external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

ถาม-ตอบ ลูกค้าสินเชื่อรายย่อยที่ได้รับผลกระทบไวรัสโคโรนา (COVID-19)

Q:

ผลิตภัณฑ์ที่เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือดูแลในครั้งนี้มีอะไรบ้าง

ดูรายละเอียด
บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อบ้าน สินเชื่อบุคคล สินเชื่อรถยนต์ทีทีบีไดรฟ์

Q:

คุณสมบัติของลูกค้าที่สามารถเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือ

ดูรายละเอียด
ลูกค้าบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อบุคคล สินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถยนต์ทีทีบีไดรฟ์ ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจทุกคน สามารถสมัครเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือนี้ได้

ลูกค้า 1 ท่าน สามารถสมัครเข้าร่วมได้ทุกผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในมาตรการความช่วยเหลือ โดยเงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนดในแต่ละผลิตภัณฑ์

***กรณีลูกค้าสินเชื่อรถยนต์ ทีทีบีไดรฟ์ ที่เข้าร่วมโครงการผ่อนหนักเป็นเบาเพื่อลดค่างวด Step Payment ยังไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้

***กรณีลูกค้าสินเชื่อ ทีทีบีไดรฟ์ เล่มแลกเงิน ที่เข้ามาตรการลดค่างวด และยังไม่ครบกำหนดเงื่อนไขการชำระค่างวดปกติ ยังไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้

Q:

ขั้นตอนการสมัครเข้าร่วมมาตรการความช่วยเหลือต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง?

ดูรายละเอียด
ผลิตภัณฑ์บัตรเครดิต และบัตรกดเงินสด ลูกค้าทุกราย จะได้รับการปรับลดอัตราผ่อนชำระคืนขั้นต่ำตั้งแต่รอบบิลเดือน เม.ย. 63 เป็นต้นไป และ ปรับลดเพดานดอกเบี้ย มีผลกับยอดใช้จ่าย/กดเงินสดตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 63 เป็นต้นไป โดยปรับให้กับลูกค้าทุกรายอัตโนมัติ ไม่ต้องติดต่อธนาคาร

ผลิตภัณฑ์สินเชื่อบ้าน สินเชื่อบุคคล จะลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการความช่วยเหลือ ผ่านเว็บไซต์ธนาคาร ตั้งแต่วันนี้ - 31 ธ.ค. 66 หรือจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงจากธนาคาร

สินเชื่อรถยนต์ทีทีบีไดรฟ์ ลูกค้าจะต้องลงทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์ พร้อมเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้
1. สำเนาทะเบียน / บัตรประชาชน ผู้เช่าซื้อ
2. กรณีมีผู้ค้ำประกัน กำหนดให้ผู้ค้ำประกันต้องมาลงนามในสัญญาทุกท่าน และสำเนาทะเบียนบ้าน/บัตรประชาชน
3. ภาพถ่ายรถยนต์ที่ขอสินเชื่อ ตามเงื่อนไขธนาคาร
หมายเหตุ : การขยายระยะชำระหนี้เพื่อลดค่างวดนั้น กำหนดให้ทั้งผู้เช่าซื้อ/ผู้ค้ำประกัน(ถ้ามี) ต้องมาติดต่อด้วยตนเองที่สาขาธนาคาร

Q:

การแจ้งผลของมาตรการความช่วยเหลือ

ดูรายละเอียด
บัตรเครดิต/บัตรกดเงินสด
สำหรับลูกค้าทั่วไป -ลูกค้าจะได้รับการปรับลดอัตราผ่อนชำระคืนขั้นต่ำ และเพดานดอกเบี้ยโดยอัตโนมัติ สามารถตรวจสอบได้จากใบแจ้งยอดค่าใช้จ่ายบัตรเครดิต/บัตรกดเงินสด (statement)

สินเชื่อบุคคล/สินเชื่อบ้าน - เมื่อลูกค้าลงทะเบียนตามขั้นตอนแล้ว จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับภายใน 7 วันทำการ เพื่อแนะนำความช่วยเหลือ และอาจมีการขอเอกสาร/หลักฐานเพิ่มเติม รายละเอียดความช่วยเหลือจะขึ้นอยู่กับผลกระทบที่ลูกค้าได้รับ โดยธนาคารจะพิจารณาเป็นรายกรณี และ จะแจ้งผลการพิจารณาใน 7 วันทำการ นับจากได้รับเอกสารครบ

สินเชื่อรถยนต์ทีทีบีไดรฟ์ - สามารถลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์เพื่อขอเข้าร่วมโครงการ หากได้สิทธิ์เข้าร่วมโครงการแล้ว จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อเพื่อนัดทำสัญญา และลงนามเอกสารภายใน 7 วันทำการ

Q:

มาตรการความช่วยเหลือที่จะได้รับในแต่ละผลิตภัณฑ์

ดูรายละเอียด
บัตรเครดิต
สำหรับลูกค้าทุกราย
1. ปรับลดอัตราผ่อนชำระคืนขั้นต่ำให้แก่ลูกค้าทุกท่าน จากเดิม 10% เป็น
• 5% ตั้งแต่ เม.ย. 2563 - 2565
• 8% ในปี 2566
• 10% ในปี 2567 เป็นต้นไป
(ไม่รวมรายการที่ลูกค้าทำผ่อนชำระ ลูกค้าผู้ถือบัตรทีทีบี -cash chill chill, so goood, ttb pay plan และลูกค้าผู้ถือบัตรธนชาต คือ Sabai Cash, IPP) ผู้ถือบัตรเครดิตยังคงต้องผ่อนชำระแต่ละงวดที่กำหนดตามปกติ และผู้ถือบัตรยังคงต้องเลือกชำระเงินเต็มจำนวนหรือขั้นต่ำที่ไม่น้อยกว่าที่ธนาคารกำหนด เพื่อรักษาสถานะบัตรเครดิตให้เป็นปกติ

ปรับลดเพดานดอกเบี้ยจาก 18% เหลือ 16% โดยมีผลกับยอดใช้จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 63 เป็นต้นไป (รายการผ่อนชำระแบ่งจ่ายเป็นรายเดือน ลูกค้าผูถือบัตรทีทีบี คือ cash chill chill, so goood, ttb pay plan และลูกค้าที่ถือบัตรธนชาต คือ Sabai Cash, IPP) จะยึดอัตราดอกเบี้ยและจำนวนงวดที่ทำรายการ จนกว่าจะครบกำหนด จึงเปลี่ยนเป็นอัตราเพดานดอกเบี้ยใหม่)

สำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบโดยตรง
- เปลี่ยนยอดคงค้างทั้งหมดเป็นการผ่อนชำระรายเดือน อัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 12% นาน 48 เดือน
(บัตรจะกลับมาใช้ได้ปกติตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด)
แจ้งความประสงค์ลงทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์ จนถึง 31 ธ.ค. 66 หรือจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงจากธนาคาร
บัตรกดเงินสด
สำหรับลูกค้าทุกราย
1. ปรับลดอัตราผ่อนชำระคืนขั้นต่ำอัตโนมัติให้แก่ลูกค้าทุกท่าน จากเดิม 5% เป็น 3% ตั้งแต่ เม.ย. 2563-2568

