external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

รู้ทันมิจฉาชีพ มีบัตรเครดิตอย่างไรให้ปลอดภัยจากโจรกรรม

#ttb #fintips #บัตรเครดิต #บัตรเครดิตttb #การป้องกันการฉ้อโกงบัตรเครดิต #ป้องกันการโจรกรรมบัตรเครดิต

3 พ.ค. 2566


  • 55% ของการแจ้งความออนไลน์เป็นการหลอกลวงด้านการเงิน
  • รู้ทันกลโกงมิจฉาชีพ สัญญาณอันตรายที่ต้องระวัง

 

ขึ้นชื่อว่าเป็นมิจฉาชีพย่อมไม่เคยมาดีแถมยังมีสารพัดวิธีหลอกลวงให้ต้องเสียทรัพย์ โดยเฉพาะภัยร้ายที่มองไม่เห็นตัวที่มักใช้ช่องทางออนไลน์เข้ามาสร้างความเสียหายให้ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน ดังรายงานคดีออนไลน์จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่หลังเปิดศูนย์รับแจ้งความออนไลน์ก็มีการแจ้งเหตุเข้ามากว่า 14,794 เรื่องโดย 55% เป็นการหลอกลวงด้านการเงิน (1 มี.ค. 2565- 20 เม.ย. 2565) หนึ่งหนทางป้องกันที่จะรับมือกับนักโจรกรรมคือการรู้ทันกลโกงต่างๆ เพื่อปิดช่องโหว่ไม่ให้ภัยร้ายมาถึงตัว

เตือนภัย คนมีบัตรเครดิต รู้ทันกลโกงมิจฉาชีพ


เตือนภัยคนมีบัตรเครดิต รู้ทันกลโกงมิจฉาชีพ

แน่นอนว่าบัตรเครดิตคือตัวช่วยเปลี่ยนเรื่องเงินให้เป็นเรื่องง่ายด้วยความสะดวกสบายอยากหยิบใช้เมื่อไหร่ก็คล่องมือแถมยังคุ้มค่าจากสิทธิประโยชน์อีกมากมายทั้งคะแนน
สะสมและเครดิตเงินคืน ในฐานะนักช้อปฉลาดใช้ย่อมต้องพร้อมรับมือกลโกงจากมิจฉาชีพที่อาจสบโอกาสโจรกรรมผ่านบัตรเครดิต


Data breaches ข้อมูลบัตรเครดิตรั่วไหล

การรั่วไหลของข้อมูลบัตรเครดิตอาจเกิดได้จากการโดนแฮก ทำบัตรสูญหายและมีผู้หยิบไปใช้ การบันทึกข้อมูลบัตรเครดิตไว้กับเบราว์เซอร์ที่ไม่น่าเชื่อถือหรือแพลตฟอร์มที่ไม่มีการยืนยันตัวตนก่อนใช้งาน การผูกบัตรไว้กับแพลตฟอร์มออนไลน์ แม้กระทั่งการเปิดเผยข้อมูลด้วยตัวเองผ่านการโพสต์ภาพลงโซเชียลมีเดียและอื่นๆ เมื่อไหร่ที่อยู่ดีๆ แม้ไม่ได้ใช้จ่ายอะไรในตอนนั้นแต่ก็มีแจ้งเตือนว่าบัตรเครดิตถูกตัดเงินอาจหมายถึงการถูกโจรกรรม สิ่งที่ควรรีบทำคือการตรวจเช็คกับธนาคารในทันที ที่สำคัญต้องคอยสังเกตสัญญาณน่าสงสัยอื่นๆ เพื่อให้พร้อมรับมือกับภัยมิจฉาชีพได้อย่างทันท่วงที เช่น

  • การตัดบัตรซ้ำซ้อน หรือมีรายการที่เหมือนกันเกิดขึ้นซ้ำๆ ติดกันบนใบแจ้งยอด
  • การตัดบัตรที่ไม่ทราบที่มาหรือตัดบัตรเป็นจำนวนเงินเล็กน้อย เพราะอาจเป็นการทดสอบบัตรของมิจฉาชีพ
  • การตัดบัตรที่ถูกยกเลิก แม้ว่าจะมีวงเงินบัตรเครดิตคงเหลือแต่ไม่สามารถทำรายการได้
  • ไม่ได้รับใบแจ้งยอดหรือใบแจ้งยอดมาช้ากว่าปกติ อาจเป็นเพราะถูกเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่อยู่โดยมิจฉาชีพ


