external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง



ติดสปีดธุรกิจอาหาร เปลี่ยนให้ไว... ปรับยังไงให้รอด

จากงานสัมมนาออนไลน์ “ติดสปีดธุรกิจอาหาร เปลี่ยนให้ไว...ปรับยังไงให้รอด”  โดย finbiz by ttb สำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มที่ผ่านมา พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญในวงการอาหาร เทรนด์ และด้านการเงินการธนาคาร อย่างคุณพจนา พะเนียงเวทย์ จาก บมจ.ไทยเพรซิเดนท์ ฟูดส์ คุณปรมา ทิพย์ธนทรัพย์ จาก Baramizi lab และคุณศมน คุ้มธรรมพินิจ จาก ทีทีบี ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนมุมมองประสบการณ์ จับประเด็นแนวโน้มธุรกิจอาหาร และทิศทางสำหรับ 3 – 5 ปีข้างหน้า

ธุรกิจอาหารโต…สวนทางเศรษฐกิจภาพรวม

จากข้อมูลของศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี มองภาพรวมของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ แม้จะติดลบ จากสถานการณ์โควิด-19 แต่อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ยังเป็นอุตสาหกรรมที่ยังคงมีการเติบโต แม้ว่าจะเติบโตขึ้นเล็กน้อยเพียง 2% แต่ก็ยังเป็นตลาดขนาดใหญ่ ที่มีมูลค่ากว่าหนึ่งล้านล้านบาท และมีศักยภาพที่สามารถไปต่อได้แม้ในช่วงวิกฤต ดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้องคอยปรับตัวและตื่นตัวอยู่เสมอ เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงให้ท้าทายอยู่ตลอดเวลา

เมื่อผู้บริโภคเปลี่ยนไว…

สรุปจากการศึกษาวิจัยข้อมูลของ Baramizi lab ช่วงที่ผ่านมา ประเด็นที่เกี่ยวกับพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค New normal หลังยุคโควิด พบว่า ผู้บริโภคจะมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการหันมาทำอาหารเพื่อรับประทานเองในบ้าน เพิ่มขึ้นในระดับ 40.6% และซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์เพิ่มถึง 32% สะท้อนให้เห็นโอกาสของช่องทางออนไลน์ที่เติบโตขึ้น โดยมีแนวโน้มว่าหลังโควิด-19 พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงจะมีทั้งเพิ่มขึ้นและลดลง



3 กลุ่มพฤติกรรมหลักของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป…

นอกจากพฤติกรรมในยุค New normal ที่เปลี่ยนแปลงไป เรายังพบ 3 พฤติกรรมหลักที่จะเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ดังนี้

1. การกินที่เน้นสุขภาพ

  • อาหารที่เสริมภูมิคุ้มกัน (Immunity boosting) จากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ทำให้ผู้บริโภคมองหาอาหารเพื่อเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันมากขึ้น
  • การจัดการโภชนาการเฉพาะบุคคล (Personalized nutrition) ในยุคที่ข้อมูลและ AI สามารถออกแบบโภชนาการสำหรับแต่ละบุคคลได้ ซึ่งทำให้เราสามารถออกแบบอาหารเพื่อตอบสนองต่อความแตกต่างของแต่ละบุคคลได้มากที่สุด
  • การกินเพื่อสุขภาพใจ (Well-mental eating) สารต่าง ๆ ช่วยเพิ่มความสมดุล สภาวะทางอารมณ์ อย่างพรีไบโอติก ไปสร้างสมดุลในลำไส้ เมื่อทุกอย่างในร่างกายดี ก็ส่งผลกับสารในสมองที่ดี ทำให้สุขภาพจิตดีไปด้วย

2. การกินที่เน้นประสบการณ์ทางการกิน

  • ท่องเที่ยวสายกิน (Gastronomy tourism) ที่มุ่งเน้นการไปกินอาหารที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมและการใช้ชีวิต ให้การกินในยุคนี้มี Story ถ่ายรูปและแชร์ลงโซเชียลมีเดีย เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงไลฟ์สไตล์ของตนเอง
  • อาหารการกินของวัยเก๋า (Elderly food) สังคมผู้สูงอายุกำลังเพิ่มสูงขึ้น การย้อนหาอาหารในวัยเด็ก การมีอาหารที่เหมาะสมกับวัยสูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และต้องมีการจัดการโภชนาการที่เหมาะสมกับช่วงวัย เช่น ไม่หวาน ย่อยง่าย มีประโยชน์ อาหารเป็นยา
  • ครัวที่แชร์กันมากขึ้น (Shared kitchen) มีการแบ่งปันพื้นที่ในการทำอาหารและกินอาหารร่วมกัน

