external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

ชีวิตอาจสะดุด เพราะช่องว่างที่คุณมองข้าม

5 มี.ค. 2564

"Please mind the gap between train and platform" ประโยคคุ้นหูที่หลายคนคุ้นเคยเวลาใช้บริการโดยสารรถไฟฟ้า เพื่อเตือนให้เราระมัดระวัง "ช่องว่าง" ระหว่างรถไฟกับชานชาลา อย่างไรก็ดีปัญหาเรื่องช่องว่างที่เราต้องระวังในชีวิตคงไม่ได้มีแค่นี้หรอกจริงไหม ?

เพราะยังมีอีกหลากหลายช่องว่างที่เราพบเจอในชีวิตประจำวัน เช่น ความแตกต่างของไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต อาหารที่ชอบ แนวเพลงที่ฟัง รวมไปถึงช่องว่างที่มีความซับซ้อนมากกว่านั้น อย่างปัญหาช่องว่างระหว่างวัย ความแตกต่างทางทักษะการทำงานระหว่างคนแต่ละรุ่น ช่องว่างหรือโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา หรือช่องว่างความเหลื่อมล้ำของรายได้ เป็นต้น และยังมีอีกช่องว่างหนึ่ง ที่หลาย ๆ คนอาจมองข้ามโดยไม่รู้ตัว นั่นก็คือ “ช่องว่างเรื่องหลักประกัน” หรือการที่เรามีความคุ้มครองในชีวิตที่ยัง ไม่ครอบคลุม ไม่ครบถ้วน หรือไม่เพียงพอ

แม้ความรู้สึกของคนทั่วไป อาจคิดว่าการมีความคุ้มครองสุขภาพและชีวิตเป็นเรื่องไม่จำเป็น ไม่เร่งด่วน เพราะตัวเองยังแข็งแรงดี คงไม่มีอะไรเกิดขึ้นหรอก เลยมองว่าเป็นสิ่งที่ไม่คุ้มค่า เป็นการจ่ายเงินทิ้งเสียเปล่า แต่ถ้าลองคิดให้ดีแล้ว เรื่องนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เนื่องจากสิ่งไม่คาดคิดต่าง ๆ เช่น อุบัติเหตุ การเจ็บป่วย หรือโรคร้ายแรง มักมาในเวลาที่เราไม่ทันตั้งตัวเสมอ เคยหรือไม่ ที่คนรู้จักของคุณที่เห็นทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างมีความสุขบนหน้าฟีดในเฟซบุ๊ก วันหนึ่งเขาอาจถ่ายรูปตัวเองนอนอยู่ในโรงพยาบาลก็ได้ ยิ่งในตอนนี้ ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แล้ว และค่าเฉลี่ยอายุขัยของคนเราที่ยืนยาวขึ้น จากสถิติ BOI Thailand พบว่า อายุเฉลี่ยของผู้ชายอยู่ที่ 72 ปี ส่วนของผู้หญิงก็สูงถึง 78 ปี ทำให้เรามีโอกาสใช้ชีวิตได้นานยิ่งขึ้น ซึ่งก็มาพร้อมกับความเสี่ยงในการเกิดเหตุไม่คาดฝันมากขึ้นเช่นกัน ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุ ยิ่งทำให้ต้อง

กลับมาทบทวนตัวเองและครอบครัวให้ดีว่า เรามีความคุ้มครองตรงไหนที่ยังขาดตกบกพร่อง หรือสามารถเติมเต็มเพื่ออนาคตของครอบครัวได้บ้าง

วันนี้จึงอยากจะพาทุกคนมา Check Up! ช่องว่างเรื่องความคุ้มครองว่า คุณ Mind your Protection Gap แล้วหรือยัง? และสิ่งที่หลายคนคิดว่าไม่สำคัญ ความจริงแล้วสำคัญขนาดไหน ด้วยการตรวจเช็ค 4 ประเด็นสำคัญที่ควรเติมช่องว่างนี้ให้เต็ม

1. สุขภาพ (Health)

ไม่ว่าเราจะแข็งแรง ดูแลตัวเองดีแค่ไหน แต่เมื่อเป็นเรื่องสุขภาพแล้ว เราไม่สามารถมั่นใจได้เลยว่าวันหนึ่งเราจะไม่เจ็บป่วยจนถึงขั้นล้มหมอนนอนเสื่อ หรืออาจจะประสบอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันก็ได้ ซึ่งถ้าแค่เจ็บป่วยทั่วไปก็อาจไม่น่าเป็นห่วงมาก แต่ถ้าแจ็กพอตแตกเจอโรคร้ายแรง หรือโรคที่จำเป็นต้องรักษาต่อเนื่อง แบบนี้คงแย่แน่ ไหนจะค่ารักษาพยาบาล ค่ายา ค่าห้องพัก ล้วนแต่เป็นค่าใช้จ่ายที่มีราคาสูงทั้งนั้น นี่ยังไม่รวมการขาดรายได้จากการหยุดงาน เนื่องจากต้องพักรักษาตัวอีก เงินที่เก็บออมไว้ก็อาจจะต้องนำมาใช้จ่าย แล้วใครจะรู้ว่าเงินที่คุณมีนั้นจะเพียงพอไหม แล้วถ้าเกิดไม่พอขึ้นมาจริง ๆ คุณอาจจะต้องกู้เงินเพื่อมาใช้จ่ายในการรักษาตัวอีกด้วย

นี่เป็นตัวอย่างของช่องว่างเรื่องความคุ้มครองสุขภาพ บางท่านอาจจะมีสวัสดิการจากที่ทำงานอยู่แล้ว ลองตรวจสอบให้แน่ใจว่าสวัสดิการนั้นครอบคลุมทุกความเสี่ยงหรือยัง และเพียงพอที่จะให้คุณใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาลได้ โดยไม่กระทบกับเงินออมที่คุณตั้งใจเก็บไว้เพื่ออนาคต

