- เปลี่ยนความคิด ปรับพฤติกรรมใหม่ ทำไมต้องซื้อประกันภัยเพื่อลดหย่อนภาษีปลายปี
- วางแผนซื้อประกันภัยเพื่อลดหย่อนภาษีตั้งแต่ต้นปี เพื่อแผนการเงินที่รอบคอบ และได้รับสิทธิประโยชน์จากประกันภัยได้อย่างเต็มที่
- ประกันชีวิต ทีทีบี อีแวลู เซฟเวอร์ 12/5 ที่ให้คุณได้มากกว่าเมื่อเริ่มต้นวางแผนลดหย่อนภาษีตั้งแต่ต้นปี
ทีทีบี ชวนทุกคนมาวางแผนเลือกซื้อประกันที่พอดีกับชีวิตตั้งแต่ต้นปี เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสรับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ด้วยการรีบเร่งเลือกซื้อประกันภัยในช่วงสิ้นปี ที่กว่าจะถึงวันนั้นเงินของเราก็อาจหมดไปกับการใช้จ่ายเรื่องอื่นที่ไม่จำเป็น ทำให้เสียโอกาสไปอย่างน่าเสียดาย เพราะฉะนั้นมาเริ่มต้นวางแผนวันนี้กันเลยดีกว่า
Step 1: ประเมินรายได้ต่อปี เพื่อคำนวณภาษีที่ต้องจ่าย
คำนวณเงินเดือนของตลอดทั้งปีและประเมินโบนัสที่ได้รับ มาคำนวณดูว่า รายได้ของเราทั้งปีเป็นเท่าไหร่ เพื่อประเมินเงินได้และคำนวณว่าจะต้องเสียภาษีในอัตราเท่าไหร่
ตัวอย่างเช่น หาก A มีรายได้ต่อเดือน 40,000 บาท ประเมินว่าจะได้รับโบนัสอีก 3 เดือน รวมเป็นเงิน 120,000 บาท จะมีเงินได้ต่อปี 600,000 บาท
Step 2: เลือกซื้อประกันลดหย่อนที่พอดีกับชีวิต
หลังจากตรวจเช็กแล้วว่าจะต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ขั้นตอนต่อมาคือการเลือกซื้อประกันที่พอดีกับชีวิต ครอบคลุมความเสี่ยงให้เพียงพอในทุกด้าน โดยยึดความพอดีจาก 3 ด้าน ดังนี้
1. พอดีกับภาษีที่ต้องจ่าย
หากคำนวณรายได้ต่อปี นำมาหักค่าใช้จ่าย หักค่าลดหย่อนทั้งหมดที่มีแล้ว ยังต้องเสียภาษีเพิ่ม ให้เลือกซื้อประกันภัยที่พอดีกับภาษีที่ต้องจ่าย โดยประเมินจากความคุ้มครองที่ครอบคลุมความจำเป็นของชีวิต ทั้งคุ้มครองชีวิต สุขภาพ และเงินออมวัยเกษียณ โดยสามารถลดหย่อนภาษีได้อย่างเพียงพอ เพราะการซื้อประกันภัยเพื่อใช้ลดหย่อนภาษีนั้นไม่สามารถนำมาใช้ลดหย่อนได้ทั้งหมด โดยทั่วไปแล้วประกันชีวิตสามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาทตามจำนวนที่จ่ายจริง ประกันสุขภาพลดหย่อนได้ 25,000 บาท และประกันบำนาญลดหย่อนได้ 200,000 บาท แต่ไม่เกิน 15% ของรายได้ หากไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนประกันชีวิตทั่วไป จะลดหย่อนได้สูงสุด 300,000 บาท ซึ่งหากเกินกว่านั้นนอกจากจะทำให้นำไปลดหย่อนภาษีไม่ได้แล้ว ยังเป็นการเสียโอกาสหากนำเงินก้อนนี้แบ่งไปลงทุนที่อาจทำให้ได้ผลประโยชน์ที่มากขึ้นหลายเท่า
2. พอดีกับไลฟ์สไตล์
ในปัจจุบันที่การทำอาชีพเดียวไม่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตอีกต่อไป หลายคนหารายได้จากหลายช่องทาง ทั้งทำงานหลัก ทำงานเสริม ในขณะที่ต้องเตรียมร่างกายให้พร้อมเพื่อป้องกันโรคจากทุกทาง โดยเฉพาะโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน การเลือกซื้อประกันที่นอกจากจะให้ประโยชน์ด้านการลดหย่อนภาษีแล้วนั้น ความคุ้มครองด้านสุขภาพจึงเป็นหนึ่งเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
3. พอดีกับแผนการในอนาคต
เลือกซื้อประกันภัยทั้งที นอกจากจะต้องพอดีกับชีวิตทั้งในวันนี้ ยังต้องพอดีกับชีวิตในอนาคตด้วย เช่น หากวางแผนในอนาคตว่าจะสร้างครอบครัว มีลูก แผนในการซื้อประกันภัยเพื่อลดหย่อนภาษีจึงไม่ควรมองเพียงแค่ประกันชีวิตของตนเองเท่านั้น แต่ควรเลือกประกันภัยที่สามารถดูแลลูกในอนาคตได้
Step 3: แบ่งสัดส่วนเงินที่เหมาะสมสำหรับซื้อประกันภัย
เมื่อเลือกได้ว่าจะซื้อประกันประเภทไหน ขั้นตอนสุดท้ายมาดูกันว่าควรจ่ายเบี้ยประกันภัยเท่าไหร่ ถึงจะเหมาะสมกับตนเอง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วควรแบ่งเงินไว้ประมาณ 10 - 20% ของรายได้ในแต่ละเดือนมาทำประกันภัย
ตัวอย่างเช่น นาย A มีเงินเดือน 40,000 บาท ควรซื้อประกันภัยที่มีเบี้ยรายเดือนรวมกัน ประมาณ 4,000-8,000 บาท หรือเบี้ยประกันภัยต่อปีรวมกัน 48,000-96,000 บาท
ในการวางแผนจ่ายเบี้ยประกันภัยคุณอาจจะเลือกจ่ายโดยการใช้เงินโบนัสสัก 25% ในการจ่ายเบี้ยประกันภัย เพื่อไม่ให้เงินที่เราได้หมดไปกับสิ่งฟุ่มเฟือย หรืออาจจะใช้วิธีการหักเงินในบัญชีเพื่อจ่ายเบี้ยประกันภัยรายเดือนก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน
ในกรณีที่มีรายได้ที่เพิ่มขึ้นในปีต่อ ๆ มา หากยังคงรักษาสัดส่วนแบ่งเงินมาทำประกันภัยไว้สม่ำเสมอเป็นอย่างดี การวางแผนการเงินแบบนี้จะยิ่งช่วยให้เรามีเงินเก็บ และได้รับความคุ้มครองจากประกันภัยที่มากขึ้นอีกด้วย
หากใครยังไม่รู้จะเริ่มต้นวางแผนการซื้อประกันภัยที่พอดีและคุ้มค่าตั้งแต่ต้นปีได้อย่างไร เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสดี ๆ ลองดูประกันชีวิต ทีทีบี อีแวลู เซฟเวอร์ 12/5 จาก ทีทีบี ที่ให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี ที่ซื้อได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่ต้องออกไปเสี่ยง สะดวกสบายเพียงหยิบมือถือขึ้นมาก็ซื้อเลยได้ง่าย ๆ ผ่านแอป ทีทีบี ทัช
พิเศษ! สำหรับผู้ที่วางแผนลดหย่อนภาษีตั้งแต่ต้นปี รับเงินคืนสูงสุด 10,000 บาท เมื่อซื้อประกันชีวิต ทีทีบี อีแวลู เซฟเวอร์ 12/5 ผ่านแอป ทีทีบี ทัช วันที่ 1 ม.ค. 65 – 31 มี.ค. 65 รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก
ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันชีวิตทุกครั้ง
ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตเป็นของบริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) เป็นเพียงนายหน้าประกันชีวิต และรับผิดชอบในฐานะนายหน้าเท่านั้น
ที่มา
- ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, อยากทำประกันแบ่งเงินมาทำเท่าไหร่ดี, 2022
- ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, ทุกคนที่มีรายได้ ย่อมมีหน้าที่ ที่จะต้องเสียภาษี, 2022