยนด้วยสกุลหยวนจีน โดยทีทีบี เป็นธนาคารแรกที่ให้บริการ

  • บัญชีสำหรับบริหารหลายสกุลเงิน (ttb multi-currency account) สะดวก คล่องตัว ด้วยการบริหารจัดการเงินสกุลหลักและสกุลเงินท้องถิ่นของประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย เพียงใช้บัญชีเดียวสามารถใช้ซื้อ ขาย รับ จ่ายได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สะดวกมากยิ่งขึ้นเมื่อใช้ควบคู่ไปกับธนาคารดิจิทัลเพื่อโลกธุรกิจอย่าง ทีทีบี บิสสิเนสวัน (ttb business one)

  • สามารถเบิกใช้วงเงินกู้ Trade Finance ได้ทั้งสกุลเงินหลักและสกุลเงินท้องถิ่นได้ถึง 13 สกุลเงิน รวมถึงหยวนจีน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ลดค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายในการแลกเปลี่ยนสกุลเงินกับคู่ค้า


ttb Local Currency Solutions จึงเป็นโซลูชันที่ตรงใจ เข้าถึงได้ ให้มากกว่า ที่จะสามารถช่วยให้ผู้ประกอบการบริหารต้นทุนธุรกิจและลดความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจลง รวมถึงเพิ่มโอกาสขยายตลาดไปยังเป้าหมายใหม่และเจรจาการค้าได้ง่ายขึ้น โดยธนาคารยังคงเดินหน้าพัฒนาบริการและโซลูชันที่มุ่งตอบโจทย์ผู้นำเข้า-ส่งออกอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยลดต้นทุนและความเสี่ยงในการทำการค้าระหว่างประเทศ พร้อมสนับสนุนให้ลูกค้าธุรกิจสามารถขับเคลื่อนธุรกิจได้ในทุกสถานการณ์ ก้าวผ่านความท้าทายต่าง ๆ จนประสบความสำเร็จและเติบโตได้อย่างยั่งยืน

สำหรับผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศและบริการด้านการค้าระหว่างประเทศ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เจ้าหน้าที่บริหารความสัมพันธ์ลูกค้าธุรกิจของท่าน (หากท่านเป็นลูกค้าธุรกิจของทีทีบี) หรือติดต่อศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบีธนชาต โทร. 0 2643 7000 วันจันทร์ ถึง วันเสาร์ 08:00 – 20:00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันหยุดธนาคาร


ที่มา :

  • ธนาคารทหารไทยธนชาต
  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี (ttb analytics)
  • Bloomberg
  • CEIC
  • SWIFT

finbiz by ttb

โครงการเสริมความรู้สู่การเป็น Smart SME ผ่านหลากหลายแพลตฟอร์ม
พร้อมองค์ความรู้ ที่ครบครัน จาก Partner ชั้นนำทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน
เพื่อให้ธุรกิจสามารถก้าวผ่านความท้าทายของโลกปัจจุบัน
ปรับตัวตอบโจทย์ยุคดิจิทัล พร้อมมุ่งสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน


อัปเดตทุกดิจิทัลเทรนด์ และความรู้ดี ๆ ที่ SME ไม่ควรพลาด
เพียงแอดไลน์ @ttbSME


ผลิตภัณฑ์แนะนำ

สินเชื่อธุรกิจ ทีทีบี เอสเอ็มอี สมาร์ทบิส

บัญชีธุรกิจ ทีทีบี เอสเอ็มอีวันแบงก์

โซลูชันเพื่อองค์กรและสวัสดิการพนักงานแบบครบวงจร จาก ทีทีบี

ธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ สำหรับ SME


หน้าหลัก finbiz


ศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจ ทีทีบี 0 2643 7000


ศูนย์ธุรกิจต่างประเทศ ทีทีบี


finbiz team


คลิก รับข่าวสารทางไลน์

การใช้และจัดการคุกกี้

ธนาคารใช้คุกกี้ 3 ประเภท คือ 1) จำเป็นต่อการใช้งานของเว็บไซต์ 2) เพื่อประสบการณ์ที่ดีของท่าน และ 3) เพื่อการวิเคราะห์วิจัย โดยการใช้คุกกี้จะไม่สามารถระบุตัวตนของผู้ใช้งานได้ ท่านสามารถกดปุ่ม “อนุญาต” ให้ธนาคารเก็บคุกกี้การใช้งานของท่านในการกำหนดเป้าหมายทางการตลาดเพิ่มเติม เพื่อนำเสนอสิทธิประโยชน์ที่ตรงความต้องการของท่านมากที่สุด โปรดอ่านรายละเอียด นโยบายการใช้คุกกี้ ของธนาคาร

เกี่ยวกับ ทีทีบี

  • เกี่ยวกับ ทีทีบี
  • โครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการและผู้บริหาร
  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ
  • ห้องข่าว

ติดต่อธนาคาร

  • ติดต่อธนาคาร
  • ร่วมงานกับเรา
  • ค้นหาสาขา
  • รายงานเบาะแสการทุจริต
  • บริการอื่น ๆ
  • รายงานและการเปิดเผยข้อมูลคุณภาพการให้บริการ

เว็บไซต์อื่นที่เกี่ยวข้องกับธนาคาร

  • ttb business click
  • ttb business one
  • ttb consumer
  • ttb DRIVE app
  • ttb property


  • ttb spark
  • ttb supply chain solutions
  • ttb web fleet service
  • fai-fah by ttb
  • Punboon by ttb
  • Eastspring Asset Management

ติดตามข่าวสาร

  • social-media-fb-logo
  • social-media-line-logo
  • social-media-tiktok-logo
  • social-media-twitter-logo
  • social-media-linkedin-logo

สำนักงานใหญ่

  • 3000 ถนนพหลโยธิน แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

ติดตามข่าวสาร
  • fb-icon
  • line-icon
  • tiktok-icon
  • twitter-icon
  • linkedin-icon
  • เกี่ยวกับ ทีทีบี
  • โครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการและผู้บริหาร
  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ
  • ห้องข่าว
  • ติดต่อธนาคาร
  • ร่วมงานกับเรา
  • ค้นหาสาขา
  • รายงานเบาะแสการทุจริต
  • บริการอื่น ๆ
  • รายงานและการเปิดเผยข้อมูลคุณภาพการให้บริการ
  • ttb business click
  • ttb business one
  • ttb consumer
  • ttb DRIVE app
  • ttb property
  • ttb spark
  • ttb supply chain solutions
  • ttb web fleet service
  • fai-fah by ttb
  • Punboon by ttb
  • Eastspring Asset Management
© สงวนลิขสิทธิ์ 2568 ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
นโยบายความเป็นส่วนตัวลูกค้า
กลับสู่ด้านบน