“ช่วงอายุ” เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่มีผลกระทบต่อการจัดสรรเงินลงทุน เพราะอายุต่างกัน ก็มีสถานภาพทางการเงิน เป้าหมาย ระยะเวลาการลงทุน ข้อจำกัดต่าง ๆ หรือรับความเสี่ยงได้ไม่เท่ากัน จึงทำให้สัดส่วนการลงทุนแตกต่างกันออกไป นอกจากนี้การจัดพอร์ตยังเป็นการกระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์ต่าง ๆ เพื่อลดความเสี่ยงหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นในพอร์ตของเราอีกด้วย
แล้วอายุเท่านี้ ควรจะจัดพอร์ตการลงทุนอย่างไร ?
ที่มา : www.setinvestnow.com
1. วัยเริ่มต้นทำงาน : ช่วงอายุ 21 – 30 ปี
ในช่วงวัยนี้ถือเป็นวัยที่ได้เปรียบในเรื่องของการออมและการลงทุนมากที่สุด เพราะเป็นวัยที่ยังไม่มีภาระที่ต้องรับผิดชอบมากนัก แถมยังมีระยะเวลาในการลงทุนอีกนาน หากเริ่มลงทุนได้เร็ว พอร์ตก็มีโอกาสเติบโตได้มากกว่าช่วงวัยอื่น ๆ
ดังนั้น จึงสามารถลงทุนในตราสารที่มีความเสี่ยงสูงได้ถึง 90% เพราะถึงแม้ว่าจะมีโอกาสสูญเสียเงินต้นสูง แต่ก็ยังมีเวลาอีกนานเพื่อหารายได้มาทดแทน เช่น การลงทุนในหุ้นพื้นฐานดี มีความมั่นคงทางการเงินและมีโอกาสเติบโต ส่วนอีก 10% ควรเก็บเป็นเงินฝาก หรือตราสารหนี้ต่าง ๆ เช่น ฝากประจำดอกเบี้ยสูง หรือพันธบัตรรัฐบาล เป็นต้น
โดยแนะนำ tsp 4 – explorer หรือ tsp 5 – gogetter ลงทุนเพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้นและความมั่งคั่งในระยะยาว มีนโยบายลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (กองทุนปลายทาง) ทั้งในและต่างประเทศ ตั้งแต่ 2 กองทุนขึ้นไป ซึ่งกองทุนปลายทางดังกล่าวมีนโยบายลงทุนในตราสารทุน ตราสารหนี้ ทั้งนี้ กองทุนจะลงทุนในกองทุนใดกองทุนหนึ่งไม่เกินร้อยละ 79 ของ NAV จึงสามารถปรับเปลี่ยนสัดส่วนการลงทุนได้ตามความเหมาะสม
2. วัยสร้างครอบครัว : ช่วงอายุ 31 – 40 ปี
ในช่วงของวัยนี้ถือว่าทำงานมาแล้วระยะหนึ่ง เริ่มมีความก้าวหน้ามั่นคงในชีวิต มีรายได้เพิ่มมากขึ้น แต่ก็มีรายจ่ายมากขึ้นเช่นเดียวกัน เรียกได้ว่าเป็นวัยที่มีภาระค่าใช้จ่ายมากที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะอยู่ในวัยที่กำลังก่อร่างสร้างตัว อาจจะต้องวางแผนแต่งงาน มีลูก ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ เป็นต้น
ดังนั้น ควรปรับพอร์ตให้สอดคล้องกับภาระค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น จึงควรลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง 50% และสินทรัพย์ปลอดภัยอีก 50%
โดยแนะนำ tsp 4 – explorer SSF ลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทน อีกทั้งยังได้ประโยชน์ในส่วนของการลดหย่อนภาษีอีกด้วย โดยกองทุนจะเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนเปิด ttb smart port 4 explorer (กองทุนหลัก) เพียงกองทุนเดียว ซึ่งกองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน รวมทั้งอาจทำธุรกรรมการให้ยืมหลักทรัพย์ หรือธุรกรรมการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน (Reverse Repo) ได้ นอกจากนี้กองทุนอาจลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าระดับที่สามารถลงทุนได้ ( Non-Investment grade) และตราสารหนี้ที่ไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Unrated) ด้วย
3. วัยมั่นคง : ช่วงอายุ 41 – 55 ปี
ในช่วงวัยนี้ถือว่าเป็นวัยที่มีความมั่งคงที่สุด ภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เริ่มผ่อนคลายลงบ้างแล้ว เช่น ผ่อนบ้านใกล้จะหมดแล้ว ลูก ๆ เริ่มเรียบจบกันบ้างแล้ว แต่ก็แอบมีความกังวลในเรื่องของเวลาของการทำงานที่เหลือน้อยลงทุกที
ดังนั้น ในวัยนี้ควรเน้นไปที่การสร้างความปลอดภัยอย่างการลงทุนในเงินฝากและตราสารหนี้ 70% และอีก 30% ให้แบ่งมาลงทุนในหุ้นระยะยาว
โดยแนะนำ tsp 2 – nurturer หรือ tsp 3 – balancer ลงทุนเพื่อกระจายความเสี่ยงจากการลงทุน พร้อมเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีขึ้น ที่มีนโยบายลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (กองทุนปลายทาง) ทั้งในและต่างประเทศ ตั้งแต่ 2 กองทุนขึ้นไป ซึ่งกองทุนปลายทางดังกล่าวมีนโยบายลงทุนในตราสารทุน ตราสารหนี้ ทรัพย์สินทางเลือก โดยจะลงทุนในกองทุนใดกองทุนหนึ่งไม่เกินร้อยละ 79 ของ NAV
หรือหากใครที่ต้องการลดหย่อนภาษีด้วย ก็จะแนะนำเป็น tsp 2 – nurturer SSF กับ tsp 3 – balancer SSF เพื่อลดหย่อนภาษีเพิ่มเติม
4. วัยเกษียณ : ช่วงอายุ 55 ปีขึ้นไป
ในกลุ่มคนวัยนี้ส่วนมากจะปลอดภาระหนี้สินจากค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แต่ก็จะเหลือระยะเวลาทำงานเพื่อหารายได้น้อยลง จึงอาจทำให้เป็นกังวลต่อการเกษียณ เพราะถึงแม้ว่าภาระหนี้สินต่าง ๆ จะหมดบ้างแล้ว แต่สิ่งที่เพิ่มขึ้นมาก็คือในเรื่องของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ
ดังนั้น จึงควรปรับพอร์ตการลงทุน 90% ไปอยู่ในรูปแบบของเงินฝากและตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำ และอีก 10% หากใครรับความเสี่ยงได้ก็สามารถลงทุนในหุ้นได้เช่นกัน
แนะนำ tsp - 1 preserver เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินฝาก และรักษามูลค่าของเงิน มีนโยบายลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (กองทุนปลายทาง) ทั้งในและต่างประเทศ ตั้งแต่ 2 กองทุนขึ้นไป ซึ่งกองทุนปลายทางดังกล่าวมีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ ทั้งนี้ ต้องลงทุนในตราสารหนี้เฉลี่ยรอบปีบัญชีไม่ต่ำกว่า 80% ของ NAV
สุดท้ายนี้ การจัดพอร์ตตามช่วงอายุเป็นเพียงหนึ่งในแนวทางในการลงทุนเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องยึดตามนี้เสมอไปสามารถปรับใช้เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายทางการเงิน ผลตอบแทนที่คาดหวังของแต่ละคนได้ แต่สิ่งสำคัญของการลงทุนคือ “เริ่มให้เร็วและใช้เครื่องมือให้เหมาะสม” หากใครต้องการคำแนะนำก็สามารถรับคำปรึกษาได้ที่ ttb advisory
สำหรับใครที่ต้องการเพิ่มโอกาสบรรลุเป้าหมายทางการเงิน ลองมาตั้งเป้าหมายผ่าน ttb smart port calculator ด้วยตัวเอง สามารถดูรายละเอียดได้ที่ https://www.ttbbank.com/tsp/lite-cal เปิดบัญชีกองทุน และลงทุนผ่านแอป ttb touch สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ttb investment line หรือโทร. 1428 กด#4 ทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 9:00 น. – 17:30 น. (ยกเว้นวันหยุดธนาคาร)
หมายเหตุ
- ข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์และการคาดหมาย รวมทั้งการแสดงความคิดเห็นทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้ ทำขึ้นบนพื้นฐานของแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุด ที่ได้รับมาและพิจารณาแล้วเห็นว่าน่าเชื่อถือ แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความถูกต้อง ความสมบูรณ์แท้จริงของข้อมูลดังกล่าว ความเห็นที่แสดงไว้ในรายงานฉบับนี้ได้มาจากการพิจารณาโดยเหมาะสมและรอบคอบแล้ว และอาจเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งล่วงหน้าแต่อย่างใด รายงานฉบับนี้ไม่ถือว่าเป็นคำเสนอหรือคำชี้ชวนให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์และจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อประโยชน์แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเท่านั้น ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) ไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นโดยตรงหรือเป็นผลจากการใช้เนื้อหาหรือรายงานฉบับนี้ การนำไปซึ่งข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์ และการคาดหมาย ทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้ เป็นการนำไปใช้โดยผู้ใช้ยอมรับความเสี่ยงและเป็นดุลยพินิจของผู้ใช้แต่เพียงผู้เดียว
- การลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงของการลงทุน /ผลการดำเนินงานในอดีต/ ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต /ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน / กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศและไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนหรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ / ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวน โดยเฉพาะนโยบายการลงทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุนก่อนตัดสินใจลงทุน /ผู้ลงทุนสามารถรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ ทีทีบี ทุกสาขา หรือ ttb Investment Line โทร. 1428 กด # 4 ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 9:00 – 17:30 น. (ยกเว้นวันหยุดธนาคาร)