external-popup-close

คุณกำลังออกจากเว็บไซต์ ทีทีบี
เพื่อเข้าสู่

https://www.ttbbank.com/

ตกลง

5 ความเชื่อเรื่องเงิน เงิน เกี่ยวกับ “ประกัน”... ที่คุณอาจเข้าใจผิดมาตลอด

#fintips #เคล็ดลับการเงิน #ประกัน

19 ต.ค. 2564


 

  • ประกันที่ดี...ประกันที่พอดีกับชีวิต คือตัวช่วยบริหารความเสี่ยงที่พาให้ชีวิตการเงินไปถึง เป้าหมายได้อย่างไม่ผิดแผน
  • เช็กตัวเองไปพร้อมกันว่ายังมีความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับประกัน อยู่บ้างไหม?
  • หากยังเชื่อแบบไม่ถูกต้อง รีบปรับความคิดเสียใหม่ เพื่อชีวิตการเงินที่ดีขึ้น และเป็นไปตามแผนที่วางไว้

 



“ประกัน” ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่ถูกเข้าใจผิดเป็นอันดับต้น ๆ ของใครหลาย ๆ คน โดยอาจมองว่าเป็นสิ่งที่ไกลตัว และยังไม่จำเป็น ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว ประกัน คือตัวช่วยบริหารความเสี่ยงที่ทำให้เป้าหมายทางการเงินที่วางไว้ไม่ติดขัด

หากเราเลือกประกันที่เหมาะสมให้กับตัวเองในแต่ละช่วงวัย ก็จะทำให้ชีวิตการเงินของเราราบรื่นตามแผนที่วางไว้ได้

มาเช็กตัวเองไปพร้อม ๆ กัน ว่ายังมีความเชื่อที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับประกันเรื่องไหนอยู่บ้าง เพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติ และพฤติกรรม สู่แผนการเงินที่ดีขึ้น

 

ความเชื่อผิด ๆ เรื่องการซื้อประกัน

ตารางความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับประกัน

 

1. อายุน้อย ไม่มีภาระทางบ้าน ไม่ต้องซื้อประกันชีวิตหรอกเดี๋ยวไม่คุ้ม

การซื้อประกันชีวิตเป็นการป้องกันความเสี่ยง จึงไม่ควรโฟกัสไปที่ “ความคุ้มค่า” เพียงอย่างเดียว เพราะไม่มีใครอยากให้มีความสูญเสียเกิดขึ้น รวมถึงประกันชีวิตจำเป็นสำหรับทุกคนในครอบครัว ไม่ว่าจะอายุยังน้อย ไม่ได้เป็นเสาหลักหาเลี้ยงของบ้าน หากเกิดเหตุไม่คาดฝัน ยังไงก็ส่งผลกระทบไปถึงครอบครัวแน่ ๆ ทั้งนี้การซื้อประกันตั้งแต่อายุน้อยก็ยังมีความคุ้มค่าได้เช่นกัน เพราะเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระให้กับครอบครัว และตนเอง เพราะถ้าซื้อไว้ตั้งแต่อายุยังน้อย ค่าเบี้ยประกันก็จะถูกกว่าเมื่อไปซื้อตอนที่เป็นเสาหลักของบ้าน หรือมีภาระรับผิดชอบ ตอนที่อายุมากขึ้นแล้ว

ส่วนเรื่องภาษีนั้น เป็นความเข้าใจผิด ที่คิดว่าประกันทุกชนิดจะสามารถหักกับรายได้เพื่อลดหย่อนภาษีได้ ความจริงแล้ว ประกันที่สามารถหักรายได้เพื่อลดหย่อนภาษีได้ ต้องมีความคุ้มครองมากกว่า 10 ปีขึ้นไป

 

2. ไม่ต้องทำประกันบำนาญหรอก เกษียณไปยังไงก็มีลูกหลานดูแล

ไม่ว่าจะโสด หรือมีครอบครัว ในวัยหลังเกษียณก็ควรต้องดูแลการเงินของตัวเองให้ได้ การวางแผนเกษียณจึงเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับทุกคน หากเตรียมพร้อมทำประกันบำนาญไว้อย่างรอบคอบ ก็ช่วยเพิ่มความอุ่นใจได้ แม้วันที่ไม่มีรายได้ก็สามารถมีเงินกิน เงินใช้จ่ายได้อย่างไม่ลำบาก

 

3. ประกันสวัสดิการที่ได้จากบริษัท ยังไงก็พอ !

แม้จะทำประกันสังคม และประกันที่บริษัท หรือนายจ้างทำให้ แต่ความคุ้มครองเหล่านี้จะมีผลตอนที่เราทำงานอยู่กับเขาเท่านั้น หากวันใดลาออก หรือตกงาน ชีวิตเราก็แทบไม่มีหลักประกันอะไรเลย เพื่อสร้างความอุ่นใจให้กับอนาคต พนักงานเงินเดือนจึงควรซื้อประกันสุขภาพ และประกันอุบัติเหตุของตัวเองไว้บ้าง แม้ในวันที่เกิดเหตุไม่คาดฝันก็ยังมีประกันรับความเสี่ยงแทน

 

4. ทำประกัน เลือกแบบจ่ายเบี้ยฯ สั้น ๆ แค่ลดหย่อนภาษีได้ก็พอ

การซื้อประกันเพื่อเอาเรื่องลดหย่อนภาษีเป็นจุดประสงค์ก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิด แต่อย่ามองข้ามวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการทำประกันชีวิต ซึ่งก็ คือการ “คุ้มครองความเสี่ยง” เพราะฉะนั้นในการทำประกันจึงควรพิจารณาถึงจุดประสงค์หลักก่อน หรือเรามีความเสี่ยงด้านใดบ้าง และเราอยากได้ความคุ้มครองในด้านใดบ้าง เป็นต้น

ยกตัวอย่างเช่น

  • ความเสี่ยงในการจากไปก่อนวัย เลือกเน้นความคุ้มครองชีวิต (แบบตลอดชีพ, ชั่วระยะเวลา)
  • ปิดความเสี่ยงที่จะมีเงินไม่แน่นอนในอนาคต เลือกประกันชีวิตแบบเน้นออมเงิน

 

5. ประกันรถยนต์ คุ้มครองเฉพาะรถเกิดอุบัติเหตุเท่านั้น

ไม่จริงเสมอไป ประกันรถยนต์บางประเภทยังคุ้มครองรถจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ไฟไหม้ การโจรกรรม ต้นไม้ล้ม และความเสียหายที่เกิดจากน้ำท่วม
รวมถึงให้ความคุ้มครองคนขับ และผู้โดยสารอีกด้วย

หลังจากสำรวจความความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับประกันทั้ง 5 ข้อแล้ว หากมีเรื่องไหนที่เคยเข้าใจผิด เริ่มต้นปรับเปลี่ยนความคิดวันนี้ยังไม่สาย เพื่อนำมาใช้ประโยชน์สำหรับการเลือกประกันที่เหมาะสมกับตัวเอง ก็จะช่วยให้ชีวิตการเงินของเราดีขึ้นได้อย่างไม่ยาก เป็นไปได้แน่นอนครับ

 

ทีทีบีสมาร์ทโพรเทค

คำเตือน ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองเงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง

ให้คะแนนความพึงพอใจ
ประสบการณ์ในการใช้งานเว็บไซต์วันนี้ คุณพอใจมากน้อยแค่ไหน ?

รบกวนให้คะแนนเราหน่อยนะ

1
2
3
4
5
ไม่พอใจพอใจมากที่สุด