3. การกินที่เน้นช่วยให้โลกดีขึ้น

  • กินอาหารเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiverse dining) ปัจจุบันมีการกระตุ้นให้คนกินอาหารที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อให้การผลิตมีความหลากหลาย ซึ่งจะส่งผลให้ลดผลกระทบทางชีวภาพต่อโลก และดีกับสุขภาพ
  • การแก้ปัญหาขยะอาหาร (Food waste rescue) พบว่า 1 ใน 3 ของอาหารที่เรากินจะเป็นอาหารที่ต้องทิ้งเพื่อเป็นขยะ ซึ่งเกิดการเหลือของส่วนที่กินไม่ได้ หายไปจากการตัดแต่งและประกอบอาหาร   เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีการรณรงค์ให้ผู้คนตระหนักถึงการกินอาหารให้มีส่วนทิ้งน้อยลง หรือมีการนำส่วนทิ้งไปรีไซเคิล เพื่อไม่ให้ไปเกิดเป็นมลภาวะต่อไป
  • โภชนาการรูปแบบใหม่ (Nutrition) เช่น การหาแหล่งโปรตีนใหม่ ที่ใช้เวลาน้อยลง และไม่สิ้นเปลืองทรัพยากรในการเลี้ยงสัตว์ 1 ตัว ซึ่งอาหารพวก Plant-based หรือแมลง อยู่ในกลุ่มเหล่านี้
ดังนั้น การรู้ทิศทางตลาด แนวโน้มผู้บริโภค นอกจากจะทำให้เราสามารถเตรียมพร้อมรับมือได้ถูกจุดแล้ว ยังทำให้เราได้เห็นช่องทาง และโอกาสในตลาด เพื่อเติบโต และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ถูกทิศทางอีกด้วย

โลกแห่งอนาคตอาหารและเครื่องดื่ม …

จากการวิเคราะห์ตลาดทั่วโลก พบว่าพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ซึ่งในมุมมองของธุรกิจผู้ผลิตอาหาร มองว่า 4 เทรนด์ใหญ่อาหารเหล่านี้จะเกิดขึ้นในอนาคตหลังปี 2564



ต้องเลือกเจาะตลาดที่ใช่…

จากข้อมูลของศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี เผยว่าอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตได้ โดยเฉพาะตลาดน้ำชาเขียวกับน้ำผลไม้ ที่มีมูลค่าสูงถึง 25,000 ล้านบาท เป็นโอกาสให้กับผู้ประกอบการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดังกล่าว อาทิเช่นการทำน้ำมังคุด ที่เป็นกระแสอยู่ในขณะนี้ ชี้ให้เห็นโอกาสเชิงปริมาณว่าผู้บริโภคไม่ได้บริโภคน้อยลง แค่เปลี่ยนช่องทางในการซื้อ เช่น การสั่งซื้อออนไลน์ สั่งซื้อจากผู้ผลิตโดยไม่ผ่านตัวกลาง จึงขอแนะนำในการโปรโมทให้ถึงผู้บริโภคตัวจริงด้วยช่องทางใหม่ ๆ นอกจากการเปลี่ยนช่องทางแล้ว การมองหาตลาดอื่น ๆ ด้วย อย่างเช่น ตลาดต่างประเทศที่สามารถฟื้นตัวได้แล้ว เช่น อเมริกา จีน ธุรกิจอาหาร ตลาดที่น่าไป คือ อินเดีย และพม่า เนื่องจากมีการบริโภคที่สูงขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการของไทยค่อนข้างมีศักยภาพ ทั้งซัพพลายเชนที่ดี ทรัพยากรพร้อม จึงอยากให้ลองมองโอกาสหรือติดต่อหน่วยงานที่จะช่วยขยายตลาดในประเทศนั้น ๆ ได้ เช่น สถานทูตหรือหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง



สูตร 4-3-3 ปรับยังไงให้รอด…

4 (ข้อ) ต้องรอด (ปรับ-ทิ้ง-เปลี่ยน-สด)

เคสตัวอย่างจากประสบการณ์ตรงของแบรนด์ระดับโลกอย่างมาม่า ที่ต้องปรับเปลี่ยนทุกอย่างเพื่อรับมือของสถานการณ์โควิด-19 โดยมีสูตรที่ใช้เมื่อต้องการผลลัพธ์ในขณะที่เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ โดยคุณพจนาเล่าว่า “สำหรับมาม่าเองใช้สูตร E + R = O โดยมีความหมายว่า E (Event) : เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น บวกกับ R (Response) : การตอบสนอง จะได้เท่ากับ O (Outcome) ผลลัพธ์ที่เราจะได้รับ ดังนั้น R ซึ่งเป็นปัจจัยที่เราควบคุมได้ เราจะต้องตอบสนองต่อเหตุการณ์ หรือรับมืออย่างไร เพื่อให้ได้ Outcome ที่ต้องการ สำหรับมาม่าในสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา หรือแม้กระทั่งเหตุการณ์อื่น ๆ ที่เข้ามา ความเห็นอกเห็นใจ ไม่ว่ากับลูกค้า คู่ค้า หรือภายในองค์กร ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก ความเห็นอกเห็นใจอย่างจริงใจ จะทำให้เราได้รับผลตอบแทนที่ดีกลับมา” และนอกจากนี้ยังฝาก 4 คำแนะนำ (ปรับ-ทิ้ง-เปลี่ยน-สด) ให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อให้สามารถอยู่รอดและรับมือกับสถานการณ์