2.ปรับลดเพดานดอกเบี้ยจาก 28% เหลือ 25% โดยมีผลกับยอดใช้จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 63 เป็นต้นไป (รายการผ่อนชำระแบ่งจ่ายเป็นรายเดือน (cash chill chill, ttb pay plan และลูกค้าที่ถือบัตรกดเงินสดธนชาต คือ Sabai Cash, IPP) จะยึดอัตราดอกเบี้ยและจำนวนงวดที่ทำรายการ จนกว่าจะครบกำหนด จึงเปลี่ยนเป็นอัตราเพดานดอกเบี้ยใหม่)

สำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบโดยตรง
- บัตรกดเงินสด : ปรับยอดค้างชำระทั้งหมดเป็นรายการแบ่งชำระรายเดือน นาน 48 เดือน และปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือ 22% (บัตรจะกลับมาใช้ได้ปกติตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด) แจ้งความประสงค์ร่วมโครงการ ผ่านทางเว็บไซต์ จนถึง 31 ธ.ค. 66 หรือจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงจากธนาคาร
สินเชื่อบ้าน และสินเชื่อบุคคล ที่ได้รับผลกระทบ ธนาคารมีแนวทางการช่วยเหลือลูกค้า ผ่าน มาตรการแก้หนี้อย่างยั่งยืน เพียงลงทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์ และเจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับใน 7 วันทำการ เพื่อแนะนำมาตรการที่เหมาะสม

ทั้งนี้ การให้ความช่วยเหลือเป็นไปตามหลักเกณฑ์และการพิจารณาของธนาคาร เพียงลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ธนาคาร ตั้งแต่วันนี้ - 31 ธ.ค. 66 หรือจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงจากธนาคาร

สินเชื่อรถยนต์ทีทีบีไดรฟ์ รถยนต์ใหม่ รถยนต์ใช้แล้ว และรถแลกเงิน

- มาตรการตั้งหลัก ผ่อนหนักเป็นเบา ลดค่างวดโดยขยายระยะเวลาผ่อนชำระหนี้ หรือ

- มาตรการตั้งหลัก พักชำระหนี้

เงื่อนไขและการพิจารณาอนุมัติเป็นไปตามธนาคารกำหนด
สินเชื่อทีทีบีไดรฟ์ เล่มแลกเงิน

- อัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 22% และลดค่างวดผ่อนชำระต่อเดือนสูงสุด 30% ไม่เกิน 6 เดือน

Q:

เมื่อเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือแล้ว ลูกค้ายังต้องชำระค่าใช้จ่าย/ค่างวดสินเชื่ออย่างไรบ้าง

ดูรายละเอียด
บัตรเครดิต/บัตรกดเงินสด
• สำหรับลูกค้าทุกราย
1. ปรับลดอัตราผ่อนชำระคืนขั้นต่ำอัตโนมัติให้แก่ลูกค้าทุกท่าน ตั้งแต่ เม.ย. 2563-2566 (ไม่รวมรายการที่ลูกค้าทำผ่อนชำระ ลูกค้าผู้ถือบัตรทีทีบี -cash chill chill, so goood, ttb pay plan และลูกค้าผู้ถือบัตรธนชาต คือ Sabai Cash, IPP) และผู้ถือบัตรยังคงต้องเลือกชำระเงินเต็มจำนวนหรือขั้นต่ำที่ไม่น้อยกว่าที่ธนาคารกำหนด เพื่อรักษาสถานะบัตรเครดิตให้เป็นปกติ

2.บัตรเครดิตปรับลดเพดานดอกเบี้ยจาก 18% เหลือ 16% โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 63 เป็นต้นไป (รายการผ่อนชำระแบ่งจ่ายเป็นรายเดือน (รายการผ่อนชำระแบ่งจ่ายเป็นรายเดือน (cash chill chill, ttb pay plan และลูกค้าที่ถือบัตรเครดิต คือ Sabai Cash, IPP) จะยึดอัตราดอกเบี้ยและจำนวนงวดที่ทำรายการ (18%) จนกว่าจะครบกำหนดจึงเปลี่ยนเป็นอัตราเพดานดอกเบี้ยใหม่)

3.บัตรกดเงินสดปรับลดเพดานดอกเบี้ยจาก 28% เหลือ 25% โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 63 เป็นต้นไป (รายการผ่อนชำระแบ่งจ่ายเป็นรายเดือน (รายการผ่อนชำระแบ่งจ่ายเป็นรายเดือน (cash chill chill, ttb pay plan และลูกค้าที่ถือบัตรกดเงินสดธนชาต คือ Sabai Cash, IPP) จะยึดอัตราดอกเบี้ยและจำนวนงวดที่ทำรายการ (28%) จนกว่าจะครบกำหนดจึงเปลี่ยนเป็นอัตราเพดานดอกเบี้ยใหม่)

• สำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบโดยตรง และต้องแจ้งความประสงค์มายังธนาคาร
บัตรเครดิต : เปลี่ยนยอดคงค้างทั้งหมดเป็นการผ่อนชำระรายเดือน อัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 12% นาน 48 เดือน (บัตรจะกลับมาใช้ได้ปกติตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด)

บัตรกดเงินสด : ปรับยอดค้างชำระทั้งหมดเป็นรายการแบ่งชำระรายเดือน นาน 48 เดือน และปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือ 22% (บัตรจะกลับมาใช้ได้ปกติตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด)

แจ้งความประสงค์ลงทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์ ได้ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 66 หรือจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงจากธนาคาร
สินเชื่อบ้าน และสินเชื่อบุคคล
หลังจากลงทะเบียน เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับเพื่อแนะนำมาตรการแก้หนี้อย่างยั่งยืนให้แก่ลูกค้า พร้อมให้ข้อมูลค่างวดและรายละเอียดการชำระเงินให้ลูกค้าทราบ
สินเชื่อรถยนต์ทีทีบีไดรฟ์
สำหรับลูกค้าที่ได้รับมาตรการ พักชำระค่างวด ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย ตลอดระยะเวลาที่ลูกค้าได้รับความช่วยเหลือ ลูกค้าไม่ต้องชำระยอดเงินต้นและดอกเบี้ย แต่เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาพักชำระ ลูกค้าต้องผ่อนชำระตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด

สำหรับลูกค้าที่ได้รับมาตรการ ผ่อนหนักเป็นเบา ลูกค้าต้องผ่อนชำระตามสัญญาใหม่ ที่ได้ทำไว้

สำหรับลูกค้าสินเชื่อทีทีบีไดรฟ์ เล่มแลกเงิน มาตรการปรับลดค่างวดผ่อนชำระต่อเดือนสูงสุด 30% นานสูงสุด 6 เดือน และอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 22% เมื่อลูกค้าชำระค่างวดเข้ามา จะตัดชำระดอกเบี้ยก่อน ส่วนที่เหลือ (ถ้ามี) จึงจะนำไปตัดเงินต้น

Q:

