external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

หนึ่งคนกระทบทั้งธุรกิจ เทคนิคการป้องกันธุรกิจ ให้ SME เดินต่อได้

5 พ.ค. 2565

ย้อนไปตั้งแต่วันแรกที่ทำธุรกิจ วันที่ต้องเริ่มทำเองทุกอย่าง มีเพียงทีมงานเล็ก ๆ แค่ไม่กี่คน ที่ค่อย ๆ หล่อเลี้ยงธุรกิจ ให้เติบโตและแข็งแกร่งขึ้น ทุกอย่างนั้นอยู่ได้เพราะความหวังหรือเความเชื่อของคนเป็นเจ้าของธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจ SME ที่เจ้าของคือทุกอย่างของบริษัท

คนที่เป็นเจ้าของธุรกิจโดยเฉพาะเอสเอ็มอีนั้นเปรียบเสมือนเป็นหัวเรือใหญ่ที่ควบคุมหางเสือเรือและคอยชี้ทาง แต่การเป็นเจ้าของธุรกิจที่เก่งและสามารถพาธุรกิจไปได้ไกล ต้องสร้างองค์กรให้ดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ถึงแม้จะไม่มีตัวเอง โดยมุ่งเน้นที่การสร้าง ‘ผลกำไร’ ซึ่งเป็นจุดประสงค์ในการทำธุรกิจของเหล่าผู้ประกอบการทุกคน

มิติของผลกำไร ไม่ใช่เฉพาะแค่เงินเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง เรื่องการบริหารเวลา เรื่องคน และ กระบวนการทำงานที่ดีมีประสิทธิภาพ พันธมิตรที่ดี พนักงานที่มีคุณภาพ องค์ความรู้ในการผลิตสินค้าหรือกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพต่าง ๆ ที่ทำให้เจ้าของธุรกิจสามารถต่อยอดดำเนินการกิจกรรมทางธุรกิจต่อไปได้

หน้าที่ที่สำคัญของเจ้าของธุรกิจ คือการกำหนดทิศทาง, เพิ่มรายได้ และลดความเสี่ยง ดังนั้นเมื่อได้กำไรมาแล้ว สิ่งที่เจ้าของธุรกิจต้องทำต่อไปคือ “การสร้างเกราะป้องกัน” ที่จะช่วยให้ธุรกิจมั่นคง และสามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง แม้ต้องเผชิญกับวิกฤติ โดยเกราะป้องกันนั้น ต้องเริ่มจากตัวผู้ประกอบการ ไปจนถึงธุรกิจ โดยมีเทคนิคดังนี้


“เทคนิคการสร้างเกราะป้องกัน” เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินได้ต่อเนื่องอย่างเป็นระบบ


1. กระจายงาน “หน่วยทำกำไร”

เป็นเจ้าของธุรกิจที่เก่งกาจคนเดียว ไม่สามารถสู้เจ้าของธุรกิจที่เก่งและมีทีมที่เก่งด้วยได้
ธุรกิจขนาดที่ไม่ใหญ่มาก อาจเริ่มต้นด้วยเจ้าของธุรกิจที่เก่งกาจเพียงคนเดียวได้ แต่การจะต่อยอดไปถึงธุรกิจในขนาดที่ใหญ่ขึ้นนั้น ต้องเพิ่มศักยภาพของคนในแผนกต่าง ๆ โดยมีผู้นำทีมที่แข็งแกร่งและเก่งกาจ

งานวิจัยหาคำตอบเรื่อง “การกระจายอำนาจให้พนักงานมีความเชื่อมโยงกับผลการทำงานที่ดีขึ้น หรือไม่” ซึ่งได้เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 105 กลุ่ม ประกอบไปด้วยพนักงานกว่า 30,000 คน พบว่า การให้อำนาจพนักงานได้คิดและตัดสินใจเอง จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและก่อให้เกิดความผูกพันต่อองค์กรมากขึ้น ดังนั้น หน้าที่ของเจ้าของธุรกิจที่จะประสบความสำเร็จ ต้องกระจายอำนาจได้เก่งควบคู่ไปด้วย เพื่อให้ธุรกิจมีระบบภายในที่แข็งแกร่ง สามารถเรียนรู้แบบต่อยอด กับพนักงานทุกระดับ สร้างเสถียรภาพในองค์กรอย่างเป็นอิสระ ไม่ขึ้นอยู่กับเฉพาะเพียงเจ้าของธุรกิจเท่านั้น

 

สิ่งเดียวที่เป็นปัจจัยทำให้องค์กรไปไม่รอดนั่นคือ “การหมดสภาพคล่อง” ซึ่งมีส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ ‘เงิน’ และ ‘เวลา’


2. “สิ่งที่ทำ” ต้องควบคู่ไปกับเกราะป้องกันคือ “จังหวะเวลา”

ทำโปรเจ็กใหญ่ 1 งาน แต่โดนดึงเวลา ก็อาจหมดสภาพคล่องทางการเงินได้ ขณะเดียวกันหากทำงานขนาดเล็ก 10 งาน แต่กระชับเวลาให้เร็วขึ้น อาจสร้างสมดุลได้ดีกว่า

