external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

ไขข้อสงสัย! ภาวะเงินเฟ้อ คืออะไร ขอสินเชื่อยากขึ้นจริงไหม

#fintips #เคล็ดลับการเงิน #ภาวะเงินเฟ้อ #บัตรกดเงินสดทีทีบีแฟลช #ttbflash
27 พ.ย. 2567

สภาพเศรษฐกิจส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน หลายคนเองก็ได้รับผลกระทบจากความผันผวนทางเศรษฐกิจแบบนี้ โดยเฉพาะรายจ่ายที่มีการปรับเปลี่ยนตามเศรษฐกิจ ภาวะเงินเฟ้อ ก็ถือเป็นสาเหตุที่ทำให้การใช้จ่ายลำบากมากขึ้น เงินจำนวนเท่าเดิม กลับซื้อข้าวของเหล่านั้นได้ในปริมาณที่ลดลง วันนี้ fin tips by ttb จะพาคุณไปรู้จักกันว่า เงินเฟ้อ คืออะไร สาเหตุเกิดมาจากอะไร ผลกระทบที่ได้รับจากภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ สามารถเตรียมตัวรับมือได้อย่างไรบ้าง


ภาวะเงินเฟ้อ คืออะไร

ภาวะเงินเฟ้อ คือสภาวะทางเศรษฐกิจที่ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อำนาจในการซื้อของเงินลดลง หรือเพื่อให้เข้าใจง่าย คือ เงินจำนวนเท่าเดิมไม่สามารถซื้อสินค้าและบริการได้ในปริมาณเท่าเดิมอีกต่อไป เช่น เมื่อก่อนเงิน 100 บาทอาจซื้อก๋วยเตี๋ยวได้ 2 ชาม แต่เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อ เงิน 100 บาทอาจซื้อก๋วยเตี๋ยวได้เพียงชามเดียว เนื่องจากราคาก๋วยเตี๋ยวต่อชามเพิ่มสูงขึ้น

ภาวะเงินเฟ้อ จึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อค่าครองชีพและกำลังซื้อของประชาชน ทำให้ผู้บริโภคต้องใช้เงินจำนวนมากขึ้นเพื่อซื้อสินค้าและบริการในปริมาณเท่าเดิม ส่งผลให้คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนลดลงหากรายได้ไม่ได้เพิ่มขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ

ภาวะเงินเฟ้อ


สาเหตุของการเกิดภาวะเงินเฟ้อ

ภาวะเงินเฟ้อ ถือเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนทุกคน โดยสาเหตุหลักของการเกิดเงินเฟ้อมาจาก 3 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ ปัจจัยด้านต้นทุน ปัจจัยด้านความต้องการบริโภคและปัจจัยด้านแรงงาน ดังนี้

  1. ต้นทุน (Cost-Push Inflation) เกิดจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นราคาวัตถุดิบ ค่าที่ดิน หรือค่าแรงงาน ส่งผลให้กำลังการผลิตลดลง สินค้าออกสู่ท้องตลาดได้น้อยลง สวนทางกับความต้องการบริโภค ผู้ผลิตจึงจำเป็นต้องปรับราคาสินค้าและบริการให้สูงขึ้นตามไปด้วย ทำให้ราคาสินค้าแพงขึ้น แต่ประชาชนมีกำลังซื้อเท่าเดิม
  2. ความต้องการบริโภค ( Demand-Pull Inflation) มาจากความต้องการซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเกินกว่าปริมาณสินค้าและบริการที่มีอยู่ในตลาด หรืออุปสงค์มากกว่าอุปทาน ทำให้ผู้ขายมีอำนาจในการปรับราคาสินค้าให้สูงขึ้น เพราะรู้ว่าผู้บริโภคยังมีความต้องการซื้อแม้ราคาจะแพงขึ้นก็ตาม เมื่อราคาสินค้าและบริการปรับตัวสูงขึ้นทั่วทั้งระบบเศรษฐกิจ จึงเกิดเป็นภาวะเงินเฟ้อ
  3. ด้านแรงงาน (Built – In) เกิดจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นและกระทบต่อราคาสินค้าในที่สุด