2. ชีวิต (Life)

พูดถึงสุขภาพไปแล้ว บางคนอาจเกิดเหตุไม่คาดฝันที่ร้ายแรงจนถึงขั้นทุพพลภาพ หรือบางคนที่โชคร้าย ก็อาจถึงขั้นเสียชีวิต แล้วคุณเตรียมความพร้อมรับมือกับความสูญเสียครั้งใหญ่หรือยัง ยิ่งถ้าคุณเป็นเสาหลักของครอบครัว คุณจะมั่นใจได้อย่างไรว่า คนที่คุณรักและครอบครัวของคุณจะอยู่ได้อย่างมีความสุข

นี่เป็นช่องว่างเรื่องความคุ้มครองชีวิต ไม่ใช่เฉพาะตัวของคุณเอง แต่ยังหมายถึงทุกคนในครอบครัวของคุณ ไม่ว่าวันหนึ่งจะเกิดอะไรขึ้น การมีหลักประกันก็จะทำให้เราอุ่นใจได้ว่า ถึงแม้ตัวเราไม่อยู่ ครอบครัวจะสามารถเดินหน้าใช้ชีวิตต่อได้โดยไม่สะดุด หรือเกิดปัญหาทางการเงิน

3. ทรัพย์สิน (Properties)

ช่องว่างที่อาจทำให้ชีวิตต้องสะดุด ไม่ได้มีแค่ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสุขภาพหรือชีวิตของเราโดยตรงเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับทรัพย์สินต่าง ๆ เช่น บ้าน รถยนต์ ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูง ดังนั้น การเตรียมความพร้อมด้วยการอุดช่องว่าง สร้างความคุ้มครองเอาไว้ให้อุ่นใจ อย่างน้อยก็จะช่วยเราจำกัดความเสียหาย ลดผลกระทบทางการเงินจากเรื่องไม่คาดคิดลงได้

4. อนาคต (Future)

เมื่อคุณวางแผนที่จะปิดช่องว่างจากความเสี่ยงต่าง ๆ แล้ว คุณวางแผนอุดช่องว่างในอนาคตของคุณ หรือเตรียมความพร้อมสำหรับชีวิตหลังเกษียณได้ดีพอหรือยัง ยิ่งคนเรามีอายุยืนยาวขึ้น มีเทคโนโลยีที่ช่วยดูแลสุขภาพได้ดียิ่งขึ้น ก็แปลว่าเราต้องเตรียมเงินไว้ใช้หลังเกษียณมากขึ้นตามไปด้วย ไม่ว่าคุณจะเป็นคนโสดหรือมีครอบครัว คุณก็สามารถเริ่มออกแบบอนาคตของตัวเองได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อชีวิตบั้นปลายที่มั่นคง สุขสบาย และไม่ต้องมาคอยกังวลว่าจะมีเงินพอใช้หรือไม่

4. อนาคต (Future)

เมื่อคุณวางแผนที่จะปิดช่องว่างจากความเสี่ยงต่าง ๆ แล้ว คุณวางแผนอุดช่องว่างในอนาคตของคุณ หรือเตรียมความพร้อมสำหรับชีวิตหลังเกษียณได้ดีพอหรือยัง ยิ่งคนเรามีอายุยืนยาวขึ้น มีเทคโนโลยีที่ช่วยดูแลสุขภาพได้ดียิ่งขึ้น ก็แปลว่าเราต้องเตรียมเงินไว้ใช้หลังเกษียณมากขึ้นตามไปด้วย ไม่ว่าคุณจะเป็นคนโสดหรือมีครอบครัว คุณก็สามารถเริ่มออกแบบอนาคตของตัวเองได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อชีวิตบั้นปลายที่มั่นคง สุขสบาย และไม่ต้องมาคอยกังวลว่าจะมีเงินพอใช้หรือไม่

“เพราะการทำประกันก็เปรียบเสมือนการพก "ร่ม" ติดตัวไว้ เมื่อวันที่ท้องฟ้าสดใส ร่มคันนั้นอาจจะดูไม่ค่อยจำเป็น และถูกมองข้าม

… แต่หากเมื่อไหร่ที่ฝนตกรุนแรง เราก็ยังอุ่นใจเสมอที่มีร่มให้พึ่งพา”

สุดท้ายนี้ หากใครเจอช่องว่างในชีวิตของตัวเอง อย่าลืมรีบสร้างคุ้มครอง เพื่อปิดช่องว่างเหล่านั้น ให้ประโยคคุ้นหู Please mind the gap เป็นเพียงเสียงเตือนเวลาขึ้นรถไฟฟ้า ไม่ใช่เสียงเตือนถึงความเสี่ยงในชีวิตที่ไม่มีหลักประกันรองรับ เพื่อให้คุณและครอบครัวมั่นใจได้ว่า แม้จะเกิดเหตุไม่คาดฝันใด ๆ ก็สามารถเดินหน้าต่อไปอย่างมั่นคง

ที่มา :

*ข้อมูลสถิติการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทยจาก มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย

*ข้อมูลค่าเฉลี่ยอายุขัยประชากรชาวไทยจาก BOI Thailand

ให้คะแนนความพึงพอใจ
ประสบการณ์ในการใช้งานเว็บไซต์วันนี้ คุณพอใจมากน้อยแค่ไหน ?

รบกวนให้คะแนนเราหน่อยนะ

1
2
3
4
5
ไม่พอใจพอใจมากที่สุด