หากพูดถึงการลงทุนในกองทุนรวม นักลงทุนส่วนใหญ่อาจจะคุ้นเคยกับการลงทุนแบบ DCA (Dollar-Cost Averaging) หรือการทยอยลงทุนเท่ากันทุกเดือน เพราะถือเป็นการลงทุนที่ดีรูปแบบหนึ่ง ที่ลงทุนง่าย ไม่ซับซ้อน แต่หากใครที่ต้องการเพิ่มโอกาสในการรับผลตอบแทนที่มากกว่า ก็สามารถใช้วิธี “การจับจังหวะในการลงทุน (Market Timing)” ซึ่งเป็นกลยุทธ์การลงทุนด้วยการประเมินทิศทางตลาด จะได้รู้ได้ว่าในช่วงเศรษฐกิจแบบนี้ ควรเลือกลงทุนกองทุนรวมประเภทไหนดี เพื่อ ให้เงินทำเงิน ได้อย่างเต็มที่
อย่างแรกมาทำความรู้จักกับ “วัฏจักรเศรษฐกิจ (Economic Cycle)” หรือก็คือ การขึ้นลงของเศรษฐกิจตามปัจจัยต่าง ๆ เช่น GDP, เงินเฟ้อ, อัตราดอกเบี้ย, ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เป็นต้น ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 4 ช่วง ได้แก่ ระยะฟื้นตัว (Recovery), ระยะเฟื่องฟู (Peak), ระยะถดถอย (Recession) และระยะตกต่ำ (Trough) โดยเราสามารถเลือกลงทุนในกองทุนรวมตามภาวะเศรษฐกิจได้ ดังนี้
วัฏจักรเศรษฐกิจ (Economic Cycle)
1. ระยะฟื้นตัว (Recovery) คือ ภาวะฟ้าหลังฝนที่เศรษฐกิจกำลังขยายตัว อัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อยังคงต่ำ ตัวเลขทางเศรษฐกิจต่าง ๆ เริ่มปรับตัวดีขึ้น ในช่วงที่เศรษกิจฟื้นตัว หุ้นกลุ่มวัฏจักรนั้นเป็นที่น่าสนใจในการลงทุน โดยตั้งแต่ปี 2021 เป็นต้นมา ภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกเริ่มฟื้นตัวจากวิกฤติโควิดอย่างเด่นชัด รวมทั้งประเทศทั่วโลกเริ่มกลับมาเปิดเมือง เปิดประเทศ กันอีกครั้งหนึ่ง ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในโลกค่อย ๆ ปรับตัวขึ้น การลงทุนจึงต้องเน้นหุ้นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากธีม 2 Re คือ Reflation และ Reopening
ดังนั้น ทาง ttb จึงได้แนะนำให้นักลงทุนลงทุนในกองทุน KT-FINANCE, KT-ENERGY และ TMB-ES-CHILL เป็นหลัก ซึ่งเป็นกองทุนที่เน้นการลงทุนในหุ้นกลุ่ม การเงิน, พลังงาน และสันทนาการ ในฝั่งประเทศพัฒนาแล้ว และผลกำไรของบริษัทในกลุ่มดังกล่าวเติบโตควบคู่ไปการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างแท้จริง นอกจากนี้ กองทุน ONE-EUROEQ ที่ลงทุนในตลาดหุ้นยุโรป ก็น่าสนใจและเป็นที่แนะนำในช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัว เนื่องจากตลาดหุ้นยุโรปมีน้ำหนักของหุ้นกลุ่มวัฏจักรอย่างธนาคารมากนั่นเอง
2. ระยะเฟื่องฟู (Peak) คือ ภาวะที่เศรษฐกิจเจริญเติบโตในจุดสูงสุดของวัฏจักร ซึ่งจะมาพร้อมกับอัตราเงินเฟ้อและราคาสินค้าที่แพงขึ้น รวมถึงการทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน ในมุมมองของทาง ttb วัฏจักรเศรษฐกิจที่นักลงทุนทุกท่านกำลังเผชิญอยู่ในช่วงปี 2022 นี้นั้นก็คือ ระยะเฟื่องฟู (Peak) นั่นเอง ซึ่งเป็นระยะที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงจนธนาคารกลางต้องกลับมาขึ้นดอกเบี้ย แต่ยังไม่ถึงกับทำให้เศรษฐกิจถดถอย นอกจากนี้ ภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกยังมีปัจจัยบวกให้ขยายตัวได้อยู่จากการกลับมาเปิดประเทศ
ดังนั้น การลงทุนจึงต้องเน้นหุ้นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น ซึ่งก็คือ การลงทุนกลุ่มธนาคารผ่านกองทุน KT-FINANCE รวมทั้งกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการกลับมาเปิดประเทศ อย่างเช่น กลุ่มน้ำมันผ่านกองทุน KT-ENERGY ที่ความต้องการใช้น้ำมันเพื่อการท่องเที่ยวยังคงอยู่ กลุ่มสันทนาการผ่านกองทุน TMB-ES-CHILL ที่ผู้คนออกมาท่องเที่ยวมากขึ้น รวมถึงการลงทุนในประเทศญี่ปุ่นผ่านกองทุน TMBJPNAE เพื่อรองรับการกลับมาเปิดประเทศตั้งแต่เดือน มิ.ย. นี้
นอกจากนี้ การลงทุนในฝั่งตลาดเกิดใหม่บางประเทศ อย่างกลุ่มอาเซียนและประเทศอินเดียยังเป็นที่น่าสนใจในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยเริ่มเป็นขาขึ้นนี้อีกด้วย เนื่องจากกลุ่มประเทศดังกล่าวมีการเติบโตของ GDP ระดับสูง ซึ่งจะสามารถรองรับผลกระทบทางลบจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางในประเทศได้
3. ระยะถดถอย (Recession) คือ ภาวะที่เศรษฐกิจกำลังเข้าสู่ช่วงขาลง ต้นทุนการผลิตโดยรวมสูงขึ้น เงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง และภาคธุรกิจเริ่มขาดเงินทุนหมุนเวียน ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยปรับตัวขึ้นมามากจนทำให้ภาวะเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย การลงทุนในตลาดหุ้นอาจจะให้ผลตอบแทนที่ไม่ดีนัก ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมไหนก็ตาม
ดังนั้น ในช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอย เราจึงแนะนำให้นักลงทุนพักเงินในกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น เช่น กองทุน TMB-T-ES-IPlus เพื่อรอจังหวะในการลงทุนอีกครั้ง
4. ระยะตกต่ำ (Trough) คือ ภาวะเศรษฐกิจที่แย่ที่สุดของวัฏจักรเศรษฐกิจ ตัวเลขเศรษฐกิจหลาย ๆ ตัว ปรับลดลง แม้ว่าเศรษฐกิจจะมาสู่ช่วงระยะตกต่ำ แต่เราไม่อยากให้มองว่าไม่น่าลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงเอาเสียเลย อยากให้มองว่าเป็นโอกาสเข้าไปทยอยลงทุนมากกว่า โดยเฉพาะในหุ้นกลุ่ม Growth อย่างเทคโนโลยีที่จะได้ประโยชน์จากการที่อัตราดอกเบี้ยจะกลับมาเป็นขาลงอีกครั้งหนึ่ง อย่างการลงทุนในกองทุน UEV ที่ลงทุนในหุ้นที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งถือว่าเป็น Mega Trend ของโลกนั่นเอง
จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า เพียงแค่เราลงทุนให้ถูกช่วงจังหวะและถูกสินทรัพย์ควบคู่กันไป เท่านี้ก็สามารถ ให้เงินทำเงิน แทนเราได้แล้ว แต่หากใครยังจับจังหวะการลงทุนไม่ชำนาญ หรืออาจไม่มีเวลาในการติดตามภาวะการลงทุนมากนัก การลงทุนด้วย ttb smart port ก็ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่น่าสนใจเช่นกัน เนื่องจากเป็นกองทุนที่มีการกระจายการลงทุนในหลายตลาด หรือหลายสินทรัพย์ โดยไม่ต้องมีการปรับพอร์ตการลงทุนด้วยตัวเองตามวัฏจักรเศรษฐกิจ เพราะมีผู้จัดการกองทุนจากต่างประเทศ ผู้มากประสบการณ์จัดสรรน้ำหนักการลงทุนไปยังสินทรัพย์ต่าง ๆ ตามภาวะตลาดและวัฏจักรเศรษฐกิจให้ หากใครสนใจสามารถดูรายละเอียดได้ที่ https://www.ttbbank.com/tsp/lite-cal เปิดบัญชีกองทุนและลงทุนผ่านแอป ttb touch สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ttb investment line หรือโทร. 1428 กด # 4 ทุกวันจันทร์ - ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 09:00 – 17:30 น. (ยกเว้นวันหยุดธนาคาร)
หมายเหตุ:
- ข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์และการคาดหมาย รวมทั้งการแสดงความคิดเห็นทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้ ทำขึ้นบนพื้นฐานของแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุด ที่ได้รับมาและพิจารณาแล้วเห็นว่าน่าเชื่อถือ แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความถูกต้อง ความสมบูรณ์แท้จริงของข้อมูลดังกล่าว ความเห็นที่แสดงไว้ในรายงานฉบับนี้ได้มาจากการพิจารณาโดยเหมาะสมและรอบคอบแล้ว และอาจเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งล่วงหน้าแต่อย่างใด รายงานฉบับนี้ไม่ถือว่าเป็นคำเสนอหรือคำชี้ชวนให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์และจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อประโยชน์แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเท่านั้น ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) ไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นโดยตรงหรือเป็นผลจากการใช้เนื้อหาหรือรายงานฉบับนี้ การนำไปซึ่งข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์ และการคาดหมาย ทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้ เป็นการนำไปใช้โดยผู้ใช้ยอมรับความเสี่ยงและเป็นดุลยพินิจของผู้ใช้แต่เพียงผู้เดียว
- การลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงของการลงทุน /ผลการดำเนินงานในอดีต/ ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต /ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน / กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศและไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนหรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ / ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวน โดยเฉพาะนโยบายการลงทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุนก่อนตัดสินใจลงทุน /ผู้ลงทุนสามารถรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ ทีทีบี ทุกสาขา หรือ ttb Investment Line โทร. 1428 กด # 4 ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 9:00 – 17:30 น. (ยกเว้นวันหยุดธนาคาร)