external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

มาสร้างหนี้ดีกันเถอะ

เป็นหนี้ก็มีประโยชน์ แค่รู้วิธี…กู้อย่างไรให้สร้างสรรค์

1 ต.ค. 2564

เป็นหนี้ก็มีประโยชน์ แค่รู้วิธี…กู้อย่างไรให้สร้างสรรค์ เป็นหนี้ก็มีประโยชน์ แค่รู้วิธี…กู้อย่างไรให้สร้างสรรค์

 

-----------(อ่านเนื้อหาฉบับเต็ม)------------

 

คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่า “การไม่มีหนี้ คือลาภอันประเสริฐ” ซึ่งคำกล่าวนี้เป็นจริงและก็คงไม่มีใครกล้าเถียงอะไร เพราะมุมมองของคนส่วนใหญ่ หนี้สินคือภาระค่าใช้จ่ายที่ผู้ก่อหนี้ต้องแบกรับ ทั้งชำระคืนเงินต้น รวมไปถึงดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องตามสัญญา

แม้ว่าการ “สร้างหนี้” จะ “สร้างภาระ” ตามมาดังกล่าว แต่ก็ใช่ว่าจะมีแต่ข้อเสียเท่านั้น แต่อยู่ที่เราว่าจะเลือกสร้าง “หนี้ดี” และนำไปสู่การกู้อย่างสร้างสรรค์ได้อย่างไร..??

“หนี้ดี” ที่เราพูดถึงกันนี้ก็คือ หนี้ที่สร้างมูลค่าและเป็นประโยชน์ต่อลูกหนี้ เช่นหนี้ผ่อนบ้าน เพื่อสร้างทรัพย์สินในอนาคต หรือหนี้เพื่อใช้ลงทุนทำธุรกิจ เพื่อช่วยสร้างผลตอบแทนได้มากกว่าค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น รวมถึงหนี้ที่ลงทุนไปเพื่อสร้างความรู้แล้วสามารถนำมาใช้ต่อยอดเพื่อสร้างรายได้

การสร้างหนี้แบบนี้มีข้อดีสำหรับหลาย ๆ ด้าน ดังนี้

การสร้างหนี้แบบนี้มีข้อดีสำหรับหลาย ๆ ด้าน

  1. ยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น และเร็วขึ้นยกตัวอย่างการกู้ซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัย ช่วยให้ชีวิตมีความปลอดภัย มีความสามารถที่จะทำงานหารายได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการกู้ยืมจะช่วยให้เราเข้าถึงคุณภาพชีวิตที่ดีได้รวดเร็วขึ้น ไม่ต้องรอจนกว่าจะเก็บเงินทั้งก้อนเพื่อไปซื้อบ้าน
  2. ช่วยกระตุ้นให้เกิดวินัยทางการเงินที่ดี บางคนที่มีปัญหากับการเก็บออมเงินสด การลงทุนกู้ยืมเพื่อซื้อสินทรัพย์และทยอยผ่อนชำระคืน ก็อาจเป็นทางออกที่ช่วยให้เกิดวินัยการออมเงินในระยะยาวได้เช่นกัน
  3. ช่วยสร้างรายได้เพิ่มขึ้น หลายคนมีความสามารถ และมีลู่ทางสร้างรายได้เพิ่ม แต่ยังขัดสนเรื่องเงินทุน ทำให้เริ่มต้นธุรกิจนั้นไม่ได้สักที ซึ่งการกู้ยืมเงินมาเพื่อวัตถุประสงค์นี้ก็น่าจะช่วยเป็นอีกลู่ทางการเพิ่มรายได้
  4. ช่วยสร้างเครดิตทางการเงิน เพราะการมีหนี้ดี เป็นการกู้สำหรับเรื่องจำเป็นในชีวิต ทำให้เราต้องมีวินัยผ่อนชำระที่ดี ซึ่งข้อมูลการผ่อนชำระจะถูกบันทึกอยู่ในฐานข้อมูล บริษัท เครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือเครดิตบูโร และจะเป็นประโยชน์ในการขอสินเชื่ออื่น ๆ ในอนาคต เพราะแสดงให้เห็นว่าเรามีพฤติกรรมผ่อนชำระที่ดี

เมื่อรู้จักหนี้ดีกันแล้ว คราวนี้จะเริ่มนำไปสู่ “3 ข้อต้องรู้ เพื่อกู้อย่างสร้างสรรค์” ที่จะช่วยให้เรามีชีวิตทางการเงินที่ดีตลอดระยะเวลาที่กู้ยืม ไปดูแต่ละข้อกันเลย

3 ข้อต้องรู้ เพื่อกู้อย่างสร้างสรรค์


ชั่งน้ำหนัก “ประโยชน์-ต้นทุน”

เรารู้อยู่แล้วว่าการกู้ยืมเงินมา มันมี “ต้นทุน” ก็คือ ค่าดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายให้ธนาคาร ดังนั้น ก่อนตัดสินใจกู้ อย่างแรกที่เราต้องทำความเข้าใจก็คือ “มูลค่าผลประโยชน์” ที่ได้มานั้น คุ้มค่าเพียงใดกับต้นทุนที่เราต้องจ่ายไปในช่วงเวลาเดียวกัน