หากลูกค้ายังไม่เคยเข้าร่วม หรือเป็นลูกค้าเดิมที่เคยเข้าร่วม และตอนนี้สิ้นสุดมาตรการแล้ว จะสามารถเข้ารับความช่วยเหลือได้หรือไม่

ดูรายละเอียด
สำหรับลูกค้าสินเชื่อบ้าน และสินเชื่อบุคคล :
สามารถขอรับมาตรการช่วยเหลือได้ตามปกติ ผ่านการลงทะเบียนเว็บไซต์ของธนาคาร ตั้งแต่วันนี้ - 31 ธ.ค. 66 หรือจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงจากธนาคาร โดยธนาคารจะพิจารณาให้ความช่วยเหลือลูกค้าอีกครั้ง และจะมีการขอเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม เพื่อยืนยันว่าลูกค้าได้รับผลกระทบจริง

สำหรับลูกค้าบัตรเครดิต และบัตรกดเงินสด ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง :
สามารถขอรับมาตรการช่วยเหลือได้ตามปกติ ผ่านทางเว็บไซต์ ตั้งแต่วันนี้ - 31 ธ.ค. 66 หรือจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงจากธนาคาร โดยธนาคารจะพิจารณาให้ความช่วยเหลือลูกค้าอีกครั้ง และจะมีการขอเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม เพื่อยืนยันว่าลูกค้าได้รับผลกระทบจริง

สินเชื่อรถยนต์ทีทีบีไดรฟ์ :
ลูกค้าสามารถขอรับมาตรการช่วยเหลือได้ตามปกติ โดยลงทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์ โดยธนาคารจะพิจารณาให้ความช่วยเหลือลูกค้าอีกครั้ง และจะมีการขอเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม เพื่อยืนยันว่าลูกค้าได้รับผลกระทบจริง

Q:

หากสมัครเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือแล้ว มีนโยบายปรับดอกเบี้ยขึ้น/ลง จะต้องโดนปรับตามหรือไม่

ดูรายละเอียด
เนื่องจากมาตรการนี้เป็นความช่วยเหลือเพื่อพักชำระหนี้ให้กับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบเท่านั้น โดยระหว่างเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือ ระบบจะยังคงคิดดอกเบี้ยตามที่ระบุในสัญญา ดังนั้น หากลูกค้าใช้อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว และธนาคารมีประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยลอยตัว อัตราดอกเบี้ยของลูกค้าจะเปลี่ยนแปลงตามประกาศเช่นกัน แต่หากลูกค้าใช้อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ย

สำหรับลูกค้าบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด และสินเชื่อรถยนต์ทีทีบีไดรฟ์ อัตราดอกเบี้ยจะเป็นอ้ตราดอกเบี้ยตามสัญญาที่ลูกค้าเข้าร่วมโครงการ

Q:

สมัครเข้ามาตรการเรียบร้อยแล้วสามารถยกเลิกได้หรือไม่

ดูรายละเอียด
บัตรเครดิต/บัตรกดเงินสด
- สำหรับลูกค้าทั่วไป สามารถเลือกชำระเต็มจำนวน หรือผ่อนชำระในอัตราผ่อนชำระคืนขั้นต่ำไม่น้อยกว่าที่กำหนด
- สำหรับลูกค้าที่เข้าร่วมโครงการ - ลูกค้าสามารถแจ้งยกเลิกได้ หากต้องการจ่ายชำระกลับมาเป็นปกติ

สินเชื่อบุคคล/สินเชื่อบ้าน/สินเชื่อรถยนต์ ทีทีบีไดรฟ์ - กรุณาติดต่อ ttb contact center 1428 เพื่อยกเลิกการเข้าร่วมมาตรการ หลังจากนั้นลูกค้าสามารถชำระสินเชื่อได้ตามปกติ

Q:

ถ้าเข้ามาตรการแล้วจะสามารถกู้สินเชื่อประเภทอื่นเพิ่มในช่วงพักชำระหนี้ได้หรือไม่

ดูรายละเอียด
ลูกค้าสามารถสมัครสินเชื่ออื่นๆ เพิ่มเติมได้ แต่การพิจารณาอนุมัติขึ้นอยูกับหลักเกณฑ์ของธนาคาร โดยจะพิจารณาถึงความสามารถในการชำระหนี้คืน

Q:

หากเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือ จะมีประวัติการค้างชำระในการรายงานข้อมูลเครดิตหรือไม่

ดูรายละเอียด
ลูกค้าที่เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือและธนาคารมีการยืนยันแล้ว จะถือเป็นลูกหนี้ปกติ ไม่รายงานว่าเป็นลูกหนี้ที่มีปัญหาในเครดิตบูโร รวมถึงจะไม่กระทบต่อสถานภาพในการขอสินเชื่อกับธนาคารในอนาคต

ทั้งนี้ ไม่รวมถึงสถานะหรือประวัติของลูกค้าที่มีอยู่ในเครดิตบูโรที่มีมาก่อนเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือ

Q:

หากลูกค้าไม่ประสงค์เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือ ต้องทำอย่างไร

ดูรายละเอียด
หากลูกค้าไม่ประสงค์เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือ

บัตรเครดิต/บัตรกดเงินสด - ลูกค้าสามารถเลือกชำระเต็มจำนวน หรือผ่อนชำระในอัตราผ่อนชำระคืนขั้นต่ำไม่น้อยกว่าที่กำหนด

สินเชื่อบุคคล/สินเชื่อบ้าน - ลูกค้าไม่ต้องลงทะเบียนเพื่อขอความช่วยเหลือผ่านเว็บไซต์ที่ระบุไว้ ลูกค้าสามารถชำระค่างวดได้ตามปกติ

สินเชื่อรถยนต์ทีทีบีไดรฟ์ - ลูกค้าสามารถชำระค่างวดรถยนต์ได้ตามปกติ ระบบจะนำไปหักลดค่างวดเองอัตโนมัติ

Q:

สำหรับการเรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยใหม่ สำหรับบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสด คำนวณอย่างไร

ดูรายละเอียด
ตัวอย่างรายการ การเรียกเก็บอัตราดอกเบี้ย
จนถึงวันที่ 31 ก.ค. 2563 ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 2563
บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด
อัตราดอกเบี้ยสูงสุด
ยอดคงค้าง (ยอดหนี้คงค้าง) 18% 26% 16% 25%
รายการใช้จ่าย/เบิกถอนเงินสด
รายการผ่อนชำระแบ่งจ่ายเป็นรายเดือน (so goood, cash chill chill, Sabai Cash) ยึดอัตราดอกเบี้ยและจำนวนงวดที่ทำรายการ (18% หรือ 28%) จนกว่าจะครบกำหนด จึงเปลี่ยนเป็นอัตราเพดานดอกเบี้ยใหม่

ถาม-ตอบ ลูกค้าบัตรเครดิตที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากสถานการณ์ไวรัสโคโรนา (COVID-19)

Q:

สำหรับลูกค้าบัตรเครดิต ถ้าสนใจเข้าร่วมโครงการจะต้องทำอย่างไร

ดูรายละเอียด
สามารถลงทะเบียนผ่าน เว็บไซต์ได้จนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 66 หรือจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงจากธนาคาร

Q:

มาตรการที่ให้สำหรับลูกค้าบัตรเครดิตที่ได้รับผลกระทบโดยตรงมีอะไรบ้าง และมีรายละเอียดอย่างไร

ดูรายละเอียด
ลูกค้าบัตรเครดิตที่ได้รับผลกระทบโดยตรง สามารถรับมาตรการช่วยเหลือ โดยเปลี่ยนยอดคงค้างทั้งหมดเป็นการผ่อนชำระรายเดือน อัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 12% นาน 48 เดือน
- ในกรณีที่มียอดผ่อนชำระสินค้าและบริการ จะถูกยกเลิกและนำเฉพาะเงินต้นมารวมกับยอดการรูดซื้อสินค้าและ/หรือ ยอดกดเงินสด(ATM)
- ในระหว่างการผ่อนชำระ ผู้ถือบัตรจะไม่สามารถใช้บัตรได้ โดยธนาคารจะพิจารณาให้บัตรเครดิตสามารถกลับมาใช้ได้ตามปกติ ภายใต้เงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด
- ผู้ถือบัตรยังคงต้องชำระตามค่างวดที่ธนาคารกำหนดเพื่อรักษาสถานะบัตรเครดิตให้เป็นปกติ
- มาตรการนี้เหมาะสำหรับผู้ถือบัตรเครดิตที่ต้องการความช่วยเหลือในระยะยาว โดยคาดว่าจะไม่สามารถกลับมาชำระได้ตามปกติในระยะเวลาอันสั้น

Q:

จะทราบผลการอนุมัติ เมื่อไหร่? และอย่างไร?

ดูรายละเอียด
ลูกค้าบัตรเครดิตจะได้รับ SMS แจ้งผลการพิจารณาภายใน 7 วันทำการ นับจากวันที่ได้แจ้งความประสงค์และยื่นเอกสารครบ

Q:

หากเคยเข้าร่วมโครงการไปแล้ว แต่หลังจากสิ้นสุดมาตรการยังไม่สามารถชำระยอดคงค้างได้ตามปกติ ธนาคารจะช่วยเหลือลูกค้าได้อย่างไรบ้าง?

ดูรายละเอียด
เมื่อสิ้นสุดมาตรการ ลูกค้าบัตรเครดิต สามารถรับมาตรการที่ธนาคารได้ให้กับลูกค้าทุกรายโดยไม่ต้องทำการลงทะเบียน ได้แก่ การปรับลดอัตราผ่อนชำระคืนขั้นต่ำ และการลดเพดานดอกเบี้ย

กรณีที่ไม่สามารถผ่อนชำระคืนขั้นต่ำตามข้างต้นได้ สามารถติดต่อธนาคารเพื่อขอรับมาตรการช่วยเหลือในอนาคตต่อไป

Q:

กรณีลูกค้าเคยเข้าร่วมโครงการเพื่อขอพักชำระการผ่อนจะสามารถเข้าร่วมโครงการนี้ได้หรือไม่

ดูรายละเอียด
สามารถยื่นเรื่องเพื่อขอรับมาตรการนี้ได้เพิ่มเติม (เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด)

ถาม-ตอบ ลูกค้าบัตรกดเงินสดที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากสถานการณ์ไวรัสโคโรนา (COVID-19)

Q:

สำหรับลูกค้าบัตรกดเงินสด ถ้าสนใจเข้าร่วมโครงการจะต้องทำอย่างไร

ดูรายละเอียด
สามารถลงทะเบียนผ่าน เว็บไซต์ได้จนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 66 หรือจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงจากธนาคาร

Q:

มาตรการที่ให้สำหรับลูกค้าบัตรกดเงินสดที่ได้รับผลกระทบโดยตรงมีอะไรบ้าง และมีรายละเอียดอย่างไร

ดูรายละเอียด
สำหรับบัตรกดเงินสด
- ธนาคารจะทำการรวมยอดคงค้างทั้งหมด ในกรณีที่ท่านมีรายการผ่อนชำระจะถูกยกเลิกและนำรายการทั้งหมดเป็นยอดคงค้าง มาตั้งผ่อนชำระรายเดือนให้คุณลูกค้าผ่อนเป็นรายเดือน นานสูงสุด 48 เดือน ซึ่งธนาคารจะคิดอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกที่ 22% ต่อปี
- ในระหว่างการผ่อนชำระ ผู้ถือบัตรจะไม่สามารถใช้บัตรได้ โดยธนาคารจะพิจารณาให้บัตรกดเงินสดสามารถกลับมาใช้ได้ตามปกติ ภายใต้เงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด
- ผู้ถือบัตรยังคงต้องชำระตามค่างวดที่ธนาคารกำหนดเพื่อรักษาสถานะบัตรให้เป็นปกติ

Q:

จะทราบผลการอนุมัติ เมื่อไหร่? และอย่างไร?

ดูรายละเอียด
ลูกค้าบัตรกดเงินสดจะได้รับ SMS แจ้งผลการพิจารณาภายใน 7 วันทำการ นับจากวันที่ได้แจ้งความประสงค์และยื่นเอกสารครบ

Q:

หากเคยเข้าร่วมโครงการไปแล้ว แต่หลังจากสิ้นสุดมาตรการยังไม่สามารถชำระยอดคงค้างได้ตามปกติ ธนาคารจะช่วยเหลือลูกค้าได้อย่างไรบ้าง?

ดูรายละเอียด
เมื่อสิ้นสุดมาตรการ ลูกค้าบัตรกดเงินสด สามารถรับมาตรการที่ธนาคารได้ให้กับลูกค้าทุกรายโดยไม่ต้องทำการลงทะเบียน ได้แก่ การปรับลดอัตราผ่อนชำระคืนขั้นต่ำ และการลดเพดานดอกเบี้ย

กรณีที่ไม่สามารถผ่อนชำระคืนขั้นต่ำตามข้างต้นได้ สามารถติดต่อธนาคารเพื่อขอรับมาตรการช่วยเหลือในอนาคตต่อไป

Q:

กรณีลูกค้าเคยเข้าร่วมโครงการเพื่อขอพักชำระการผ่อนจะสามารถเข้าร่วมโครงการนี้ได้หรือไม่

ดูรายละเอียด
สามารถยื่นเรื่องเพื่อขอรับมาตรการนี้ได้เพิ่มเติม (เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด)

ถาม-ตอบ มาตรการรวมหนี้กับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (Debt Consolidation) จากสถานการณ์ไวรัสโคโรนา (COVID-19)

Q:

หากมีสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยกับธนาคาร แต่มีสินเชื่อส่วนบุคคลกับสถาบันการเงินอื่นสามารถ ทำการรวมหนี้กับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ได้หรือไม่

ดูรายละเอียด
หากสินเชื่อส่วนบุคคลอยู่ธนาคารอื่นไม่สามารถทำการรวมหนี้ได้ แต่ลูกค้าสามารถขอสินเชื่อบ้านแลกเงินเพิ่มเติมบนสินเชื่อบ้านเดิมกับธนาคารได้ตามเกณฑ์ปกติ เพื่อนำเงินไปปิดสินเชื่อบุคคลกับธนาคารอื่นได้

