ในการประกอบกิจการในไทยไม่น้อยเลยที่ต้องทำการค้าขายกับต่างประเทศอยู่เสมอ ทั้งวัตถุดิบต่าง ๆ หรือสินค้าซื้อมาขายไปก็ตาม และคู่ค้าที่มาแรงเป็นอันดับหนึ่งใน 5 ปีหลังนี้ ก็คือประเทศจีนนั่นเอง และครั้งนี้ finbiz by ttb จะขอนำเสนออีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ประกอบการที่ค้าขายกับต่างประเทศสร้างความได้เปรียบได้จากสกุลเงิน
ข้อมูลสนับสนุนจากศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ชี้ให้เห็นว่า ประเทศไทยมีการค้ากับประเทศในภูมิภาคมีสัดส่วนที่สูงถึง 50% โดยสัดส่วนประเทศคู่ค้าอันดับหนึ่งที่ทำการค้ากับประเทศไทย ก็คือจีน เป็นสัดส่วนถึง 18.4% และ กลุ่มประเทศอาเซียน 18.5% ในขณะที่ผู้ประกอบการยังคงใช้สกุลดอลลาร์สหรัฐเป็นสกุลหลักถึง 79.6% และเป็นสกุลเงินที่มีความผันผวนที่สูงถึง 15.5% ในปีที่ผ่านมา ซึ่งสูงกว่าสกุลท้องถิ่นทั่วไป ผู้ประกอบการจึงต้องเผชิญความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน ในขณะที่เงินสกุลบาทและเงินสกุลในภูมิภาคมักจะเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกัน
ในทางกลับกัน หากผู้ประกอบการเปลี่ยนมาใช้สกุลเงินท้องถิ่น (Local Currencies) ในการดำเนินธุรกิจ อาทิ จีนหยวน เกาหลีวอน อินโดนีเซียรูเปียะ อินเดียรูปี มาเลเซียริงกิต ที่มีการปรับตัวไปในทิศทางเดียวกับเงินบาท จะช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐได้ ซึ่งในอนาคตการใช้สกุลหยวนยังมีแนวโน้มที่จะเป็นเงินสกุลหลักอีกสกุลหนึ่ง ด้วยนโยบายของทางการจีนกำลังผลักดันให้เงินหยวนเป็นที่ต้องการในด้านการค้าระหว่างประเทศของโลก ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้มีการผ่อนคลายเกณฑ์ธุรกรรมในบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ (FCD) ได้อย่างเสรีมากขึ้น และสนับสนุนการใช้เงินสกุลท้องถิ่นในการค้าขายระหว่างประเทศ เพื่อผลักดันให้เกิดระบบนิเวศของตลาดอัตราแลกเปลี่ยนใหม่ (New FX Ecosystem)
มาเจาะลึกที่คู่ค้าอันดับหนึ่งของไทยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาอย่างจีน ผู้ประกอบการไทยโดยส่วนใหญ่ยังคงใช้เป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐในการซื้อขายกับจีน จึงจะต้องแปลงเงินไทยไปเป็นดอลลาร์สหรัฐ และค่อยแปลงจากดอลลาร์ไปเป็นหยวนอีกที ทำให้มีความท้าทายด้านต่าง ๆ ดังนี้
- ความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างดอลลาร์กับสกุลเงินไทยและจีนมีความผันผวน ซึ่งสร้างความไม่แน่นอนของการแลกเปลี่ยนเงินตราในช่วงเวลาที่ต่างกันได้ และอาจกระทบกับการวางแผนธุรกิจระยะยาว
- มีค่าธรรมเนียมในการแลกเปลี่ยนเงินตรา ร้านค้าและธุรกิจต่าง ๆ จะต้องจ่ายค่าแลกเปลี่ยนเงินตราเพื่อแปลงเป็นดอลลาร์ ซึ่งอาจมีค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในกระบวนการนี้ ที่ส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น
- การอ้างอิงกับเศรษฐกิจของประเทศอื่น การซื้อขาย ระหว่าง ไทย และ จีน ที่ความจริงไม่ได้เกี่ยวข้องกับสหรัฐอเมริกา แต่การใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ จึงทำให้ต้องมีจุดเชื่อมโยงกับสหรัฐอเมริกา ดังนั้น หากเกิดวิกฤติการณ์เศรษฐกิจ หรือนโยบายทางการเงินในสหรัฐอเมริกา อาจส่งผลกระทบต่อประเทศไทยและจีนเช่นกัน
จะดีกว่าไหม ถ้าเราจะเลือกใช้สกุลเงินให้เหมาะกับประเทศที่เราค้าขาย
การที่ผู้ประกอบการไทยที่นำเข้าสินค้าใช้เงินสกุลได้เหมาะกับการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะการนำเข้าส่งออกกับจีนที่เป็นคู่ค้าอันดับหนึ่ง การหันมาใช้สกุลเงินท้องถิ่นเป็นสกุลหลักในการค้าขาย ก็จะช่วยแก้ปัญหาทั้ง 3 ข้อด้านบนได้ และยังมีเหตุผลสนับสนุนได้หลายด้าน ดังนี้
- ลดความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ช่วยให้ผู้ประกอบการลดการสูญเสียที่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่คาดคิดได้ จึงสามารถวางแผนการเงินและการจัดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- ลดค่าใช้จ่ายด้านธรรมเนียมในการแลกเปลี่ยนเงินตรา การทำธุรกิจโดยใช้สกุลเงินตราที่แตกต่างกันอาจเสียค่าธรรมเนียมในการแปลงเงินสกุล นอกจากนี้ยังลดค่าใช้จ่ายในด้านอื่น ๆ เช่น ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมทางการเงินที่เกิดจากการแปลงสกุลเงินต่าง ๆ ดังนั้นการซื้อขายด้วยสกุลเงินเดียวกันจึงหมดความกังวลด้านค่าธรรมเนียมที่จะเกิดขึ้นในกระบวนต่าง ๆ ของการแลกเปลี่ยนเงินตรา
- สร้างโอกาสขยายตลาดไปยังเป้าหมายใหม่ ในการทำธุรกิจกับจีนการใช้เงินสกุลหยวนจะสร้างความเข้าใจกับตลาดจีนมากขึ้น ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่และมีศักยภาพในการเจริญเติบโตอย่างมาก ช่วยให้ผู้ประกอบการได้รับความไว้วางใจจากฝ่ายผู้ค้าและลูกค้าในจีนมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้มีโอกาสทางธุรกิจที่ดีกว่าและสร้างโอกาสในการขยับขยายได้
- เพิ่มโอกาสในการแลกเปลี่ยนความคิดและนวัตกรรม โดยเฉพาะกับจีนการที่ผู้ประกอบการไทยสามารถเข้าถึงตลาด สินค้าและบริการจากท้องถิ่น ด้วยสกุลเงินหยวนเป็นการสร้างความได้เปรียบในการเข้าถึงสินค้าและบริการที่มีราคาที่ดีกว่า และคุณภาพสูง เป็นโอกาสในการแลกเปลี่ยนความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมจากจีนได้ ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาธุรกิจของไทย
- เป็นการเตรียมตัวเพื่ออนาคต เพราะจากข้อมูลของธนาคารโลกในปี 2021 ชี้ให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้ว่าเงินหยวนจะกลายเป็นสกุลเงินกลางของเอเชียในอนาคตอันใกล้ เนื่องจากจีนเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลก และการค้ากับประเทศอื่นๆ ในเอเชียก็เติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้การใช้เงินหยวนในการค้าระหว่างจีนและประเทศอื่นๆ ในเอเชียจะช่วยลดต้นทุนและเพิ่มความสะดวกในการซื้อขาย สิ่งนี้จะช่วยกระตุ้นการค้าและการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาค รวมถึงเป็นความพยายามของรัฐบาลจีนที่จะผลักดันให้เงินหยวนเป็นสากลมากขึ้น
กล่าวได้ว่าในการซื้อขาย หรือนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศด้วยสกุลเงินท้องถิ่น จะช่วยให้ผู้ประกอบการลดอัตราความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงินต่อช่วงเวลาลงได้ และลดความเสี่ยงจากการผันผวนของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ที่อิงกับเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกา รวมถึงลดค่าธรรมเนียมในกระบวนการแลกเปลี่ยนเงินตราในแต่ละครั้งที่จะเกิดขึ้น นอกเหนือไปกว่านั้นเป็นการสร้างโอกาสความใกล้ชิดกับคู่ค้า และตลาด อันส่งสร้างความได้เปรียบทางด้านการค้า การพัฒนานวัตกรรม การเข้าใจมุมมองของท้องถิ่นได้มากขึ้น