Phishing scams กลโกงอีเมลปลอม เว็บไซต์ปลอม

เพราะในทุกวันเหล่านักช้อบต่างได้รับทั้งอีเมลและข้อความเป็นหลักสิบถึงหลักร้อย ไม่ว่าจะแจ้งเตือนส่วนลดหรือโปรโมชัน แจ้งเตือนการเข้าระบบหรือยอดใบเสร็จต่างๆ ทำให้มิจฉาชีพสบโอกาสปลอมเป็นเว็บไซต์สำคัญที่มีผู้ใช้งานเยอะ อาศัยความคุ้นตาของหน้าตาเว็บไซต์เพื่อหลอกผู้เสียหายให้ใส่ข้อมูลบัตรเครดิตก่อนจะทำการโจรกรรมทรัพย์สิน จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่เจ้าของบัตรเครดิตจะต้องหมั่นตรวจเช็กความน่าเชื่อถือก่อนคลิกลิงก์หรือทิ้งข้อมูลใดๆ บนเว็บไซต์ ดังนี้

  • เช็กตัวตนผู้ส่งผ่าน email address อย่างละเอียดให้แน่ใจว่าตรงกับเว็บไซต์ทางการ
  • จับทางอีเมลหรือข้อความที่แสดงถึงความเร่งด่วนฉุกเฉิน เช่น ให้อัปเดตข้อมูลบัตรเครดิตด่วน
  • เช็กการสะกดคำ ความถูกต้องเรียบร้อยของข้อความ เพราะทุกธุรกิจที่น่าเชื่อถือจะมีการตรวจสอบความถูกต้องทางภาษาทุกครั้งก่อนส่งออก
  • อย่าคลิกลิงก์ในทันที ควรตรวจสอบ URL เต็มๆ ให้แน่ใจก่อนทุกครั้งว่ามาจาก Officail โดยเว็บไซต์ของธนาคาร ทีเอ็มบีธนชาต (ทีทีบี) คือ https://www.ttbbank.com เท่านั้น
  • ไม่เปิดเผยข้อมูลในทุกกรณี เพราะบริษัทที่น่าเชื่อถือจะไม่มีการขอข้อมูลอ่อนไหวอย่างเลขบัตรเครดิต เลขรหัสความปลอดภัย ไม่ว่าจะผ่านข้อความ อีเมลหรือการโทรศัพท์ หากไม่แน่ใจควรติดต่อธุรกิจนั้นโดยตรง


Skimming ใช้เครื่องมืออ่านบัตรปลอม

อุปกรณ์ Skimmer คือเครื่องมือของมิจฉาชีพที่ใช้วิธีติดไว้กับเครื่องอ่านบัตรเพื่อแอบคัดลอกข้อมูลบัตรหรือรหัสบัตรไปใช้ในทางมิชอบ หากเห็นการเคลื่อนไหวบัตรที่ผิดปกติ เช่นมีการถอนเงินออกจากบัตรเครดิตหรือตัดบัตรในรายการที่ระบุที่มาไม่ได้ควรรีบติดต่อธนาคารในทันที และทางที่ดีควรระแวดระวังการ Skimming ได้แก่