Q:

อัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อที่เกิดจากการรวมหนี้ คือเท่าไร

ดูรายละเอียด
อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่เกิดจากการรวมหนี้จะเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบสินเชื่อบ้านแลกเงิน ซึ่งเป็นไปตามประกาศธนาคาร
https://media.ttbbank.com/1/home-loan/hlr_cash_your_home.pdf

Q:

ระยะเวลาการผ่อนชำระของสินเชื่อที่เกิดจากการรวมหนี้ เป็นอย่างไร

ดูรายละเอียด
ระยะเวลาการผ่อนชำระของหนี้ที่เกิดจากการรวมหนี้ตามมาตรการ จะมีระยะเวลาเดียวกันกับ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย แต่ไม่เกินระยะเวลา 15 ปี

Q:

ผู้ถือบัตรเครดิต บัตรเสริมเป็นผู้กู้สินเชื่อบ้านจะสามารถรวมหนี้บัตรเสริมได้หรือไม่

ดูรายละเอียด
สามารถทำได้ โดยผู้กู้สินเชื่อบ้านเป็นผู้ยินยอมให้รวมหนี้สินเชื่อบัตรเครดิตบัตรเสริม

Q:

หากทำการรวมหนี้แล้ว สถานะของสินเชื่อบัตรเครดิต/บัตรเงินด่วน จะเป็นอย่างไร

ดูรายละเอียด
- กรณีที่ลูกค้าเลือกโอนภาระหนี้บัตรเครดิต/บัตรกดเงินสด/สินเชื่อบุคคล เต็มวงเงิน และมีการรวมหนี้ทั้งหมดมาที่สินเชื่อบ้านแล้ว จะมีการยกเลิกบัตรทั้งหมด
- กรณีที่ลูกค้าเลือกโอนภาระหนี้บัตรเครดิต/บัตรกดเงินสด/สินเชื่อบุคคล บางส่วนมาที่สินเชื่อบ้านแล้ว บัตรจะไม่ถูกยกเลิก โดยบัตรจะถูกลดวงเงินและลูกค้ายังคงชำระหนี้ที่คงเหลือในบัตร (ถ้ามี)

ถาม-ตอบ ลูกค้าธุรกิจ มาตรการแก้หนี้อย่างยั่งยืน (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่พฤศจิกายน 2564)

Q:

รายละเอียดของโครงการมาตรการแก้หนี้อย่างยั่งยืน

ดูรายละเอียด
เป็นมาตรการที่ธนาคารออกมาให้ความช่วยเหลือลูกค้าธุรกิจ SME และสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ โดยมุ่งเน้นการให้ความช่วยเหลือที่มากขึ้นและนานขึ้น

Q:

รายละเอียดของโครงการมาตรการแก้หนี้อย่างยั่งยืน ประเภทสินเชื่อวงเงินกู้ระยะยาว

ดูรายละเอียด
  1. พักชำระเงินต้นสูงสุด 12 เดือน นับจากวันที่ลูกค้าได้รับอนุมัติเข้าร่วมโครงการ หรือ
  2. ปรับลดจำนวนเงินผ่อนชำระค่างวดสูงสุด 12 เดือน นับจากวันที่ลูกค้าได้รับอนุมัติเข้าร่วมโครงการ หรือ
  3. ขยายระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 12 เดือน นับจากวันที่ลูกค้าได้รับอนุมัติเข้าร่วมโครงการ หรือ
  4. ผ่อนชำระดอกเบี้ยค้างชำระ สูงสุด 12 เดือน นับจากวันที่ลูกค้าได้รับอนุมัติเข้าร่วมโครงการ

Q:

รายละเอียดของโครงการมาตรการแก้หนี้อย่างยั่งยืน วงเงินกู้เบิกเกินบัญชี (O/D) / วงเงินสินเชื่อหมุนเวียน

ดูรายละเอียด
แปลงวงเงินกู้ระยะสั้นเป็นวงเงินกู้ระยะยาว สูงสุดไม่เกิน 10 ปี นับจากวันที่ลูกค้าได้รับอนุมัติเข้าร่วมโครงการ

Q:

รายละเอียดของโครงการมาตรการแก้หนี้อย่างยั่งยืนวงเงินสินเชื่อ Floor Plan

ดูรายละเอียด
พักชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 6 เดือน นับจากวันที่ลูกค้าได้รับอนุมัติเข้าร่วมโครงการ

Q:

นอกจากความช่วยเหลือตามประเภทสินเชื่อแล้ว ยังได้รับความช่วยเหลืออื่น ๆ อีกหรือไม่

ดูรายละเอียด
สามารถพิจารณาได้รับความช่วยเหลือเพิ่มเติม
  1. ลดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 0.5% เป็นระยะเวลาสูงสุด 12 เดือน หรือ
  2. สนับสนุนสินเชื่อกู้ยืมเพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ หรือ
  3. สามารถตีโอนทรัพย์ชำระหนี้ (D/A Swap)

Q:

คุณสมบัติของลูกค้าเอสเอ็มอี และลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ที่ได้รับสิทธิ์เข้าร่วมโครงการตั้งหลักนี้ มีอะไรบ้าง

ดูรายละเอียด
สำหรับลูกค้าสินเชื่อต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
  1. เป็นลูกหนี้ที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
  2. เป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาที่ใช้สินเชื่อเพื่อประกอบธุรกิจ
  3. มีสินเชื่อระยะยาวหรือสินเชื่อหมุนเวียนกับธนาคาร
  4. ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรค Covid-19

Q:

หากเคยยื่นเรื่องขอพักชำระหนี้เงินต้นเพียงอย่างเดียว หรือพักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยมาก่อนหน้านี้แล้ว สามารถยื่นเรื่องได้อีกหรือไม่

ดูรายละเอียด
ลูกค้าสามารถขอเข้าร่วมโครงการนี้ได้ โดยการพิจารณาแนวทางการให้ความช่วยเหลือเป็นไปตามหลักเกณฑ์และการพิจารณาของธนาคาร

Q:

สำหรับการพักหรือชะลอการชำระหนี้ต้องมีการทำสัญญาฉบับใหม่หรือไม่

ดูรายละเอียด
ต้องมีการทำสัญญาฉบับใหม่

Q:

ถ้าต้องการจ่ายตามปกติ สามารถทำได้หรือไม่

ดูรายละเอียด
ลูกค้าสามารถดำเนินการชำระได้ด้วยตนเองตามช่องทางต่าง ๆ ของธนาคาร

Q:

สำหรับลูกค้าที่เข้าร่วมโครงการแล้วและเป็นลูกค้าที่หักบัญชีชำระค่างวดสินเชื่อระยะยาว (Term Loan) ผ่านบัญชีเงินฝากอัตโนมัติ (Direct Debit) แต่อยากจะชำระค่างวดในบางเดือนที่ธุรกิจเริ่มฟื้นตัวต้องทำอย่างไร

