external-popup-close

คุณกำลังจะออกจากเว็บไซต์
ttbbank.com ไปยังเว็บไซต์อื่น

ตกลง

8 นิสัยก่อหนี้ของคนไทย
รู้ไว้ก่อนสายเกินแก้

8 นิสัยก่อหนี้ของคนไทย รู้ไว้ก่อนสายเกินแก้

#fintips #เคล็ดลับการเงิน #หนี้

19 พ.ค. 2566


  • เคยสงสัยไหม ทำไมประเทศไทย มีหนี้ครัวเรือนสูง
  • ชวนดู “8 นิสัยการเป็นหนี้ของคนไทย”
  • เป็นหนี้ แก้ได้! กับ ”เคล็ดลับ Unlock ชีวิตหนี้“
  • วิธี และแนวทางที่แก้ไขหนี้

 

เคยสงสัยไหม? ว่าทำไมปัญหาหนี้ครัวเรือนยังคงเป็นปัญหาหลักของประเทศไทย
จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยปี 2566 พบว่าปัญหาหนี้ครัวเรือนไทยมีความแตกต่างจากต่างประเทศอยู่หลายด้าน หนึ่งในนั้นก็คือ คนไทยมีหนี้ส่วนบุคคล และบัตรเครดิตสูงมาก เมื่อเทียบกับต่างประเทศ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนเกือบถึง 1 ใน 3 ของยอดหนี้ครัวเรือนไทยทั้งหมด

เพราะอะไรถึงเป็นแบบนั้น fintips by ttb #เรื่องเงินที่รู้จริงแบบเพื่อนที่รู้ใจ จะพาคุณมาเจาะลึก 8 นิสัยการเป็นหนี้ของคนไทย เพื่อป้องกันไม่ให้คนไทย และเหล่ามนุษย์เงินเดือนต้องเผชิญปัญหาหนี้เรื้อรัง


8 นิสัยการเป็นหนี้ของคนไทย มนุษย์เงินเดือนรู้ไว้ ก่อนสายเกินแก้

ไม่มีใครอยากเป็นหนี้ แต่การเป็นหนี้ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ผิด หรือไม่ดีเสมอไป เพราะความจริงแล้วการเป็นหนี้ หรือสินเชื่อ สามารถสร้างโอกาส และการเติบโตให้กับเราได้ แต่หากขาดความรู้ ความเข้าใจ รวมทั้งขาดการบริหารที่ดีและถูกต้อง ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาหนี้สินไม่รู้จบ จนกระทบการเงินในระยะสั้น และระยะยาวได้

ดังนั้นเพื่อป้องกันการเป็นหนี้แบบไม่มีวันจบ…มารู้จัก “8 นิสัยการเป็นหนี้ของคนไทย” ไปพร้อม ๆ กัน เพื่อกันไว้ก่อนสาย!

fintips-สรุป8นิสัยหนี้ของคนไทย

1. เป็นหนี้เร็ว: เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยทำงาน (อายุ 25 – 29 ปี) พนักงานมากกว่า 58% เป็นหนี้ และมากกว่า 25% เป็นหนี้เสีย (NPL : Non- Performing Loan) โดยส่วนใหญ่ คือ หนี้จากบัตรเครดิต รถยนต์ และรถจักรยานยนต์ เมื่อขาดการวางแผนการเงินที่รอบคอบ อาจกลายเป็นหนี้เสีย นอกจากนี้ในกลุ่มอายุน้อยกว่า 25 ปี ก็มีอัตราการเป็นหนี้ที่เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน และบางส่วนมักเป็นหนี้ที่ไม่สามารถสร้างรายได้

2. เป็นหนี้เกินตัว: เกือบ 30% ของลูกหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล มีหนี้เกิน 4 บัญชีต่อคน วงเงินรวมต่อคนสูงถึง 10 – 25 เท่าของรายได้ในแต่ละเดือน เมื่อเงินเดือนออกแล้ว จึงต้องนำเงินเดือนเกินกว่าครึ่งไปจ่ายหนี้สิน โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิต และหนี้ส่วนบุคคล

