external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

เมื่อ “สภาพคล่อง” ไม่ได้หมายถึงแค่เงินสด ทำไมบริษัทถึงยังต้องกู้เงิน?

9 ก.ย. 2565

ประสบการณ์ในการทำธุรกิจไม่ว่าสเกลไหนก็ต้องการ “สภาพคล่อง” คำว่าสภาพคล่องนี้จะเกิดมาพร้อมตั้งแต่การเริ่มต้นธุรกิจ หลายบริษัทที่ต้องล้มไม่ใช่เพราะไม่มีโอกาสทางการทำยอดขาย แต่เป็นเพราะ การขาดสภาพคล่อง จนมีคำกล่าวที่บอกว่า “ขายดีจนเจ๊ง” คือยังคงมีตลาดที่รองรับและมีความต้องการจากลูกค้า แต่หมดสภาพคล่องก่อนทำให้ส่งมอบสินค้าบริการไม่ได้ จนเกิดการติดขัดธุรกิจดำเนินการต่อไปไม่ได้ มีหลายคนนิยามว่า สภาพคล่องคือ “เงิน” หรือ “เงินสด” แต่แท้จริงแล้วสภาพคล่อง ยังรวมไปถึงมิติต่าง ๆ ในการดำเนินธุรกิจด้วย


กรณีตัวอย่าง บริษัทที่มีเงินสดเยอะที่สุดอันดับโลก แต่ก็ยังกู้เงินเพิ่ม เพราะเบื้องหลังคือการสร้าง ‘โอกาสทำกำไรได้มากกว่า’

ในปี 2019 บริษัทในอเมริกาที่ขึ้นชื่อว่าเป็นบริษัทที่มีเงินสดมากที่สุดในโลก แต่ด้วยเงินสดที่ถืออยู่นั้น ทางผู้บริหารก็ยังเลือกที่จะกู้เงินเพิ่ม เพื่อเสริมสภาพคล่อง โดยการเสริมสภาพคล่องนี้ไม่ใช่การเอามาเพื่อสำรองแต่อย่างใด แต่เป็นการใช้กลยุทธ์ทางการเงินที่คิดมาแล้ว เพื่อสร้างโอกาสทางเครดิตใหม่ โดยบริษัทนี้มีเงินสดที่อยู่ต่างประเทศจำนวนมาก หากนำมาใช้ในอเมริกาจะต้องเสียภาษีโอนเงินข้ามประเทศ เมื่อคำนวณดูแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่คุ้มค่าและเสียเปล่า จึงใช้หลักการกู้ยืมเงิน จากธนาคารเพื่อจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นและทำการซื้อหุ้นคืน ผลคือ ทำให้จำนวนหุ้นน้อยลง แต่กำไรต่อหุ้นกลับเพิ่มขึ้น (ในปี 2017 กำไรต่อหุ้น 286 บาท ในขณะที่ ปี 2018 กำไรต่อหุ้น 360 บาท เพิ่มขึ้นถึง 26%) สามารถสร้างผลตอบแทน ที่ดีให้แก่ผู้ถือหุ้นได้ อีกทั้งยังได้เครดิตที่ดี ในการกู้ยืมเงินในดอกเบี้ยที่ต่ำด้วย

จากกรณีนี้พบว่าแม้บริษัทจะมีเงินสดในมือจำนวนมากแต่ก็เลือกที่จะกู้ยืมเงิน เพราะเห็นประโยชน์บางอย่างที่ไม่ใช่แค่เป็นเงินสำรอง แต่มันให้อะไรมากกว่านั้น โดยหากวิเคราะห์สาเหตุที่บริษัทใหญ่เลือกที่จะกู้เงินเพิ่มนั้น อาจมีสาเหตุดังต่อไปนี้


สาเหตุที่หลายบริษัทใหญ่เลือกกู้เงิน อาจเป็นเพราะสภาพคล่องที่มากกว่าเรื่องของเงิน โดยมีสาเหตุหลัก ๆ คือ

 


