external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

Economic analysis

ttb analytics ประเมินการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัวลงในช่วงครึ่งหลังของปี 2566

ตามแรงกดดันค่าครองชีพและอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง พร้อมกับความเสี่ยงที่บางประเทศจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยเชิงเทคนิค เป็นปัจจัยกระทบต่อการส่งออกสินค้าและการผลิตของไทย

19 มิถุนายน 2566

เฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ตามคาด ttb analytics ชี้ไทยจะขึ้นดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายสู่ระดับ 2.00% ในรอบการประชุมเดือนพฤษภาคม

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics มองว่า ผลการประชุมกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ที่มีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพียง 0.25% สะท้อนการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดรอบนี้เข้าสู่จุดสูงสุดของวัฏจักรขาขึ้น โดยคาดว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.00-5.25% ต่อเนื่องอย่างน้อยในช่วงไตรมาส 2 และ 3 ของปี 2566 ซึ่งอาจส่งผลให้เงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มกลับมาอ่อนค่า ตามแรงการขายทำกำไรในตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ และแนวโน้มฟันด์โฟลว์น่าจะไหลเข้าตลาดยุโรปและตลาดเกิดใหม่มากขึ้นตามแนวโน้มดอกเบี้ยที่อาจปรับขึ้นต่อเนื่อง

8 พฤษภาคม 2566

ttb analytics ประเมินการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน หนุนเศรษฐกิจไทยโตต่อเนื่อง ผ่านการท่องเที่ยวและการส่งออกสินค้าไทย จะเห็นผลชัดเจนในช่วงครึ่งหลังของปี 2566

นับตั้งแต่จีนเปิดประเทศในช่วงต้นปี 2566 จำนวนนักท่องเที่ยวจีนและความต้องการสินค้าจากประเทศจีนมีสัญญาณดีขึ้น โดยคาดว่านักท่องเที่ยวจีนจะกลับมาเที่ยวไทยในปี 2566 สูงถึง 5.3 ล้านคน โดยครึ่งปีแรกกำลังซื้อยังเป็นไปอย่างจำกัด และจะเริ่มดีขึ้นชัดเจนในช่วงครึ่งปีหลัง เช่นเดียวกับการส่งออกสินค้าจากไทยไปจีนซึ่งจะทยอยหดตัวน้อยลงในครึ่งแรกของปี ก่อนจะพลิกกลับมาเป็นบวกได้ในช่วงครึ่งปีหลัง ทำให้การส่งออกสินค้าของไทยไปจีนขยายตัวร้อยละ 0.2 ในปีนี้

21 เมษายน 2566

คาดดุลบัญชีเดินสะพัดปี 2566 มีโอกาสพลิกเกินดุล จับตาระยะสั้นตลาดการเงินผันผวนมากขึ้นรับดอกเบี้ยขาขึ้นและเงินบาทแข็งค่า

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินว่า ในปี 2566 ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยมีแนวโน้มกลับมาเกินดุลราว 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 0.7% ต่อจีดีพี จากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวที่ดีกว่าที่คาดไว้ รวมถึงการกลับมาของนักท่องเที่ยวจีนที่เร็วกว่าที่ประเมิน ขณะเดียวกับที่เงินทุนเคลื่อนย้ายจากต่างชาติก็ไหลเข้าตลาดการเงินไทยอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ค่าเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ต้นปี โดย ณ สิ้นปี 2566 คาดว่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.0-33.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

8 กุมภาพันธ์ 2566

ttb analytics ประเมินเศรษฐกิจไทยปี 2566 โตได้ 3.6%

แรงส่งจากนักท่องเที่ยวต่างชาติและการบริโภคในประเทศ แม้มีผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว

23 ธันวาคม 2565

ttb analytics มองเศรษฐกิจไทยปี 2566 เติบโต 3.7% เร่งขึ้นจากปี 2565 ที่ 3.2%

โดยได้แรงหนุนจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ และวัฏจักรการบริโภคที่ฟื้นตัว ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว

28 กันยายน 2565

ttb analytics มองเศรษฐกิจโลกชะลอตัวพร้อมปัจจัยเสี่ยงเพิ่มเติม คาดว่าปี 2565 ส่งออกยังโตได้ 8.1% สวนทางการนำเข้าที่เร่งตัวสูง