3. เป็นหนี้โดยไม่ได้ข้อมูลครบถ้วน หรือถูกต้อง: หลายครั้งที่ลูกหนี้ได้รับข้อมูลไม่ครบ และไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจเกิดจากความเข้าใจผิดในการสื่อสาร หรือลูกหนี้ไม่ได้ศึกษา หรือทำความเข้าใจเงื่อนไขให้ดี

4. เป็นหนี้เพราะมีเหตุจำเป็น: อีกหนึ่งปัญหาที่ทำให้เกิดหนี้สิน คือปัจจัยความจำเป็นรอบตัวต่าง ๆ ที่ไม่สามารถควบคุมได้เท่าไหร่ กว่า 62% ของครัวเรือนไทย มีเงินออมฉุกเฉินไม่พอใช้ และหากเกิดเหตุฉุกเฉินที่ทำให้รายได้ลดลงกะทันหัน 20% จะมีครัวเรือนเกินครึ่งที่มีเงินไม่พอจ่ายหนี้สิน ทำให้ต้องไปกู้เงินทั้งในและนอกระบบ

5. เป็นหนี้นาน: หนี้บัตรและหนี้ส่วนบุคคลสามารถผ่อนจ่ายขั้นต่ำได้ ทำให้ลูกหนี้มักเลือกผ่อนชำระในขั้นต่ำ ทำให้เป็นหนี้นานกว่าที่ควร นอกจากนี้มากกว่า 1 ใน 4 ของคนอายุเกิน 60 ปี ยังมีภาระหนี้สินที่ต้องผ่อนชำระอยู่ โดยเฉลี่ย 415,000 บาทต่อคน โดยส่วนใหญ่เป็นหนี้จากภาคการเกษตรที่พักชำระหนี้นั่นเอง

6. เป็นหนี้เสีย: จากที่กล่าวไปข้างต้นจะเห็นว่า แทบทุกข้อนั้นสามารถนำไปสู่ปัญหาหนี้เสียได้ โดยในประเทศไทยมีลูกหนี้ 10 ล้านบัญชีที่เป็นหนี้เสีย และเกือบครึ่งของจำนวนนี้ (4.5 ล้านบัญชี) เป็นหนี้เสียในช่วงของโรคระบาด COVID-19

7. เป็นหนี้ไม่จบไม่สิ้น: เมื่อเป็นหนี้เสียจนสายเกินแก้แล้ว มักจะเกิดปัญหาการเป็นหนี้ไม่จบไม่สิ้น เกือบ 20% ของบัญชีหนี้เสียที่ถูกยื่นฟ้อง โดย 1 ใน 3 ของลูกหนี้ในคดีจะจบด้วยการยึดทรัพย์ขายทอดตลาด แต่ก็ยังคงปิดหนี้ไม่ได้

8. เป็นหนี้นอกระบบ: อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ปัญหาหนี้หนักขึ้น คือการเป็นหนี้นอกระบบ โดย 42% ของกว่า 4,600 ครัวเรือนทั่วประเทศที่ขอความช่วยเหลือแก้หนี้ มีหนี้นอกระบบเฉลี่ยคนละ 54,300 บาท ซึ่งเกิดจากการที่มีรายได้ไม่แน่นอน, ขาดความรู้เรื่องการเงิน, ขาดหลักประกัน, เลือกกู้นอกระบบเอง หรือขอสินเชื่อในระบบจนเต็มวงเงินแล้ว