1. การกู้เงินมาขยายธุรกิจเป็นการสร้างโอกาสทำกำไรที่มากขึ้น

การกู้เงินหรือสินเชื่อเป็นอีกหนึ่งแหล่งเงินทุนที่ SME ไม่ควรพลาด เพราะเมื่อมีเงินทุนมาก ก็จะขยายโอกาสทำกำไรได้มากขึ้น เช่น ยิ่งซื้อมากก็จะได้ส่วนลดทางการค้าที่คุ้มค่า หรือการกำหนดราคาได้เอง พูดง่าย ๆ คือหากมีเงินมากพอก็จะมีอำนาจต่อรอง เพื่อให้ได้กำไรที่มากขึ้น ในขณะที่ต้นทุนต่ำลง นอกจากนี้ยังสามารถนำเงินไปลงทุน

กับการวางแผนธุรกิจ เพื่อออกแบบภาพรวมการดำเนินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อย่นระยะเวลาและพัฒนาการสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจ เช่น กลยุทธ์การตลาด การพัฒนาคลังสินค้า เพิ่มช่องทางการขนส่ง จัดการประสิทธิภาพวัตถุดิบและการขาย เป็นต้น


2. การกู้เงินช่วยลดภาษีธุรกิจลงได้

ด้วยนโยบายทางการเงินจะเห็นว่าการกู้เงินที่ดีนั้น ไม่ควรกู้ตอนจะใช้ แต่ควรวางแผนที่จะกู้เพื่อใช้ คือมีการวางแผนทั้งในส่วนของการดำเนินการและคิดเผื่อในส่วนของงบการเงินทั้งหมด โดยประโยชน์ที่จะได้รับเต็ม ๆ จากการกู้เงินคือ การใช้อัตราส่วนที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยไปลงเป็นรายจ่ายบริษัททางบัญชี เพื่อให้โดยรวมแล้วช่วยลดภาษีทางธุรกิจลงได้


3. สร้างโอกาสในการตอบรับโอกาสใหญ่ในอนาคต

โอกาสใหญ่ทางธุรกิจหลายครั้งมักเข้ามาแบบไม่มีจังหวะบอกล่วงหน้า การเตรียมพร้อมทางด้านโอกาสใหญ่นั้น “เงินทุน” เป็นสิ่งจำเป็น ในทุก ๆ ปีแต่ละบริษัทต้องวางแผนเผื่อส่วนเติบโต ซึ่งในส่วนนี้จะเป็นตัวเผื่อในการรองรับขนาดของโอกาส การเผื่อให้บริษัทสามารถรองรับโอกาสใหญ่ได้จึงต้องวางแผนในส่วนของการใช้เงินกู้เข้ามาช่วย และข้อดีในส่วนนี้คือ สามารถคิดถึงโอกาสสเกลไหนก็ได้ แบบไร้ข้อจำกัดทางความคิด ซึ่งเป็นผลดีในการต่อยอดให้เกิดการเติบโตของธุรกิจได้


4. การกู้เงินช่วยเพิ่มช่องทางการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน

ต้นทุนทางการเงินของบริษัทนั้นต้องบริหารความเสี่ยง นอกจากความเสี่ยงทางการดำเนินการของบริษัทแล้ว ยังสามารถสร้างโอกาสทางการเงินได้ โดยเพิ่มการลงทุนผ่านช่องทางต่าง ๆ เปรียบเสมือน เม็ดเงินในบริษัทเป็นทหาร ต้องมีการส่งไปในที่ ที่มีผลประโยชน์สูงสุดในแต่ละจังหวะเวลา ดังนั้นจึงมีบริษัทที่จะกู้เงินมาเพิ่มเพื่อหมุนเวียนใช้ในบริษัทและนำเงินบางส่วนไปลงทุนต่อยอดแหล่งอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อลดความเสี่ยงที่หากบริษัทสะดุด ก็ยังคงมีแหล่งทุนสำรองอื่น ๆ ช่วยพยุงได้

แต่อย่างไรก็ตาม SME ควรคำนึงถึง การกู้เงินอย่างเหมาะสม โดยไม่มีสัดส่วนหนี้มากกว่าสินทรัพย์ ไม่เกินตัว มีวัตถุประสงค์ในการใช้ชัดเจน ไม่ใช่กู้มาเพื่อต้องการสร้างเครดิตและความน่าเชื่อถือเพียงอย่างเดียว แต่เป็นแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมและเพียงพอ เพื่อให้ขยายธุรกิจได้เต็มศักยภาพ