3 (ข้อ) เตรียมพร้อมเพื่อเปลี่ยน

คุณปรมาได้เสริมแนวทางเทคนิคการทำธุรกิจออนไลน์ กับ 3 ขั้นตอน ในการเตรียมพร้อมเพื่อเปลี่ยนให้ได้ไวที่สุด และให้เช็คลิสต์ไว้สำหรับผู้ประกอบการได้ตรวจสอบตัวเองว่าธุรกิจของเรามีความพร้อมกับการเปิดรับพฤติกรรมผู้บริโภคใหม่ ๆ แล้วหรือไม่



เช็คลิสต์ในการตรวจสอบความพร้อมของธุรกิจ สำหรับยุคดิจิทัล





3 (ดิจิทัลโซลูชัน) ติดสปีดธุรกิจอาหาร

สุดท้ายคือ 3 ดิจิทัลโซลูชันทางการเงิน ที่คุณศมน จากทีทีบี ได้ฝากไว้ เพื่อการเติบโต ติดสปีดให้ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม เมื่อผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงสู่ช่องทางออนไลน์ แทนช่องทางแบบเดิม ๆ เช่นการเปลี่ยนวิธีรับชำระเงินเพื่อตอบรับให้สอดคล้องจึงเป็นเรื่องสำคัญ ในการเติบโต สร้างความสะดวก ง่าย ในการชำระเงิน ลดงานแอดมิน หรือแม้แต่การต่อยอดไปตลาดต่างประเทศ โดยแนะนำเครื่องมือทางการเงิน และที่ปรึกษามืออาชีพ ซึ่งจะช่วยติดสปีดธุรกิจอาหารให้ไปต่อได้



  • บัญชีสำหรับบริหารหลายสกุลเงิน ทีทีบี  (ttb multi-currency account หรือ MCA) บัญชีที่สามารถบริหารจัดการ 6 สกุลเงินในบัญชีเดียว สามารถโอนเงิน แลกเปลี่ยนเงิน และสามารถเรียกดูรายการเดินบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Statement) สะดวก ง่าย และรวดเร็ว ทำได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง อย่าง ทีทีบี บิสสิเนสวัน พร้อมรับดอกเบี้ยเงินฝากทันที เมื่อมีรายการโอนเงินเข้าบัญชี
  • วงเงินสินเชื่อหมุนเวียนระยะสั้นสำหรับผู้นำเข้า (OD for Importer) เพื่อชำระค่าสินค้าหรือบริการที่ผู้ซื้อซื้อจากต่างประเทศ
  • บริการรับชำระค่าสินค้าและบริการทางดิจิทัล (Digital Collection) ด้วยช่องทางและเครื่องมือที่หลากหลายผ่านระบบดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็น  เครื่องรูดบัตร ทีทีบี (ttb EDC)   บริการบริหารจัดการร้านค้าและรับเงินผ่าน QR (ttb smart shop)   บริการเรียกเก็บเงินผ่าน SMS ด้วย ttb quick pay  ซึ่งสะดวก ลดงานเอกสาร ปลอดภัยและลดการเดินทาง สอดรับกับเทรนด์และพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบันและอนาคต
นอกจากนี้การใช้เงินทุนให้ถูกประเภทก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้บริหารธุรกิจและต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ธุรกิจสามารถผ่านสถานการณ์เช่นนี้ผ่านไปได้ และเติบโตอย่างยั่งยืน ทีทีบีพร้อมเป็นทั้งพันธมิตรและผู้ให้คำปรึกษาทางการเงินที่จะทำให้ผู้ประกอบการเติบโตในธุรกิจไปด้วยกัน

เครดิต:
คุณพจนา พะเนียงเวทย์ กรรมการ บมจ. ไทยเพรซิเดนท์ ฟูดส์
คุณปรมา ทิพย์ธนทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเทรนด์ และคอนเซปแห่งอนาคต Baramizi lab
คุณศมน คุ้มธรรมพินิจ Agile Commercial Digital Innovation ttb
ให้คะแนนความพึงพอใจ
ประสบการณ์ในการใช้งานเว็บไซต์วันนี้ คุณพอใจมากน้อยแค่ไหน ?

รบกวนให้คะแนนเราหน่อยนะ

1
2
3
4
5
ไม่พอใจพอใจมากที่สุด