ดูรายละเอียด
หากลูกค้าประสงค์จะชำระหนี้ในระหว่างร่วมโครงการ ลูกค้าสามารถชำระหนี้ได้ด้วยตนเองผ่านทางช่องทางรับชำระหนี้ต่าง ๆ ของธนาคาร เช่น สาขาหรือบริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์

Q:

ถ้าเข้าโครงการตั้งหลักนี้ แล้วจะสามารถกู้สินเชื่อประเภทอื่นเพิ่มในช่วงพักหรือชะลอการชำระหนี้ได้หรือไม่

ดูรายละเอียด
ลูกค้าสามารถสมัครสินเชื่ออื่น ๆ เพิ่มเติมได้ แต่การพิจารณาอนุมัติขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ของธนาคาร โดยจะพิจารณาถึงความสามารถในการชำระหนี้เป็นหลัก

Q:

สามารถขอเข้าร่วมโครงการช่วยเหลือได้กี่ครั้ง

ดูรายละเอียด
โดยปกติแล้วลูกค้า 1 ท่าน สามารถขอเข้าร่วมโครงการช่วยเหลือในแต่ละผลิตภัณฑ์ได้ 1 ครั้ง อย่างไรก็ตาม หากลูกค้าได้รับผลกระทบเพิ่มเติม ธนาคารจะพิจารณาเป็นรายกรณี

Q:

หากเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือ จะมีประวัติการค้างชำระในการรายงานข้อมูลเครดิตหรือไม่

ดูรายละเอียด
การรายงานสถานะหนี้ของลูกค้าที่เข้าร่วมโครงการจะเป็นไปตามสถานะ ณ ปัจจุบัน ตามประวัติการชำระของลูกค้า

Q:

การรับความช่วยเหลือจากโครงการตั้งหลักนี้ จะมีผลใด ๆ ต่อเงื่อนไขสัญญาเงินกู้ที่เคยลงนามไว้กับธนาคารหรือไม่

ดูรายละเอียด
เงื่อนไขต่าง ๆ ในสัญญาเงินกู้จะถูกปรับตามโครงการใหม่ที่ลูกค้ารับความช่วยเหลือ

Q:

กรณีมีสภาพคล่องเหลือบางเดือนและต้องการลดหนี้ส่วนที่ตั้งพักไว้ต้องทำอย่างไร

ดูรายละเอียด
สามารถจ่ายชำระเข้ามา ตามช่องทางรับชำระหนี้ต่าง ๆ ของธนาคารได้ตลอดเวลา

Q:

กรณีที่ต้องการติดต่อเรื่องขยายการชำระหนี้ ต้องติดต่อมาที่ช่องทางใด

ดูรายละเอียด
  1. ลูกค้าเอสเอ็มอี (นิติบุคคล) ติดต่อศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจ ทีทีบี โทร. 0 2643 7000
  2. ลูกค้าเอสเอ็มอี (บุคคลธรรมดา) ติดต่อทีเอ็มบีธนชาต คอนแทค เซ็นเตอร์ โทร. 1428 กด 3 กด 2
  3. ลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ ติดต่อเจ้าหน้าที่บริหารความสัมพันธ์ลูกค้าธุรกิจ หรือติดต่อศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจ ทีทีบี โทร. 0 2643 7000

ถาม-ตอบ ลูกค้าธุรกิจ มาตรการใหม่ "สินเชื่อฟื้นฟู" (Special Loan 2021)

Q:

รายละเอียดของโครงการสินเชื่อฟื้นฟู (Special Loan 2021)

ดูรายละเอียด
เป็นมาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจภายใต้พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2564 เพื่อเสริมสภาพคล่องในการประกอบธุรกิจ ลดผลกระทบต่อการจ้างงาน และฟื้นฟูการประกอบธุรกิจ เช่น ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้การค้า จ่ายค่าแรงงาน

Q:

คุณสมบัติของลูกค้าธุรกิจที่จะเข้าร่วมโครงการ

ดูรายละเอียด
ลูกหนี้ SME และ Corporate ที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ของ BOT
1. เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย ที่มีสถานประกอบการและประกอบธุรกิจในประเทศไทย (ไม่ต้องพิจารณาสัดส่วนการถือหุ้น)
2. กรณีลูกหนี้เดิม ต้องมีวงเงินสินเชื่อกับ สง. แต่ละแห่งไม่เกิน 500 ลบ. ณ 28 ก.พ. 64 หรือหากเป็นลูกหนี้ใหม่ (New to system) ต้องไม่มีวงเงินสินเชื่อกับ สง. แห่งหนึ่งแห่งใด ณ 28 ก.พ. 64 ทั้งนี้ ไม่รวมถึงวงเงินสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค*
3. ไม่เป็น NPL ณ 31 ธ.ค. 62 (เฉพาะลูกหนี้เดิม)
4. ไม่เป็นบริษัทจดทะเบียนใน SET (MAI กู้ได้)
5. ไม่เป็นผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน เช่น สง. บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่ สง. บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์ออมทรัพย์ ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์ บริษัทบริหารสินทรัพย์ โรงรับจำนำ และกองทุนต่าง ๆ เป็นต้น
6. ผ่านเกณฑ์การให้สินเชื่อของธนาคาร

Q:

โครงการนี้เหมาะกับใคร

ดูรายละเอียด
ผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2564 เพื่อเสริมสภาพคล่องในการประกอบธุรกิจ ลดผลกระทบต่อการจ้างงาน และฟื้นฟูการประกอบธุรกิจ เช่น ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้การค้า จ่ายค่าแรงงาน

Q:

ลูกค้าได้ประโยชน์อะไรจากโครงการ

ดูรายละเอียด
1. เพื่อเสริมสภาพคล่องในการประกอบธุรกิจ ลดผลกระทบต่อการจ้างงาน และฟื้นฟูการประกอบธุรกิจ
2. ลูกหนี้ที่ผ่านเกณฑ์จะได้รับวงเงินสินเชื่อ คือ
   ลูกหนี้ใหม่: สามารถกู้ยืมได้ไม่เกิน 50 ลบ. (นับรวมวงเงินสินเชื่อจาก สง. ทุกแห่ง)
   ลูกหนี้เดิม: สามารถกู้ยืมได้ไม่เกิน 30% ของวงเงินสินเชื่อ ณ 31 ธ.ค. 62 หรือ ณ 28 ก.พ. 64 หรือไม่เกิน 50 ลบ.แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า แต่ต้องไม่เกิน 150 ล้านบาท หากลูกหนี้เป็นผู้ได้รับวงเงินสินเชื่อ soft loan (พ.ร.ก.เดิม) จะต้องหักวงเงิน soft loan ก่อน ทั้งนี้ ไม่รวมวงเงิน soft loan ที่ลูกหนี้ได้รับอนุมัติ ตาม พ.ร.ก. เดิม และ สง. เบิกใช้วงเงินไปแล้ว แต่ สง. ได้นำมาชำระคืน ธปท. โดยที่ลูกหนี้ไม่ได้เบิกใช้ (full/partial)
3.ได้ระยะเวลาการกู้ยืมที่ยาวนานขึ้น โดยสามารถกู้ยืมได้สูงสุดไม่เกิน 10 ปี
4.อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยไม่เกิน 5% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา 5 ปีแรก และปีที่ 6-10 อัตราดอกเบี้ยตามประกาศของธนาคาร
- 2 ปีแรก จ่ายดอกเบี้ยไม่เกิน 2% ต่อปี
- มีการชดเชยดอกเบี้ยให้ 6 เดือนแรกนับตั้งแต่วันที่ได้รับสินเชื่อ
5. ลดค่าธรรมเนียมการค้ำประกันโดย บสย. 1% ใน 4 ปีแรกสำหรับลูกค้าเอสเอ็มอี และ 2 ปีแรก สำหรับลูกค้าธุรกิจ