  • ใช้บริการเครื่อง ATM ที่อยู่ในที่โล่งแจ้ง มีกล้องวงจรปิด มีผู้คนสัญจรตลอดและไม่ลับตาคน
  • ใช้มือป้องเมื่อป้อนรหัส PIN เพื่อป้องกันไม่ให้มีการแอบอ่านข้อมูลบัตร
  • ตรวจเช็คใบแจ้งยอดชำระหรือแจ้งเตือนยอดชำระจากธนาคารอยู่เสมอเพื่อระวังความผิดปกติ
  • ใช้ระบบชำระเงินแบบไร้สัมผัส (Contactless Payment) ที่สามารถแตะบัตรจ่ายได้เลยโดยไม่ต้องรูด
  • ควรติดตามวงเงินคงเหลืออยู่เสมอ ในกรณีที่วงเงินลดลงอย่างไม่ทราบสาเหตุเพื่อแจ้งธนาคารถึงความผิดปกติได้อย่างทันท่วงที
  • สังเกตเครื่องรูดบัตรและลักษณะการรูดบัตรว่าไม่มีสิ่งแปลกปลอมติดอยู่ที่เครื่อง ตัวเครื่องทำจากวัสดุทั่วไป ดูว่าบัตรรูดได้ง่ายไม่แน่นหรือหลวมผิดปกติ


Malware โปรแกรมประสงค์ร้าย

โปรแกรมประสงค์ร้ายคือวิธีการที่มิจฉาชีพใช้ขโมยข้อมูลบัตรเครดิตผ่านการลวงให้ผู้ใช้โหลดแอพหรือกดคลิกลิงก์ที่ไม่ปลอดภัย เช่น มิจฉาชีพอาจทำทีเป็นองค์กรการกุศล เป็นแอพดูดวงทายนิสัย เป็นโอกาสการลงทุนหรือลุ้นรับโชคของรางวัลใดๆ ผ่านโซเชียลมีเดีย ข้อความไลน์ ข้อความมือถือ เป็นต้น รวมทั้งผ่านการใช้งาน Adware หรือโปรแกรมที่นำเสนอโฆษณาล่อแหลมบนเว็บไซต์ เมื่อผู้ใช้คลิกเข้าไปยังเว็บไซต์ที่มิจฉาชีพสร้างขึ้นและกรอกข้อมูลสำคัญ มิจฉาชีพจะติดตั้งเจ้าพวกซอฟต์แวร์ตัวร้ายลงบนอุปกรณ์ของผู้ใช้เพื่อเข้าถึงข้อมูลสำคัญและขโมยข้อมูลที่ระบุตัวตนได้ไปใช้ในทางเสียหาย ทางที่ดีที่สุดในการระมัดระวังภัยและป้องกันสามารถทำได้โดยการ

  • คอยอัปเดตระบบอุปกรณ์ให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
  • ใช้โปรแกรม Antivirus ที่เชื่อถือได้เพื่อคอยบล็อกไม่ให้ malware มาติดตั้งอยู่บนเครื่อง
  • หลีกเลี่ยงการใช้ Wi-Fi แปลกหน้าในขณะทำธุรกรรมทางการเงิน
  • ใช้รหัสที่คาดเดายากและมีการยืนยันตัวตนแบบ two-factor authentication

มีบัตรเครดิต ttb อุ่นใจ ป้องกันมิจฉาชีพด้วยแอป ttb touch

มีบัตรเครดิต ttb อุ่นใจ ป้องกันภัยมิจฉาชีพด้วยแอป ttb touch เพื่อการป้องกันภัยจากมิจฉาชีพตัวร้ายให้ปลอดภัยขึ้นอีกขั้น เจ้าของบัตรเครดิต ttb สามารถดาวน์โหลดแอปttb touch แอปเดียวอุ่นใจด้วยบริการที่ครอบคลุม โอน-เติม-จ่าย-ถอน ทั้งยังช่วยให้เจ้าของบัตรสามารถควบคุมวงเงินการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตได้อย่างอิสระ ด้วยการตั้งค่าปรับวงเงินบัตรเครดิต ผ่านแอป ttb touch สามารถดาวน์โหลดเพื่อติดตั้งแอป ttb touch อย่างปลอดภัยได้เลย คลิก


วิธีปรับเพิ่ม / เปลี่ยนวงเงินบัตร คุมการจ่ายไม่ให้เกินงบ

  1. จากหน้าหลักไปที่ปุ่ม บัญชี ที่แถบเมนูด้านล่าง
  2. เลือกเมนูบัตร และคลิก อื่น ๆ
  3. เลือก ปรับวงเงินบัตร ที่เมนูจัดการบัตร
  4. ระบุวงเงินใหม่ที่ต้องการ โดยใส่จำนวนเงินในช่อง หรือเลื่อนปุ่มบนแถบสีฟ้า และกด ถัดไป
  5. ตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดอีกครั้งก่อนกด ยืนยัน
  6. ใส่ PIN เพื่อยืนยันการทำรายการ
  7. ทำรายการปรับวงเงินบัตรสำเร็จ


