external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

ไม่อยากโดนโกงออนไลน์! ต้องรู้เท่าทัน 3 กลโกง จากมิจฉาชีพ

#fintips #เคล็ดลับการเงิน #ช้อปออนไลน์ #กลโกงช้อปออนไลน์

17 มี.ค. 2565


  • รู้เท่าทัน 3 กลโกงซื้อขายออนไลน์ของมิจฉาชีพ

 

ปัจจุบันนี้ต้องยอมรับเลยว่า ใคร ๆ ก็หันมาซื้อของออนไลน์กันมากขึ้น เพราะสะดวกสบาย ไม่ต้องออกไปเดินหาของที่ต้องการด้วยตัวเอง และในบางครั้งแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ขายของออนไลน์ก็มีส่วนลดพิเศษมากกว่าซื้อที่หน้าร้าน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มิจฉาชีพเล็งเห็นช่องทางในการหลอกลวง โกงเงินผู้บริโภค จนมีข่าวออกมารายวัน
หากเราไม่อยากตกเป็นเหยื่อโดนโกงออนไลน์แล้วล่ะก็ ลองมาดู 3 กลโกงซื้อขายออนไลน์ที่ ทีทีบี รวบรวมซึ่งพบเห็นได้บ่อย ๆ กันเลยครับว่ามีอะไรบ้าง

หลอกเก็บเงินปลายทาง

1. หลอกเก็บเงินปลายทาง

เป็นการซื้อขายที่สะดวกสบายกับผู้ซื้อ ในกรณีนี้คุณไม่ได้ทำการสั่งซื้อ แต่มิจฉาชีพส่งพัสดุไปที่บ้านคุณ และต้องจ่ายเงินก่อนทำการรับพัสดุ แนะนำว่าไม่ควรเซ็นรับ และจ่ายเงินเด็ดขาด

หลอกโอนเงิน ไม่ส่งของ

2. หลอกโอนเงิน ไม่ส่งของ

ร้านค้ามักโพสต์ภาพสินค้าสวย ๆ ขายบนแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น Facebook, Instagram, Shopee, Lazada เป็นต้น เมื่อมีคนสั่งซื้อ โอนเงินแล้ว ร้านค้ากลับไม่ส่งของ หากจำเป็นต้องซื้อของชิ้นนี้จริง ๆ ควรดูรีวิวร้านค้าออนไลน์ก่อนสั่งซื้อ และหากพลาดโดนโกง ให้รวบรวมหลักฐานการสนทนา การโอนเงิน จากนั้นให้รีบดำเนินการแจ้งความทันที

หลอกขายของแท้ แต่ได้ของเทียม

3. หลอกขายของแท้ แต่ได้ของเทียม

กรณีนี้พบเจอได้บ่อย จะซื้อขายสินค้าแบรนด์แท้มือ 1 หรือมือ 2 ต้องทำการตรวจสอบร้านค้าให้ละเอียด ควรตั้งสติ ตรวจเช็กเครดิตร้านค้าออนไลน์ให้ดีก่อนกดช้อป จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ และหากพลาดโดนโกงได้ของไม่ตรงปก ให้รวบรวมหลักฐานการสนทนา การโอนเงิน จากนั้นให้รีบดำเนินการร้องเรียนศาลได้ตลอด 24 ชั่วโมง ที่เว็บไซต์ https://efiling3.coj.go.th/eFiling/#/

เคล็ด (ไม่) ลับ ช้อปออนไลน์ให้ปลอดภัย

และถ้าจะให้ดี ก่อนจะซื้อสินค้าออนไลน์ร้านไหน อย่าลืมเช็กความน่าเชื่อถือของร้าน ดังนี้

  • เช็กจากยอดไลก์แฟนเพจ การรีวิวสินค้าจากผู้ซื้อคนอื่น ๆ
  • ซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน ที่มีชื่อเสียง
  • เลือกซื้อจาก official shop เพื่อความอุ่นใจ
  • หากเป็นผู้ขายรายย่อย ลองตรวจสอบข้อมูลของผู้ขายที่แสดงบนร้านค้าออนไลน์ เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล และเลขที่บัญชี พร้อมทั้ง ชื่อบัญชี โดยสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปตรวจสอบใน Google ว่าบุคคลหรือร้านนั้น มีการถูกแจ้งเตือนไว้ว่าหลอกลวง หรือเป็นมิจฉาชีพหรือไม่

หากเรารู้เท่าทันกลโกงออนไลน์เหล่านี้ ก็จะลดโอกาสการตกเป็นเหยื่อการโดนโกงออนไลน์ได้มากขึ้นแล้วล่ะครับ อย่างไรก็ตาม หากเราตกเป็นเหยื่อไปแล้วสามารถร้องเรียนและปรึกษาปัญหาได้ที่ ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนปัญหาออนไลน์ (1212 Online Complaint Center) หรือ "1212 OCC" โดย เอ็ตด้า (ETDA) ที่มีบริการรับเรื่องตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้คำแนะนำและประสานความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความช่วยเหลืออย่างรวดเร็วที่สุด


ขอบคุณข้อมูลจาก

  • เว็บไซต์ www.bangkokbiznews.com
  • เว็บไซต์ www.shopback.co.th
  • เว็บไซต์ ETDA
ให้คะแนนความพึงพอใจ
ประสบการณ์ในการใช้งานเว็บไซต์วันนี้ คุณพอใจมากน้อยแค่ไหน ?

รบกวนให้คะแนนเราหน่อยนะ

1
2
3
4
5
ไม่พอใจพอใจมากที่สุด