Q:

สามารถยื่นขอเข้าร่วมโครงการได้ถึงเมื่อใด

ดูรายละเอียด
ลูกค้าสามารถยื่นความประสงค์เข้าร่วมโครงการได้ภายใน 2 ปี นับจากวันประกาศพระราชกำหนด หรือจนกว่าวงเงินภายใต้ประกาศพ.ร.ก. จะหมด

Q:

กรณีต้องการขอเข้าร่วมโครงการ ต้องดำเนินการอย่างไร

ดูรายละเอียด
1. ลูกค้าเอสเอ็มอี (นิติบุคคล) ติดต่อศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจ ทีทีบี โทร. 0 2643 7000
2. ลูกค้าเอสเอ็มอี (บุคคลธรรมดา) ติดต่อทีเอ็มบีธนชาต คอนแทค เซ็นเตอร์ โทร. 1428 กด 3 กด 2
3. ลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ ติดต่อเจ้าหน้าที่บริหารความสัมพันธ์ลูกค้าธุรกิจ หรือติดต่อศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจ ทีทีบี โทร. 0 2643 7000

ถาม-ตอบ ลูกค้าธุรกิจ มาตรการใหม่ "พักทรัพย์ พักหนี้" (Asset Warehousing)

Q:

รายละเอียดของโครงการพักทรัพย์พักหนี้

ดูรายละเอียด
ช่วยเหลือลูกหนี้ในกลุ่มธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยวที่มีสินทรัพย์เป็นหลักประกันค้ำภาระหนี้ ให้สามารถใช้สินทรัพย์นั้น โอนทรัพย์ชำระหนี้ได้ เพื่อลดภาระหนี้ โดยมีเงื่อนไขให้สามารถซื้อคืนได้ และมีสิทธิสามารถเช่าทรัพย์สินนั้นกลับไปใช้ในการประกอบธุรกิจเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสภาวะขาดสภาพคล่อง

Q:

คุณสมบัติของลูกค้าธุรกิจที่จะเข้าร่วมโครงการ

ดูรายละเอียด
สำหรับลูกค้าสินเชื่อต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. เป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาที่จดทะเบียนและประกอบธุรกิจในประเทศไทย
2. เป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาที่ใช้สินเชื่อกับธนาคารก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 และไม่เป็น NPL ก่อนเดือนมกราคม พ.ศ. 2563
3. ไม่เป็นผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน

Q:

โครงการนี้เหมาะกับใคร และลูกค้าได้ประโยชน์อะไรจากโครงการ

ดูรายละเอียด
โครงการนี้เป็นการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19 และมีศักยภาพที่จะกลับไปดำเนินธุรกิจได้ในภายหลัง โดยลูกค้าสามารถลดภาระหนี้ลงผ่านการโอนทรัพย์ชำระหนี้

Q:

สามารถยื่นขอเข้าร่วมโครงการได้ถึงเมื่อใด

ดูรายละเอียด
ลูกค้าสามารถยื่นความประสงค์เข้าร่วมโครงการได้ภายใน 2 ปี นับจากวันประกาศพระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (วันที่ 9 เมษายน พ.ศ.2564)

Q:

ประเภทหลักประกันที่สามารถโอนทรัพย์ชำระหนี้

ดูรายละเอียด
1. เป็นหลักประกันประเภทอสังหาริมทรัพย์
2. ค้ำประกันสินเชื่อกับธนาคารก่อนวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2564 และมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ค้ำประกันการประกอบธุรกิจ

Q:

ระยะเวลาการซื้อคืนเป็นเท่าใด

ดูรายละเอียด
ลูกค้ามีสิทธิในการซื้อทรัพย์หลักประกันคืนได้ภายในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี

Q:

มูลค่าโอนทรัพย์ชำระหนี้จะเป็นเท่าใด

ดูรายละเอียด
มูลค่าการตีโอนทรัพย์ชำระหนี้จะเป็นไปตามเกณฑ์ธนาคาร โดยสามารถสอบถามได้ที่เจ้าหน้าที่บริหารความสัมพันธ์ลูกค้าธุรกิจ

Q:

มูลค่าซื้อทรัพย์คืนจะเป็นเท่าใด

ดูรายละเอียด
มูลค่าซื้อทรัพย์คืนจะเท่ากับ มูลค่าโอนทรัพย์ชำระหนี้ บวกค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาทรัพย์สิน (1% ต่อปี) บวก ค่าใช้จ่ายในการดูแลทรัพย์สินที่ธนาคารได้จ่ายไป

Q:

ถ้าประสงค์เช่าทรัพย์หลักประกันเพื่อประกอบธุรกิจ และอัตราค่าเช่าเป็นเช่นใด

ดูรายละเอียด
สามารถเช่าทรัพย์หลักประกันเพื่อดำเนินธุรกิจได้โดยต้องแจ้งความประสงค์เช่าภายใน 15 วันนับจากวันที่โอน โดยอัตราค่าเช่าจะเป็นไปตามที่ตกลงกัน โดยลูกค้าสามารถนำค่าเช่าที่ได้ชำระจริงมาหักออกจากมูลค่าซื้อทรัพย์คืนได้

Q:

สิทธิประโยชน์ลูกค้าจะได้รับ

ดูรายละเอียด
ลูกค้าจะได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวกับการโอนทรัพย์ชำระหนี้

Q:

ในกรณีต้องการใช้สิทธิซื้อทรัพย์คืนก่อนกำหนดสามารถทำได้หรือไม่

ดูรายละเอียด
สามารถทำได้

Q:

กรณีต้องการขอเข้าร่วมโครงการ ต้องดำเนินการอย่างไร

ดูรายละเอียด
1. ลูกค้าเอสเอ็มอี (นิติบุคคล) ติดต่อศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจ ทีทีบี โทร. 0 2643 7000
2. ลูกค้าเอสเอ็มอี (บุคคลธรรมดา) ติดต่อทีเอ็มบีธนชาต คอนแทค เซ็นเตอร์ โทร. 1428 กด 3 กด 2
3. ลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ ติดต่อเจ้าหน้าที่บริหารความสัมพันธ์ลูกค้าธุรกิจ หรือติดต่อศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจ ทีทีบี โทร. 0 2643 7000

ถาม-ตอบ ลูกค้าธุรกิจ มาตรการเดิม (สิ้นสุด 31 ธันวาคม 2564)

Q:

รายละเอียดของโครงการตั้งหลักเพื่อลูกค้าเอสเอ็มอี ประเภทสินเชื่อวงเงินกู้ระยะยาว

ดูรายละเอียด
พักชำระเงินต้นสูงสุด 3 เดือน และขยายระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 3 เดือน นับจากวันที่ลูกค้าได้รับอนุมัติเข้าร่วมโครงการ

Q:

รายละเอียดของโครงการตั้งหลักเพื่อลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ ประเภทสินเชื่อวงเงินกู้ระยะยาว

ดูรายละเอียด
พักชำระเงินต้นสูงสุด 3 เดือน นับจากวันที่ลูกค้าได้รับอนุมัติเข้าร่วมโครงการ หรือ ปรับลดจำนวนเงินผ่อนชำระค่างวดสูงสุด 12 เดือน และขยายระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 14 เดือน นับจากวันที่ลูกค้าได้รับอนุมัติเข้าร่วมโครงการ

Q:

รายละเอียดของโครงการตั้งหลักเพื่อลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ ประเภทสินเชื่อวงเงินกู้เบิกเกินบัญชี (O/D) / วงเงินสินเชื่อหมุนเวียน

ดูรายละเอียด
แปลงวงเงินกู้ระยะสั้นสูงสุดไม่เกิน 50% ของวงเงินเป็นวงเงินกู้ระยะยาวสูงสุดไม่เกิน 5 ปี นับจากวันที่ลูกค้าได้รับอนุมัติเข้าร่วมโครงการ

Q:

คุณสมบัติของลูกค้าเอสเอ็มอี และลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ที่ได้รับสิทธิ์เข้าร่วมโครงการตั้งหลักนี้ มีอะไรบ้าง

ดูรายละเอียด
สำหรับลูกค้าสินเชื่อต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. เป็นลูกหนี้ที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
2. เป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาที่ใช้สินเชื่อเพื่อประกอบธุรกิจ
3. ไม่เป็น NPL ณ วันที่ขอเข้าร่วมโครงการ

โดยสิทธิ์ที่ได้รับจากการชะลอหรือพักชำระหนี้ตลอดช่วงเวลาของโครงการจะเหมือนกันทุกประการ แต่จะแตกต่างกันบ้างเมื่อพ้นกำหนดโครงการ และจะมีการขยายระยะเวลาของสัญญา

Q:

หากเคยยื่นเรื่องขอพักชำระหนี้เงินต้นเพียงอย่างเดียว หรือพักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยมาก่อนหน้านี้แล้ว สามารถยื่นเรื่องได้อีกหรือไม่

ดูรายละเอียด
ลูกค้ายังคงได้รับสิทธิ์ระยะเวลาของโครงการนี้

Q:

สำหรับการพักหรือชะลอการชำระหนี้ต้องมีการทำสัญญาฉบับใหม่หรือไม่

ดูรายละเอียด
ต้องมีการทำสัญญาฉบับใหม่

Q:

ถ้าต้องการจ่ายตามปกติ สามารถทำได้หรือไม่

ดูรายละเอียด
ลูกค้าสามารถดำเนินการชำระได้ด้วยตนเองตามช่องทางต่าง ๆ ของธนาคาร

Q:

สำหรับลูกค้าที่เข้าร่วมโครงการแล้วและเป็นลูกค้าที่หักบัญชีชำระค่างวดสินเชื่อระยะยาว (Term Loan) ผ่านบัญชีเงินฝากอัตโนมัติ (Direct Debit) แต่อยากจะชำระค่างวดในบางเดือนที่ธุรกิจเริ่มฟื้นตัวต้องทำอย่างไร

ดูรายละเอียด
หากลูกค้าประสงค์จะชำระหนี้ในระหว่างร่วมโครงการ ลูกค้าสามารถชำระหนี้ได้ด้วยตนเองผ่านทางช่องทางรับชำระหนี้ต่าง ๆ ของธนาคาร เช่น สาขาหรือบริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์

Q:

ถ้าเข้าโครงการตั้งหลักนี้ แล้วจะสามารถกู้สินเชื่อประเภทอื่นเพิ่มในช่วงพักหรือชะลอการชำระหนี้ได้หรือไม่

ดูรายละเอียด
ลูกค้าสามารถสมัครสินเชื่ออื่น ๆ เพิ่มเติมได้ แต่การพิจารณาอนุมัติขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ของธนาคาร โดยจะพิจารณาถึงความสามารถในการชำระหนี้เป็นหลัก

Q:

สามารถขอเข้าร่วมโครงการช่วยเหลือได้กี่ครั้ง

ดูรายละเอียด
โดยปกติแล้วลูกค้า 1 ท่าน สามารถขอเข้าร่วมโครงการช่วยเหลือในแต่ละผลิตภัณฑ์ได้ 1 ครั้ง อย่างไรก็ตาม หากลูกค้าได้รับผลกระทบเพิ่มเติม ธนาคารจะพิจารณาเป็นรายกรณี

Q:

หากเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือ จะมีประวัติการค้างชำระในการรายงานข้อมูลเครดิตหรือไม่

ดูรายละเอียด
การรายงานสถานะหนี้ของลูกค้าที่เข้าร่วมโครงการจะเป็นไปตามสถานะ ณ ปัจจุบัน ตามประวัติการชำระของลูกค้า

Q:

การรับความช่วยเหลือจากโครงการตั้งหลักนี้ จะมีผลใด ๆ ต่อเงื่อนไขสัญญาเงินกู้ที่เคยลงนามไว้กับธนาคารหรือไม่

ดูรายละเอียด
เงื่อนไขต่าง ๆ ในสัญญาเงินกู้จะถูกปรับตามโครงการใหม่ที่ลูกค้ารับความช่วยเหลือ

Q:

กรณีมีสภาพคล่องเหลือบางเดือนและต้องการลดหนี้ส่วนที่ตั้งพักไว้ต้องทำอย่างไร

ดูรายละเอียด
สามารถจ่ายชำระเข้ามา ตามช่องทางรับชำระหนี้ต่าง ๆ ของธนาคารได้ตลอดเวลา

Q:

กรณีที่ต้องการติดต่อเรื่องขยายการชำระหนี้ ต้องติดต่อมาที่ช่องทางใด

ดูรายละเอียด
1. ลูกค้าเอสเอ็มอี (นิติบุคคล) ติดต่อศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจ ทีทีบี โทร. 0 2643 7000
2. ลูกค้าเอสเอ็มอี (บุคคลธรรมดา) ติดต่อทีเอ็มบีธนชาต คอนแทค เซ็นเตอร์ โทร. 1428 กด 3 กด 2
3. ลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ ติดต่อเจ้าหน้าที่บริหารความสัมพันธ์ลูกค้าธุรกิจ หรือติดต่อศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจ ทีทีบี โทร. 0 2643 7000
ให้คะแนนความพึงพอใจ
ประสบการณ์ในการใช้งานเว็บไซต์วันนี้ คุณพอใจมากน้อยแค่ไหน ?

รบกวนให้คะแนนเราหน่อยนะ

1
2
3
4
5
ไม่พอใจพอใจมากที่สุด