หากคุณคนที่กำลังเผชิญปัญหาเหล่านี้… ทีทีบี มีตัวช่วย


“รวบหนี้” ตัวช่วย Unlock ชีวิตหนี้

การรวบหนี้ (Debt Consolidation) คือ การนำหนี้หลายก้อนที่คุณมีอยู่มารวมไว้ในที่เดียว เพื่อให้สามารถผ่อนชำระได้ง่าย และจ่ายค่างวดเบาลง โดยการนำรถยนต์ หรือบ้าน มาเป็นหลักค้ำประกันเพื่อขอสินเชื่อกับธนาคาร และนำเงินที่ได้ไปปิดหนี้ก้อนอื่น ๆ ซึ่งในระหว่างหนี้คุณจะยังคงสามารถใช้รถยนต์ และบ้านได้ตามปกติ

fintips-รวบหนี้


ตัวอย่าง นาย A เงินเดือน 35,000 บาท มีหนี้ที่ต้องผ่อนชำระขั้นต่ำรวม 27,700 บาท/เดือน
โดยแบ่งหนี้เป็น 3 ก้อนดังนี้

  • หนี้บัตรเครดิต ยอดหนี้รวม 45,000 บาท ดอกเบี้ยลดต้นลดดอก 16% ต่อปี ผ่อนจ่ายเดือนละ 4,500 บาท
  • หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล 32,000 บาท ดอกเบี้ยลดต้นลดดอก 22% ต่อปี ผ่อนจ่ายเดือนละ 3,200 บาท
  • หนี้รถยนต์ 250,000 บาท ดอกเบี้ยคงที่ 3.5% ต่อปี จ่ายค่างวดเดือนละ 20,000 บาท

fintips-ตัวอย่างแสดงวิธีทำรวบหนี้

เมื่อนำหนี้ทั้ง 3 ก้อนมารวบเคลียร์หนี้กับ สินเชื่อรถแลกเงิน ทีทีบีไดรฟ์ เคลียร์หนี้ ช่วยให้คุณสามารถนำไปใช้ปิดยอดหนี้ได้ และยังผ่อนสบายอีกด้วย

เช่น ในกรณีนี้หากคุณใช้รถยนต์ ปี 2018 มาค้ำประกัน โดยขอวงเงินสูงสุดที่ 327,000 บาท (ขึ้นอยู่กับการประเมินของธนาคาร) ในอัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 4.05% หากคุณเลือกผ่อน 60 เดือน คุณจะเหลือภาระที่ต้องจ่ายต่อเดือนเพียง 7,013 บาท

นั่นหมายความว่า ภาระต่อเดือนลดลงถึง 20,687 บาทเลยทีเดียว! จ่ายน้อยลง และยังเกิดสภาพคล่องทางการเงินขึ้นอีกเยอะ


3 ขั้นตอนง่าย ๆ สู่การปลดหนี้กับทีทีบี… รวบหนี้จบ หมดปัญหาเรื่อง

fintips-3ขั้นตอนรวบหนี้

  • คลิก เพื่อลงทะเบียนกับ รถแลกเงินเคลียร์หนี้
    หรือ คลิก เพื่อลงทะเบียนกับ บ้านแลกเงินเคลียร์หนี้
    กรอกข้อมูลที่หน้าเว็บไซต์ให้ครบถ้วน จากนั้นรอเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ
  • เตรียมเอกสารให้เจ้าหน้าที่
    เจ้าหน้าที่จะติดต่อเพื่อขอรับเอกสารตามข้อมูลที่ระบุไว้
  • เจ้าหน้าที่เข้ารับเอกสาร และประเมินราคาให้ถึงที่

fintips-ทีทีบีรวบหนี้


ที่มาข้อมูล 8 ข้อเท็จจริงการเป็นหนี้ของคนไทย: ธนาคารแห่งประเทศไทย (กุมภาพันธ์ 2566) fintips by ttb – เปลี่ยนเรื่องเงินให้เป็นเรื่องง่ายไปกับ ทีทีบี
เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารฯ กำหนด

ให้คะแนนความพึงพอใจ
ประสบการณ์ในการใช้งานเว็บไซต์วันนี้ คุณพอใจมากน้อยแค่ไหน ?

รบกวนให้คะแนนเราหน่อยนะ

1
2
3
4
5
ไม่พอใจพอใจมากที่สุด