เตรียมความพร้อม...ในการใช้สกุลหยวนในการค้าขายกับจีน
จากที่กล่าวมาข้างต้นชี้ให้เห็นว่า ผู้ประกอบการสามารถบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้มากขึ้น โดยการเปลี่ยนมาใช้สกุลเงินท้องถิ่น (Local Currencies) ในการดำเนินธุรกิจไม่เพียงแต่เงินหยวนที่ใช้ค้าขายกับจีนเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการค้าขายอื่น ๆ กับประเทศในท้องถิ่นเดียวกัน อาทิ อินโดนีเซียรูเปียะ อินเดียรูปี มาเลเซียริงกิต เนื่องจากสกุลเงินท้องถิ่นมีการปรับตัวไปในทิศทางเดียวกับเงินบาท และช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ที่ยังคงมีแนวโน้มผันผวนค่อนข้างมาก หากผู้ประกอบการกระจายมาใช้ค่าเงินท้องถิ่น จะช่วยให้ผู้ประกอบการบริหารต้นทุนธุรกิจได้ง่ายขึ้นและลดความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงินได้เป็นอย่างดี
ทีทีบี จึงมีบริการสกุลเงินท้องถิ่นสำหรับการค้าระหว่างประเทศ (ttb Local Currency services) ที่ช่วยลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจและมีเวลาดูแลธุรกิจได้ดีขึ้น
บริการสกุลเงินท้องถิ่นสำหรับการค้าระหว่างประเทศ (ttb Local Currency services) ให้บริการสกุลเงินท้องถิ่นได้ครอบคลุมสกุลเงินของประเทศคู่ค้าหลักของผู้ประกอบการ และสำหรับผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจกับจีน ก็ยังมีให้บริการการจัดการความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนด้วยสกุลหยวน โดยเป็นธนาคารแรกและธนาคารเดียวที่ให้บริการ Yuan Pro rata Forward ที่มีจุดเด่นคือ
- ปิดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
- สามารถทราบอัตราแลกเปลี่ยนที่แน่นอนตั้งแต่วันที่ทำธุรกรรม
และไม่เพียงแต่สกุลเงินหยวนเท่านั้น ทีทีบียังตั้งเป้าที่จะเป็นผู้นำด้านการบริหารอัตราแลกเปลี่ยน (FX) และการจัดการความเสี่ยงด้วยสกุลเงินท้องถิ่น (Local Currency) โดยจะมีสกุลเงินที่ขยายบริการเพิ่มขึ้นอีก 4 สกุล ในปีนี้ ได้แก่ เกาหลีวอน (KRW) อินโดนีเซียรูเปียะ (IDR) เวียดนามดอง (VND) และ ฟิลิปปินส์เปโซ (PHP)
สำหรับผู้ประกอบการที่ประกอบธุรกิจกับจีนยิ่งได้เปรียบอย่างมากด้วยบริการ บริการสกุลเงินท้องถิ่นสำหรับการค้าระหว่างประเทศ (ttb Local Currency services) จาก ทีทีบี ทราบแล้วผู้ประกอบการเอสเอ็มอี อย่างปล่อยให้ความได้เปรียบนี้หลุดมือ!
ที่มา :
- ttb analytics
- ตลาดเงินและธุรกรรมต่างประเทศ ทีทีบี
finbiz by ttb
โครงการเสริมความรู้สู่การเป็น Smart SME ผ่านหลากหลายแพลตฟอร์ม
พร้อมองค์ความรู้ ที่ครบครัน จาก Partner ชั้นนำทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน
เพื่อให้ธุรกิจสามารถก้าวผ่านความท้าทายของโลกปัจจุบัน
ปรับตัวตอบโจทย์ยุคดิจิทัล พร้อมมุ่งสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
อัปเดตทุกดิจิทัลเทรนด์ และความรู้ดี ๆ ที่ SME ไม่ควรพลาด
เพียงแอดไลน์ @ttbSME