เปิดการแจ้งเตือนผ่านแอป ติดตามทุกการเคลื่อนไหวบัตรเครดิต

  1. กดปุ่มเมนูซ้ายมือบน > กด “ตั้งค่า” > กด “การแจ้งเตือน”
  2. เลือก แจ้งเตือนผ่านแอป
  3. เลือก เปิดการแจ้งเตือน และ กดเปิดปุ่ม ด้านข้างชื่อบัญชีต่างๆของคุณ


เช็ครายการใช้จ่ายบัตรเครดิต ด้วยการสมัคร eStatement

  1. จากหน้าหลักไปที่ปุ่ม บัญชี ที่แถบเมนูด้านล่าง เลือกเมนูบัตร และคลิก อื่นๆ
  2. เลือกสมัคร eStatement
  3. ตรวจสอบอีเมลให้ถูกต้อง หากต้องการแก้ไขสามารถกด เปลี่ยนอีเมล และทำเครื่องหมายเพื่อยอมรับข้อกำหนดและเงื่อนไข จากนั้นกด ยืนยัน
  4. ใส่ PIN เพื่อยืนยันการทำรายการ
  5. ทำรายการสมัคร eStatement สำเร็จ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับการใช้งานแอป ttb touch ได้ที่คู่มือการใช้งานแอป ttb touch คลิก หรือหากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปรับเพิ่มวงเงินบัตรเครดิต หรือการสมัครใช้งาน eStatement สามารถติดต่อสอบถามหรือขอคำแนะนำได้ที่ ทีทีบี คอนแทค เซ็นเตอร์ 1428

ตกหลุมพรางมิจฉาชีพต้องทำอย่างไร


ตกหลุมพรางมิจฉาชีพต้องทำอย่างไร

หากพบเจอเหตุการณ์น่าสงสัยหรือมีการสูญเสียทรัพย์สินสิ่งที่ต้องทำในทันทีคือเมื่อตกเป็นผู้เสียหายจากมิจฉาชีพ คือ

  1. แจ้งธนาคารเพื่อขออายัดบัตร ผ่านทาง ทีทีบี คอนแทค เซ็นเตอร์ 1428 หรือ ผ่านแอป ttb touch โดยจากหน้าหลักไปที่ปุ่ม บัญชี ที่แถบเมนูด้านล่าง จากนั้น เลือกบัตรที่ต้องการอายัด แล้วจึงเลือกเมนู อื่นๆ ในหัวข้อเมนูจัดการบัตร เลือกเมนู อายัดบัตร อ่านเงื่อนไขของการอายัดและออกบัตรใหม่ และตรวจสอบที่อยู่ในการจัดส่งบัตรใหม่ จากนั้นกด ยืนยันเพื่อทำการอายัดบัตร และใส่ PIN เพื่อยืนยันการทำรายการ
  2. รวบรวมพยานหลักฐานของเราเองว่าในวันเวลาที่บัตรถูกใช้เพื่อยืนยันว่าไม่ได้เป็นคนใช้บัตร
  3. แจ้งความที่สถานีตำรวจหรือแจ้งความที่ศูนย์แจ้งความออนไลน์ https://www.thaipoliceonline.com/
  4. เช็คยอดเรียกเก็บ ทำรายการปฏิเสธยอดเรียกเก็บที่ไม่ได้ใช้


ที่มาของข้อมูล
ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน
ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค
กองบัญชาการตำรวจสันติบาล

ให้คะแนนความพึงพอใจ
ประสบการณ์ในการใช้งานเว็บไซต์วันนี้ คุณพอใจมากน้อยแค่ไหน ?

รบกวนให้คะแนนเราหน่อยนะ

1
2
3
4
5
ไม่พอใจพอใจมากที่สุด