มิติของกำไรนั้นมีหลายส่วน แต่มีเพียงส่วนย่อยเดียวที่สำคัญมากพอจะทำให้องค์กรนั้นอยู่รอดหรือไม่ นั่นคือ “เวลา” จากผลสำรวจธุรกิจ SME ที่ตั้งใหม่นั้น มักอยู่ได้ไม่เกิน 3-5 ปี เมื่อเจาะลึกถึงสาเหตุพบว่า ส่วนใหญ่นั้นไม่ใช่เพราะไม่มีโอกาสหรือไม่มีหนทางในการทำกำไร สิ่งเดียวที่เป็นปัจจัยทำให้องค์กรไปไม่รอดนั่นคือ “การหมดสภาพคล่อง”

ซึ่งการหมดสภาพคล่อง มีสาเหตุมากจาก 2 ส่วน คือ ‘เงิน’ และ ‘เวลา’ ฉะนั้น วิธีการสร้างเกราะป้องกันผลกำไร จำเป็นต้องวางกิจกรรมที่ทำควบคู่ไปกับ “จังหวะเวลา” เช่น หากมีงานใหญ่หนึ่งงานและประเมินคร่าว ๆ ว่าต้องใช้เวลามาก ให้วางแผนเตรียมตัวด้วยการมีเงินทุนเผื่อระยะยาวหรือการมีงานเล็กที่ใช้ระยะเวลาน้อยกว่า ได้เงินเร็วกว่า มาวางควบคู่กันไปในช่วงเวลาเดียวกัน เพื่อไม่ให้หมดสภาพคล่อง


3. ป้องกันทรัพย์สินที่ทำกำไรได้สูงสุด “เจ้าของธุรกิจ” คือหนึ่งในตัวแปรที่ต้องจัดการเป็นอันดับแรก

หากพูดถึง ทรัพย์สินที่สำคัญที่สุดของทุกธุรกิจ นั่นคือ “ตัวผู้ประกอบการเอง” เพราะ ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจ คือคนที่วางทิศทางและผลักดันส่วนต่าง ๆ รวมทั้งการเชื่อมต่อให้ทั้งองค์กรเดินหน้าได้ หลายครั้งที่องค์กรสะดุดล้ม สาเหตุมาจากตัวเจ้าของธุรกิจเอง

การป้องกันผลกำไรทางความเสี่ยงนี้ จึงต้องมีตัวช่วยแบบ ttb one life ให้ทุกธุรกิจมีหลักประกัน ปกป้องทรัพย์สินที่สำคัญที่สุด ทั้งเจ้าของธุรกิจและครอบครัว เพื่อสร้างความมั่นใจ ลดภาระหนี้สินคงค้างตามการคุ้มครองให้ได้มากที่สุด แบบไม่ต้องถึงรุ่นต่อไป


จุดเด่น ttb one life business insurance
ประกันสินเชื่อธุรกิจ ทีทีบี วันไลฟ์

  1. ในกรณีผู้เอาประกันตรวจพบโรคร้ายแรงระยะรุนแรง เสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง บริษัทประกันฯ จะคุ้มครองในการจ่ายเงินสินไหมทดแทนให้ แก่ธนาคารตามภาระหนี้คงค้างที่มีอยู่กับธนาคารแทนผู้เอาประกัน เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการสูญเสียธุรกิจในอนาคต
  2. ค่าเบี้ยประกันภัยสามารถนำมารวมเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทได้ กรณีสมัครเอาประกันภัยในนามนิติบุคคล


รูปแบบประกัน มี 2 ประเภท

  1. คุ้มครองสินเชื่อเพื่อธุรกิจประเภทเงินกู้ ให้ความคุ้มครองแบบทุนประกันภัยที่ลดลงตามระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้
  2. คุ้มครองสินเชื่อเพื่อธุรกิจประเภทสินเชื่อหมุนเวียน ให้ความคุ้มครองแบบทุนประกันภัยคงที่ตลอดสัญญา


สนใจสร้างเกราะป้องกันความเสี่ยงแบบทันที ดูรายละเอียด ทีทีบี วันไลฟ์ ได้ที่นี่

“การเลี่ยงที่จะเผชิญความเสี่ยงในระยะยาวนั้น ไม่ได้ดีไปกว่าการเผชิญหน้ากับมันเลยแม้แต่น้อย” — Helen Keller


ที่มา :


finbiz by ttb โครงการเสริมความรู้ ต่อยอด เอสเอ็มอี สู่การเป็น Smart SME

ผ่านหลากหลายแพลตฟอร์ม พร้อมองค์ความรู้ที่ครบครัน จาก Partner ชั้นนำทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อให้ธุรกิจรับมือกับความเปลี่ยนแปลง พร้อมปรับตัวในยุคดิจิทัล และเติบโตอย่างยั่งยืน

“ครบ จบในที่เดียว ปรับใช้ได้ง่าย ต่อยอดได้จริง สู่การเป็น Smart SME”


อัปเดตทุกดิจิทัลเทรนด์ และความรู้ดี ๆ ที่ SME ไม่ควรพลาด
เพียงแอดไลน์ @ttbSME หรือคลิกเพิ่มเพื่อน


บทความในหมวดเดียวกัน


ผลิตภัณฑ์แนะนำ