สภาพคล่องที่ได้มากกว่าตัวเงิน ttb sme Smart Biz สินเชื่อเพื่อธุรกิจเสริมสภาพคล่อง

ประโยชน์ของการมีสินเชื่อนั้น มีผลมากกว่าในแง่ของเงิน เพราะสามารถลดความเสี่ยง รวมไปถึงการเป็นส่วนเสริมให้ปลดล็อคการแสดงศักยภาพของบริษัทได้แบบเต็มที่ โดยย่นระยะเวลาของความสำเร็จ แบบเท่าทันโอกาสทางธุรกิจ ที่เข้ามาท่ามกลางการแข่งขันทางธุรกิจในยุคปัจจุบัน แบบตัวช่วย ttb sme smart biz สินเชื่อธุรกิจ สำหรับ เอสเอ็มอี สามารถใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันได้ทุกประเภท เพื่อให้เจ้าของธุรกิจได้จัดสรรเพื่อใช้ในการบริหารงาน หรือการลงทุนต่อยอดธุรกิจได้ ซึ่งประกอบไปด้วยสินเชื่อเงินกู้เบิกเกินบัญชี และสินเชื่อระยะยาวเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการทางธุรกิจแต่ละประเภท ตอบโจทย์ทุกรูปแบบสินเชื่อที่ต้องการ


ทีทีบี เอสเอ็มอี สมาร์ทบิส (ttb sme smart biz)
สินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอี

  1. วงเงินสูงสุด 50 ล้านบาท
  2. ผ่อนนานสูงสุด 20 ปี
  3. เหมาะสำหรับใช้ในการก่อสร้างสถานประกอบการ หรือ ซื้อทรัพย์สิน/สถานประกอบการเงินทุนหมุนเวียนกิจการ
  4. ใช้หลักทรัพย์ในการค้ำประกันได้ทุกประเภท ได้แก่ ที่ดินเปล่า สถานประกอบการ บ้าน ออฟฟิศ และเงินฝาก
  5. สะดวก เพราะสามารถตรวจสอบวงเงิน O/D ได้ตลอด 24 ชม. ผ่านแอป ทีทีบี บิสสิเนสวัน
  6. ประหยัดต้นทุน ได้วงเงินแล้ว โอนฟรี ! ผ่านทีทีบี บิสสิเนสวัน คู่กับบัญชีธุรกิจ ทีทีบี เอสเอ็มอี วันแบงก์

สนใจคลิกที่นี่


ทั้งหมดนี้คือข้อดีของการมีสินเชื่อทางธุรกิจที่เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่จะช่วยให้ธุรกิจเติบโต จากแหล่งเงินทุนที่พร้อม เปรียบเสมือนท่อลำเลียงน้ำที่คอยหล่อเลี้ยงให้ส่วนต่าง ๆ ของธุรกิจเกิดสภาพคล่องและเป็นไปได้อย่างราบลื่น

สินเชื่อธุรกิจ ทีทีบี เอสเอ็มอี สมาร์ทบิส
ให้ SME วางไว้ให้ช่วยขับเคลื่อนธุรกิจได้ทุกสถานการณ์
เสริมสภาพคล่องต่อยอดธุรกิจให้ประสบสำเร็จและเติบโตอย่างยั่งยืน


ที่มา :


finbiz by ttb โครงการเสริมความรู้ ต่อยอด เอสเอ็มอี สู่การเป็น Smart SME

ผ่านหลากหลายแพลตฟอร์ม พร้อมองค์ความรู้ที่ครบครัน จาก Partner ชั้นนำทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อให้ธุรกิจรับมือกับความเปลี่ยนแปลง พร้อมปรับตัวในยุคดิจิทัล และเติบโตอย่างยั่งยืน

“ครบ จบในที่เดียว ปรับใช้ได้ง่าย ต่อยอดได้จริง สู่การเป็น Smart SME”


อัปเดตทุกดิจิทัลเทรนด์ และความรู้ดี ๆ ที่ SME ไม่ควรพลาด
เพียงแอดไลน์ @ttbSME หรือคลิกเพิ่มเพื่อน


บทความในหมวดเดียวกัน


ผลิตภัณฑ์แนะนำ