ตัวอย่างเช่น การกู้เงินซื้อรถเพื่อนำมาช่วยให้ประกอบธุรกิจได้สะดวกมากขึ้น ใช้สร้างรายได้เพิ่มขึ้น หรือการกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย แล้วทำให้คุณภาพการดำรงชีวิตดีขึ้นตั้งแต่วันนี้ ก็อาจจะเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับต้นทุนดอกเบี้ยเงินกู้

หรือถ้าคำนวณเป็นตัวเลขได้ชัดเจน ก็ยิ่งดี เช่น ใช้เงินกู้ยืมซื้อคอนโดเพื่อปล่อยเช่า เราต้องจ่ายค่างวดเดือนละ 20,000 บาท แต่สามารถปล่อยเช่าได้เดือนละ 25,000 บาท แปลว่ามีส่วนต่างอยู่ที่ 5,000 บาทเป็นกระแสเงินสดไหลเข้ากระเป๋า เป็นต้น แต่ก็ต้องไม่ลืมความเสี่ยงกรณีที่เราไม่สามารถหาผู้เช่าได้ตลอดเวลาด้วย


ต้องรอบรู้เรื่องกู้ยืม

หลายคนมักมองข้ามเรื่องนี้ เพราะคิดว่าเป็นเรื่องยาก กู้มาก็จ่ายค่างวดไปก็จบ แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ เราเลือกสินเชื่อหรือเครื่องมือทางการเงินได้ตอบโจทย์ความต้องการของเราได้ดีแล้วหรือยัง รวมถึงแต่ละธนาคารจะมีเงื่อนไขแตกต่างกัน ดังนั้น การหาความรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการกู้ยืม จะช่วยให้เราเลือกใช้สินเชื่อได้ถูกวิธี คุ้มค่า และจ่ายดอกเบี้ยอย่างเหมาะสม

หากใครที่ไม่เข้าใจเรื่องสินเชื่อ สามารถศึกษาได้จากเว็บไซต์ของธนาคาร หรือสื่อต่าง ๆ ที่ปัจจุบันมีการแชร์เนื้อหาประสบการณ์เหล่านี้เป็นจำนวนมาก รวมถึงการขอคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่สินเชื่อ เพื่อแนะนำผลิตภัณฑ์ก่อนเริ่มใช้งาน จะช่วยให้เราวางแผนการเงินได้ดี และปิดหนี้ได้ตามกำหนด


สิ่งสำคัญคือวินัย จ่ายตรงเวลา

จริงอยู่ว่าการใช้งานหนี้มีประโยชน์ในมุมหนึ่ง แต่อีกมุมหนึ่งก็มีความเสี่ยงที่เป็นอันตรายอย่างสูง หากผู้ก่อหนี้ไม่มีวินัย ไม่สามารถทำตามเงื่อนไขการกู้เงินได้ ซึ่งปัญหาโดยส่วนใหญ่คือการก่อหนี้เกินตัว หรือใช้หนี้ผิดประเภท

ภาระหนี้ที่พอดีจะทำให้เกิดวินัย เพราะผ่อนได้ไหว ไม่เกินตัว ซึ่งระดับที่เหมาะสม ภาระหนี้ไม่ควรเกิน 45% ของรายได้ต่อเดือน

ขณะเดียวกันหนี้สินระยะยาว ควรถูกแบ่งจ่ายในระยะยาวเพื่อลดภาระแต่ละเดือน ส่วนหนี้สินระยะสั้นก็ควรชำระและปิดให้จบในระยะสั้น เพราะอัตราดอกเบี้ยสูง หากกินเวลานานดอกเบี้ยจะทบต้นแล้วก่อให้เกิดภาระที่ยากเกินแก้ไข

ด้วยวิธีการเหล่านี้จะทำให้เห็นได้ชัดว่า การมีหนี้ไม่ใช่เรื่องผิดหากเข้าใจและรู้วิธีใช้อย่างถูกต้อง สิ่งที่ผิดคือการไม่มีวินัย ก่อหนี้เกินตัว และหนีปัญหาด้วยการไม่จ่ายหนี้จนเสียเครดิตต่างหาก ดังนั้น ทีทีบี จึงอยากให้ทุกคนมีความรู้เรื่องกู้ยืมเงินก่อนตัดสินใจ

หรือหากต้องการขอคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่ ทีทีบี เพื่อพูดคุยรายละเอียดเกี่ยวกับรูปแบบสินเชื่อที่เหมาะสมกับโอกาสและความต้องการใช้งานได้ที่ ทีทีบี คอนแทค เซ็นเตอร์ 1428 หรือดูรายละเอียดของผลิตภัณฑ์สินเชื่อได้ทาง https://www.ttbbank.com/th/personal/loans

ให้คะแนนความพึงพอใจ
ประสบการณ์ในการใช้งานเว็บไซต์วันนี้ คุณพอใจมากน้อยแค่ไหน ?

รบกวนให้คะแนนเราหน่อยนะ

1
2
3
4
5
ไม่พอใจพอใจมากที่สุด