external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

How to ลดอาการเครียดจากการเสพติดโซเชียล ลดเสี่ยงโรคซึมเศร้า

#fintips #เคล็ดลับการเงิน #แอปพลิเคชัน #Digital #SocialMediaDetox

12 พ.ค. 2565


  • ภาวะ Headline Stress Disorder และโรคซึมเศร้าจากการใช้โซเชียลมีเดีย
  • How to ดูแลตัวเองอย่างไรให้ห่างไกลอาการเครียด และโรคซึมเศร้าจากการเสพติดโซเชียล

 

การเสพข่าวมากเกินไปมีผลต่อจิตใจนะครับ จะเป็นการหมกหมุ่นกับการเกาะติดสถานการณ์ข่าวในกระแส หรือการเสพติดการเล่นโซเชียลมากไป ก็สามารถนำไปสู่โรคทางจิตเวชได้ ทั้ง โรคซึมเศร้าจากการใช้โซเชียลมีเดียที่มากไป ภาวะ Headline Stress Disorder ที่เกิดจากการเสพข่าวชวนหดหู่ อย่างข่าวสงคราม หรือข่าวทางสังคม มาลองเช็กตัวเองดูหน่อยว่าขณะนี้สภาพ (จิต) ใจยังแข็งแรงอยู่ไหม


ภาวะ Headline Stress Disorder

เคยรู้สึกว่าอินกับข่าวหรือเกาะติดเรื่องดารามากจนพาลให้รู้สึกหดหู่ เศร้าสร้อย และมีอารมณ์ร่วมกับข่าวนั้นมากเกินไปไหม? คุณอาจจะกำลังมีภาวะ Headline Stress Disorder อยู่ก็ได้ คือภาวะเครียด วิตกกังวลจากการเสพข่าวมากเกินไป จนทำให้หดหู่ และมีผลกระทบกับร่างกาย เช่น ใจสั่น แน่นหน้าอก นอนไม่หลับ โกรธง่าย และส่งผลให้เกิดโรคตามมา


สัญญาณเตือนอาการ Headline Stress Disorder

หากคุณมีความรู้สึกเหนื่อยล้าทางจิตใจ แน่นหน้าอก นอนไม่หลับ มีความรู้สึกวิตกกังวล โกรธง่าย และซึมเศร้า เหล่านี้คือสัญญาณเตือนของอาการ Headline Stress Disorder

ภาวะ Headline Stress Disorder


โรคซึมเศร้าจากการติดโซเชียลมีเดีย

ทุกวันนี้ โซเชียลมีเดียแทบจะกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของทุกคนไปแล้ว เราใช้เวลาอยู่กับแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, และ Twitter ตลอดเวลา ก่อนเข้านอนก็ต้องไถ ลืมตาตื่นก็ต้องหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาสไลด์ดู เมื่อเราใช้ชีวิตติดโซเชียลมีเดียทุกเวลาขนาดนี้ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีอิทธิพลและส่งผลต่อชีวิตของเรา ข่าวที่คนทั่วไปกำลังให้ความสนใจ สถานการณ์ที่เกิดขึ้น หรือศิลปินที่เราติดตาม มีผลต่อจิตใจของเราโดยไม่รู้ตัว และนำไปสู่อาการของโรคซึมเศร้าจากโซเชียลมีเดีย


สัญญาณเตือนโรคซึมเศร้าของผู้ติดโซเชียลมีเดีย

อาการเสพติดโซเชียลมีเดียอาจจะนำไปสู่โรคซึมเศร้าได้ หากมีสัญญาณเตือน ดังนี้

  • ใช้เวลาอยู่กับโซเชียลมีเดียตลอดเวลา
  • เมื่อไม่ได้ใช้โซเชียลมีเดียจะมีอาการกระวนกระวายใจ หงุดหงิด
  • ใช้โซเชียลมีเดียเพื่อระบายความเครียด
  • ส่งผลให้มีปัญหากับการทำงาน และมีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิด

ดูแลตัวเองอย่างไรให้ห่างไกลอาการเครียด และโรคซึมเศร้าจากการเสพติดโซเชียล


How to ดูแลตัวเองอย่างไรให้ห่างไกลอาการเครียด และโรคซึมเศร้าจากการเสพติดโซเชียล

เมื่อดิจิทัล และโซเชียลมีเดียกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราแบบแยกไม่ออกไปแล้วแบบนี้ เราจึงต้องปรับตัวและใช้อย่างมีสติเพื่อลดอาการต่าง ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ หากเสพติดมากเกินไป ควรหาเวลาทำ Social Media Detox บ้าง เช่น

  • พักจากการใช้โซเชียลมีเดียสักหนึ่งหรือสองวัน หากรู้สึกว่าเรากำลังเข้าข่ายอาการ Headline Stress Disorder หรือภาวะเครียด
  • อ่านข่าวอย่างใช้วิจารณญาณ คิด วิเคราะห์ แยกแยะก่อนแล้วค่อยตัดสิน
  • ทำกิจกรรมอื่นบ้างนอกเหนือจากการใช้งานโซเชียลมีเดีย
  • หากรู้สึกว่าหมกมุ่นมากเกินไป มีอาการจิตตก และรู้สึกหดหู่ ไม่รู้จะหันไปปรึกษาใคร สามารถขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ เช่น สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ได้ครับ


ขอบคุณข้อมูลจาก

  • เว็บไซต์ Thai Health
  • เว็บไซต์ Sanook
  • เว็บไซต์ Petcharavej hospital


Sources
https://www.thaihealth.or.th/sook/info-mind-detail.php?id=130
https://www.sanook.com/health/33013/
https://www.petcharavejhospital.com/th/Article/article_detail/Social-Addiction-Affects-Mental-Health

ให้คะแนนความพึงพอใจ
ประสบการณ์ในการใช้งานเว็บไซต์วันนี้ คุณพอใจมากน้อยแค่ไหน ?

รบกวนให้คะแนนเราหน่อยนะ

1
2
3
4
5
ไม่พอใจพอใจมากที่สุด