เข้าสู่ช่วงปลายปี 2565 เศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น นอกเหนือไปจากผลกระทบที่เกิดจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครนที่เริ่มต้นขึ้นในช่วงต้นปี 2565 หลายปัจจัยที่มีผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2565 นี้ นับเป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดเดาได้ล่วงหน้า เช่น ภัยแล้ง และความเสี่ยงจากความขัดแย้งทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะกรณีจีนและไต้หวัน ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจโลกที่กำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด-19 ได้เกิดความผันผวนและมีความแตกต่างกันในจังหวะการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในแต่ละภูมิภาค ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อทิศทางเศรษฐกิจไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

7 กันยายน 2565

ttb analytics แนะครัวเรือนบริหารเงินสดและหนี้สินให้เหมาะสม เพื่อป้องกันภาวะการเงินครัวเรือนตึงตัว หลังค่าครองชีพเพิ่มและดอกเบี้ยขาขึ้น

หลังคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปีจาก 0.5% เป็น 0.75% ในการประชุมเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา เพื่อดูแลอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในประเทศไทยที่เร่งตัวและคาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไปอีกระยะหนึ่ง ประกอบกับเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวชัดเจนต่อเนื่องจึงมีความจำเป็นน้อยลงที่ต้องพึ่งพานโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษ ด้วยเหตุนี้ ภาคครัวเรือนจึงจำเป็นต้องแบกรับภาระทางการเงินมากขึ้น ทั้งจากค่าครองชีพสูงและอัตราดอกเบี้ยในประเทศขาขึ้น โดยเฉพาะครัวเรือนกลุ่มรายได้น้อยและกลุ่มที่มีภาระหนี้สินในระดับสูง จะรับรู้ผลกระทบได้ค่อนข้างชัดเจนกว่ากลุ่มอื่น

17 สิงหาคม 2565

ttb analytics มองส่งออกการค้าชายแดนและผ่านแดนของไทยไม่สะดุดจากหลากหลายความท้าทายทางเศรษฐกิจ คาดทั้งปี 2565 ยอดแตะ 1 ล้านล้านบาทต่อเนื่องเป็นปีที่สอง

ในปี 2565 ทั้งไทยและประเทศเพื่อนบ้านต่างมีมาตรการผ่อนปรนการข้ามแดนและผ่านแดนระหว่างกัน ทำให้เป็นโอกาสของการค้าชายแดนที่จะสามารถฟื้นตัวได้ อย่างไรก็ดี จากปัญหาด้านเศรษฐกิจการเงินของประเทศคู่ค้า ได้แก่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) และเมียนมา รวมถึงมาตรการคุมเข้มโควิดของจีน เป็นโจทย์ท้าทายการส่งออกทางการค้าชายแดนและผ่านแดนว่าจะสามารถโตต่อเนื่องหรือสะดุดในช่วงครึ่งปีหลังนี้

22 กรกฎาคม 2565

ttb analytics มองไทยเที่ยวไทยยอดพุ่งครึ่งปีหลัง คาดทั้งปีไทยเที่ยวไทยโต 161.7% สร้างรายได้ราว 7.2 แสนล้านบาท ห่วงเงินเฟ้อฉุดกำลังซื้อ แนะใช้เทรนด์ท่องเที่ยวแนวใหม่หนุนเศรษฐกิจภูมิภาค

ttb analytics ประเมินว่า จำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวในประเทศในปี 2565 จะอยู่ที่ 188.1 ล้านคน-ครั้ง สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวราว 7.2 แสนล้านบาท โดยตลาดนักท่องเที่ยวในประเทศยังเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยในปีนี้ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวระยะใกล้หรือจังหวัดเมืองรองที่เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น ส่วนหนึ่งเพื่อหลีกเลี่ยงความแออัดของเมืองท่องเที่ยวหลักตามแนวทางการรักษาระยะห่างทางสังคม และมองหาประสบการณ์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่น รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับเมืองหลักในภูมิภาคเดียวกัน

23 มิถุนายน 2565