ทั้งนี้ การเข้าใจสาเหตุของภาวะเงินเฟ้อ ก็จะช่วยให้เราสามารถวางแผนรับมือกับสถานการณ์ได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มมนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้ประจำ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีกำลังในการผลิตเงิน และจำเป็นต้องใช้เงินในการจับจ่ายใช้สอย ดังนั้น ควรมีการวางแผนการเงินอย่างรอบคอบ เพื่อเตรียมรับมือกับภาวะเงินเฟ้อที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้


ภาวะเงินเฟ้อส่งผลเสียอย่างไรบ้าง

แล้วเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้น จะส่งผลกระทบต่ออะไร และอย่างไรได้บ้าง

1. อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น

ในช่วงที่เกิดภาวะเงินเฟ้อ ธนาคารแห่งประเทศไทยมักจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ทั้งนี้เพื่อเป็นการควบคุมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยกระตุ้นให้ประชาชนหันมาออมเงินมากขึ้นและชะลอการใช้จ่ายลง แต่อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นของดอกเบี้ยนี้ จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ที่มีภาระหนี้สิน ทำให้ต้นทุนการกู้ยืมเพิ่มสูงขึ้น และส่งผลให้ภาระการผ่อนชำระในแต่ละเดือนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

2. ค่าครองชีพที่สูงขึ้น

เนื่องมาจากความต้องการที่มากกว่ากำลังการผลิต เงินเฟ้อจึงทำให้ราคาสินค้าและบริการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่รายได้ของประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้เพิ่มขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ ส่งผลให้กำลังซื้อลดลง ประชาชนจำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมากขึ้นในการซื้อสินค้าและบริการ แต่กลับได้ในปริมาณเท่าเดิม ทำให้คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่แย่ลง

ภาระหนี้ที่เพิ่มสูงขึ้น

เช่นเดียวกับค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากรายได้ที่สวนทางกับค่าครองชีพต่าง ๆ อาจทำให้ขาดสภาพคล่อง การผ่อนชำระหนี้สินเก่าที่มีอยู่แล้วอาจกลายเป็นภาระหนักขึ้น ทำให้การจัดการหนี้เก่าจึงเป็นเรื่องท้าทาย และยังไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ทำให้ต้องก่อหนี้สินเพิ่ม จนเข้าสู่วงจรหนี้ที่ไม่จบสิ้นได้

วิธีการแก้ไขและไม่สร้างภาระหนี้เพิ่ม ในช่วงเงินเฟ้อ แนะนำให้ใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น และวางแผนการเงินให้ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม หากจำเป็นต้องการเงินด่วนจริง ๆ ควรประเมินกำลังในการใช้จ่ายของตนเองก่อนสร้างหนี้จะดีที่สุด


ภาวะเงินเฟ้อ ขอสินเชื่อยากขึ้นจริงไหม

หากถามว่าในช่วงที่เกิดภาวะเงินเฟ้อ จะส่งผลให้การอนุมัติสินเชื่อยากขึ้นไหม ก่อนอื่นต้องบอกเลยว่า เนื่องจากความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้น ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น อาจทำให้ผู้ขอกู้ต้องเผชิญกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ทำให้ธนาคารหรือสถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการพิจารณาสินเชื่อมากขึ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ผู้ที่ขอสินเชื่อในช่วงเงินเฟ้อ จะไม่ได้รับอนุมัติเลย ทั้งนี้ ต้องพิจารณาถึงเครดิตสกอร์ว่า มีประวัติการชำระเงินเป็นอย่างไร และหากเตรียมตัวดี เช่น วางแผนการเงิน มีการบันทึกรายรับ-รายจ่าย และไม่เคยมีประวัติการชำระเงินล่าช้า หรือหนีหนี้ก็จะมีโอกาสในการพิจารณาสินเชื่อเพิ่มขึ้นเช่นกัน


รับมือกับภาวะเงินเฟ้ออย่างไรดี

แล้วถ้าเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นมา การเตรียมตัวรับมือให้ดีก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ควรทำ โดยมีวิธีการรับมือ ดังนี้

  • วางแผนการออม แนะนำให้วางแผนทางการเงินให้ดี โดยสามารถแบ่งเงินจากรายรับที่ได้ในแต่ละเดือนไว้เป็นเงินออม เพื่อใช้ในกรณีที่ต้องการใช้เงินฉุกเฉิน และเพื่อความมั่นคงทางการเงินในระยะยาวอีกด้วย
  • วางแผนการใช้จ่าย ลดรายจ่ายลง โดยการซื้อแต่สิ่งของที่จำเป็นจริง ๆ ก็จะทำให้ค่าใช้จ่ายที่ใช้ไปกับของฟุ่มเฟือยลดลง ทำให้มีเงินเหลือใช้ทั้งในช่วงที่เร่งรีบและไม่จำเป็นต้องนำเงินที่เก็บไว้มาใช้
  • ลงทุนเพื่อค่าตอบแทนในระยะยาว อีกหนึ่งทางเลือก ให้เงินที่เราเก็บออมไว้สามารถสร้างผลตอบแทนให้งอกเงยได้มากกว่าเดิม เช่น การซื้อกองทุนรวม หุ้นหรือพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้ การลงทุนในลักษณะนี้ก็มีความเสี่ยง ควรศึกษาข้อมูลและรายละเอียดในการลงทุนให้ดี

ซื้อกองทุนเพื่อรับมือกับภาวะเงินเฟ้อ


สรุป

ภาวะเงินเฟ้อเป็นสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระทบต่อค่าครองชีพและคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลาง แม้จะมีการวางแผนรับมือด้วยการออม ลดค่าใช้จ่ายหรือการลงทุนเพื่อผลตอบแทนในระยะยาวแล้วก็ตาม แต่บางครั้งอาจไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงมากขึ้น

สำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินในยามจำเป็น บัตรกดเงินสด แฟลช จากทีทีบี เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะเป็นทั้งบัตรกดเงินสด ที่สามารถเบิกถอนหรือโอนวงเงินจากบัตรออกมาใช้ได้ทันทีที่เกิดเหตุการณ์ที่จำเป็นต้องรีบใช้เงิน หรืออาจจะใช้เพื่อการผ่อนสินค้าหรือบริการ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์เกี่ยวกับบ้าน คอมพิวเตอร์ มือถือ หรืออื่นๆ ที่จะช่วยแบ่งเบาภาระรายจ่ายแบบที่ไม่ต้องเอาเงินเก็บทั้งก้อนออกมาใช้จ่าย แต่เลือกเป็นการทยอยจ่ายเป็นรายเดือน เดือนละเท่าๆ กัน ในแบบที่ไม่เสียดอกเบี้ย พร้อมสิทธิประโยชน์อีกมากมาย เช่น

  • ฟรีค่าธรรมเนียมรายปี
  • ผ่อนสินค้าหรือบริการ ดอกเบี้ย 0% นานสูงสุด 60 เดือน ณ ร้านค้าชั้นนำที่ร่วมรายการ
  • มีโปรโมชันพิเศษบ่อยๆ กับร้านค้าชั้นนำที่ร่วมรายการ ในการรับเครดิตเงินคืน เมื่อใช้จ่ายผ่านบัตรตามเงื่อนไขที่กำหนด
  • หากฉุกเฉินจำเป็นต้องใช้เงิน สามารถกดเงินสดได้ทุกที่ ทุกตู้ ทุกธนาคาร ไม่มีค่าธรรมเนียมกดเงิน
  • หรือโอนวงเงินจากบัตรเข้าบัญชีได้ทันที่ ผ่านแอป ttb touch

บัตรกดเงินสดทีทีบี แฟลช

สนใจสมัคร บัตรกดเงินสดทีทีบี แฟลชได้ง่าย ๆ ผ่าน 3 ช่องทาง ดังนี้ เว็บไซต์ ttb แอป ttb touch และ ttb ทุกสาขาทั่วประเทศ กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว : อัตราดอกเบี้ย 25%ต่อปี เงื่อนไขการสมัครและอนุมัติสินเชื่อเป็นไปตามเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด